วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2565

note lecture (1)

 มหาวิปากจิต = จิตที่เป็นผลจากมหากุศลจิต 8 ดวง

วิปากจิต = จิตที่เป็นผลจากทั้งกุศลและอกุศล 36 ดวง / หรือ 52 ดวง

 

จิตที่ไม่มีโทษ ให้ผลเป็นความสุข ความหมายนี้ใช้ได้ทั้ง มหากุศลจิต และกุศลจิต สองคำนี้ไม่ต่างในความหมาย

มหากุศลจิต = หมายเอาแค่ 8 ดวง

กุศลจิต = หมายเอากุศลทั้งหมด

 

มหากิริยาจิต จิตที่เหมือนกับมหากุศลจิต (เหมือนเฉพาะในแง่ “ไม่มีโทษ”, แต่ “ไม่เหมือน” ในแง่ที่กิริยามันไม่ได้พาไปให้ผลเหมือนกุศล) เกิดในสันดานของจิตพระอรหันต์

กิริยาจิต หมายถึง จิตที่เกิดขึ้นโดยลำพัง (คือไม่เกี่ยวว่าต้องทำกุศล-อกุศลมาก่อน, แต่กิริยา ไม่ต้องอาศัยกุศล-อกุศลเป็นพ่อแม่เหมือนวิปากจิต) จิตที่ไม่เป็นบุญไม่เป็นบาป

กิริยาไม่ได้อาศัยกรรมเหล่านั้นเกิด แต่อาศัยกระบวนการตามจิตนิยาม

 

อเหตุกจิต = หมายเอาจิต 18 ดวง คือ จิตที่ไม่มีเหตุ 6 เป็นองค์ประกอบ

เหตุ 6 หมายเอา เจตสิก 6 เป็นองค์ประกอบ

 

กามาวจรวิปากจิต

กามาวจร หมายเอา 54

เอาเฉพาะที่เป็นวิปาก 23 [อเหตุกวิปากจิต 15 + มหาวิปากจิต 8]

 

โลกิยอกุศลจิต

ตัดโลกุตตระออกเหลือโลกิยะ

 

วันเสาร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2565

ลักขณาทิจตุกกะ

  1. ลักษณะ = สภาวะ สิ่งที่เป็นตัวแท้ของสิ่งนั้น
  2. รส = มีความหมาย 2 อย่าง ได้แก่ 
    • กิจรส : สิ่งนี้มันไปทำอะไร ไปทำให้เกิดอะไร มันมีหน้าที่อะไร
    • สมปตฺติรส : คุณสมบัติ
  3. ปัจจุปัฏฐาน = มีความหมาย 2 อย่าง ได้แก่ 
    • อุปฏฺฐานการ (เครื่องปรากฏ) : มีลักษณะอย่างไรปรากฏจึงรู้ว่าเป็นสิ่งนี้ อาการที่ปรากฏทางใจ
    • ผล : สิ่งที่เกิดขึ้นจากการอาศัยสิ่งนี้
  4. ปทัฏฐาน = เหตุใกล้ เหตุอันสำคัญยิ่ง เมื่อไม่มีสิ่งนั้น สิ่งนี้จะไม่เกิด ธรรมอื่นที่เป็นเหตุให้เกิด
    (ปท+ฐาน ก็แปลว่าเหตุทั้งคู่ ท่านเอามาซ้อนกันก็อารมณ์ประมาณ เฮ้ดเหตุ)