ผัดไท : คิดยังไงให้เป็นอกุศล
เช่น
- น่าพอใจมั้ย ประกาศถึงโลภะ
- ผัดตั้งแต่เมื่อไร ใครผัด ใช้อะไรผัดเนี่ย ประกาศถึงปฏิฆะ
- หรือเฉยๆ ไม่พิจารณาอะไรสักอย่าง ประกาศถึงโมหะ
ผัดไท : คิดยังไงให้เป็นกุศล
เอากรอบทาน ศีล ภาวนา มาจับคร่าวๆ
ทาน
- เคยให้แบบนี้ไหม
- สิ่งนี้เราใช้คนเดียว หรือเราแบ่งให้ใครด้วย
- คิดจะให้ไหม
ศีล : วารีต
- มีสิ่งที่ควรจะงดเว้นอยู่ไหม
- ได้มาอย่างไร โดยไม่ผิดธรรมหรือไม่
ศีล : จารีต
- ปัจจเวกก่อนรึยัง
สมถะ
- พิจารณาอาหาเรฯ
กายานุปัสสนา
- พิจารณารูปเหล่านี้ไปบำรุงเลี้ยงกายที่ประกอบด้วยมหาภูตสี่
ประมาณการสัทธินทรีย์
ถ้าทำอะไรแล้วพอใจมั้ย มีความสุขมั้ย มีฉันทะมั้ยที่จะทำอย่างนั้น ถ้าไม่มีไม่ค่อยเต็มใจทำมากนัก ทำไปแกนๆ ไม่ค่อยโสมนัส อันนี้เรียกว่าสัทธินทรีย์อ่อน
ประมาณการวิริยินทรีย์
ส่วนทำอะไรก็ดีนะ แต่ทำไมไม่ค่อยต่อเนื่อง ทำมั่งไม่ทำมั่ง นึกอยากทำเมื่อไรก็ทำ ไม่อยากทำก็ไม่ทำ หรือทำแล้วไม่คิดจะทำอีกเลย อันนี้วิริยินทรีย์อ่อน
ประมาณการสมาธินทรีย์
หรือบางทีทำไปไม่สงบ สังเกตมั้ยทำกุศลบางอย่างไม่สงบ ไม่ค่อยสบายใจมากนัก อันนี้เรียกว่าสมาธินทรีย์อ่อน
ประมาณการปัญญินทรีย์
ไปเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้พิจารณาอะไรบ้าง มีความเข้าใจอะไรบ้างในขณะที่กำลังทำ สะท้อนปัญญินทรีย์
ส่วนหน้าที่ของสตินั้น...
- การอ่านสภาวะตัวเองออกว่าตอนนี้เป็นแบบนี้ๆๆ นี้เป็นกิจของสติ
- และสติยังดูอีกว่าถ้าปล่อยแบบนี้ไปบ่อยๆๆๆๆ อะไรจะเกิดขึ้น
- สติยังวินิจฉัยว่าอาการแบบนี้ต้องใช้ธรรมอะไรมาเกื้อกูล มารักษา มาประคองให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป
ให้รู้ว่าที่ใดใช้คำว่าสติ ที่นั่นต้องมีสัมปชัญญะด้วยแล้ว
ในอรรถกถาท่านอธิบายว่าสติที่ไม่มีสัมปชัญญะไม่สามารถทำกิจของตนได้
สติเป็นตัวมาอาวัชชนะว่าอะไรขาดอะไรเกิน
เหมือนนักชิม กินผัดไทไปคำนึงก็รู้ว่าต้องเติมอะไร เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม
คนที่เก่งพิจารณากุศลนี่ก็เหมือนนักชิม
พอกุศลเกิดขึ้นปุ๊บเขารู้เลยว่าอะไรขาด
เพียรน้อยไป? ฟุ้งมากไป? หรือสักแต่ว่าทำไปเฉยๆ
ทีนี้ถ้าจะให้ศรัทธามากขึ้นล่ะ ทำยังไง นี่ก็เป็นกิจอย่างหนึ่งของสติ
แล้วดูด้วยว่าข้อมูลอะไรที่จะมาพร้อมบริบูรณ์ให้มาเจริญอย่างนั้นได้ นี้ก็เป็นกิจของสติ
สติจึงเป็นตัววินิจฉัยแยกแยะ
ทั้งนี้ถ้าเรียนไม่พอ ก็ไม่รู้จะเอาอะไรมาพิจารณาอีกนั่นแหละ
คือจะบอกว่าเหมือนพระฉันอาหาร เค็มหน่อย จืดหน่อยก็ฉันไปอย่างนั้น
แต่การบริหารกุศลจิตต้องไม่ปล่อยตามยถากรรมอย่างนั้น ต้องบริหารปรุงแต่งกันอย่างเต็มที่
เพราะกุศลธรรมเหล่านี้เป็นพรหมจรรย์ เป็นสิ่งที่จะต้องประพฤติ จะต้องตกแต่ง จะต้องพิจารณาให้อย่างดี
รู้จักฉลาดในนิมิต
คือฉลาดในอารมณ์ของกรรมฐาน คือน้อมไปเสมอๆ ว่าในอารมณ์นั้นๆ เนี่ยเจริญอะไรได้บ้าง
ถ้าเจริญพรหมวิหารก็ให้ฉลาดในพรหมวิหาร
- เช่น ถ้าจะเจริญเมตตา คิดอย่างไรให้สัตว์ทั้งหมดนี่เป็นปิยมนาปสัตว์ (น่ารักน่าพอใจเหมือนกันหมด) ฉลาดที่จะมองว่าเขามีส่วนที่น่าพอใจอยู่ อยากให้เขาได้สบายๆ อย่างเราบ้าง
- หรือเจริญกรุณา คิดให้ออกว่าทุกคนมีส่วนที่น่าสงสาร
- หรือเจริญมุทิตา คิดให้ออกว่าทุกคนเขามีดีอยู่ในตัวเขา มันจะต้องมีอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นความดีในตัวเขา
- หรือเจริญอุเบกขา คิดว่าเขาก็มาตามกรรมของเขา เราก็ไปตามกรรมของเรา แต่ข้อนี้ไว้ได้ฌานที่สามค่อยมาเจริญ
ถ้าเจริญอสุภะก็ให้ฉลาดในเจริญอสุภะ คิดยังไงให้ปฏิกูล
ถ้าฉลาดในกสิณ น้อมไปเห็นอะไรบ้างไม่ใช่กสิณไม่มี
- เห็นอะไรก็น้อมไปในทางให้ทาน ซึ่งคนอื่นอาจคิดไม่ถึง เช่น เออ ถ้าตรงนั้นสว่างหน่อยนะ คนนั้นคงจะเห็นชัดขึ้น
- บางคนให้ทานมีภาพแค่ ใส่บาตร อย่างเดียวจบ
ถ้าฉลาดเรื่องศีลกุศล
- แต่ละอย่างเป็นนิมิตให้เจริญศีลได้อย่างไร ให้ผิดศีล หรือให้รักษาศีลตรงไหนได้บ้าง
ฉลาดประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง
- สมัยที่ควรประคองก็คือ สมัยที่เกือบหลับ เช่น อ่านพระไตรปิฎกไปเริ่มหรี่ลงๆๆ
- เหมือนทำกับข้าวต้องคอยดูไฟ
- เร่งเจริญธัมมวิจย ปีติ วิริยะสัมโพชฌงค์
- หรือบางทีก็ไม่ได้ง่วง แต่แบบจิตซึมๆ ไม่ต้องการทำอะไร อยากจะเฉยๆ ไม่อยากคิดอะไร ให้รีบเอาอริยสัจมาคิด พิจารณาสังเวควัตถุ
- ถ้าไม่แก้ สมาธิไม่ตั้งมั่นแน่นอน
- แต่ถ้าง่วงๆ อยู่ไปเจริญสมาธิ เช่น กำหนดลมหายใจ ไม่กี่ครั้งหลับสนิทรับรอง
4 7 11 11 7 11 5
ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม
- ก็ข่มในสมัยฟุ้งซ่าน
- ปล่อยจิตให้ฟุ้งไปก็ทำอุทธัจจะให้เจริญขึ้น นิวรณ์เจริญ ปัญญาก็ดับ
- เวลาพูดมากๆ ก็มักจะฟุ้ง ก็จะเหนื่อย ถ้าสิ่งนั้นไม่ได้ใคร่ครวญเอาไว้ก่อน หรือไม่ชำนาญ โดยมากก็ไม่โสมนัส การเป็นพหูสูตร หรือการซ้อมช่วยได้ ซักซ้อมในกรรมฐาน ฝึกเอาไว้จนชำนาญ น้อมไปเพื่อพูดถึงสิ่งนั้นก็ไม่ใช่ปัญหา แต่ก็มีอีกอย่างที่ถึงรู้ แต่ไม่พร้อมจะพูดก็พูดไม่ได้
-
มีปัญญาร่าเริง
- ถ้าปัญญาไม่ร่าเริง การแล่นไปในอารมณ์ต่างๆ ค่อนข้างจะเหนื่อย
- การพูดก็เหมือนกัน ถ้าสิ่งนั้นไม่ได้ใคร่ครวญเอาไว้ก่อน หรือไม่ชำนาญ โดยมากก็ไม่โสมนัส