วันเสาร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

ปัสสัทธิ

การนั่งเฉยๆ แล้วกายสงบใจสงบ นี้เป็นผลจากศีลที่ทำมาดี ตรงนี้ยังไม่จัดเป็นสมาธิ หรือสมถะแต่อย่างใด เป็นเพียงผลเท่านั้น

พอได้ความสงบตรงนี้แล้ว อาจจะเจริญสมาธิต่อ อันนี้คือต้องศึกษากรรมฐานมาก่อน แล้วก็พาใจไปเจริญกรรมฐานที่ว่าเพื่อให้สมาธิเจริญต่อไป แล้วเมื่อได้สมาธืแล้ว ก็ไปเจริญปัญญาต่อ

ไม่งั้นสบายไปสมบายมา ทางที่ไปได้ถ้าไม่ทำงาน ก็คือหลับ

หรืออีกอย่างคือเอาใจไปพิจารณาทางปัญญาเลย เป็นวิปัสสนา

สรุปคือ สบายแล้วให้ทำงาน ถ้าไม่มีงานมันจะหลับ

เทศน์พอจ.สมบัติ อภืภายตนะ8

เรื่องพรหมลูกฟัก

 เรื่องพรหมลูกฟัก

ได้ยินว่าฌาน 4 นั้นมี 2 แบบ แบบแรกสติยังอยู่ อย่างที่ 2 คือดับจิตลงไป

เป็นการที่ไปเจริญกรรมฐานที่บีบคั้นจิตมากๆ จนจิตหนีทุกข์ ดับตัวลงไป จึงไม่ได้เป็นเหตุแห่งการพ้นหรือมีปัญญาแต่อย่างใด

ลพ.ปราโมทย์ เทศน์วันที่ 26 พ.ค.67

วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

8-9/5/2024 - 2567

8/5

 วิรตี เป็นองค์มรรคที่ต่างจากอันอื่นคือ แค่ละเว้น ไม่ต้องทำ ก็เต็มได้

เมื่อได้ฟังประโยคนี้สิ่งที่เกิดขึ้นคือ
เข้าใจวิถีแห่งสมาธิมากขึ้น เพราะเกิดความยั้งอมรรคขึ้นตั้งแต่ในใจ
ถ้าคอยเลี้ยงจิตไม่ให้หล่นไปในวิถีแห่งนิวรณ์
ความมั่นคง ไม่หวั่นไหวก็ค่อยๆ งอกงามขึ้น

ก็เหมือนจะเข้าใจว่าทำไมศีลเป็นฐานของสมาธิขึ้นมาอีกนิดนึง

----

9/5

เมื่อเช้าตอนอาบน้ำ

คิดขึ้นมาว่า แค่การเห็นประโยชน์มันยังไม่ยอมเดินจิตให้เข้าสู่ร่องที่ควร
แต่ต้องคิดเกมให้มันทำ เช่น เกมวิรตีนี่แหละ ให้มันฝึกเหมือนทำ quest ผ่านด่าน
คือ มันยอมเดิน เพราะมันสนุก 
เหตุแห่งฉันทะประเภทที่รู้ความจริง เห็นประโยชน์ เข้าใจโทษ ยังไม่พอสำหรับจิตดื้อๆ นี่

เพื่อเวทนาตามเคย

วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

หอฟังฝน - นายช่างผู้สร้างเรือน

 อเนกชาติสํสารํ                สนฺธาวิสฺสํ อนิพฺพิสํ

คหการํ คเวสนฺโต             ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ

คหการก ทิฏฺโฐสิ              ปุน เคหํ น กาหสิ

สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคา    คหกูฏํ วิสงฺขตํ

วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ              ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา ฯ


(ขุทฺทกปาเฐ ธมฺมปท)

........................


เหนื่อยนับ เกิดตาย หลายล้า      เทียวหา ไม่พบ หลบกาย

ตามตัว ช่างสร้าง เรือนราก        เวียนเกิด ซ้ำซาก ทุกข์หน่าย

ช่างเอ๋ย เจอแล้ว เจอนาย          อย่าหมาย สร้างเรือน อีกครั้ง

โครงเรือน นายราบ หักเหี้ยน      ยอดเรือน รื้อเตียน ทั้งหลัง

ใจหมด รสปรุง มุงบัง                ถึงฝั่ง สิ้นกัน ตัณหา ฯ

Credit หอฟังฝน