วันจันทร์ที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เหตุเกิดจากสสารหรือพลังงาน

ปราณเป็นสสารหรือพลังงาน?

เป็นคำถามที่ไม่มีประโยชน์ และไม่ได้นำไปสู่อะไร ตีธรรมะเป็นปรัชญา นิยามนั้นครูได้ให้ไว้เรียบร้อยแล้ว "ลมหายใจที่มีกำลัง" ฟังให้ดี ไม่ใช่ "ลมหายใจที่มีพลัง" ตัวมันไม่มีพลัง พลังจะเกิดก็ต่อเมื่อผนึก ส่วน ฌาน คือกำลังทีี่มากกว่าปกติ นั่นคือพลังงาน เป็นผลของการปฏิบัติที่มีพื้นฐานจากความปกติ ความปกติคือศีล เมื่อศีลนิ่ง ใจนิ่ง การฝึกปฏิบัติจึงจะเกิดได้

วิชาของครูเรียนมาจากผู้สกทาคามี เป็นวิชาของผู้ทรงศีล ไม่ใช่ของต่ำ ไม่ใช่สิ่งที่จะเรียนเพื่อไปก่อเรื่อง ก่ออกุศล วิชาทั้งหมดเรียนเพื่อเข้าสู่ธรรม

การฟังธรรม ความจริงคือการสัมผัสธรรม
อายตนะมี 6 ช่องทาง
การฟังธรรมคือฟังทั้งหมด สัมผัสทั้งหมด
เปิดอายตนะทั้งหมดขึ้นรับรู้ ไม่ใช่เพียงแค่เห็นด้วยตา ฟังทางหู
รวมไปทั้งหมดจนจมูก ลิ้น สัมผัสกาย และใจ
เช่น การไปวัดต้องอาบน้ำชำระร่างกาย เพื่อให้รูขุมขนเปิด ด้วยเราจะสัมผัสธรรมผ่านกายด้วย
ใส่ชุดขาว หลวมไม่รัด เพื่อให้กายสบาย ไม่มัวกังวล

ตาและหู มีเพื่อสดับรับฟังว่าธรรมนี้มีอยู่ หากไม่มีสองสิ่งนี้เป็นตัวเริ่มต้น การบรรลุธรรมไม่อาจเกิดขึ้นได้เลย
อย่างไรก็ตามแต่จัดเป็นช่องทางผัสสะที่หยาบ
เมื่อสดับแล้วจากนั้นเป็นขั้นตอนของการไต่สวนทวนความ
ดังนั้น พึงปิดตา ปิดหู ปิดปาก แล้วใช้อายตนะที่เหลือเพื่อให้รับรู้ได้ละเอียดขึ้น

กระบวนการเหล่านี้จะเป็นไปไม่ได้
หากมัวมานั่งเถียงกัน ถกกัน พาวนอยู่ในอ่าง
ไม่ปิดช่องทางหยาบ จึงไม่สามารถรับรู้ความละเอียด

การเรียนจึงต้องการสภาวะแห่งความสัปปายะ
กายเป็นกุศล วาจาเป็นกุศล จิตใจเป็นกุศล จึงจะเกิดความนิ่ง

เรียนจบปริญญามีความรู้ แต่ยังไม่ใช่บัณฑิต คำว่าบัณฑิตหมายถึงผู้มีศีลมีธรรม

ก่อนจะนอน ตั้งจิตให้ดี ขอให้ธรรมที่ได้รับได้ฟังในวันนี้ ได้รู้ ได้เห็น ได้สัมผัส แล้วหลับไป มันจะไปกวนอยู่ในจิตลึกๆ ทำให้การฟังธรรมครั้งต่อไปง่ายขึ้น เข้าใจได้มากขึ้น

医者父母心


  • 荣耀靠做来护卫的 光说管个屁用
  • 燕雀安知鸿鹄之志哉
  • 医者父母心

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ไม่เป็นอุปสรรค

 “เป็นพระกรรมฐาน เดินป่าออกหาวิโมกธรรมจงอย่าได้ถือว่ามีอะไรเป็นอุปสรรคเย็น, ร้อน, อ่อน, แข็ง ก็ไม่เป็นอุปสรรค อดอยากหิวโหย ก็ไม่เป็นอุปสรรคแม้กำลังป่วยไข้อาพาธหนักใกล้จะตาย ก็ไม่ถือว่าเป็นอุปสรรคทั้งนั้น ให้ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาโลกนี้ไม่มีอะไรจะมาเป็นอุปสรรคของผู้ปฏิบัติธรรมเหตุเพราะเราปฏิบัติธรรมเพื่อให้เบื่อหน่ายคลายจากความกำหนัดจากตัณหามิใช่หรือ? เพื่อความดับทุกข์ เพื่อให้พ้นไปจากทุกข์มิใช่หรือ? เมื่อเรามีปนิธานแล้วตั้งจิตอย่างแน่วแน่เด็ดขาดลงไปว่าเราเข้ามาปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์อย่างเดียวเท่านั้นแล้วจะไปแยแสอะไรกับอุปสรรคทั้งหลายแหล่ จิตของเราก็มีแต่ความอิ่มเอิบในธรรม จิตจะสว่าง สะอาด สงบสันติแม้ถูกเสือกิน เราก็ยังยิ้มได้ เจริญวิปัสสนาในปากเสือได้ จิตมั่นคงไม่หวาดหวั่นต่อภัยใดๆ ทั้งสิ้น แม้ที่สุดคือความตาย…”

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559