วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560
ชราและจิปาถะ
วันพุธที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2560
การละอาสวะ
อาสวะที่พึงละด้วยการเห็น (ต้องเห็นจึงจะละได้ ไม่เห็นละไม่ได้) มีอยู่
อาสวะที่พึงละด้วยการสังวร (สังวร ปิดกั้น ระวัง หลบ) มีอยู่
อาสวะที่พึงละด้วยการปฏิเสวนา (ใช้สอยให้ถูกต้อง เช่น เสื้อผ้า อาหาร) มีอยู่
อาสวะที่พึงละด้วยการอธิวาสนา (อดกลั้น อดทน เช่น เย็น ร้อน หิว คำพูด) มีอยู่
อาสวะที่พึงละด้วยการปริวชฺชนา (งดเว้น เลิกไปเลย เช่นที่ๆ ไม่ดี อโคจร ยาเสพติด)
อาสวะที่พึงละด้วยการวิโนทนา (บรรเทา เช่น เรื่องเลวร้าย ความคิดไม่ดี) มีอยู่
อาสวะที่พึงละด้วยการภาวนา มีอยู่ (ทำสิ่งที่ไม่มีให้มีขึ้น)
บางอย่างก็ต้องใช้วิธีบางอย่าง ไม่ใช่ละความยึดในอาหารด้วยการไม่ เป็นต้น
ไม่ก่อกรรม
และสำรวมระวังในการต่อไป
และละมันเสีย
เป็นความเจริญในอริยวินัย
เป็นเครื่องปฏิบัติซึ่งความสิ้นกรรม
หลักคือ
เอาอยาก เอาคิดออกไป
เอาสัมมาทิฏฐิตั้ง เอาเหตุเอาผลตั้ง
อันไหนเหมาะไม่เหมาะ อันไหนควรไม่ควร
กรรมที่ก่อภพชาติ
มีวิบากไม่ดำไม่ขาว
เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม
กรรมดำ ฝ่ายอกุศล
กรรมขาว ฝ่ายกุศล ถ้าขาวล้วนก็ได้ฌาน เป็นต้น คืออกุศลไม่แทรกเลย
โพธิปักขิยธรรม
ไม่ใช่กรรม แต่ก็เป็นกรรม
เพราะมีการกระทำ มีความตั้งใจ
แต่ไม่ได้ทำตามตัณหา จึงไม่เป็นกรรมที่จะให้เกิดภพชาติ
กรรมที่จะทำให้เกิดภพชาติได้
ตามหลักปฏิจจะคือ
จะมีชาติ ก็ต้องมีกรรม คือมีภพ
จะมีภพ ก็ต้องมีอุปาทาน คือยึดถือเสียก่อน
จะเกิดความยึดถือ ก็ต้องมีตัณหา
จะมีตัณหาก็เพราะความไม่รู้เรื่อง
เห็นว่ามีตน มีของตน ก็รักตน
ส่วนโพธิปักขิยธรรม หรือโพชฌงค์พวกนี้
เริ่มด้วยความรู้ จึงไม่จัดอยู่ในพวกกรรมดำกรรมขาว
มีวิบากเป็นวิบากไม่ดำไม่ขาว
เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม
วันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2560
พุชฺฌนฺติ
อนุพุชฺฌนฺติ บางสำนวนแปลว่า "รู้ตาม" หรือ "ตามรู้" ไม่ได้หมายถึง ไปตามตูดมันแล้วรู้
ตามความหมายจริงๆ คือ รู้ตามที่เป็นจริง รู้ทุกอันเสมอเหมือนกัน เหมือนใน อนุปสฺสี รู้บ่อยๆ เนืองๆ รู้ทุกอันเสมอกัน ภายในรู้เหมือนกัน ภายนอกรู้เหมือนกัน หยาบก็รู้ ละเอียดก็รู้ เรียกว่ารู้อย่างครบถ้วน ไม่ใช่ในห้องเข้าใจ ออกนอกห้องไม่เข้าใจ
ปฏิพุชฺฌนฺติ = รู้ลึกซึ้ง เฉพาะเจาะจงในเรื่่องนั้นๆ ลงไป
สมฺพุชฺฌนฺติ = รู้อย่างถูกต้อง ไม่ผิดเพี้ยน
โพชฺฌงฺคา = ธรรมที่ตั้งขึ้นมาที่เรียกภาวะจิตที่พร้อมใช้งานอย่างเต็มที่
= ธรรมตรงข้ามนิวรณ์ เคลียร์จิตให้พร้อมเพื่อให้เกิดจักขุ
อญญาณ = รู้ แต่ไม่เป็นญาณ รู้แต่อาจจะรู้ไม่ถูก ไม่ถึงกับไม่รู้อะไร
สติสมฺโพชฺฌงฺโค = สติที่เป็นไป "เพื่อนิพพาน" เป็น สติ+เนปกฺก
เนปกกปญญา = รู้ว่าควรทำอะไร ควรเลี่ยงอะไร เพื่อเป็นไปในการนี้ (คือรวมสัมปชัญญะไปแล้ว)
ตามระลึกได้แม้ทำนานแล้ว แม้พูดนานแล้ว ถ้าระลึกไม่ได้ก็ไม่เหมาะจะใช้ปัญญาวิจัย รู้เท่าทันว่าคิดอย่างไรจึงทำอย่างนี้ ทำแล้วเป็นอย่างไร ระลึกและตามระลึกได้อยู่เสมอ จึงจะนำไปธมมวิจัยได้ เอามาประมวลได้ว่า นี้เป็นไปเพื่อเสื่อม หรือเจริญ
ธมฺมวิจยสมฺโพชฺฌงฺโค = มีสติอยู่อย่างนั้น (สติสมฺโพชฺฌงฺโค) แล้วสอบสวนอยู่ด้วยปัญญา ไม่หลงลืม มีอันนี้เกิดขึ้นแล้ว มีอันนี้เกิดขึ้นแล้ว เป็นกุศลหรืออกุศล เศร้าหมองหรือสะอาด เที่ยงมั้ย ใคร่ครวญให้ลึกลงไปในเรื่องนั้น เป็นรูปหรือนาม เกิดเพราะอะไรยังไง พิจารณาโดยรอบด้าน รู้คุณ โทษ วิธีที่จะออก
วิริยสมฺโพชฺฌงฺโค = เมื่อสอบสวน ค้นคว้าลึกซึ้ง เข้าถึงด้วยปัญญา ความเพียรก็เป็นอันตั้งขึ้น ถือว่ามีขึ้น ไม่เกียจคร้าน ไม่จมลง ไม่นอนเล่น ได้ทำกิจที่ควรทำ วิริย = กล้าหาญ บากบั่น ไม่กลัว พอแปลเป็นไทยกลับแปลว่า ความเพียร
ปีติสมฺโพชฺฌงฺโค = ปีติอันไม่ต้องอาศัยอามิส ย่อมบังเกิดแก่ผู้ปรารภความเพียร
ปสฺสทฺธิสมฺโพชฺฌงฺโค = แม้กายของผู้ที่มีใจปีติก็ย่อมสงบระงับ แม้จิตก็ย่อมสงบระงับ ไม่มีอะไรทิ่มแทง
สมาธิสมฺโพชฺฌงฺโค = จิตของผู้มีกายระงับ และมีความสุข ย่อมตั้งมั่นด้วยดี สํ = ดี, ธิ = ตั้งมั่น สมาธิ = ตั้งมั่นด้วยดี
อุเปกขาสมฺโพชฺฌงฺโค = เมื่อตั้งมั่นอยู่อย่างนั้น ย่อมเป็นผู้เพ่งอยู่อย่างใกล้ชิดด้วยดี โดยถูกต้อง โดยเหมาะสม โดยสมควร คือ ควรทำหรือไม่ทำอะไรอย่างไร ควรแก้ไขหรือไม่ควรแก้ไข ควรจัดการหรือควรปล่อยไปก่อน อชฌุเปกขิตา จึงเรียกว่าอุเปกฺขาสมฺโพชฺฌงฺโค (อชฌุ = ใกล้ชิด, อุเปกขิตา = มองดู นั่งดู รวมๆ คือ ดูอย่างใกล้ชิด) พอแปลเป็นไทยกลับ แปลว่า วางเฉย เป็นภาษาโบราณมา
จะเข้าใจโพชฺฌงฺค จะต้องไล่มาแต่ข้อแรก
วันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2560
โลก
คือมีดีชั่ว
มีถูกผิด
เหนือโลก คือออกมามองดูเหนือดีเหนือชั่ว
เหนือถูกเหนือผิด
ดูว่าเหตุปัจจัยที่ทำให้มันดี
มันก็ไม่เที่ยง
ความดีตัวมันก็ไม่เที่ยง
เหตุปัจจัยที่ทำให้มันชั่ว
มันก็ไม่เที่ยง
ความชั่วตัวมันก็ไม่เที่ยง
ระดับเหนือโลก
ถ้ายังทุกข์อยู่ก็ยังผิด
จะเป็นบุญถ้ายังทุกข์อยู่ก็ยังผิด
ความเข้าใจเรื่องกรรม
ผลของกรรม
ดีชั่วอยู่ที่กรรม
ทำความดีก็ได้ความดี
ทำความชั่วก็ได้ความชั่ว
เราได้สิ่งที่เราทำ
ได้สิ่งที่เราคิด
คิดอะไรก็ได้อันนั้น
ความคิดอันนั้นย่อมมีอิทธิพลต่อความเสื่อมลงหรือเจริญขึ้นของตน
วันพุธที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2560
ทำไมมันเป็นอย่างนี้
ก็เพราะมันเป็นอย่างนี้
เมื่อไรมันจะหายจากความเป็นอย่างนี้
ก็เมื่อมันหายไปจากความเป็นอย่างนี้
เขาสมควรโดนเตะ
แต่เราไม่สมควรไปเตะเขา
เขาเป็นของเรา
เราจึงมีสิทธิ์
อันนี้โง่
เพราะสิ่งนี้มิใช่สิ่งอื่น
คือสิ่งที่ขวางความเป็นสิ่งอื่น
หากปรารถนาจะเป็นไปในสิ่งอื่น
พึงละไปจากสิ่งที่กำลังเป็น
วันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560
วารีดุริยางค์
|
ยืมแร่แปรธาตุ
เธอจะตื่น ฤาจะครวญ กับความฝัน
เมื่อฝากไว้ กับเงื่อนไข สารพัน
เป็นอื่นยัน ยึดไว้ อวิชชา
มีอะไร ไหนบ้าง ไม่เป็นอื่น
ความดาษดื่น ในผัสสะ ชวนหรรษา
ทุกผัสสะ ปรวนแปร ตลอดเวลา
ละอวิชชา คืนใจไว้ ให้นิพพาน
วันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2560
how to control very strong energy - Q&A
เป็นความกดข่มภายในรูปแบบหนึ่ง
ยังอยากจะควบคุมสิ่งใด
ยังไม่รู้สิ่งนั้นอย่างที่มันเป็น
Simple recognition
วันก่อนว่าฝัน
ฝันนี่ก็เป็นผัสสะเหมือนกัน มีองค์ประกอบในความรับรู้จริงเท่ากัน
ในฝัน ฝันว่านอนคุยกับรูป ท่ามกลางท้องฟ้าดาราจักร
ในประเด็นที่ว่า "ศีลนี้ต่างหาก คือความป้องกันตัวอย่างแท้จริง"
ในฝันคล้ายความอำลา
แต่อำลาก็เกิดดับ
ทุกเหตุการณ์เสมอภาค เกิดขึ้นเพียงครั้งในจักรวาล
เราเรียกรูปว่า "รูป"
ด้วยคลับคล้ายว่า มีสัญญาต่อรูปไว้ในอดีตสมัย
การพบและพรากก็เท่ากัน ล้วนเป็นสิ่งที่วิเศษเช่นกัน
วันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2560
สีลสุคนธ์
แม้นหอมใด ในสวรรค์ สุคันธชาติ
ยังมิอาจ ปฏิวาต ประหลาดผัน
มีเพียงหนึ่ง ซึ่งรส สุคนธ์อัน
สามารถยัน วาโยย้อน ขจรไกล
จะมีกลิ่น หอมใด ในพิภพ
นำขบวน อวลอบ ปรารภสมัย
สุคนธ์ทิพย์ คือศีล สุคนธ์ไง
พระจอมไตร ตรัสไว้ ไม่เกินเลย
---
นมตฺถุ รตนตยสฺส
วันพุธที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2560
ว่าด้วยศัพท์ทางปัญญา
ถ้าเห็นแล้วยังไม่สรุปก็เฉยๆ เป็นอนุปัสสนา
มรรค = เห็นแบบไม่เหลือที่ให้สงสัย
ธรรมจักขุ = ตาดี ทิฏฐิสมบูรณ์ สัมมาทิฏฐิสมบูรณ์ทั้ง 2 ฝ่าย
วิปัสสนา = เห็นบ่อยๆ เนืองๆ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นอุบายที่จะฝึกให้เกิดญาณ
สัมมาทิฏฐิ (โลกิยะ) ยังมีดำ/ขาว ดี/ไม่ดี
ฝ่ายบุญ คือ ให้รู้ดี ชั่ว จะได้ไม่ไปเกลือกกลั้วกับชั่ว เรื่องกรรม กฏแห่งกรรม ความถูก ความผิด เหมาะไม่เหมาะ เป็นความรู้เข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องโลกๆ เกลือกกลั้วกับน้ำคลำจะไปสะอาดได้อย่างไร
ตัวดำไม่มีประโยชน์อะไร ก็ทำตัวให้ขาว อยู่ในโลกก็อยู่ให้มันสบาย ไม่ให้มีอะไรขัดข้อง จึงต้องมาชำระกัน
โลกุตระ (เหนือดีชั่ว)
แต่ก็ยังต้องอาศัยฐานขาวขึ้นไป มีลำดับของมัน ไม่สามารถกระโดดจากดำขึ้นไปได้
การให้มีผล การบูชามีผล
มีผล = มีวิบาก
บูชา หมายถึง บูชาผู้อยู่เหนือเรา เราอยู่ใต้เท้าท่าน ท่านมีคุณธรรมเหนือเราผู้ที่เป็นแบบอย่าง idol เรา
บวงสรวงมีผล หมายถึง มงคลกิริยาต่างๆ การทำอะไรที่ดีงามสวยงาม รู้จักไหว้ ต้อนรับ การเคารพ นอบน้อม - ผลคือ สำรวมระวัง อ่อนน้อม
เอาจริงๆ การกระทำที่ไม่มีผลไม่มี ทุกการกระทำมีผล
คิด ทำ พูด เล็กๆ น้อยๆ มีผลหมด ต่อบุคลิกภาพ และตัวเอง
ต่อนิสัย ต่อความยากง่ายในการปฏิบัติธรรมในอนาคต
คิดไม่ดี เล็กๆ น้อยๆ ก็ไม่ควรคิด
คิดดี เล็กๆ น้อยๆ ก็ควรคิด
จะสะดวกหรือไม่สะดวกก็อยู่ที่ความคิด
คิดไม่ดีก็ไม่สะดวก พูดไม่ดีก็ไม่สะดวก
ยิ่งปฏิบัติดีปฏิบัติชอบยิ่งคิดไม่ดียิ่งขัดขวาง ขัดแข้งขัดขาตัวเอง กวนใจ
จะมาโทษใครเป็นพญามารก็ไม่ได้ ก็คิดไม่ดีเองนั่นล่ะ
หรือถ้ามันจะส่งเสริม มันก็เราเองนั่นล่ะ
ถ้ามันเกิดขึ้นก็ต้องยอมรับผล ก็ทำไว้เอง
โทษคนอื่นก็ได้โทษมาด้วย
จับผิดคนอื่น ก็จับได้ผิดมาด้วย
ทำกุศล คือ ความฉลาดให้ถึงพร้อม หมายถึง ทำสัมมาทิฏฐิให้ถึงพร้อม
(โลกนี้มี/โลกอื่นมี)
โลกนี้มี คือ ความเป็นมนุษย์มีสำหรับสัตว์อื่นๆ ความเป็นมนุษย์ไม่ได้แก่เราคนเดียว มีแก่ภพภูมิอื่นๆ ด้วย เพียงแต่ตอนนี้กรรมนำเรามาเป็นมนุษย์ชั่วคราว ความเป็นมนุษย์จึงเป็นของสาธารณะ เราก็เป็นมนุษย์ชั่วคราว
โลกอื่นมี คือ ความเป็นหมาก็มีสำหรับเรา มีโอกาสไปได้เหมือนกันถ้าจัดกรรมเอาไว้ ภพภูมิสัตว์อื่นๆ นอกจากมนุษย์มีอยู่ และมีโอกาสเป็นได้สำหรับเรา
คือ ความเห็นตรงถูกต้องว่า สามารถสลับกันไปมา ใครจะมาจะไปตามกรรม ไม่มีใครเป็นเจ้าของความเป็นมนุษย์ตลอดไป และเราก็สามารถกลับไปเป็นสัตว์อื่นได้
(มารดามี/บิดามี)
มารดา/บิดามีคุณต่อบุตรมาก
พ่อแม่เราทำได้กับเรา มีคุณธรรมต่อลูกมาก
ถ้าทำผิดต่อท่านคือ ผิดมาก ทำถูกต่อท่านมาก คือถูกมาก
พ่อแม่เป็นนาบุญของลูก
พระอรหันต์เป็นนาบุญของโลก (ทำดีกับทุกคนได้เสมอกัน)
ถ้าทำผิดไว้มาก ปฏิบัติจะยาก
บุญช่วยให้เกิดความสุข สุขคือสะดวก
สะดวกที่ดีที่สุดคือ สะดวกในการเดินตามอริยมรรค
(โอปปาติกะมี)
ตายแล้วเกิดใหม่ทันที ไม่มีใครตายแล้วหายสูญไป
วันอังคารที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2560
อิตถิภาววิการจิต
สืบค้นภายใน
เค้าเดิมต้นเรื่องจากบทสนทนาเรื่อง ทางเดินของปลาและอาภัพฐานะ 18 ประการ
อิตถิิภาวเป็นยังไง
- อยู่ในภาวะพอใจอะไรได้ยาก
- ถ้าต้องการจะมาดหวังให้ได้เสมอ
- ใจร้อน
- ต้องเสร็จ
- เป็นโทสะกรุ่นๆ เจือๆ
- เหมือนจะมีความรับผิดชอบ แต่จะเอาความคาดหวังผูกกับความรับผิดชอบนั้นด้วย
- ใจไม่เป็นอิสระ
- รู้สึกว่ามีเวลาน้อยในการจัดการสิ่งต่างๆ
- เอาความพอใจไปผูกกับการจัดการภายนอก ด้วยจัดการร่างกายไม่ได้
- ความตีเสมอท่านเมื่อมีโอกาส
- คิดเอาเป็นฐานก่อนการให้ ราวกะว่าการ "ได้รับ" เป็นสิ่งที่สมควรจะต้องเป็น
- มีความมายาเสแสร้งอยู่บางอย่าง
ก่อให้เกิดความเสียใจสุดประมาณอย่างไม่สามารถร้องทุกข์กับใครได้
- ความรู้ในสภาวะ (รู้ความเกิด)
- ความรู้ในเหตุเกิด
- ความรู้ในความดับ
- ความรู้ในวิธีให้ถึงความดับ
- รู้คุณ
- รู้โทษ
- รู้อุบายเครื่องออก/รู้ทางออก
วันจันทร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2560
ผู้เดินโสดาปัตติมรรค จักไม่ตายก่อนได้โสดาปัตติผล
เป็นผู้ไม่สมควรเพื่อที่จะทำกาละ
เป็นผู้ไม่สมควรตาย
เป็นผู้จะไม่ตาย
ตราบเท่าที่ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มหาหัตถิปโทปมสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ ข้อ ๓๐๖
สังยุตนิกาย ขันธวารวรรค ขันธสูตร เล่ม ๑๗ ข้อ ๓๑๑
ท่านว่าแม้โลกจะแตกก็ต้องรอก่อน
วันอาทิตย์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2560
วันศุกร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2560
เดือดร้อนในสิ่งใด 11/8/60
ยังเดือดร้อนในสิ่งใด
ยังเชื่อว่าสิ่งนั้นจะคงอยู่ตลอดไป
ยังเชื่อว่าสิ่งใดจะคงอยู่ตลอดไป
ยังหวังว่าสิ่งนั้นจะคงอยู่ตลอดไป
เลิกหวัง ก็เลิกเชื่อ ก็เลิกเดือดร้อน
...
ในความเงียบก็มีการกระทำ
เป็นการกระทำที่ไม่รู้จัก
เพราะเงียบจึงถามไม่ถูก
จึงสนใจ จึงเพ่งมอง จึงไม่หายไป
จึงเข้าใจผิด
วันเสาร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2560
จากอยู่กับรู้สัญจร 27-30 ก.ค.60
โดยสภาวะ
ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม เป็นตัวเดียวกัน ภวังคุบาท
มีลักษณะแห่งความตั้งมั่น เป็นฉากหลัง ผลคือไม่ถลำไถลไปกับชอบไม่ชอบในผัสสะ หรือไปก็กลับมาอย่างรวดเร็ว ไม่ค้างหรือเพลินอยู่ในชอบไม่ชอบนั้น
อุปาทานขันธ์ 5
อุปาทานขันธ์ 5
ไม่ได้แปลว่า ความยึดในขันธ์ 5
ไม่ได้หมายความว่า ขันธ์ 5 ไม่ทุกข์แล้วความไปยึดในขันธ์ 5 เป็นทุกข์
แต่สื่อถึงประเภทของขันธ์ที่ถูกยึดได้
คือขันธ์ แบ่งเป็นที่ถูกยึดได้ และที่ถูกยึดไม่ได้
ที่ถูกยึดไม่ได้ เช่น โลกุตรจิต
เทศน์เช้า 9 ก.ค.60