วันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2560

พุชฺฌนฺติ

พุชฺฌนฺติ = รู้ คำนี้ไม่ได้หมายถึงรู้ทั่วๆ ไป หมายถึงรู้แจ้ง แทงตลอด

อนุพุชฺฌนฺติ บางสำนวนแปลว่า "รู้ตาม" หรือ "ตามรู้" ไม่ได้หมายถึง ไปตามตูดมันแล้วรู้
ตามความหมายจริงๆ คือ รู้ตามที่เป็นจริง รู้ทุกอันเสมอเหมือนกัน เหมือนใน อนุปสฺสี รู้บ่อยๆ เนืองๆ รู้ทุกอันเสมอกัน ภายในรู้เหมือนกัน ภายนอกรู้เหมือนกัน หยาบก็รู้ ละเอียดก็รู้ เรียกว่ารู้อย่างครบถ้วน ไม่ใช่ในห้องเข้าใจ ออกนอกห้องไม่เข้าใจ

ปฏิพุชฺฌนฺติ = รู้ลึกซึ้ง เฉพาะเจาะจงในเรื่่องนั้นๆ ลงไป

สมฺพุชฺฌนฺติ = รู้อย่างถูกต้อง ไม่ผิดเพี้ยน

โพชฺฌงฺคา = ธรรมที่ตั้งขึ้นมาที่เรียกภาวะจิตที่พร้อมใช้งานอย่างเต็มที่
                = ธรรมตรงข้ามนิวรณ์ เคลียร์จิตให้พร้อมเพื่อให้เกิดจักขุ

อญญาณ = รู้ แต่ไม่เป็นญาณ รู้แต่อาจจะรู้ไม่ถูก ไม่ถึงกับไม่รู้อะไร

สติสมฺโพชฺฌงฺโค = สติที่เป็นไป "เพื่อนิพพาน" เป็น สติ+เนปกฺก
เนปกกปญญา = รู้ว่าควรทำอะไร ควรเลี่ยงอะไร เพื่อเป็นไปในการนี้ (คือรวมสัมปชัญญะไปแล้ว)
ตามระลึกได้แม้ทำนานแล้ว แม้พูดนานแล้ว ถ้าระลึกไม่ได้ก็ไม่เหมาะจะใช้ปัญญาวิจัย รู้เท่าทันว่าคิดอย่างไรจึงทำอย่างนี้ ทำแล้วเป็นอย่างไร ระลึกและตามระลึกได้อยู่เสมอ จึงจะนำไปธมมวิจัยได้ เอามาประมวลได้ว่า นี้เป็นไปเพื่อเสื่อม หรือเจริญ

ธมมวิจยสมฺโพชฺฌงฺโค = มีสติอยู่อย่างนั้น (สติสมฺโพชฺฌงฺโค) แล้วสอบสวนอยู่ด้วยปัญญา ไม่หลงลืม มีอันนี้เกิดขึ้นแล้ว มีอันนี้เกิดขึ้นแล้ว เป็นกุศลหรืออกุศล เศร้าหมองหรือสะอาด เที่ยงมั้ย ใคร่ครวญให้ลึกลงไปในเรื่องนั้น เป็นรูปหรือนาม เกิดเพราะอะไรยังไง พิจารณาโดยรอบด้าน รู้คุณ โทษ วิธีที่จะออก

วิริยสมฺโพชฺฌงฺโค = เมื่อสอบสวน ค้นคว้าลึกซึ้ง เข้าถึงด้วยปัญญา ความเพียรก็เป็นอันตั้งขึ้น ถือว่ามีขึ้น ไม่เกียจคร้าน ไม่จมลง ไม่นอนเล่น ได้ทำกิจที่ควรทำ วิริย = กล้าหาญ บากบั่น ไม่กลัว พอแปลเป็นไทยกลับแปลว่า ความเพียร

ปีติสมฺโพชฺฌงฺโค = ปีติอันไม่ต้องอาศัยอามิส ย่อมบังเกิดแก่ผู้ปรารภความเพียร

ปสฺสทฺธิสมฺโพชฺฌงฺโค = แม้กายของผู้ที่มีใจปีติก็ย่อมสงบระงับ แม้จิตก็ย่อมสงบระงับ ไม่มีอะไรทิ่มแทง

สมาธิสมฺโพชฺฌงฺโค = จิตของผู้มีกายระงับ และมีความสุข ย่อมตั้งมั่นด้วยดี สํ = ดี, ธิ = ตั้งมั่น สมาธิ = ตั้งมั่นด้วยดี

อุเปกขาสมฺโพชฺฌงฺโค = เมื่อตั้งมั่นอยู่อย่างนั้น ย่อมเป็นผู้เพ่งอยู่อย่างใกล้ชิดด้วยดี โดยถูกต้อง โดยเหมาะสม โดยสมควร คือ ควรทำหรือไม่ทำอะไรอย่างไร ควรแก้ไขหรือไม่ควรแก้ไข ควรจัดการหรือควรปล่อยไปก่อน อชฌุเปกขิตา จึงเรียกว่าอุเปกฺขาสมฺโพชฺฌงฺโค (อชฌุ = ใกล้ชิด, อุเปกขิตา = มองดู นั่งดู รวมๆ คือ ดูอย่างใกล้ชิด) พอแปลเป็นไทยกลับ แปลว่า วางเฉย เป็นภาษาโบราณมา

จะเข้าใจโพชฺฌงฺค จะต้องไล่มาแต่ข้อแรก






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น