วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562

วิปัสสนา มรรค

วิปัสสนาญาณ เป็นสังขาร
มีสังขารเป็นอารมณ์
เป็นทุกขสัจ
เป็นปริญเญยธรรม

มรรคญาณ
มีนิพพานเป็นอารมณ์
เป็นภาเวตัพพธรรม

เราเจริญวิปัสสนา
ไม่ได้เจริญเอาวิปัสสนาญาณ
เจริญเอามรรค

เวลาเราเจริญวิปัสสนา
เราก็นึกว่าเราเจริญมรรคนะ
จริงๆ มันก็เจริญมรรคน่ะแหละ

แต่ด้วยความที่มันเป็นสังขาร
มันจะต้องเอามากำหนดรู้
คือเจริญมา ก็ต้องเอามากำหนดรู้
ไม่ได้เจริญเพื่อให้มันเจริญ

วิปัสสนาที่เรามาเจริญ
เพราะเชื่อมั่นว่าทำให้เกิดมรรค
ทำไมเชื่อ? พระพุทธเจ้าบอก :)

เหมือนให้ทาน รักษาศีล
เราไม่ได้ให้ทานเพื่อให้ทาน
เราให้ทานเพื่อให้มรรคเกิด
ดังนั้นทานที่ทำต้องเอามากำหนดรอบรู้

สำหรับพระอรหันต์
ปัญญาของท่าน คือรู้อริยสัจ 4
วิญญาณของท่านคือ วิปัสสนาญาณ

วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2562

แช่มชื่นเบิกบานมั้ย

วิธีสังเกตุจิตฝ่ายสมาธิคือ จิตจะเบิกบาน เหมือนดอกบัวมันบานขึ้น

เวลาทำกรรมฐานดูว่าจิตบานมั้ย
ถ้าไม่บาน หุบลง ห่อเหี่ยวลง หล่นตุ๊บไปเรื่อย
นี่เรียกว่าไม่ได้กรรมฐาน

เมื่อบานแล้ว จิตมันก็จะมารวมลงเป็นอัปปนาสมาธิ
แล้วก็บานขึ้นอีกครั้ง บานใหญ่กว่าเดิม
นี่ถึงจะเป็นสมาธิที่ถูกต้อง

ถ้าสมาธิไม่ถูกต้อง มันจะเป็นสมาธิแบบดิ่ง ไม่ใช่ของพระพุทธศาสนา

สมาธิมี 2 แบบ แบบเบิกบาน และแบบดิ่ง

แบบเบิกบาน

นี่เป็นสมาธิสำหรับใช้งานทางด้านปัญญา ผ่องใส ใช้งานได้ดี

แบบดิ่ง

ก็จะค่อยๆ ดิ่งลงไปเรื่อยๆ เข้าใกล้ภวังค์
เข้ารู ลงรูไปเรื่อย มุดถ้ำไปเรื่อย
นี้เป็นแบบภวังค์ ภวังค์คือสักหน่อยมันจะหลับนั่นเอง

ถ้ามันดิ่งมากๆ ถ้าสติทันอยู่ก็ยังไม่หลับ
ขาดสติเมื่อไร หลับทันที เรียกสมาธิลงภวังค์

เวลาทำกรรมฐานจึงต้องสังเกตจิตใจว่าแช่มชื่นเบิกบานมั้ย
เห็นคนยากจน เห็นคนลำบาก แช่มชื่นเบิกบานมั้ย (กรุณาสีมาสัมเภท)
ถ้าไม่ แสดงว่ามันไม่เป็นกรรมฐาน

กรุณาไม่เกิดกับอุเบกขาขาหรือโทมนัส
แต่เกิดกับโสมนัสเท่านั้น
เกิดกับจิตแช่มชื่นเบิกบานเท่านั้น
เอาความรู้สึกที่อยากจะให้คนนั้นพ้นไปจากทุกข์

ถ้ากรุณาน้อย เดี๋ยวก็เศร้าเข้ามาแทรก
ถ้าจะแยกมันให้ออก
กรุณาจะต้องใหญ่พอ และนานๆ ถึงจะเห็น

ที่มาของความเบียดเบียน

ถือว่าเราเป็นเจ้าของ
เราเป็นคน มันเป็นสัตว์ เราสามารถขับไล่มันได้
เรามาก่อน
เรามีสิทธิ์
เรามีความสามารถมากกว่า
ถือว่าเราถูกกฎหมาย มีสิทธิ์ว่าคนทำผิด
ถือว่าเราดี ก็กระแนะกระแหนคนไม่ดี


วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2562

จะสู้กิเลสสู้ให้ถูกตัว

สู้อย่างมีปัญญา
ไม่ใช่สู้อย่างฆ่ามันทิ้ง
ถ้าสู้อย่างนี้ คิดว่ากิเลสเป็นตัวตน
เราจะแพ้มันไปเรื่อย

เหมือนสู้กับเงา
ไม่ใช่เงามันเก่ง
แต่เงามันไม่มี เลยแพ้เรื่อยไป
ตายเปล่า

สู้กับสิ่งไม่มีตัวตน
ไปคิดว่ามันมีตัวตน

ราคะก็ไม่มีตัวตน
เกิดเพราะเหตุเพราะปัจจัย
อยากจะละ ไปทำเหตุให้เหมาะ ไม่ให้มันเกิด

ถ้าเกิดแล้วไปสู้กับมัน
ไปสู้แบบมันมีตัวตน

ไม่ใช่มันเก่ง
แต่เราโง่
สู้ไม่ถูกวิธี 5555

สู้กับความเข้าใจผิด
เข้าใจผิดว่าความเจ็บความปวดเป็นตัวเรา
เข้าใจผิดว่ากิเลสเป็นตัวเรา



ไหว้เทพ ไหว้พรหม

ไหว้เพราะท่านมีคุณ

สีลลัพพตปรามาส
ไหว้เพื่อเราจะมีสุข
ไหว้เพื่อเราจะได้ดี
ไหว้เพราะจะได้ไม่มาทำอันตราย
ไหว้เพื่อให้ไล่ผี
ไหว้เพื่อให้สบายใจ

วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2562

แก่นสารของสติ

ฝึกสติ ฝึกให้ได้แก่นสารของมัน

คือ
รู้และไม่หลงไปตามมัน

ถ้าไม่ไหว เช่น นอน ก็ "ทำ" อย่างมีสติสัมปชัญญะ
ตั้งเวลาในการทำ ตั้งใจจะลุกขึ้น

มีสติแล้วก็ทำให้มันเป็นองค์ประกอบของการตรัสรู้
ดึงมันไปทางเป้าหมาย คือสร้างสติมาเพื่อการตรัสรู้

การละกิเลสของมรรค

การละกิเลสของมรรค คือการไม่ให้มันเกิดขึ้น
ไม่ให้มีเหตุของมันเกิดขึ้น

ส่วนไอ้กิเลสที่เกิดตอนนั้น...ช่างมัน !
เอามากำหนดรอบรู้ เอามายอมรับ เอามาเป็นสัจธรรมไป

สมาธิละนิวรณ์?

เข้าใจว่ามีสมาธิจะละนิวรณ์ได้
เข้าใจผิดมาก

มาคิดแค่ว่าทำสมาธิจะได้ละนิวรณ์
นิวรณ์ทำให้เกิดอวิชชา

มานั่งสมาธิ จะได้ไม่เกิดนิวรณ์ จะได้ไม่เกิดอวิชชา
มันก็คิดอยู่อย่างนี้

ภาวนาเลยมานั่งทำแต่สมาธิ วนไป
กิเลสเลยคาอยู่จนทุกวันนี้

วิธีการมันจะต่างจากที่ท่านสอน
คำว่าละนิวรณ์ที่ท่านสอนคือ "ไม่เกิดอีก"
ไม่ใช่แค่ข่มไว้

เหมือนจะละอวิชชา ต้องทำวิชชาให้มีขึ้น
ถ้าจะละนิวรณ์ห้า ต้องทำอะไรล่ะให้มีขึ้น

ที่ไม่พ้นกิเลส เพราะไม่มีความชัดเจน
เมื่อชัดเจน ก็จะพ้่นจากอำนาจของมัน

โพชฌงค์เจ็ด จะมาเป็นตัวละนิวรณ์ห้าที่แท้จริง

วันอังคารที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2562

ผัสสะดับ

เวทนาดับเพราะผัสสะดับ

ผัสสะดับ คือไม่มั่นหมายในความเป็นผัสสะ
มี เหมือนไม่มี

อย่างน้อยที่สุด เว้นบาป

ถ้ายังดีไม่ได้
เอาแค่ไม่ชั่วก็พอ

ความดีที่ยังทำไม่ได้อย่าเพิ่งฝืน
จะทำให้เกิดความทุกข์เยอะเกินไป

ทำเป็น step ไป

เกี่ยวกับบุญกิริยา

การกระทำนั่นนี่เป็นเหตุให้เกิดบุญ
ไม่ใช่ตัวบุญ บุญเกิดที่จิต

การกระทำเป็นเหตุ
แต่จะเกิด หรือไม่เกิดบุญก็แล้วแต่เหตุอื่นๆ ประกอบอีก

เพียรเพี้ยน

เพียรดูว่ามันไม่เที่ยง
ไม่ใช่เพียรทำให้มันเที่ยง

ละโทมนัส

ละโทมนัส = ละความปฏิเสธโลก

ความหมายของสติ

ความหมายของสติ

1 ตรึงไว้กับที่ ตรึงไว้กับงาน
เพราะจิตจะถูกดึงไปกับอารมณ์ เสียตัวให้สิ่งข้างนอก
อันนี้เรียกสติ เช่น

ตรึงไว้กับลม อานาปานสติ.
ตรึงไว้กับกาย กายคตาสติ ฯลฯ

จับเอาสติเฉพาะหน้า
เอาอารมปัจจุบัน

2 สติความหมายที่สอง คือดึงข้อมูลดีๆ ขึ้นมา เรียกอนุสสติ

สตินึกเอา เพราะไม่เป็นอารมณ์ปัจจุบัน

วันจันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2562

ทำกรรมอย่างไร ไม่จำเป็นต้องได้รับผลอย่างนั้น

ในยุคที่มีธรรมพระพุทธเจ้า
ทำกรรมอย่างไร ไม่จำเป็นต้องได้รับผลอย่างนั้น

ทำบาปไม่จำเป็นต้องได้รับผลไม่ดี
ทำบุญไม่จำเป็นต้องได้รับผลดี

กรรมทำงานได้ภายใต้เหตุ
ถ้ากิเลสยังเหลือครบถ้วน มันก็ทำงานวนไปได้
แต่ถ้ามีปัญญา ก็หมดเหตุไป

ดูกรรมเก่า

ดูกรรมเก่า ดูตัวเองนี่แหละ
ดูตอนกระทบอารมณ์แล้วเป็นยังไง
ถ้ามันขึ้นเยอะ มีอาการเยอะ นั่นแหละกรรมเก่าที่สะสมมา
ได้ตา ได้หูชนิดนี้มา

วิธีแก้กรรมเก่า/ป้องกันกรรมเก่าเล่นงาน
คือป้องกัน สังวรณ์ ปิดกั้น ด้วยสติ
ถอนด้วยปัญญา

ไม่ให้อาหารมัน ไม่ให้อาหารกรรมเก่า

วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562

ตัณหาเป็นของควรละ

ละ = ไม่เกิดอีกต่อไป

ตัณหาเป็นของควรละ
ความหมายคือ เป็นของควรทำไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไป

สิ่งใดเห็นเป็นธรรมดาจึงจะละได้

มหาภูตรูป

มหา = ใหญ่
ภูต = มี เป็นจริง มีแบบจริงจัง

ธาตุ 4 ได้ชื่อว่ามหาภูต เพราะเหตุหลักๆ 5 อย่าง

  1. เป็นของใหญ่มาก เช่น โลก จักรวาล
  2. เป็นนักเล่นกล หลอกลวง ต้มตุ๋น ดูเหมือนมี
    หลอกจากไม่มีผู้ชาย ว่ามีผู้ชาย, หลอกว่าสวยงาม ไปหาจริงๆ มันไม่เจอ
  3. สิ่งที่ต้องดูแลมาก
  4. เปลี่ยนแปลงมาก
  5. เป็นกองใหญ่และมีอยู่จริง
    คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีจริง แต่มันกองไม่ใหญ่ 555

โคจรสัมปชัญญะ - ฉลาดทำ

ไม่ได้มีแค่สติ
แต่คือปัญญาประกอบ

ฉลาดในโคจร
โคจรคืออารมณ์ของจิต
ว่าเวลานี้ควรทำอย่างนี้ เวลานี้ควรทำอย่างนี้
ควรให้จิตมันมองมุมไหน มองลักษณะไหน

ฉลาดในอารมณ์ที่เกี่ยวข้อง
บางทีต้องยกจิต
บางทีต้องข่มมัน
ฯลฯ

ทำสมาธิอย่างมีปัญญา

ต้องมีปัญญากำกับด้วยว่า
ขณะนี้อยู่กับกรรมฐานใดจึงจะมีีความเหมาะสม
ไม่ใช่ทำอย่างหัวทิ่มหัวตำไป มันก็ไม่สำเร็จ

กรรมฐานก็ต้องมีการบริหาร
เวลานี้ควรใช้นี้ เวลานี้ควรใช้นี้

สมาธิหรือสมถะนี้ก็ไม่ใช่ทำตลอดเวลา
เช่น เวลาเจอพระพุทธรูป ควรทำพุทธานุสสติ
เวลาเจอพระสงฆ์ ควรทำสังฆานุสสติ


ประโยชน์ของการกินการนอน

ประโยชน์ของการกิน
ไม่ใช่อร่อย - ไม่มีปัญญา
เพื่อระงับเวทนาเก่า - มีปัญญา

ประโยชน์ของการนอน
ไม่ใช่เพื่อสบาย - ไม่มีปัญญา
เพื่อให้กระทำความเพียรต่อไปได้ - มีปัญญา

ศรัทธาที่ถูกต้อง

คำว่าที่ถูกต้อง
ความหมายคือต้องมีปัญญาเข้ามากำกับเสมอ

อย่างศรัทธาในพระพุทธเจ้า
ก็ต้องมีปัญญาว่า ท่านมีคุณอย่างไร จึงได้ศรัทธาท่าน
ไม่ใช่แค่ศรัทธาว่า หล่อดี สวยดี นี่ยังไม่ใช่ศรัทธาที่ถูกต้อง

วันอังคารที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2562

ปรมัตถธรรมในทางปฏิบัติ

ปรมัตถธรรม 4
คือเรียนอารมณ์ของปัญญา (ไม่ใช่ปัญญา)

ปรมัตถธรรม 4 จึงเรียกว่าวิปัสสนาภูมิ
คำว่าวิปัสสนาภูมิ นี่ไม่ใช่วิปัสสนา
แต่เป็น "อารมณ์" ของวิปัสสนา
เป็นฐาน เป็นที่เกิดของวิปัสสนา

อริยสัจ ก็เป็นอารมณ์ของปัญญา ไม่ใช่ปัญญา

เมื่อเข้าใจประโยชน์
ก็พาเข้าสู่ปฏิบัติได้

ปรมัตถธรรมจึง
ต้องเอามาสงเคราะห์เป็นขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ ปฏิจจฯ อริยสัจ
ไม่ให้เหลือความเข้าใจผิดว่าเป็นตัวตน

พิจารณาอะไร เพื่ออะไร
เช่น เพื่อเอาภาวะขาดศีลออกไป คือ เอาความรู้สึกว่ามีตนออกไป
ดูอะไรอยู่ ยังรู้สึกว่ามีตน เป็นตนอยู่รึป่าว เอาออกไป
แจกแจงเข้าเป็นรูปขันธ์ เป็นเวทนา ฯลฯ

เจ็บปวดร่างกายนี้ไม่ใช่ร่างกายนะ เกิดที่จิต ค่อยๆ แยก

ภาวะขาดปัญญา กำหนดเป็นปัญหา
ยังเห็นเป็นผู้หญิงผู้ชายมั้ย
โดนด่ายังโกรธอยู่มั้ย
ยังเห็นสวยอยู่มั้ย
เห็นนั่นเห็นนี่เป็นลูกของเรา หมาของเรา

แล้วภาวะมีปัญญาเป็นไง
ถ้ารู้จักว่าสิ่งที่มองตรงหน้า นี่เป็นขันธ์ 5 นี่มีปัญญา
ถ้าเห็นเป็นคน นี่ขาดปัญญา

เห็นขันธ์ 5 เดิน เป็นจิตมันคิด กายมันยังทำงานได้ มันเลยพอเคลื่อนไปได้ นี่มีปัญญา
เห็นคนเดิน นี่ขาดปัญญา

ไม่เอาภาวะขาด...ออก ไม่ชื่อว่าเดินทาง

ศีล สมาธิ ปัญญา จะบริบูรณ์

ศีลจะบริบูรณ์ ก็ต่อเมื่อเอาภาวะไร้ศีลหมดไป
สมาธิจะบริบูรณ์ ก็ต่อเมื่อเอาภาวะไร้สมาธิหมดไป
ปัญญาจะบริบูรณ์ ก็ต่อเมื่อเอาภาวะไร้ปัญญาหมดไป

ที่ว่าภาวนา หรือพัฒนา นี่จริงๆ คือ "เอาภาวะไม่พัฒนาออกไป"

ภาวะไร้ศีล คือ ภาวะที่ไม่ควบคุมตัวเอง
เห็นแก่ผลประโยชน์ตนแล้วแย่งชิง ทะเลาะเบาะแว้งกัน

ภาวะไร้สมาธิ คือ ภาวะที่จิตมันติดข้องในกามคุณ
มันไม่มีความสุขในตัวมันเอง
ไม่เป็นตัวของตัวเอง ต้องมาพึ่งพาความสุขจากรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส

ภาวะขาดปัญญา คือ ภาวะที่ไม่รู้จักว่าขันธ์ทั้งห้ามันเป็นทุกข์
ตอนนี้ก็ไม่โง่อะไรนัก แต่มันมีภาวะขาดปัญญาอยู่
พร้อมจะเห็นว่าเป็นสุข พร้อมจะเห็นว่าเป็นของดี น่ารัก พร้อมจะเกิดตัณหา พร้อมจะยึดถือ
แต่ถ้าเอาภาวะที่เห็นแบบนี้ออกไป มันก็ไม่มีปัญหา

ภาวะมีปัญญา คือ เห็นว่าทุกอย่างมันทุกข์หมด อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์
ถ้าเห็นว่าทุกสิ่งมันเป็นทุกข์ ตัณหามันก็อยู่ไม่ได้

ไม่ว่าจะถือศีลกี่ข้อก็ตาม เคร่งแค่ไหนก็ตาม
ไม่อาจเรียกว่าศีลสมบูรณ์ได้ ถ้าไม่เอาภาวะไร้ศีลออกไป

จะมีสมาธิมากมายขนาดไหนก็ตามแต่
ได้ฌานระดับไหนก็ตามแต่ นั่งนานขนาดไหนก็ตามแต่
แต่ถ้าไม่เอาภาวะขาดสมาธิออกไป ก็ไม่อาจเรียกว่าสมาธิสมบูรณ์

เรียนได้ ท่องได้กี่คัมภีร์ก็ตามแต่
แต่ปัญญาจะสมบูรณ์อาจจะไม่ใช่ด้วยวิธีเรียนอย่างนี้เลยก็ได้
แค่เอาภาวะไร้ปัญญาออก คือเอาภาวะที่ไม่รู้ว่าสิ่งต่างๆ มันเป็นทุกข์นั่นแหละ

เรียนอภิธรรม 7 คัมภีร์ ท่องได้เป๊ะ จำได้หมด
แต่เห็นอาหารยังน่ากิน ยังอร่อยอยู่เลย
นี่ไงภาวะขาดปัญญา

ศีลเป็นข้อๆ นี่ไม่ใช่การปฏิบัตินะ
การปฏิบัติที่แท้จริงคือ การเอาภาวะขาดศีลออกไป

ปุจฉา : อะไรล่ะ ทำให้เกิดภาวะขาดศีล?
วิสัชชนา : สักกายทิฏฐิ
เมื่อเห็นแก่ผลประโยชน์ของตน เวลามีตัวตนขึ้นมา
ขึ้นมารักษาผลประโยชน์ รักษาหน้า โกหกก็ได้ แย่งชิงก็ได้ ชิงลงมือก่อน
มันนึกไม่ออกว่าคนอื่นก็รักสุขเกลียดทุกข์เหมือนกัน เป็นเพื่อเกิดแก่เจ็บตายเหมือนกัน

ภาวะไร้สมาธิ ก็คือติดกามคุณ
ที่ติดกามคุณเพราะเห็นว่ามันสวยงาม
จะเอาภาวะไร้สมาธิออกทำไง ไปดูว่ามันไม่สวยงาม เป็นทุกข์ทุกอณูเลย
แต่ถ้ายังเหลือส่วน "สวยงาม" อยู่ ถึงจะนั่งจนก้นพัง ได้ฌานลึกแค่ไหน สมาธิก็ไม่สมบูรณ์

แต่ถ้าเอาภาวะไร้สมาธิออกแล้ว
ถึงไม่นั่งสมาธิ ก็ไปสุทธาวาสสบายๆ

ภาวะขาดปัญญา
มันก็ต้องไปเห็นว่า สุขโสมนัสต่างๆ ในสมาธิ
ความอุเบกขาวางเฉย อะไรก็ดี อันนี้ก็เป็นทุกข์ด้วย
ถ้าเอาภาวะขาดปัญญาออกไปแล้ว มันก็หมดเรื่อง

ไม่ต้องเอาปัญญามาเพิ่มก็ได้ (หรือจะเอามาเพิ่มก็ได้)
คือจะเติมมากเติมน้อยก็ได้ ไม่เติมก็ได้ เพราะเอาภาวะขาดปัญญาออกไปแล้ว

ปฏิบัติ ปฏิปทา ปฏิปันโน

ปฏิบัติ แปลว่า เดินทาง ฉะนั้นการเดินทาง จะไม่มีเป้าหมาย มันก็ไม่เรียกว่าเดินทาง
ปฏิปันโน แปลว่า ผู้มาถึง
ปฏิปทา แปลว่า ทาง

วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2562

กำหนดตัณหา

กำหนดตัณหาปัจจุบัน
กำหนดกิเลสที่เกิดขึ้น
ดูว่ามันเกิดในที่ไหน

ตัวอารมณ์ กำหนดเป็นทุกข์
ตัวติดข้อ ตัวเพลิน กำหนดเป็นสมุทัย

กำหนดกิเลสอดีต
กำหนดที่วิบาก
ขันธ์ห้าที่ได้อยู่ตอนนี้ มาจากตัณหาอดีต