การใช้คำในปฏิสัมภิทามรรค
ถ้าอนุปัสสนา จะหมายถึง ไตรลักษณ์ ได้แก่ อนิจจานุปัสสนา, ทุกขานุปัสสนา, อนัตตานุปัสสนา
ถ้าใช้คำว่าวิปัสสนา จะหมายถึง นิพพิทา..., วิราคา..., นิโรธา..., ปฏินิสสัคคานุปัสสนา (เริ่มที่ภังคญาณ จึงเรียกว่าวิปัสสนาจริง)
- อนิจจานุปัสสนา ละความเห็นว่าเที่ยง (นิจจสัญญา)
- ทุกขานุปัสสนา ละความเห็นว่าสุข (สุขสัญญา)
- อนัตตานุปัสสนา ละความเห็นว่าเป็นอัตตา (อัตตสัญญา)
- นิพพิทานุปัสสนา ละนันทิ (หมายถึง ตัณหาที่ประกอบด้วยปีติโสมนัส, เบื่อก็ละความเพลิน)
- วิราคานุปัสสนา ละราคะ (หมายถึง ตัณหาที่นอกจากนันทิ, เมื่อคลายกำหนัดย่อมละราคะ)
- นิโรธานุปัสสนา ละสมุทัย (หมายถึง ละความเกิด เกิดอะไรก็เกิดตัณหาแหละ ก็ละเอียดขึ้น หมายเอาตัณหาที่เอาสังขารเป็นอารมณ์, เมื่อตัณหาไม่เกิด ก็ชื่อว่าละความเกิด)
- ปฏินิสสัคคานุปัสสนา ละอาทาน (สละคืน มิใช่ถือเอาไว้ ก็คือดับตัณหาได้สนิท ไม่เกิดอีกต่อไป, เมื่อสละออก ก็ไม่ถือ)
อาทาน = ถือ ถือนี้หมายถึง เกิดอยู่เรื่อย ที่ดูเหมือนมันเที่ยงคือตัณหามันเกิดอยู่เรื่อย เกิดตอนไหนก็เกิดตอนมันถือ ตอนถืออันใหม่ก็ไม่ใช่ถืออันเดิม มันคนละถือกัน แต่ถ้าไม่มีญาณเห็นความดับ มันก็จะมั่วว่าที่ถืออยู่เป็นอันเก่า
ปชหติ = ละ หมายถึง มันเกิดลดลง, หรือเกิดก็มีกำลังลดลง ถ้าเกิดเรื่อยๆ เกิดบ่อยๆ ก็เรียกว่า ละไม่ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น