วันเสาร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2564

อุเปกขา (สังขารุเปกขา)

 มาจาก อุป + อิกฺข

อุป ในที่นี้ไม่ได้มาจาก เข้าไป ใกล้ มั่น แต่มาจาก อุปกฺขปติตา คือ การไม่ตกไปข้างใดข้างหนึ่ง

ส่วน อิกฺข แปลว่าเห็น

อุเปกขา มี 4 เจตสิก เวทนา / ตัตตรมัชฌัชตตา / วิริยะ / ญาณ

ตัตตรมัชฌัชตตา จะเป็นเจตสิกที่มาตบสมาธิให้พอดีกับปัญญา (บางทีสมาธิมันจะเลยปัญญาไป) เช่น ในอุเปกขาสัมโพชฌงค์ หรืออุเปกขาพรหมวิหาร จะเป็นเจตสิกตัวนี้

ถ้าใน สังขารุเปกขาญาณ อุเปกขาตัวนี้คือ ญาณ คือทำหน้าที่เห็น
เห็นแบบไม่ตกไปข้างใดข้างหนึ่ง
วิจารไปตามธรรม ว่าไปตามความรู้ ตามสภาวะที่มันเป็น
ไม่ไปรังเกียจสังขารที่เป็นทุกข์ ไม่ได้ไปให้ราคากับนิพพาน

สังขารอุเปกขา ญาณ

ญาณ รู้สังขาร
ญาณ รู้อุเปกขา
รู้สองอย่างว่าเป็นสังขารทั้งคู่ (เป็นการรู้แล้วทิ้ง)
คือ สังขารเป็นอันนึง อุเปกขาเป็นอันนึง ทั้งสองอันล้วนเป็นสังขาร

มุญจิตุกัมยตาญาณ ใคร่จะพ้นนี่ไม่ได้ "ใคร่"
แต่มันทบทวนพิจารณาความจริง และดำรงมั่นตั้งอยู่ในความจริงนั้นด้วย มีใจเป็นกลางว่ามันเป็นอย่างนั้นแหละ ว่ามันเป็นทุกข์ เป็นภัย เป็นเหยื่อล่อของตัณหา (สามิสัง) เป็นสังขาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น