วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2565

งงใจ

 

ความรู้ที่ว่ามีอยู่ เมื่อเห็นอกุศล ก็รู้ว่ามันจะผ่านไป จึงไม่มีอะไรให้ไปทำ

การเข้าไปเสพอกุศลต่อขณะที่รู้ว่ามันก็จะผ่านไป

สิ่งที่น่าสังเกต คือการเข้าไป “เฝ้ามอง” ราวกับจะรอดูว่าเมื่อไรจะผ่านไป

สุดท้ายจิตตก

ตกได้ยังไงวะ

ข้อสังเกตคือพอตกแล้ว สักพักเดือดร้อน ผ่านไปสักพักถึงได้นึกได้ “ลืมไปว่า จิตตกก็จะผ่านไป”...งงกับใจ


3 APR 2022


ส่วนหนึ่งจากธรรมหลวงตา


การที่ความคิดไม่ชัดเจน ทำให้เห็นตัวเองไม่ชัด ให้กลับมาหายใจเข้าพุท-ออกโธ มันจะไม่หลงไป สัมปชัญญจะได้ไม่ขาด มันต้องเอาความรู้สึกตัวคานไว้ ไม่งั้นตัวรู้จะไปจี้ใส่จิตจนมันเงียบ แต่ไม่รู้ตัว จึงดูเหมือนเงียบสงบนิ่งเฉย แต่ไอ้ที่ตัวที่เข้าไปดูนี่ไม่ได้นิ่งเฉยเลย

 เป็นผู้รู้ที่มีการกระทำ

 คนที่จะละลมหายใจเข้าออก ละการรู้กายคานอำนาจจิตไว้ จะต้องเห็นผู้รู้ เห็นความไม่มีเสียก่อนจึงจะทำได้ (ต้องเอากายเป็นหลักไว้ก่อนเสมอ)ถ้าย้ายผู้รู้ไปดูจิตตรงๆ จะเกิดอาการจี้ใส่จิต แล้วมันจะเงียบไป เหมือนโปร่งโล่งเบาสบาย แท้จริงไม่ใช่ มันไม่เห็นผู้รู้ ตัวกระดุกกระดิกย้ายไปที่ผู้รู้ ตัวถูกรู้นิ่งสนิท


ว่าด้วยสติและการดับทุกข์ (NbN)

 

ทุกข์ขาดลงเมื่อเกิดสติ                                                   ใช่

สติทำให้ทุกข์ขาดลง                                                       ใช่

สติเป็นเหตุเดียวที่ทำให้ทุกข์ขาดลง                               ไม่ใช่

ไม่มีสติทำให้ทุกข์ไม่ขาดลง                                            ไม่ใช่

ไม่ว่าจะรู้หรือไม่รู้ทุกข์ก็จะดับ                                            ใช่

เมื่อสติเกิด...สิ่งที่เกิดขึ้นคือจะไม่เชื่อว่า “ทุกข์ไม่ดับ”       ใช่

เมื่อเชื่อว่าทุกข์ไม่ดับ จะเหมือนไม่มีทางออก                     ใช่

เมื่อคิดว่าไม่มีทางออก จะรู้สึกทุกข์มาก                             ใช่

เมื่อไม่คิดว่าทุกข์ไม่มีทางออก จะรู้สึกเฉยๆ ไม่อินมาก       ใช่

ทุกข์ยังคงเกิดดับ แม้ความเห็นจะถูกหรือไม่                        ใช่

สิ่งที่ต่างไปคือ ความเข้าไปอิน หรือไม่อิน                            ใช่ แค่นั้นเอง

ถ้าไม่รู้ สิ่งที่ไม่ดับคือ ความเห็นผิด ... เมื่อความเห็นผิดว่า “ทุกข์ไม่ดับ” ยังคงอยู่ สังขารนี้จะทำให้ทุกขเวทนายิ่งขึ้น สัญญาจำมากขึ้น

การวางใจในงานอาสา

  1.  อยู่กับรู้รู้
  2. จักหน้าที่
  3. มีกัลยาณมิตร (ผู้ชักชวนให้ละอกุศล)
  4. ตัดใจ (แก้ปัญหาเรื่องอกุศล ละอกุศล 5 วิธี)

a.       เห็นประโยชน์ของกุศล

b.       เห็นโทษของอกุศล

c.       เคลื่อนสายตาไปจากอกุศล ย้ายโฟกัส ไม่เพ่งโทษ ไม่สนใจในทิฏฐิที่แตกต่างกันออกไป สนใจคนเอาจริงก่อน

d.       พิจารณาปัจจัยที่เกิดขึ้น (ปฏิจจสมุปบาท)

e.       ข่มอารมณ์ ถ้าทำมา 4 ข้อแล้วไม่ได้ผล

 

  • กัลยาณมิตรเป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์ พวกเธอควรมีเราเป็นกัลยาณมิตร มีพระพุทธ พระธรรมเป็นกัลยาณมิตร
  • ผู้ใดเป็นกัลยาณมิตร เคารพความทุกข์ของคนอื่น ผู้นั้นเป็นสัตบุรุษ ทุกคนเจอความไม่เที่ยง แปรปรวน เหมือนกัน ไม่พึงไปรังเกียจความทุกข์ หรือไปเพิ่มทุกข์ให้แก่เขา
  • จะไม่เพิ่มทุกข์ให้แก่ผู้มีทุกข์ จะไม่สร้างความสุขอันสดใส ไม่ก่อความนเศร้าหมองให้กับใจ จะไม่ทำร้ายแม้ใครจะร้ายกับเรา