วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2565

พร 6 ประการ

 พร 6 ประการ

  1. ชนทั้งหลายยังไม่อิ่มด้วยความโลภใด ขอความโลภนั้นอย่ามีแก่เราเลย
  2. ทรัพย์ทั้งหลายจะเสื่อมสิ้นไปด้วยโทสะใด ขอโทสะนั้นอย่ามีแก่เราเลย
  3. ขอเราอย่าได้ต้องเห็น อย่าได้ต้องฟัง อย่าได้ต้องอยู่ร่วมกับคนพาล ไม่ขอกระทำและไม่ขอชอบในในการเจรจาปราศรัยกับคนพาล เพราะคนพาลย่อมแนะนำสิ่งที่ไม่ควรแนะนำ ชักชวนในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ คนพาลนั้นถึงจะพูดดีก็โกรธ เขาไม่ได้รู้วินัย การไม่เห็นคนพาลนั้นเป็นความดี
  4. ขอเราจงได้เห็น จงได้ฟัง จงได้อยู่ร่วมกับนักปราชญ์ ขอกระทำและขอชอบใจในการเจรจาปราศรัยกับนักปราชญ์
  5. ขอให้เรานั้น เมื่อให้อยู่ ศรัทธาไม่พึงเสื่อมไป ครั้นเมื่อให้แล้ว ก็ไม่พึงเดือดร้อนภายหลัง
  6. ขอท่านอย่ามาหาเราอีกเลย การเห็นท่านเช่นเทวดาที่จะสำเร็จสมประสงค์ทุกอข่างแล้ว ก็จะประมาททำความเพียรปรารถนาเป็นเทวดา การเห็นท่านจึงเป็นภัยต่อเรา

3-5 มิ.ย.2022 / 2565

 3-5 มิ.ย.65

ณ ภูเขาห้าลูก พระพุทธรูปมัว ใจแข็งกระด้าง สร้างเป็นขอบเขต ไม่กลมกลืนขึ้นมา อาจจะเป็นเพราะไปกับน้อง จึงเกิดคู่ควบอย่างนั้นขึ้น

มานะนี้ ทำงานโดยการเปรียบเทียบ เห็นคนอื่นดีกว่าแล้ว ก็เกิดปฏิกิริยา แต่มันก็เป็นเช่นนั้นเอง

ความไม่รู้นี่จู่โจมหลายทาง

รอบนี้เริ่มต้นด้วยส่งเสริมให้ไปสงสัยเรื่องการแช่ก่อน

แช่อารมณ์ไม่สดชื่น แล้วคิดว่าไม่ต้องแก้

ซึ่งโดยหลักแล้วก็ไม่ต้องแก้จริงๆ แต่ก็ดันไม่ ตื่นรู้ด้วยไง ปล่อย อยากแช่ก็แช่ไป

สงสัยว่า จะต้องแก้ด้วยหรือ เดี๋ยวก็หายนิ เกิดเป็นความสองจิตสองใจว่าจะเอายังไงกับอารมณ์นี้

ความสองจิตสองใจนี้ก็เป็นพลาดดอกที่ 1 ... ต้องการทำอะไรเพื่ออะไร (ยกนี้เธอชนะ)

(จริงๆ เทศน์ก่อนกลับวันนี้ก็ได้คำตอบว่า ถ้าออกจากอารมณ์ทางใจไม่ได้จริงๆ มันติดจริงๆ ให้กลับสู่กาย)

อุบายที่ได้ในรอบนี้ คือ มันไม่ไปแก้ แต่ก็ต้องไม่ปล่อยจม 1 อารมณ์

การแช่ เป็นการที่อารมณ์เป็นใหญ่ และลืม background ลืมผู้รู้
ซึ่งเมื่อลืมผู้รู้นี่ มันเลยถูกครองงำในสิ่งเดียว ไม่มีส่วนแบ่งภาคมาเปรียบเทียบ

 

ไป 3 วัน เห็นมานะ 3 แบบ

วันแรก – เห็นอารมณ์อึนๆ

วันที่สอง – ฟังเทศน์แล้วใจคลาย คลายตรงคำว่า “พระพุทธเจ้าชักสะพานกลับ”

วันที่สาม – เห็นความกระด้างตั้งอยู่คนละส่วนกับใจ

 

ขอขมาพระรัตนตรัยไปในใจก็สั่นสะเทือนอย่างมาก ครูบาอาจารย์ว่าให้ขอขมาออกมาจากใจ

อีกองค์ว่า ที่เขาเคยติด และหลุดได้ก็เพราะ “กลัวตัวเอง”

ดังนั้นให้มาเห็นโทษ เมื่อเห็นแล้วว่ามันเป็นขี้ ไม่มีใครกำอยู่ได้หรอก

 

มีคำชี้แนะมาว่ามันมีเคสที่มานะขึ้นแล้วเป็นทุกข์

กับมีเคสที่ มานะขึ้นมา แล้วทุกข์ แล้วหลบ เช่นเห็นหน้าคนนี้แล้ว

 

ข้อสังเกตด้วยตัวเองสำหรับรอบนี้คือ

มานะมาพร้อมกับโทสะ แต่ไม่ได้เกรี้ยวกราด อาจจะไม่ปรากฏแล้วตัดเข้าหลบเลยก็ได้

ตากระทบ – ใจเปรียบเทียบ – ไม่ชอบใจ – โทสะ – แช่ว่าง / หลบผัสสะไปอารมณ์อื่น

 

ขมวดมาลงที่ประเด็น ว่าที่ว่ารู้ รู้นั้นเป็นกลางต่ออารมณ์หรือเปล่า นี่เป็นสิ่งที่พึงแยบคาย