วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2565

3-5 มิ.ย.2022 / 2565

 3-5 มิ.ย.65

ณ ภูเขาห้าลูก พระพุทธรูปมัว ใจแข็งกระด้าง สร้างเป็นขอบเขต ไม่กลมกลืนขึ้นมา อาจจะเป็นเพราะไปกับน้อง จึงเกิดคู่ควบอย่างนั้นขึ้น

มานะนี้ ทำงานโดยการเปรียบเทียบ เห็นคนอื่นดีกว่าแล้ว ก็เกิดปฏิกิริยา แต่มันก็เป็นเช่นนั้นเอง

ความไม่รู้นี่จู่โจมหลายทาง

รอบนี้เริ่มต้นด้วยส่งเสริมให้ไปสงสัยเรื่องการแช่ก่อน

แช่อารมณ์ไม่สดชื่น แล้วคิดว่าไม่ต้องแก้

ซึ่งโดยหลักแล้วก็ไม่ต้องแก้จริงๆ แต่ก็ดันไม่ ตื่นรู้ด้วยไง ปล่อย อยากแช่ก็แช่ไป

สงสัยว่า จะต้องแก้ด้วยหรือ เดี๋ยวก็หายนิ เกิดเป็นความสองจิตสองใจว่าจะเอายังไงกับอารมณ์นี้

ความสองจิตสองใจนี้ก็เป็นพลาดดอกที่ 1 ... ต้องการทำอะไรเพื่ออะไร (ยกนี้เธอชนะ)

(จริงๆ เทศน์ก่อนกลับวันนี้ก็ได้คำตอบว่า ถ้าออกจากอารมณ์ทางใจไม่ได้จริงๆ มันติดจริงๆ ให้กลับสู่กาย)

อุบายที่ได้ในรอบนี้ คือ มันไม่ไปแก้ แต่ก็ต้องไม่ปล่อยจม 1 อารมณ์

การแช่ เป็นการที่อารมณ์เป็นใหญ่ และลืม background ลืมผู้รู้
ซึ่งเมื่อลืมผู้รู้นี่ มันเลยถูกครองงำในสิ่งเดียว ไม่มีส่วนแบ่งภาคมาเปรียบเทียบ

 

ไป 3 วัน เห็นมานะ 3 แบบ

วันแรก – เห็นอารมณ์อึนๆ

วันที่สอง – ฟังเทศน์แล้วใจคลาย คลายตรงคำว่า “พระพุทธเจ้าชักสะพานกลับ”

วันที่สาม – เห็นความกระด้างตั้งอยู่คนละส่วนกับใจ

 

ขอขมาพระรัตนตรัยไปในใจก็สั่นสะเทือนอย่างมาก ครูบาอาจารย์ว่าให้ขอขมาออกมาจากใจ

อีกองค์ว่า ที่เขาเคยติด และหลุดได้ก็เพราะ “กลัวตัวเอง”

ดังนั้นให้มาเห็นโทษ เมื่อเห็นแล้วว่ามันเป็นขี้ ไม่มีใครกำอยู่ได้หรอก

 

มีคำชี้แนะมาว่ามันมีเคสที่มานะขึ้นแล้วเป็นทุกข์

กับมีเคสที่ มานะขึ้นมา แล้วทุกข์ แล้วหลบ เช่นเห็นหน้าคนนี้แล้ว

 

ข้อสังเกตด้วยตัวเองสำหรับรอบนี้คือ

มานะมาพร้อมกับโทสะ แต่ไม่ได้เกรี้ยวกราด อาจจะไม่ปรากฏแล้วตัดเข้าหลบเลยก็ได้

ตากระทบ – ใจเปรียบเทียบ – ไม่ชอบใจ – โทสะ – แช่ว่าง / หลบผัสสะไปอารมณ์อื่น

 

ขมวดมาลงที่ประเด็น ว่าที่ว่ารู้ รู้นั้นเป็นกลางต่ออารมณ์หรือเปล่า นี่เป็นสิ่งที่พึงแยบคาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น