วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อุบัติเหตุ


สิ่งน่าสังเกตคือ ความทนไม่ได้ในจิตใจ ด้วยรู้สึกว่าถูกกล่าวโทษ ทั้งๆ ที่การกระทำดังกล่าวได้มีพื้นฐานทางคุณธรรม ศีลธรรม ที่ไม่ละอายแก่ใจแล้ว

สิ่งนี้อาจแยกออกได้เป็น

  1. ตัณหา ในการอยากได้รับการยอมรับ ว่าตนนั้นทำดีแล้ว เราเป็นเจ้าของความดีนั้น
  2. พื้นฐานศีลธรรมนั้นยังไม่มั่นคงเพียงพอ กล่าวคือ ที่ว่าได้ทำจนไม่เหลือที่ละอายแก่ตนแล้วนั้น อันที่จริงยังมีส่วนที่ผิดพลาดไป
  3. อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่าง
-----------------------------------

ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อวาน คือ แม้ความคิดจะไม่ได้ก่อตัวเป็นคำพูด แต่รู้สึกถึงแนวอันน้อมไปที่จะกล่าวโทษนายที่เปิดประตูจนเป็นเหตุให้คู่กรณีบาดเจ็บ 

สิ่งที่คิดเป็นเรื่องเป็นราวได้ก็คือ ความบาดเจ็บแก่ร่างกายมีขึ้นในอีกฝ่ายแล้ว
ที่จะทำต่อจากขณะนี้ได้ดีที่สุดคือ ป้องกันความบาดเจ็บทางจิตใจ ป้องกันอกุศลในฝ่ายคู่กรณี

คงจะเห็นได้ว่าลืมการป้องกันอกุศลในฝ่ายนายเราไป ด้วยความคิดว่ามาจัดการทีหลังได้

ฉะนั้นจะเห็นได้ว่า เมื่อวานการปฏิสัมพันธ์ต่อเหตุนั้น ยังไม่ถึงจุดที่ดีที่สุด

-----------------------------------

ประเด็นกล่าวโทษ ไม่ใช่ในเชิงว่า ฝ่ายเราไปทำให้เขาบาดเจ็บเนื่องด้วยมันเป็นอุบัติเหตุ (ซึ่งตรงนี้อีกฝ่ายก็เข้าใจ)
แต่รู้สึกแย่กับความคิดของเขาที่รู้สึกว่าอีกฝ่ายผู้บา่ดเจ็บนั้นกำลังเอาเปรียบ
และรู้สึกแย่กับความคิดว่าคิดว่าเราเสียเปรียบ
-----------------------------------

โพสต์ - ได้เปรียบหรือไม่ก็เป็นความคิด เสียเปรียบหรือไม่ก็เป็นความคิด เมื่อมีคนบาดเจ็บโดยเราเป็นหนึ่งในเหตุนั้นการเสนอความช่วยเหลือโดยปราศจากเงื่อนไขมันเรื่องที่มนุษย์ควรกระทำต่อมนุษย์ไม่ใช่ประเด็นได้เปรียบเสียเปรียบ -- ปัญหาคือจะสื่อให้เข้าใจได้ยังไงเนี่ย

ขณะคิดถึงเรื่องนี้ หรือโพสต์ รู้สึกถึงโทสะกรุ่นๆ ต่อนายและหมอกความไม่ยอมวางในอะไรสักอย่าง
-----------------------------------

ประเด็น "คิดเอง" 
  1.  อยากจะจัดการให้ดีที่สุด โดยจะได้ไม่มีความรู้สึกติดค้างในฝ่ายเรา ไม่อยากให้ฝ่ายนายเราเกิดความรู้สึกผิด - ความจริง ดีที่สุดสำหรับฝ่ายหนึ่งโดยบกพร่องต่ออีกฝ่ายหนึ่ง
  2. คิดว่านายฝ่ายเราทำอะไรไม่ถูก จึงไม่ทำอะไร - ความจริง เราไม่รู้ว่านายฝ่ายเรามีความคิดอะไรขณะนั้น 
-----------------------------------

ข้อเท็จจริงที่ได้ยินฟัง
"A ไม่รู้ว่า B เป็นอะไรไปเมื่อคืน ถึงได้เปิดโอกาสเต็มที่ให้เขาเอาเปรียบขนาดนั้น เขาเป็นฝ่ายผิดกฏจราจร รถไม่สามารถแซงซ้ายได้ แต่เขาก็ยังวิ่งมา แล้วยังไปพูดว่าชดใช้ตามจริงๆ อะไรก็ไม่รู้ เห็นมั้ยว่าพอพูดแบบนี้เขารีบดูรถใหญ่เลย"

ความรู้สึกตอนฟัง ตกใจ
โดยลึกๆ น่าจะมีความรู้สึกถึง "มานะ" ของตนอยู่ 
มีความไม่ชอบในความไร้คุณธรรมอย่างน่าเกลียดนั้นอยู่

ข้อเท็จจริงที่พูดไป
"เราไม่อยากให้สิ่งใดเก็บมาตกค้างในใจ เราอยากให้จบแบบจบ จบแบบไม่ค้างคา เราเคยโดนรถเฉี่ยว โมโหไปเป็นเดือน (ไม่อยากจะให้ใครต้องมาอยู่ในห้องขังทางอารมณ์อย่างนั้น มันโง่เกินไป - คิด)"

ข้อเท้จจริงที่ได้ยินฟัง
"เพราะนายเข้าใจเมื่อวานถึงไม่ได้พูดอะไรออกไปไงล่ะ"

ยุติสนทนา เพราะรู้สึกว่าคุยกันคนละภาษาแล้ว

-----------------------------------

ประเด็นคือ
  1. เกิดอะไรขึ้น
  2. ถ้าคราวหน้าเกิดขึ้นอีกจะทำอย่างไร
  3. จะสื่ออะไรให้ฝ่ายเรา, จะสื่ออะไรให้ฝ่ายเขา
-----------------------------------

ในความคิดมีความเชื่อลึกๆ ว่าความ "ยินยอมโดยปราศจากเงื่อนไข" เป็นสิ่งที่ทำให้จากกันด้วยค่อนข้างดีเมื่อวาน และเป็นสิ่งที่ทำให้ทุกอย่างสั้น กระชับที่สุดแล้ว และโดยความที่คิดว่าเสียเปรียบนั้น จริงๆ ไม่ได้เสียเปรียบเลย ไม่มีอะไรเสียเลยแม้แต่น้อย ศีลยังคงอยู่ ธรรมยังคงอยู่ ความตรงไปตรงมาในการอยู่กับโลกยังคงอยู่ จิตใจไม่เสียหายเลย 





清清爽爽 เบอะเบ้อ เ่บ่งบาน




好朋友简简单单,

好情谊清清爽爽,
好缘份久久长长,
好日子红红火火。



พบผองพรรคพวกพ้อง               หมู่ใด
ชิดชอบชุ่มฉ่ำใจ                        อยู่ง่าย
วางวันว่างเวียนไว                    ไปสู่ 
             มิตรมั่นมิหมองหม้าย                    เบอะเบ้อ เ่บ่งบาน



วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

26 กุมภาพันธ์ 56


  • จากการสนทนากับเืพื่อนล. ทำให้รู้เลยว่าติดการแชต -_-

วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกหลายๆ วันที

25 กุมภาพันธ์ 2556


  • ในเมฆหมอกความไม่ตัดสินแห่งความคิด พอกลายเป็นวาจา หรือข้อเขียนออกมา จากที่ไม่ใช่ทั้ง(ใช่หรือไม่ใช่) ก็กลายเป็นใช่อะไรบางอย่างขึ้นมา จริงๆ แล้วมันเป็นอย่างไรกัน ไอ้การที่เราฟังอะไรแล้วรู้สึกเหมือนจะเข้าใจเหมือนจะไม่เข้าใจ แต่พอได้พูดออกมา ได้อธิบายให้กับใครบางคนฟัง กลับรู้สึกว่าเราเข้าใจมันมากขึ้น ... ปรากฏการณ์แบบนี้อะไรกันที่มันชัดขึ้นมา ความเข้าใจจริงๆ หรือว่า สัญญา
  • เมื่อวานขณะเอาที่คีบคีบขนมมาม่อน ใจก็ซาบซ่านไปด้วย "โอโห" ในความนุ่มของเค้ก เห็นมันชอบและจะเข้าไปเคล้าเคลียสัมผัสอันอ่อนนุ่มอันนี้
  • เมื่อเช้ามาคิดต่อในเรื่องของมาม่อน เห็นใจที่มันกลัวความชอบอันนี้ มันรู้ว่ามันสามารถติดกับดักกับความชอบ ความย้อมอันนี้ แล้วมันก็เคยชินที่จะติดเบรกเต็มกำลัง ไม่ให้รับรสสุขจากสัมผัสอันนั้น ... จุดนี้ถือว่าปัญญายังไม่แทง
  • เมื่อวานไปฟังหลวงพ่อ พอลืมตาฟังก็เหมือนจะตั้งใจหาจุดจับเพ่ิงยึดอะไรสักอย่าง พอหลับตาฟังมันก็เหมือนจะปล่อยๆ มาดูัตัวเองบ้าง เหม่อๆ บ้าง มัวๆ บ้าง ไปฟังบ้าง กลับไปกลับมา แต่พอลืมตาขึ้นมาถามว่าเมื่อกี้ฟังได้อะไร กลับกลายเป็นไม่รู้เรื่องว่าอะไร แสดงว่ามันก็ไหลไป แม้จะไม่รู้ว่าไหลไปไหน แต่ถ้าลืมตาฟังมันจะรู้ว่าท่านพูดอะไร ... ทั้งสองสภาวะนี้ยังไม่ใช่การฟังที่แท้ เป็นสภาพอันคว่ำถ้วยอยู่ทั้งคู่
  • การหลับตาลง มีบางครั้งที่เป็นสภาวะที่ใจมันไหลออกไปทันที ไม่รู้ไปไหน ไม่มีที่หมาย แต่มันคือ "ไป" น่ะแหละ ... ลองสังเกตุ
  • เมื่อวานไปฟังอ.สุภีร์ ตื่นมาฟังตอนอาหารของ โพชฌงค์ อนึ่งคำว่า "อาหาร" คือ สิ่งที่ทำให้โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดนั้นเกิดขึ้น และทำให้โพชฌงค์ที่มีอยู่แล้วบ้างเต็มบริบูรณ์ ทั้งนี้ "อาหารนี้ไม่ใช่ตัวโพชฌงค์"
  • มีคนถามไปว่า การให้อาหารเหล่านี้คือการ "คิด" ใช่หรือไม่ ตอบคือมันคือการโยนิโสมนสิการ คำว่า "การ" คือการกระทำ, มนะ คือ การใส่เข้าไปในใจ, โยนิโส คือ "เลือกในสิ่งอันเหมาะสม" เหมือนกับการค่อยๆ สอนมัน ว่า ต้องมองอย่างนี้ ต้องคิดอย่างนี้ ไม่ใช่ไปมองอย่างนั้น ไม่ใช่ไปคิดอย่างนั้น สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ตัวองค์มันจริงๆ เป็นเพียง "อาหาร" เป็นเหตุต้นให้เริ่มเกิด
  • อาหารของสติ คือการฝึกให้รู้ ให้ดู (กาย เวทนา จิต ธรรม) ไม่ใช่ตัวสติ เป็นแค่อารมณ์ว่าถ้าจะฝึกให้มาดูในสี่อย่างนี้
  • อาหารของ ธัมมวิจัยยะ คือ การฝึกให้มองดูสภาวะทั้งหลายเป็นธรรม นั่นคือ สิ่งที่ดีก็เป็นธรรม สิ่งที่ชั่วก็เป็นธรรม หยาบก็เป็นธรรม ละเอียดก็เป็นธรรม ไปเห็นคนเลว นั่นเป็นกระบวนการธรรมะอย่างหนึ่ง มันไม่ได้เป็นคนจริงๆ ที่เลว ไปเห็นคนดี มันก็เป็นกระบวนการทางธรรมอย่างหนึ่งอันเป็นกุศล มันไม่ใช่ว่ามี "คนดี" อยู่จริงๆ
  • อาหารของวิริยะ คือ การนึกถึงว่า ไอ้สภาวะที่ลุกขึ้นเนี่ยมีอยู่, สภาวะที่ก้าวออกจากจุดเดิมนี้มีอยู่, สภาวะที่ก้าวต่อไปในทิศทางอันถูกต้องพัฒนาจากเดิมเนี่ยมีอยู่ มันเป็นการน้อมนึกแบบให้กำลังใจนั่นเอง เหมือนอย่างเวลาที่ไปอบรม ตื่นตีสามตีสี่ ทำไมทำได้ แต่อยู่บ้านทำไมมันทำไม่ได้ นั่นก็คือ จริงๆ แล้วไอ้สภาวะที่ตื่นเช้าขยันลุกขึ้นเนี่ยมันมี "ธาตุ" ตัวนี้อยู่นะ นี่ให้กำลังใจมัน แล้วเราก็เคยทำได้นะ หรืออ่านหนังสือครูบาอาจารย์แล้วเห็นท่านทำได้ นั่นคือไอ้ "ธาตุ" ที่จะลุกขึ้น เหมือนนอนอยู่แล้วก็ลุกตั้งขึ้น แล้วก็ก้าวออกไปจากที่เดิม ก้าวไปเรื่อยๆ เดินไปเรื่อยๆ เนี่ย ท่านทำได้นะ "ธาตุ" นี้มันมีอยู่ในตัวมนุษย์นะ การเปลี่ยนแปลงเป็นไปได้นะ ฝึกนึกอย่างนี้บ่อยๆ

วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กลอนจิวยี่

แสนสงสารเจียวยี่คราวนี้หนอ....ระทดท้อเสียใจไห้สะอื้น

กำเริบฤทธิ์เกาทัณฑ์สู้กลั้นกลืน.....ลุกขึ้นยืนร้องว่าสุราลัย

บังคับข้ามาเกิดประเสริฐสิทธิ์.....สู่สถิตใต้หล้าสุธาไหว

ปราบศัตรูสู้สงครามไม่คร้ามไคร.....สถิตในกังตั๋งฝั่งนที

เหตุไฉนให้ขงเบ้งเก่งฉกาจ.....ล่อเป็นทาสเสียกลจนป่นปี้
ประกาศก้องร้องขึ้นฟ้าได้สามที.....โรคทวีเสียวซาบปลาบฤทัย
กำเริบฤทธิ์พิษเกาทัณฑ์เข้าบรรจบ.....ล้มสลบนิ่งแน่หมอแก้ไข
พอรู้สึกนึกแค้นแน่นหัวใจ.....โลหิตไหลอ้าปากรากกระจาย
สู้แข็งขืนยืนตรงดำรงจิต.....ดวงชีวิตจะวินาศลงขาดหาย
อายุได้สามสิบเจ็ดเศษวันตาย.....แสนเสียดายคนดีเจียวยี่เอย

เพลงจีนนำเสด็จ 3 ชั้น

กลอนพุทธ (1)

บทแปลพระมาลัย
พระมาลัย(บทสวดสังคหะ-แปล)

โอ้โอ๋อนิจจา                              สังขาราไม่เที่ยงตรง

หนุ่มแก่ย่อมจักปลง                      ชีวิตม้วยอย่าสงกา

อุบัติเกิดแล้วก่อกลับ                      วิญญาณดับจากสรีรา

ขาดสิ้นแห่งปาณา                        วิการกายก็เป็นไป

บ่เที่ยงบ่ทนทาน                          บ่อยู่นานสักเพียงใด

ย่อมเสื่อมย่อมสิ้นไป                      ทุกคณานิกรชน

สิ่งสุขอันประเสริฐ                        สุขล้ำเลิศสถาผล

คือจิตอย่ากังวล                           เบญจกามคุณา

ดับสนิทในสังขาร                         ที่จิตสร้านคือตัณหา

ไม่ใคร่ในภาวะ                            วิภาวะประเสริฐแล

 

โอ้กายไม่นานหนอ                       บังเกิดต่อแล้วกลับกลาย

ดุจฟองแห่งน้ำหมาย                     ย่อมแตกดับโดยฉับพลัน

สิ้นลมแห่งหายใจ                         ชีพบรรลัยบ่กลับหัน

ห่อนมีสิ่งสำคัญ                           เพื่อประโยชน์สักนิดเดียว

ทอดทิ้งดุจท่อนฟืน                       กลิ้งเหนือพื้นสุธาเทียว

ฟองช้ำเน่าดำเขียว                       สิ่งกลิ่นฟุ้งบ่เว้นวาย

ดูเถิดท่านทั้งหลาย                       บุรุษนายคณานาง

ควรปลงปัญญาทาง                      ปรมัตอัตถธรรม

พยาปรากฏแก่                           จักษุแท้บ่ปิดงำ

ควรคิดวินิจจำ                            หีบศพนั้นอันเห็นแล

 
ชีวิตความเป็นอยู่                         ใครห่อนรู้กำหนดการ

เพียงแต่จะประมาณ                      เร็วและช้าก่อนหน้าหลัง

ความตายบ่เลือกหน้า                    กษัตราพราหมณัง

มีจนชนทุพลัง                             และเรืองฤทธิ์อิสโร

หรือใครจะโกรธกริ้ว                      ชักหน้านิ่วทุโมโห

หรืออ่อนหย่อนกาโย                     น้อมคำนับอภิวันท์

หรือให้แก้วเงินทอง                       เป็นก่ายกองมากครามครัน

หรืออ้อนวอนจำนรรจ์                    ด้วยคำหวานสมานใจ

มัจจุราชไป่ยำเยง                         และบ่เกรงผู้ใดใด

ไปรับคำนับใคร                           และบ่เอื้อกรุณา

ถึงคราวแล้วเร่งรีบ                        เข้าค้นชีพดวงชีวา

ดุจเพชฌฆาตฟัง                          คำบัญชาไม่รารอ

ลงดาบโดยทันใด                         ฟันลงไปที่ตรงศอ

เชือดช้ำกระหน่ำคอ                      แห่งนักโทษก็ปานกัน


โอ้สัตว์ทั้งหลายเกิด เอากำเนิดมาเป็นคน ย่อมจะบันลุตน มลชีพทำลายราน……. 
หรือสัตว์ที่ตายอยู่ อีกสัตว์ผู้ที่วายปราณ ก็ไม่ยืดไม่ยืนนาน เหมือนกันสิ้นบ่เว้นวาย…. 
แม้เราก็ฉันนั้น บ่ผิดผันหรือกลับกลาย เราคงจะต้องตาย ตามไปดุจพิมพ์เดียว……. 
เออเราไม่สงสัย ไม่ตกใจแลหวาดเสียว เห็นแท้แน่ใจเจียว แลบ่มีที่สงกา…….. 
นี่แหละท่านทั้งหลาย ฟังบรรยายที่กล่าวมา จงเร่งพิจารณา เมื่อแจ้งแล้วบ่กลัวตาย……. 


ความที่ได้เกิดยากนักหนา และตัวของเต่าตน แอกน้อยลอยล่องชล ใช่ว่าพ้นให้เกิดไป…… 
ประเภทสัตว์อุบัติตน ทั้งว่ายคลานบินเวหน สุดจะร่ำพรรณาเผ่าพันธุ์ พื้นสัตวาจะนับถ้วน- 
ประมวลมี ได้แคล้วคลาดจากโรคี โดยยากจะรอดมา อีกได้ฟังคำพระ สัทธัมมะเทศนา….. 
พบองค์พระสัมมา สัมพุทธอรหันต์ นานนับด้วยกัปป์กัลป์ จึงจะตรัสอุบัติมี……. 
นี่แหละท่านทั้งหลาย ทั้งผู้ชายและนารี ฟังแล้วเร่งยินดี จงชื่นชมสมมนา…….. 
ที่ได้เกิดเป็นคน และรอดพ้นจากตายมา ได้ฟังเทศนา ของพระพุทธอรหันต์…….. 
เป็นลาภอันประเสริฐ แสนล้ำเลิศอนันต์ครัน อย่าหลงคิดสำคัญ ว่าเกิดง่ายหมายผิดครัน ฯลฯ…. 


ยากมีฉันใด ชีวิตไซร้อุประมา ดุจนายโคปาลา จูงโคชักสู่หลักพลัน……. 
ก้าวไปก็ใกล้ถึง ที่คำนึงจะอาสัญ นายโคคาดคอยฟัน ชีวิตม้วยด้วยอาญา……. 
ด้วยเราทุกผู้คน ปฏิสนธิเกิดมา คืนวันอันชรา นำยาตรเยื้องเปลืองสิ้นไป…… 
มัตยุราชคือความตาย ดุจดาบร้ายคมเหลือใจ ห่อนเลือกว่าใครใคร 
หนุ่มแก่เด็กและปานกลาง……. เชือดแหวะชำแหละจิต ให้ปลดปลิดชีวาวาง 
ทอดทิ้งสรีร่าง ทุกถ้วนหน้าคณาชน ฯลฯ…….. 


ชีวิตเป็นอยู่นั้น ส่วนของมันน้อยนักหนา เพราะเหตุความชรา เร่งเร้ารีบบีบคั้นกาย……. 
จะร้องให้ใครช่วย ไม่ให้ม้วยชีวาวาย ญาติมิตรสิ้นทั้งหลาย อีกบิดรและมารดา……. 
เมียมิ่งและบุตรรัก อยู่พร้อมพรักทั้งซ้ายขวา มรึตตะยูอาจจู่มา ปลดชีวิตให้ปลิดปลง….. 
ดูก่อนท่านทั้งหลาย ที่มุ่งหมายตัดความตรง ให้เร่งคิดจิตจำนง สิ่งใดดีให้เร่งทำ…… 
ความดีคือบุญนั้น จะป้องกันช่วยแนะนำ ให้สบสุขเลิศล้ำ พ้นสิ่งชั่วไม่กลัวตาย…… 
อย่าฟังแต่สนุก คิดว่าสุขสบาย รื่นเริงบันเทิงกาย หัวเราะร่าเฮฮาครืน……. 
ควรรู้สึกสำนึกตัว อย่าเมามัวคิดฝ่าฝืน ชีวีไม่ยั่งยืน ทุกถ้วนหน้าคณาชน ฯลฯ…….. 


โลกคือเบญจขันธ์ ชรามันนำเข้าไป ใกล้ต่อความบัลลัย อนาถแท้บ่มั่นคง…….. 
โลกนะใช่ใหญ่ยิ่ง บ่มีสิ่งต้องประสงค์ จำต้องวายชีวง ของทั้งสิ้นละทิ้งไป……. 
โลกนั้นมักพร่องอยู่ จึงไม่รู้เบื่อเบือนไป เพราะมันไม่เป็นไทย มันเป็นธาตุแห่งดับ…….. 
ควรท่านผู้เป็นปราชญ์ ผู้ฉลาดซึ่งปัญญา เร่งคิดพิจารณา ให้เห็นแท้เป็นแน่นอน……. 
อย่าฟังแต่เสียงเพราะ และเสนาะด้วยคำกลอน จงฟังคำสอน แล้วตริตรึกระลึกตาม ฯลฯ……. 


ความไม่เมาทั่วไป คือแจ้งในกองสังขาร ไม่เมาไม่ทะยาน ในรูปรสแลกลิ่นเสียง….. 
เป็นทางบทจร สู่อมรนิเวศน์เวียง มัตยุราชหรืออาจเมียง และจะมองบ่แลเห็น……. 
ความทั่วไปนั้น คือใฝ่ฝันทุกเช้าเย็น เมายิ่งในสิ่งเบ็ญ- จกามะคณารมณ์…….. 
เป็นทางจะก้าวสู่ มรึตตะยูประสบสม ความตายตามระดม ติดตามปรับชีวาวาย……. 
นรชาติทั้งหลายใด ผู้มีใจเองเมามาย แม้ชีพบ่ทำลาย ประดุจม้วยซึ่งชีวี…….. 
นี่แหละท่านทั้งหลาย คณาชายหมู่สตรี ฟังแล้วจงได้มี กมลมุ่งกำหนดจำ…… 

………………..สังคหะ(สงเคราะห์)จบบริบูรณ์………………. 


ของโบราณถ่ายทอดจากหลวงตาแสง 
วัดราษฎร์บำเพ็ญ อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา(9กย2510) 
ตรวจสอบทานสำนวน แล้วโดย ฐีติญาโณภิกขุ ปรากฏว่าเป็นสำนวนของพระอาจารย์สิงห์ 
ขันธยาคโม นั่นเอง



ไชยา กุมภาพันธ์

มาถึงกลาง กุมภา มะเส็งศก
พาหัวใจ รกๆ  ไปออกหน่วย
ได้ยินแหล่ง แห่งธรรม อันร่ำรวย
คุณพระช่วย ให้ฉัน ได้เยือนที

ถึงเลิกงาน ควานใคร่ ห่างไกลบ้าน
มิแจ้งการ อ่านความ คลับคล้ายหนี
แต่จิตแก้ ไม่อยากให้ ห่วงรอรี
พอถึงที กลับไม่ สงบใจ

มาถึงถิ่น แห่งราช ปราชญ์แห่งยุค
ความตั้งใจ ใฝ่สุข ครอบครองใหญ่
พกตัณหา บ้าบอ พะนอใจ
เอามันใส่ ในชื่อ แห่งความดี

ความตั้งใจ แรกสุด คือหักกลัว
ลดละมัว ชั่วช้า อย่าคิดหนี
ลองบุกเดี่ยว เที่ยวป่า ดูสักที
ไปค้นหา สิ่งดี กันเถิดเรา

ไปอยู่สวน สามวัน ฝันความว่าง
ครั้นไม่วาง อ้างว้าง กลับกลายเหงา
ความอยากว่าง อยากวาง มอมมัวเมา
ใครก็ได้ ช่วยบรรเทา เอาออกไป

แล้วก็พบ พานเจอ กัลยาณมิตร
ช่วยปัดเป่า ความคิด ให้ผ่องใส
จะมาวัด เอาให้ชัด มาทำไม
จะมาเอา จะมาได้ นี่แหละ "กู"

จะว่าไป ก็ได้ ประสบการณ์
ออกจากม่าน บังมิด ปิดตาหู
ออกมามอง ของจริง ที่เป็นดู
เมื่อไปสู่ บ้านอื่น เป็นอย่างไร

เจอพี่แมะ แคะใจ ให้คลายออก
ให้สำรอก ออกดู ความยิ่งใหญ่
ความเมตตา ที่แท้ เป็นอย่างไร
ต้องวางใจ ให้ได้ เอาอย่างนาง

นึกย้อนถึง พี่น้อง นอนร่วมห้อง
ช่วยสลาย ความขัดข้อง ไม่หมองหมาง
การใหญ่น้อย ถอยหนัก เป็นเบาบาง
ช่วยสะสาง อุปสรรค อยู่ในที

ในการช่วย ครานี้้ มิมีบอก
การกระทำ สำแดงนอก ออกราศี
จักเป็นคน เป็นได้ ใช่พูดดี
ดูกันที่ การกระทำ กันนานนาน

วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

6 กุมภา 56

เมื่อเช้าชั่วขณะหนึ่ง ก็เกิดความรู้สึกว่าแม่ที่น่ารักก็มีอยู่ชั่วคราว เดี๋ยวก็มีแม่ที่ไม่น่ารักเข้ามาอยู่ แล้วเดี๋ยวก็เป็นอื่นๆ แม่มีหลายคน ทั้งที่น่ารักและไม่น่ารักก็ไม่ได้อยู่ที่ไหนสักที่เดียว

อะไรบางอย่างก็เห็นในผู้อื่นก่อน
ยังไม่เห็นในตัวเอง

-------
ในแว่่บขณะเหลือบไปมองกระจก
เป็นอัตโนมัติที่จะมองตา แล้วก็หาว่าเอ๊ะ จิตอยู่ไหนหนอ

美人计


ต้นเหตุมาจากรูปนี้ 
ตามด้วยความเห็นเกี่ยวกับความเป็นหญิงมากมาย
อ่านแล้วประหลาดใจที่อารมณ์เข้าข้างหญิงไม่ได้เกิดเหมือนเมื่อก่อน
อ่านแล้วก็แค่ เออ มันก็ความเป็นหญิงล่ะนะ
ว่าแต่คุณเฉินเธอสื่อออกมาในภาพนี้ได้ชัดดีจังเลยนะ 
แทบจะเห็น "หญิง" ลอยวาบออกมาจากรูปเรย











(อันนี้ไปเจอมาเพิ่มเติม)
เรื่องพระสุนทรสมุทรเถระ 

หญิงย่อมเกี้ยวชายด้วยฐานะ ๔๐ คือ 

  1. สะบัดสะบิ้ง
  2. ก้มลง
  3. กรีดกราย
  4. ชมดชม้อย
  5. เอาเล็บดีดเล็บ
  6. เอาเท้าเหยียบเท้า
  7. เอาไม้ขีดแผ่นดิน
  8. ชูเด็กขึ้น
  9. ลดเด็กลง
  10. เล่นเอง
  11. ให้เด็กเล่น
  12. จูบเอง
  13. ให้เด็กจูบ
  14. รับประทานเอง
  15. ให้เด็กรับประทาน
  16. ให้ของเด็ก
  17. ขอของคืน
  18. ล้อเลียนเด็ก
  19. พูดดัง
  20. พูดค่อย
  21. พูดคำเปิดเผย
  22. พูดลี้ลับ
  23. (ทำนิมิต) ด้วยการฟ้อน ด้วยการขับ ด้วยการประโคม ด้วยการร้องไห้ ด้วยการเยื้องกราย ด้วยการแต่งตัว
  24. ซิกซี้
  25. จ้องมองดู
  26. สั่นสะเอว
  27. ยังของลับให้ไหว
  28. ถ่างขา
  29. หุบขา
  30. แสดงถัน
  31. แสดงรักแร้
  32. แสดงสะดือ
  33. ขยิบตา
  34. ยักคิ้ว
  35. เม้มริมฝีปาก
  36. แลบลิ้น
  37. เปลื้องผ้า
  38. นุ่งผ้า
  39. สยายผม
  40. เกล้าผม



70/30

3 กุมภาพันธ์ 56

บันทึกย้อนหลัง

ไปฟังพระอาจารย์ที่วัดสนามในมา
ท่านพูดถึงเรื่อง 70/30
ความหมายคือ ...จำไม่ได้แล้ว
(นึกออกแล้วมันคือในการทำงาน ให้ใส่ใจในงาน 30 ใส่ใจในตัว 70)

พักหลังๆ เมื่อฟังเทศน์จะค่อนข้างไวต่อคำว่า "ชัด" "แม่น"
นี่คงเป็นสิ่งที่ขาดอยู่

มันรู้แต่มันรู้ไม่ชัด มันจึงจับเอามาใช้ไม่ได้ทันท่วงที และไม่ได้ประโยชน์เ่ท่าที่ควรจะเป็น

ได้ยินคำว่า อภิ-
มีฉันทะ ให้เป็นอภิสังขาร
มีวิริยะให้เป็นอภิสังขาร
เรื่อยไปจนถึงวิมังสาเป็นอภิสังขาร

อันนี้เริ่มต้นต้องมีฉันทะ ทำแล้วไม่มีฉันทะให้ถอยออกมาดูเลยเกิดอะไรขึ้น
คำว่าอภิสังขาร หมายถึง มีความเกิดขึ้นจนเป็นอัตโนมัติ

ท่านว่าใหม่ๆ จะต้องคอยหมั่นฝึกให้มันอยู่ตัว
-----------------------------------------------