วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อุบัติเหตุ


สิ่งน่าสังเกตคือ ความทนไม่ได้ในจิตใจ ด้วยรู้สึกว่าถูกกล่าวโทษ ทั้งๆ ที่การกระทำดังกล่าวได้มีพื้นฐานทางคุณธรรม ศีลธรรม ที่ไม่ละอายแก่ใจแล้ว

สิ่งนี้อาจแยกออกได้เป็น

  1. ตัณหา ในการอยากได้รับการยอมรับ ว่าตนนั้นทำดีแล้ว เราเป็นเจ้าของความดีนั้น
  2. พื้นฐานศีลธรรมนั้นยังไม่มั่นคงเพียงพอ กล่าวคือ ที่ว่าได้ทำจนไม่เหลือที่ละอายแก่ตนแล้วนั้น อันที่จริงยังมีส่วนที่ผิดพลาดไป
  3. อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่าง
-----------------------------------

ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อวาน คือ แม้ความคิดจะไม่ได้ก่อตัวเป็นคำพูด แต่รู้สึกถึงแนวอันน้อมไปที่จะกล่าวโทษนายที่เปิดประตูจนเป็นเหตุให้คู่กรณีบาดเจ็บ 

สิ่งที่คิดเป็นเรื่องเป็นราวได้ก็คือ ความบาดเจ็บแก่ร่างกายมีขึ้นในอีกฝ่ายแล้ว
ที่จะทำต่อจากขณะนี้ได้ดีที่สุดคือ ป้องกันความบาดเจ็บทางจิตใจ ป้องกันอกุศลในฝ่ายคู่กรณี

คงจะเห็นได้ว่าลืมการป้องกันอกุศลในฝ่ายนายเราไป ด้วยความคิดว่ามาจัดการทีหลังได้

ฉะนั้นจะเห็นได้ว่า เมื่อวานการปฏิสัมพันธ์ต่อเหตุนั้น ยังไม่ถึงจุดที่ดีที่สุด

-----------------------------------

ประเด็นกล่าวโทษ ไม่ใช่ในเชิงว่า ฝ่ายเราไปทำให้เขาบาดเจ็บเนื่องด้วยมันเป็นอุบัติเหตุ (ซึ่งตรงนี้อีกฝ่ายก็เข้าใจ)
แต่รู้สึกแย่กับความคิดของเขาที่รู้สึกว่าอีกฝ่ายผู้บา่ดเจ็บนั้นกำลังเอาเปรียบ
และรู้สึกแย่กับความคิดว่าคิดว่าเราเสียเปรียบ
-----------------------------------

โพสต์ - ได้เปรียบหรือไม่ก็เป็นความคิด เสียเปรียบหรือไม่ก็เป็นความคิด เมื่อมีคนบาดเจ็บโดยเราเป็นหนึ่งในเหตุนั้นการเสนอความช่วยเหลือโดยปราศจากเงื่อนไขมันเรื่องที่มนุษย์ควรกระทำต่อมนุษย์ไม่ใช่ประเด็นได้เปรียบเสียเปรียบ -- ปัญหาคือจะสื่อให้เข้าใจได้ยังไงเนี่ย

ขณะคิดถึงเรื่องนี้ หรือโพสต์ รู้สึกถึงโทสะกรุ่นๆ ต่อนายและหมอกความไม่ยอมวางในอะไรสักอย่าง
-----------------------------------

ประเด็น "คิดเอง" 
  1.  อยากจะจัดการให้ดีที่สุด โดยจะได้ไม่มีความรู้สึกติดค้างในฝ่ายเรา ไม่อยากให้ฝ่ายนายเราเกิดความรู้สึกผิด - ความจริง ดีที่สุดสำหรับฝ่ายหนึ่งโดยบกพร่องต่ออีกฝ่ายหนึ่ง
  2. คิดว่านายฝ่ายเราทำอะไรไม่ถูก จึงไม่ทำอะไร - ความจริง เราไม่รู้ว่านายฝ่ายเรามีความคิดอะไรขณะนั้น 
-----------------------------------

ข้อเท็จจริงที่ได้ยินฟัง
"A ไม่รู้ว่า B เป็นอะไรไปเมื่อคืน ถึงได้เปิดโอกาสเต็มที่ให้เขาเอาเปรียบขนาดนั้น เขาเป็นฝ่ายผิดกฏจราจร รถไม่สามารถแซงซ้ายได้ แต่เขาก็ยังวิ่งมา แล้วยังไปพูดว่าชดใช้ตามจริงๆ อะไรก็ไม่รู้ เห็นมั้ยว่าพอพูดแบบนี้เขารีบดูรถใหญ่เลย"

ความรู้สึกตอนฟัง ตกใจ
โดยลึกๆ น่าจะมีความรู้สึกถึง "มานะ" ของตนอยู่ 
มีความไม่ชอบในความไร้คุณธรรมอย่างน่าเกลียดนั้นอยู่

ข้อเท็จจริงที่พูดไป
"เราไม่อยากให้สิ่งใดเก็บมาตกค้างในใจ เราอยากให้จบแบบจบ จบแบบไม่ค้างคา เราเคยโดนรถเฉี่ยว โมโหไปเป็นเดือน (ไม่อยากจะให้ใครต้องมาอยู่ในห้องขังทางอารมณ์อย่างนั้น มันโง่เกินไป - คิด)"

ข้อเท้จจริงที่ได้ยินฟัง
"เพราะนายเข้าใจเมื่อวานถึงไม่ได้พูดอะไรออกไปไงล่ะ"

ยุติสนทนา เพราะรู้สึกว่าคุยกันคนละภาษาแล้ว

-----------------------------------

ประเด็นคือ
  1. เกิดอะไรขึ้น
  2. ถ้าคราวหน้าเกิดขึ้นอีกจะทำอย่างไร
  3. จะสื่ออะไรให้ฝ่ายเรา, จะสื่ออะไรให้ฝ่ายเขา
-----------------------------------

ในความคิดมีความเชื่อลึกๆ ว่าความ "ยินยอมโดยปราศจากเงื่อนไข" เป็นสิ่งที่ทำให้จากกันด้วยค่อนข้างดีเมื่อวาน และเป็นสิ่งที่ทำให้ทุกอย่างสั้น กระชับที่สุดแล้ว และโดยความที่คิดว่าเสียเปรียบนั้น จริงๆ ไม่ได้เสียเปรียบเลย ไม่มีอะไรเสียเลยแม้แต่น้อย ศีลยังคงอยู่ ธรรมยังคงอยู่ ความตรงไปตรงมาในการอยู่กับโลกยังคงอยู่ จิตใจไม่เสียหายเลย 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น