ถ้าเอาคำตอบสั้นๆ
นิโรธ คือ ภาวะที่ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ
ส่วนมรรค คือ วิธีที่จะฝึกสังเกตให้แจ้งภาวะอย่างนั้น
อริยสัจสี่ไม่ใช่สิ่งที่จะกล่าวแยกขาดออกจากกัน เพราะเป็นองค์รวมเดียวกัน
ถ้ากล่าวแยกจากกัน โอกาสความเลื่อนลอย ออกทะเล ออกปากอ่าวมีสูง
และพูดไปจะไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระศาสดาที่ท่านแสดงเรื่องนี้ “เพื่อความพ้นทุกข์”
แต่การรู้อย่างครึ่งๆ กลางๆ อาจจะกลับเป็น “การสร้างทุกข์” ไป
คำถามว่า นิโรธ กับมรรคต่างกันอย่างไร
ถ้าไม่รู้จักหน้าตาของทุกข์
ยากจะบอกได้ว่าแล้วสภาวะไม่มีทุกข์ (นิโรธ) เป็นอย่างไร (การจะรู้ได้ชัดๆ
ต้องอาศัยภาวะการสังเกตเปรียบเทียบ จนเห็นความแตกต่างชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ)
ถ้าไม่ชัดเจนว่าทุกข์เกิดยังไง (สมุทัย)
ยากจะแก้ทางว่า แล้วถ้าจะไม่ให้เกิด ต้อง reverse เหตุอย่างไร
ในสี่ข้อ สิ่งที่ยากจริงๆ
คือการรู้จักทุกข์ให้ชัดแจ้ง จริงๆ ถ้ารู้ทุกข์ได้ อริยสัจทั้งสี่จะดำเนินคล้อยไปพร้อมกันหมด
คำว่ารู้ชัดแจ้ง ตรงนี้ต้องไปอ่านดูด้วยว่าพระพุทธเจ้าตรัสนัยยะของทุกข์ไว้แค่ไหนแล้วลองน้อมพิจารณาตาม
โดยลองวาง ไม่เอาความเป็นตนเองเข้าไปเกี่ยวข้อง
ท่านว่า ทุกข์ คือ “ความปรุงแต่ง”
ลองกูเกิลความหมายคำๆ นี้ดู
สิ่งที่เรียกว่า “ความสุข” ยังเป็นความทุกข์
ตามนัยยะของการศึกษาอริยสัจสี่
สิ่งที่เรียกว่า “เฉยๆ” ยังอาจจะเป็น factor
แห่งทุกข์ได้ ถ้าขาดสติสัมปชัญญะ
สิ่งที่เรียกว่า “ความเดือดเนื้อร้อนใจ” ที่ส่วนมากเรียกกันว่าทุกข์นั้น
เป็นเพียง perception หนึ่ง
และการหาทางใดๆ ที่ “ดิ้นหนีจากอาการเดือดเนื้อร้อนใจ”
ก็เป็นความปรุงแต่งอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งโดยนัยของอริยสัจแล้ว การทำเช่นนี้ เท่ากับการเอาความปรุงแต่ง
แก้ไขความปรุงแต่ง จะไม่พ้นจากความปรุงแต่ง
พอรู้ไม่แจ้ง เลยศึกษาต่อได้ยาก เพราะไปแทรกแซงมันซะแล้ว
(ภาษาหนังสือใช้คำว่า “ปรุงแต่ง”)
พอไปทำอะไรบางอย่าง แล้ว “ความเดือดเนื้อร้อนใจ”
นั้น หายไป (ชั่วคราว) ผลคือความเชื่อเกิดโดยปริยายว่า ทำแบบนี้จะได้ผลแบบนี้เสมอ เกิดเป็นความฝังหัวอย่างไม่ตรงไปตรงมานักว่า
“ทุกข์ต้องแก้” และ “วิธีแก้ต้องเหมือนกันทุกครั้งในเรื่องนั้นๆ”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น