วันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

坦诚的背后 同样的孤独

“我错了,我敢承认怎么了?“

好像显得很仗义

这种坦诚的背后
其实说明一点
你好像没有意识
自己现在的危险的境地

很多创业者在创业初期
都是背负压力
活在别人质疑的眼光当中
内心包含一种孤独感

但那种孤独感
也被那些根本不适合创业
为了创业而创业的人
成为他们自我说服的一种借口
我现在就是这样

同样是孤独
支撑孤独的方式不一样
真正的创业者支撑自己孤独 的方式
是因为他要做一番事而创业
他内心是真喜欢

所以无论成功还是失败
他内心是饱满

วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ฝึกโยคะ ชี่กง ออกกำลังกายฝึกสติ

การออกกำลังกาย
ความใส่ใจของเราจะออกไปในทำนอง
เอื้อประโยชน์ต่อร่างกาย
เช่น ทำท่านี้เพื่อยืดตรงนี้ เพื่อบิดตรงนั้น
ท่าถูกอย่างนั้นอย่างนี้ หายใจ

เรียกว่าเจตนาเพื่อจะไปนิพพานมันลดลง
สติมันก็มี แต่วัตถุประสงค์ลดลงมา

พอวัตถุประสงค์ลดต้องระวังให้ดี
ไม่ให้มันไปปรนเปรอกาย

ฝึกโยคะดีกว่า ได้สติด้วย หุ่นดีด้วย
เริ่มงงในวัตถุประสงค์แล้ว ตกลงจะเอาหุ่นหรือนิพพาน

สติมันก็ได้อยู่แต่กำลังมันน้อย
กำลังหมายถึง ที่จะมุ่งไปนิพพาน ที่จะขัดกิเลสมันน้อย

ในทางพุทธจึงแนะนำพวกอนุสสติไว้
คือเป็นการฝึกสติที่ตรงวัตถุประสงค์ที่สุด เป็นไปเพื่อมรรคชัดเจน
ได้กำลังสติดี

หรือท่าออกกำลังกายบางอย่าง
แบบที่วัตถุประสงค์ชัดเจน
ที่ทำไปเพื่อให้กายแข็งแรง มีกำลัง แก้ความเจ็บป่วย
เพื่อจะรักษาร่างกายเพื่อเอามาปฏิบัติธรรม
ดูตามวัตถุประสงค์

ถ้าเป็นนั่งสมาธิเดินจงกรม
ทำไปถึงระดับนึงมันจะซาบซึ้ง
โอ พระพุทธเจ้าท่านพาทำ เราได้มีบุญมาทำอย่างท่านบ้าง

สรุป ไม่มีอะไรถูกผิด
ที่ถูกคือ มีสติ และมุ่งตรงไปนิพพาน
ที่ผิดคือ ปรนเปรอตัวตนต่างๆ นานา

ขี้เกียจ

ความขี้เกียจ
มาเพราะอยากให้ตัวตนสบาย

จะหายไปก็เมื่อความเห็นว่ามีตัวตนหายไป

ฟังหลายอาจารย์?

จะกี่อาจารย์ก็ไม่ใช่ประเด็น
สำคัญที่ปฏิบัติตามมรรค 8 เป็นหรือยัง

จะอาจารย์เดียวหรือจะหลายอาจารย์ก็ได้
สำคัญที่อย่าไปยึดติดอาจารย์
วิธีสำรวจตัวเองว่าไม่ยึดอาจารย์ก็สำคัญ
ถ้ายึดคนนึง ก็จะฟังอีกคนนึงลำบาก

ไปฟังก็ไปเพื่อหาความเข้าใจ
ถ้ายังเชื่อมเรื่องไม่ได้ ก็ฟังต่อไป

วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

สุขภาคิยธรรม 4

ธรรมที่เป็นฝ่ายของความสุข


  1. อินทรียสังวร
  2. บุญ การชำระกิเลสคือบุญ
  3. โพชฌงค์
  4. นิพพาน

อัจฉริยอัพภูตธรรม 4

ธรรมน่าอัศจรรย์ที่ไม่เคยมีมาก่อน


  1. การละมานะ
  2. การถอนตัณหา
  3. การขจัดอวิชชา
  4. การทำภพชาติให้สิ้นไป

วิหารธรรม 4

เครื่องอยู่ของจิตที่เป็นฝ่ายโวทาน
  1. ทิพวิหาร - อยู่ในฌานสมาบัติ
  2. พรหมวิหาร - อยู่แบบเจริญอัปปมัญญา 4
  3. อริยวิหาร - มีนิพพานเป็นอารมณ์
  4. อาเนญชวิหาร - มีอรูปเป็นอารมณ์

วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ความเกิดดับของขันธ์ 5

มีอยู่ 5 แบบ

แบบแรก - เกิดดับแบบพืื้นฐานวิปัสสนา
เกิดดับแบบที่เราคุ้นกันนั่นแหละ
จากไม่มีเป็นมี (เกิด)
จากมีเป็นไม่มี (ดับ)


แบบที่สอง - แบบเหตุปัจจัยที่เป็นปัจจุบัน เหตุใกล้ที่มาคู่กัน
แบบนี้จะดูตามเหตุใกล้ของมัน
เกิด - ก็คือมันมีเหตุ เช่น เวทนาเกิด ไม่ได้ดูเวทนาเกิด ดูเหตุของมัน (คือผัสสะ)
ดับ - เพราะหมดเหตุจึงดับ
ดูว่ามันมาคู่กัน
อ่อ เวทนามีเพราะผัสสะมันมี (ดูเวทนาเกิด)
ถ้าเวทนาไม่มีเพราะผัสสะมันไม่มี (ดูเวทนาดับ)

อาหารสมุทยา รูปสมุทโย
ผสฺสสมุทยา เวทนาสมุทโย
ผสฺสสมุทยา สญฺญาสมุทโย
ผสฺสสมุทยา สงฺขารสมุทโย
นามรูปสมุทยา วิญฺญาณสมุทโย


แบบที่สาม - กรรม
กรรมคือตัวรักษาชีวิต
ตัวรักษาชีวิตคือ ภวังคจิต
ภวังคจิตคือ จิตตอนนอนหลับ
ตอนนอนหลับ ไม่มีตัวตน ไม่มีของตน ไม่มีใคร ไม่มีโลกใดๆ ทั้งสิ้น
โลกจะมาทางทวาร 6 แต่ภวังคจิตไม่มีทวาร
อันนี้คือ กรรมเก่า (หมายถึงภวังคจิต)
ภวังคจิต รักษาขันธ์ 5 ไว้ รักษาภพชาติไว้
เพราะกรรมมี ขันธ์ 5 จึงมี
กรรม ก็จะรักษา ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจไว้ เพื่อรองรับอายตนะ
รอเวลาเกิดวิบาก
กมฺมสมุทยา รูปสมุทโย ฯเปฯ กมฺมสมุทยา วิญฺญาณสมุทโย
กมฺมนิโรธา รูปนิโรโธ ฯเปฯ กมฺมนิโรธา วิญฺญาณนิโรโธ

แบบที่สี่ - ตัณหา (แบบอริยสัจ)
เพราะตัณหาเกิด ความเพลินเกิด ขันธ์ 5 จึงเกิด (แยกขันธ์ 5 เป็น รูป/เวทนา/สัญญา/สังขาร/วิญญาณ)
ตัณหาไม่เกิด ทุกข์จึงไม่เกิด ขันธ์ 5 จึงไม่เกิด
ตณฺหาสมุทยา รูปสมุทโย ฯเปฯ ตณฺหาสมุทยา วิญฺญาณสมุทโย
ตณฺหานิโรธา รูปนิโรโธ ฯเปฯ ตณฺหานิโรธา วิญฺญาณนิโรโธ

แบบที่ห้า - อวิชชา
เพราะอวิชชาเกิด ขันธ์ 5 จึงเกิด (แยกขันธ์ 5 เป็น รูป/เวทนา/สัญญา/สังขาร/วิญญาณ)
เพราะอวิชชาไม่เกิด ขันธ์ 5 จึงไม่เกิด
ลึกสุด ของพระอรหันต์
อวิชฺชาสมุทยา รูปสมุทโย ฯเปฯ อวิชฺชาสมุทยา วิญฺญาณสมุทโย
อวิชฺชานิโรธา รูปนิโรโธ ฯเปฯ อวิชฺชานิโรธา วิญฺญาณนิโรโธ





วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

道理是什么时候讲呢?

道理应该讲给对手听
而不是讲给爱人听
你讲了半天有用吗
你讲完了她还不高兴
把道理收起来
该怎么干怎么干

你要求这个人
在他受委屈的时候听你的道理
是难以做到的

道理是什么时候讲呢?
道理在他高兴的时候
吹吹风慢慢来

男生照顾女生不是天经地义

男生照顾女生并不是天经地义的
也有人说
那男的就应该多照顾女生
但我们女生不能以此为一个由头
大言不惭dàyánbùcán的说你就必须照顾我

วันเสาร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

กำจัดความไม่รู้ ความสงสัย ความเข้าใจผิด


  1. ล็อคลงอริยสัจ 4
    ห้ามเกินนี้นะ
    เทศนานี้เป็นสัจจะข้อไหน
  2. แยกเป็นปฏิจจฯ สองข้าง
  3. ยกมรรคขึ้นแสดงให้ได้
    ว่าที่ทำอยู่เป็นมรรคข้างไหน มรรคอะไร
    ข้างสมุทยวาร หรือนิโรธวาร
  4. สงเคราะห์ธรรมว่าไม่ใช่ตัวตน
    ไม่มีสัตว์ ตัวตน บุคคล เราเขา
    ไอ้ที่ทำอยู่นี่ขันธ์อะไรแยกให้ออก เพื่อที่จะได้ไม่ไปยึดมัน
  5. ในการทำนี้ละกิเลสอะไรได้บ้าง

วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ทิฏฐิ เกิดกับโลภะ

ทิฏฐิ เกิดกับโลภะ
ไม่เกิดกับโมหะเฉยๆ ไม่เกิดกับโทสะด้วย

กระจายเข้าใจ VS กระจายหายหมด

การกระจายนี่เพื่อให้เข้าใจภาพรวมเฉยๆ
ว่ามันเชื่อมยังไง

บางคนกระจายซะหายหมดเลย ว่างเปล่า !

ไม่ใช่กระจายให้ไม่เหลือตัวตน
มันไม่มีอยู่แล้ว
ไม่ได้ไปกระจายให้มันหายไปไหน

กระจายให้มันเข้าใจ
มันจะได้ไม่เกิดเท่านั้นเอง 
"ไม่ใช่ให้มันหมด"

กระจายเพื่อเจริญปัญญา
เพื่อเห็นสัจจะ
ไม่ใช่กระจายรู้กว้าง ว่างไปหมด แต่ไม่ลงสัจจะ

มันเข้าใจกิเลสมันก็ไม่เกิด
แต่ก่อนไม่เข้าใจกิเลสมันก็เกิดเรื่อย
ถ้าว่างก็ว่างจากกิเลส

อุปาทานขันธ์ห้า

อุปาทานขันธ์ห้า

เป็นสับเซตของขันธ์ห้า
คือขันธ์ห้าที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
ขันธ์ห้าที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน
ขันธ์ห้าที่อุปาทานไปยึดไปถือ

การกำหนดรู้ทุกข์นี่ไม่ใช่กำหนดขันธ์ทุกอัน
กำหนดอันที่เป็นอารมณ์ของอาสวะและอุปาทาน
ที่ยึดมั่นถือมั่นอยู่

สาสวา
อุปาทานิยา

วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

เกิดใหม่

ที่จริง ที่ยังต้องไปเกิดภพนั้นภพนี้
เพราะ "ยินดียิ่งในอารมณ์นั้นๆ" ก็เท่านั้น

ที่เกิดใหม่ไม่ใช่ว่าเพราะมีกรรมมาก
ต้องไปรับผลของเวรของอะไร
ไม่มี !

ที่่ว่าทำกรรมอันนั้นแล้วต้องมารับอันนี้
เพื่อให้ยอมรับความจริงได้ระดับนึงก่อน
จะได้มาเข้าใจตัวธรรมแท้ๆ เฉยๆ
เป็นคำสอนที่เป็นจริง แต่ยังเป็นจริงระดับโลก


บุญ-บาป กุศล-อกุศล

“บุญ” มีความหมายตามรูปศัพท์ ๒ อย่าง
คือ เครื่องชำระสันดาน
คือชำระพื้นจิตใจให้สะอาด
สิ่งที่ทำให้เกิดผลคือภพที่น่าชื่นชม

บางแห่งยังแสดงความหมายอื่นไว้อีกว่า
สิ่งที่นำมาซึ่งความน่าบูชา
สิ่งที่ยังอัธยาศัย (ความประสงค์) ของผู้กระทำให้บริบูรณ์

ส่วน “บาป” มักแปลตามรูปศัพท์ว่า
สิ่งที่ทำให้ถึงวัฏฏทุกข์
หรือสิ่งที่ทำให้ถึงทุคติ (=สิ่งที่ทำให้ตกไปในที่ชั่ว)

คำแปลสามัญของบาป คือ ลามก (ต่ำทราม หรือเลว)
บางครั้งใช้เป็นคำวิเศษณ์ของวิบาก แปลว่า ทุกข์
หรือ อนิฏฐ์ (ไม่น่าปรารถนา)

ที่กล่าวมานั้น เป็นความหมายที่นักศัพทศาสตร์คือนักภาษาแสดงไว้
ซึ่งเป็นเพียงด้านหนึ่งเท่านั้น
ควรทราบความหมายในแง่ของหลักธรรม

เมื่อว่าโดยความหมายอย่างกว้างที่สุด
บุญมีความหมายเท่ากับกุศล
บาปก็มีความหมายเท่ากับอกุศล

แต่ในการใช้จริง
บุญและบาป มักปรากฏในความหมายที่จำกัดแคบ
และจำเพาะแง่มากกว่ากุศลและอกุศล

กล่าวได้ว่า บาป ใช้ในความหมายเท่ากับอกุศล
มากกว่าที่บุญใช้ในความหมายเท่ากับกุศล

แต่ที่ปรากฏบ่อยก็คือ กุศลใช้ในความหมายเท่ากับบุญ
ความที่ว่านี้เป็นอย่างไร พึงพิจารณาต่อไป

บาปที่ท่านใช้ในความหมายเท่ากับอกุศล แห่งสำคัญคือ
ในสัมมัปปธาน ๔ ข้อ ๑ และข้อ ๒
ซึ่งบาปมากับอกุศลธรรม ดังที่ว่า

  • เพียรป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด 
  • เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดแล้ว 
  • เพียรเจริญกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
  • เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อมหาย
พูดอย่างสรุปความสั้นๆ ว่า บุญมีความหมายไม่เท่ากับกุศล 

ถ้าแบ่งกุศลเป็น ๒ ระดับ คือ โลกิยกุศล และโลกุตรกุศล

โดยทั่วไป บุญใช้กับโลกิยกุศล
ถ้าจะหมายถึงระดับโลกุตระ ก็ใส่คำขยายกำกับไว้ด้วย เช่น “โลกุตรบุญ”
ซึ่งมิได้เป็นคำที่นิยมใช้แต่ประการใด (พบในอรรถกถาแห่งหนึ่ง และในฏีกาที่อธิบาย
ต่อจากอรรถกถานั้น เท่านั้น)

แก่นสารของวินัย

แก่นสารของวินัย คือสังวร

สิกขาบท วินัย ศีล

สิกขาบทหลายข้อรวมกัน
เรียกว่าวินัย

วินัยที่ปฏิบัติจนป้องกันโทษที่จะเข้ามาทางต่างๆ ได้
เรียกว่าศีล

โทษที่ว่าก็เช่น
ทำให้เดือดร้อนใจ
ทำลายกรรมฐาน
ไม่ได้สมาธิสักที

ศีลก็เป็นคุณธรรมควบคุมจิตใจ
ให้คุณธรรมนี้ไปควบคุมกายวาจา