วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ความเกิดดับของขันธ์ 5

มีอยู่ 5 แบบ

แบบแรก - เกิดดับแบบพืื้นฐานวิปัสสนา
เกิดดับแบบที่เราคุ้นกันนั่นแหละ
จากไม่มีเป็นมี (เกิด)
จากมีเป็นไม่มี (ดับ)


แบบที่สอง - แบบเหตุปัจจัยที่เป็นปัจจุบัน เหตุใกล้ที่มาคู่กัน
แบบนี้จะดูตามเหตุใกล้ของมัน
เกิด - ก็คือมันมีเหตุ เช่น เวทนาเกิด ไม่ได้ดูเวทนาเกิด ดูเหตุของมัน (คือผัสสะ)
ดับ - เพราะหมดเหตุจึงดับ
ดูว่ามันมาคู่กัน
อ่อ เวทนามีเพราะผัสสะมันมี (ดูเวทนาเกิด)
ถ้าเวทนาไม่มีเพราะผัสสะมันไม่มี (ดูเวทนาดับ)

อาหารสมุทยา รูปสมุทโย
ผสฺสสมุทยา เวทนาสมุทโย
ผสฺสสมุทยา สญฺญาสมุทโย
ผสฺสสมุทยา สงฺขารสมุทโย
นามรูปสมุทยา วิญฺญาณสมุทโย


แบบที่สาม - กรรม
กรรมคือตัวรักษาชีวิต
ตัวรักษาชีวิตคือ ภวังคจิต
ภวังคจิตคือ จิตตอนนอนหลับ
ตอนนอนหลับ ไม่มีตัวตน ไม่มีของตน ไม่มีใคร ไม่มีโลกใดๆ ทั้งสิ้น
โลกจะมาทางทวาร 6 แต่ภวังคจิตไม่มีทวาร
อันนี้คือ กรรมเก่า (หมายถึงภวังคจิต)
ภวังคจิต รักษาขันธ์ 5 ไว้ รักษาภพชาติไว้
เพราะกรรมมี ขันธ์ 5 จึงมี
กรรม ก็จะรักษา ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจไว้ เพื่อรองรับอายตนะ
รอเวลาเกิดวิบาก
กมฺมสมุทยา รูปสมุทโย ฯเปฯ กมฺมสมุทยา วิญฺญาณสมุทโย
กมฺมนิโรธา รูปนิโรโธ ฯเปฯ กมฺมนิโรธา วิญฺญาณนิโรโธ

แบบที่สี่ - ตัณหา (แบบอริยสัจ)
เพราะตัณหาเกิด ความเพลินเกิด ขันธ์ 5 จึงเกิด (แยกขันธ์ 5 เป็น รูป/เวทนา/สัญญา/สังขาร/วิญญาณ)
ตัณหาไม่เกิด ทุกข์จึงไม่เกิด ขันธ์ 5 จึงไม่เกิด
ตณฺหาสมุทยา รูปสมุทโย ฯเปฯ ตณฺหาสมุทยา วิญฺญาณสมุทโย
ตณฺหานิโรธา รูปนิโรโธ ฯเปฯ ตณฺหานิโรธา วิญฺญาณนิโรโธ

แบบที่ห้า - อวิชชา
เพราะอวิชชาเกิด ขันธ์ 5 จึงเกิด (แยกขันธ์ 5 เป็น รูป/เวทนา/สัญญา/สังขาร/วิญญาณ)
เพราะอวิชชาไม่เกิด ขันธ์ 5 จึงไม่เกิด
ลึกสุด ของพระอรหันต์
อวิชฺชาสมุทยา รูปสมุทโย ฯเปฯ อวิชฺชาสมุทยา วิญฺญาณสมุทโย
อวิชฺชานิโรธา รูปนิโรโธ ฯเปฯ อวิชฺชานิโรธา วิญฺญาณนิโรโธ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น