วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2564

ถ้อยคำแก่งแย่ง

 ภิกษุเว้นขาดจากการกล่าวถ้อยคำแก่งแย่งกัน 

เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว 

ยังกล่าวถ้อยคำแก่งแย่งกัน เช่นว่า 

  • ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึง 
  • ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร 
  • ท่านปฏิบัติผิด ข้าพเจ้าปฏิบัติถูก 
  • ถ้อยคำของข้าพเจ้าเป็นประโยชน์ ของท่านไม่เป็นประโยชน์ 
  • คำที่ควรจะกล่าวก่อน ท่านกลับกล่าวภายหลัง
  • คำที่ควรจะกล่าวภายหลัง ท่านกลับกล่าวก่อน
  • ข้อที่ท่านเคยช่ำชองมาผันแปรไปแล้ว 
  • ข้าพเจ้าจับผิดวาทะของท่านได้แล้ว 
  • ข้าพเจ้าข่มท่านได้แล้ว ท่านจงถอนวาทะเสีย
  • มิฉะนั้นจงแก้ไขเสีย ถ้าสามารถแม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.

闻而忘之

 闻而忘之; 见而记之;行而知之

ไม่หมกมุ่นในสุขที่ชอบธรรมนั้น

ไม่นำทุกข์มาทับถมตนที่ไม่เป็นทุกข์

ไม่สละสุขอันชอบธรรม

ไม่หมกมุ่นในสุขที่ชอบธรรมนั้น

เพียรพยายามละเหตุแห่งทุกข์

เข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม

เข้าใจอรรถะ แปลว่า เข้าใจเนื้อหา 

เข้าใจธรรม หมายถึง เข้าใจสภาวะที่เป็นอริยสัจสี่

ลูกค้าของพระพุทธเจ้า

 ความรู้อริยสัจ จำเป็นเฉพาะกับผู้ยังมีปัญหากับเวทนาเท่านั้น

นิสสรณปหาน

 นิสสรณะ - ธรรมอันใดมีแล้ว เกิดแล้ว ถูกปัจจัยปรุงแต่งแล้ว ออกจากธรรมนั้นแล้ว

ปฏิปัสสัทธิปหาน

 ปฏิปัสสัทธิปหาน = ละโดยสงบระงับ 


สงบระงับจากกิจใดที่เป็นไปเพื่อการละ สงบระงับไปจากกิจนั้นแล้ว

เห็นสักแต่ว่าเห็น

 สำนวน "เห็นสักแต่ว่าเห็น" 

มาจาก ทิฏฺเฐ ทิฏฺฐมตฺตํ ภวิสฺสติ


คำแปลจริงๆ

เมื่อใดสิ่งที่ถูกเห็น (รูปารมณ์) จะเป็นสิ่งที่ถูกเห็นเท่านั้น


รูปจะปรากฏได้ รูปคือรูปธรรม ตัวรู้จักรูปคือปัญญา (ขันธ์สี่) เป็นนามจึงเรียกว่ารวมว่าขันธ์ห้าเกิด


ไม่ได้ให้พิจารณาการเห็น

ให้พิจารณาสิ่งที่ถูกเห็น


ทิฐฺเฐ ทิฏฺฐมตฺต ภวิสฺสติ


รู้จักมันตามที่เป็น

---

ทิฏฺเฐ ทิฏฺฐมตฺตํ ภวิสฺสติ 

สุเต สุตมตฺตํ ภวิสฺสติ

มุเต มุตมตฺตํ ภวิสฺสติ

วิญฺญาเต วิญฺญาตมตฺตํ  ภวิสฺสตีต

เตรียมตัวให้พร้อมที่สุด

การเตรียมตัวให้พร้อมที่สุด

โดยเป็นพ้นไปจากความหวังและความกลัว 

เป็นสิ่งที่มีค่ายิ่งกว่ากำลังใจที่ขึ้นๆ ลงๆ 

และการหลอกตัวเองไปวันๆ

ทุกข์ในขันธ์ห้าต้องบริหาร

 ทุกข์ในขันธ์ห้าต้องบริหาร

ทุกขอริยสัจต้องกำหนดรอบรู้

เวทนาที่อวิชชาสัมผัส

 เวทนาที่อวิชชาสัมผัส

หมายถึง เวทนาที่มีผลต่อตน, เวทนาที่มีผลต่อเขา

คุณ ในคำว่า กามคุณ

 คุณ ในคำว่า กามคุณ

แปลว่าเครื่องผูก


หมายถึง เครื่องผูกคือกาม ไม่ได้หมายถึงประโยชน์ของกาม

การเห็นแบบสัมมสนญาณ

 ยังไม่ได้เห็นไม่เที่ยงนะ (คือ ไม่ได้เห็นอันเก่าดับไป แค่เห็นอันใหม่) เห็นเปลี่ยนหน้าอีกละ เป็นลักษณะเด่นของสัมมสนญาณ 


ความดับเป็นแค่ความ "อนุมานเอา" ในสัมมสนญาณ


เช่น ไม่เห็นความเป็นเด็กดับ แค่เห็นว่าตอนนี้มันแก่ละ เลยอนุมานว่าเด็กมันดับไปแล้ว

ทุกข์ 3 หมวด - ทุกขทุกข์ วิปรินามทุกข์ สังขารทุกข์

 ทุกข์ 3 หมวด


หมวดแรกแบ่งตาม สภาวะที่รู้สึกได้ (แบ่งตามเวทนา)


1. ทุกขทุกข์ หมายถึง ทุกข์ในความรู้สึกเลยว่าทุกข์ - ว่าตามองค์ธรรมก็จะหมายถึง ทุกข์ และโทมนัส 


2. วิปรินามทุกข์ หมายถึง ทุกข์ที่รู้สึกเอาได้เมื่อมันเปลี่ยนระดับ มันยักย้ายถ่ายเท มันเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น หรือแปรปรวนไป เวลาพูดเวทนาจะหมายถึง สุข และโสมนัส อันนี้คนอาจจะไม่รู้สึกว่ามันทุกข์ แต่มันเปลี่ยนระดับ 


จริงๆ โทมนัสเวทนาก็แปรปรวน แต่ตัวความรู้สึกว่า "ทุกข์" มันชัดกว่า เลยจัดเป็นทุกขทุกข์ไป ในแบบว่า นับแล้วไม่นับซ้ำ


3. สังขารทุกข์ หมายถึง ทุกข์ในแบบสังขาร เรียกว่าเป็นทุกข์อย่างยิ่ง ทุกข์ปกปิด ทุกข์ในแบบที่เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันเป็นทุกข์ ไม่รู้ร้อนรู้หนาวกะมัน ถ้าว่าโดยสภาวะก็คือ อทุกขมสุข และสังขารอื่นๆทั้งหมด คือมันแปรปรวนน่ะแหละ แต่เรารู้สึกอะไรไม่ได้เลย คือเป็นทุกข์อย่างยิ่ง (ยิ่งจนคนทั่วไปรู้สึกไม่ได้) อันนี้คือสังขารมันเป็นทุกข์ในแบบไตรลักษณ์


สังขารถูกบีบคั้นอยู่ให้เคลื่อนย้ายเปลี่ยนรแปลงอยู่เสมอๆ เป็นธรรมดา แต่คนจะรู้สึกหรือเปล่านี้อีกเรื่องหนึ่ง การที่สังขารถูกบีบคั้นอยู่เสมอ (อันนี้เป็นไตรลักษณ์) คนที่ถูกความเปลี่ยนแปลงของสังขารแล้วถูกบีบจนตัวเองเป็นทุกข์ อันนี้เป็น ทุกขอริยสัจ


ท่านมักใช้ วิปรินามทุกข์ ในการเชื่อมเข้าอริยสัจ

ส่วน ทุกขทุกข์ ก็เชื่อมได้ แต่ถ้าทุกข์มากๆ มันจะไม่พิจารณา


วิปรินามทุกข์ และ ทุกขทุกข์ อาจจะไม่เป็นทุกข์เลยก็ได้ แต่เมื่อมีตัณหา อุปาทานมาถึอครอง จึงจะกลายเป็นทุกขอริยสัจ


---


หมวดสอง ทุกข์ในไตรลักษณ์


จะสื่อถึงสภาพความเป็นธรรมดาของสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ


---


หมวดสาม ทุกขอริยสัจ


ถ้าไปยึดสิ่งนั้นๆ เป็นตัวเราขึ้นมาก็จะกลายเป็นทุกขอริยสัจ เป็นอารมณ์ของอุปาทาน


---

ทุกข์จร นี่เป็นทุกข์อริยสัจ เป็นทุกข์ที่มาจากความยึดถือ - โสกปริเทวะทุกขโทมนัสอุปายาส


ทุกขทุกข์ - เป็นเวทนา

วิปรินามทุกข์ - เป็นเวทนา

สังขารทุกข์ - เป็นสังขารท.(อาจจะเป็น/ไม่เป็นทุกขอริยสัจ อยู่ที่ยึดไหม)


การอธิบายคนกลางๆ - เอาตั้งต้นอธิบายความแปรปรวนเวทนาขึ้นต้นเรื่อง แล้วจะอธิบายเหมาก็เอาสังขารทุกข์ 


ทุกขทุกข์ ทุกข์มากมักไม่พิจารณา (ต้องคนปัญญาเยอะจริงถึงจะเห็น)

สังขารทุกข์ (ต้องคนปัญญาเยอะ)

---

การพิจารณาความไม่เหมือนเดิม (วิปรินามทุกข์) เกิดอันใหม่อยู่เรื่อย เป็นลักษณะของสัมมสนญาณ


แม้ยังไม่เห็นดับก็จริง แต่รู้ว่ามันจะต้องเปลี่ยนแน่นอน


ยังไม่ได้เห็นไม่เที่ยงนะ (คือ ไม่ได้เห็นอันเก่าดับไป แค่เห็นอันใหม่) เห็นเปลี่ยนหน้าอีกละ เป็นลักษณะเด่นของสัมมสนญาณ 


ความดับเป็นแค่ความ "อนุมานเอา" ในสัมมสนญาณ


เช่น ไม่เห็นความเป็นเด็กดับ แค่เห็นว่าตอนนี้มันแก่ละ เลยอนุมานว่าเด็กมันดับไปแล้ว

คำแปลอื่นๆ ของสะระณัง คัจฉามิ

 พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ


  • ข้าพเจ้าขอเสพคบซึ่งพระพุทธเจ้า
  • ข้าพเจ้ารู้ว่าพระพุทธเจ้าเป็นที่เบียดเบียนซึ่งภัย (กันภัยออกไปได้)

นันทิราคะ ฉันทราคะ

 ฉันทะราคะ ไม่ใช่ 2 เจตสิก เป็นเจตสิกเดียว = ตัณหา


นันทิราคะ ในธรรมจักร ก็ไม่ใช่ 2 เจตสิก เป็นเจตสิกเดียว = ตัณหา

กิเลสกาม วัตถุกาม

 กาม 2

กิเลสกาม - ตัณหา (สมุทัย)

วัตถุกาม - อารมณ์ (ทุกข์)


รูปาวจร อรูปาวจร ก็จัดเป็นวัตถุกามเช่นกัน


กาม

รูป

อรูป


จริงๆ ละคำว่า อวจร ไว้ ให้รู้ว่าคำเต็มคือ กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร


อวจร ความหมายคือ เป็นไป (ปวตฺติ) เป็นไปในแบบนั้นๆ ในแบบของจิตคือเกิดดับ อันก่อนหน้ากับไปก่อน อันใหม่จึงเกิด 


ไม่ได้แปลว่า ท่องเที่ยว 

เดี๋ยวจะเหมือนพระสาติ ว่าวิญญาณท่องเที่ยวไป จะกลายเป็นความเห็นผิดไป

เว้นแต่โลกุตระจะไม่มี อวจร

จะเอาหน้าไปไว้ที่ไหน

ครั้งที่เรายังเป็นมนุษย์ และบำรุงด้วยข้าวน้ำ 

สงเคราะห์ด้วยการล้างเท้าและทาเท้าให้ในเรือนของตน 

มาเข้าถึงหมู่คน ธรรพ์ อยู่ในหมู่คนธรรพ์

ท่านพวกนี้เอาหน้าไปไว้ไหน จึงไม่รับธรรมของพระพุทธเจ้า 


พวกท่านเข้าไปนั่งใกล้พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ

ประพฤติพรหมจรรย์ในพระพุทธเจ้าผู้ยอดเยี่ยม

แต่กลับมาเกิดในหมู่เทพชั้นต่ำ

การเกิดของพวกท่านไม่สมควร

เราได้มาเห็นผู้ร่วมประพฤติธรรม มาเกิดในหมู่เทพชั้นต่ำนับว่าได้เห็นรูปที่ไม่น่าดูเลย


ท่านดำเนินตามทางตรัสรู้ เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว จะเย้ยพวกเทวดาก็ได้

ท่านดำเนินตามทางสัมโพธิเพราะเป็นผู้มีจิตมั่นคง ย่อมเย้ยเทวโลกได้

ดูก่อนภราดา

 ดูก่อนภราดา

ถ้าเจ้าฟังแต่เรื่องที่เจ้ารู้

เจ้าจะไม่รู้เรื่องที่เจ้าฟัง


ดูก่อนภารดา

ถ้ายังไม่พร้อมที่จะไม่มี อย่าเพิ่งมี

แต่ถ้ามีแล้ว จงพร้อมเสมอที่จะไม่ดี 

กำหนดด้วยสติ กำหนดด้วยปัญญา

 กำหนด = ปริคฺคณฺหาติ


ความสามารถในการบ่งชี้ บ้างบอก แยกแยะโดยชัดเจน


"กำหนดแบบสติ" มีอารมณ์จดจ่อกับสิ่งนั้น เช่น กำหนดกาย มีอารมณ์จดจ่ออยู่กับกาย ไม่คลาดเคลื่อนไปจากกาย


"กำหนดแบบปัญญา" ปัญญากำหนดกาย หมายถึง ปัญญาไปแจกแจงกายออกเป็นธาตุสี่ หรือเป็นผม ขน เล็บ ฟัน หนัง


เป็นอาการคนละอย่าง แต่เวลาแปล ใช้คำว่ากำหนดเหมือนกัน