มันอยู่ที่อุปนิสัย อะไรที่ประทับใจมันจะจำได้
ถ้าท่องได้จำได้ ก็จะสงเคราะห์ลงในชีวิตได้ง่าย เพราะศาสนานี้เริ่มต้นที่การฟัง
ถ้าท่องไม่ได้ จำไม่ได้ ก็เอามาใช้กับตัวเองไม่ได้ เล่าให้คนอื่นฟังก็ไม่ได้
แค่ความคิดว่า "รู้น่า รู้น่า"
ถ้าจำไม่ได้ ข้อมูลในการพิจารณาธรรมเราก็น้อย
ถ้าจำไม่ได้ แน่ใจหรือว่าสิ่งที่เราปฏิบัติเป็นของพระผู้มีพระภาค
ถ้าพิจารณาตามความรู้ความนึกคิดของเราเอง แล้วเข้าใจว่า "นี่นะพระธรรมว่าไว้อย่างนี้" สวมรอยพรั่บเข้าไปเลย อันนี้น่ากลัว
ไอ้ตรงที่เราจะพิจารณาอย่างไรนี่ ยังไม่มีใครตำหนิอะไรหรอก
แต่ถ้าดันเอาความนึกคิดที่ปรุงขึ้นมาเองแล้วตู่ว่านี่เป็นพระธรรม อันนี้มีโทษมากมายมหาศาล
พระธรรมนี่ถ้าเข้าใจถูก มีคุณค่ามากมายมหาศาล แต่ถ้าเข้าใจผิดก็มีโทษมากมายมหาศาลเช่นกัน
เหมือนกันหมอที่เขาปรุงยาไว้ดีแล้ว แต่ก็มีคนเผลอไปกินแล้วตาย ถามว่าโทษหมอได้ไหม? ก็โทษไม่ได้ เพราะคนเอาไปกินไม่รู้จักขนาด ไม่รู้จักขนานอะไรๆ เอง
พระธรรมนี่มีค่ามาก ใช้กะๆ เอาไม่ได้ ทีวิชาอื่นมีค่าน้อยยังท่องซะเป๊ะๆ
ฉะนั้นถ้ามีศรัทธาท่องได้แน่นอน
ถ้าคิดว่าพระธรรมดีมากๆ ยังไงก็จำได้
แต่ถ้าคิดว่าพระธรรมก็งั้นๆ ยังไงก็จำไม่ได้
จะจำได้หรือไม่มีปัจจัยอยู่ 2 ตัว
1.เป็นอารัมณาธิปติมั้ย หรือ
2.เป็นสหชาตาธิปติไหม
ก็คือตระกูลอธิปติปัจจัย
เช่น บางเหตุการณ์เราตกใจแต่จำเอามาเล่าได้ อันนี้คือสหชาตาธิปติ
ในขณะนั้นมี ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา อย่างใดอย่างหนึ่งในขณะนั้นก็จะจำได้
หรือสอง
อารมณ์นั้นเป็นอารัมณาธิปติ
คือเป็นอารมณ์หนัก อารมณ์ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ก็จะเป็นเหตุให้จำได้
ดังนั้นถ้าเราปลูกฝังสองอย่าง
หนึ่ง ปลูกฝังให้จิตเรามี ฉันทาธิปติ หรือ...วิมังสาธิปติ นี้นัยหนึ่ง
อีกนัยหนึ่งก็ให้อารมณ์ที่น่าฝักใฝ่ น่าปรารถนา ปลูกฉันทะอย่างแรงกล้าในอารมณ์นั้นๆ
แต่สำคัญที่สุดก็คือทัศนะคติเบื้องต้น "เชื่อมั้ยว่าเราจำได้" ก่อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น