วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ส่องอินทรีย์

บอกศรัทธาดี? ได้ยินอรหังนี่ขนลุกเลยมั้ย

บอกวิริยินทรีย์ดี? เวลาอกุศลจะเกิดนี่ปล่อยหรือห้าม
เวลาจะทำบุญผลัดไปก่อนหรือเปล่า

วันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2564

เมื่อมีคนมาบอกว่าเห็นอย่างนี้ (วิธีตอบของท่านเศรษฐี)

เห็นว่าโลกเที่ยง หรือโลกสูญนั้น (ที่เห็นผิดเป็นดังนั้น)
ที่เห็นเป็นดังนั้น ก็เพราะทำในใจไว้โดยไม่แยบคาย หรือได้ฟังมาเท่านั้น
ไม่ฉลาดคิดภายในตัวเอง
ได้รับเสี้ยมสอนมาจากครูอาจารย์ หรือคนรอบข้าง
(อโยนิโสฯ + ปรโตโฆสะ)

เหมือนเด็กฝันร้าย ไปหาแม่
แม่ก็จะไม่ได้ไปตามว่าเด็กฝันเรื่องอะไร
ก็แค่บอกว่า เจ้ากินเยอะ นอนเยอะ ถึงได้ฝันอย่างนั้น เท่านั้น
เพราะไอ้สิ่งที่ฝันโดยมากก็ไม่จริง ไม่จำเป็นต้องไปตาม

จับเอาเลยที่ท่านรู้สึกอย่างนนั้นนั่นเป็นทิฏฐิ
ทิฏฐินี้เกิดจากเหตุปัจจัย

สิ่งใดที่เกิดจากเหตุปัจจัย
สิ่งนั้นไม่เที่ยง 

สิ่งใดไม่เที่ยง
สิ่งนั้นเป็นทุกข์

สิ่งใดเป็นทุกข์
ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

รวบเข้าเลย

วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2564

อธิมานะ

ถ้ามานะเฉยๆ คือสำคัญตน

ถ้าอธิมานะ คือ สำคัญตนว่าได้ตรัสรู้ ได้บรรลุ ไม่ได้แปลว่าสำคัญตนมากๆ ไม่ได้แปลว่ามานะจัด

ข้อปฏิบัติต่อเสียงในศาสนานี้

 การแสดงธรรม จะไม่ได้แสดงแค่ว่า "เอ้อ นี่เสียง" แล้วหยุดอยู่แค่นี้ มันจะไม่ได้ประโยชน์อะไร


แต่จะแสดงในแง่ว่า เสียงนี้เป็นกามคุณนะ กามทั้งหลายเหมือนร่างกระดูก ไม่มีใครเข้าไปมีความสุขเพลิดเพลินได้อย่างแท้จริงในเสียงเหล่านั้น

กามทั้งหลายเหมือนชิ้นเนื้อ เครื่องเสียงเป็นที่แย่งชิงกัน เสียงรถยนต์ก็เป็นที่แย่งชิงกันอยู่แล้ว สิ่งเหล่านี้เป็นวัตถุกาม

ก็เอาเรื่องกามมาวิเคราะห์เป็นโทษภัย พิษภัยเป็นต้น

หรือถ้าจะแสดงในแง่อายตนะ ก็แสดงเป็นเสียงอยู่ในฐานะเป็นอารมณ์ของโสตวิญญาณและธรรมที่สัมปยุตกับโสตวิญญาณ

ถ้าจะวิเคราะห์เสียง ก็มีอยู่แค่ 9 รูป เพราะหลักของเราไม่ใช่เพื่อสร้างเสียง แต่เพื่อตัดฉันทราคะในเสียง ตัวเสียงจริงๆ ไม่ได้มีอะไรให้มาวิเคราะห์มากมายในสายธรรมะ

เสียงอันนั้นเป็นปัจจัยให้ศีลธรรม เช่น อาศัยเสียง ทำบาปได้ไหม ชี้ในมุมนี้ ลำพังตัวเสียงเองไม่ได้มีอะไร เช่นเสียงดังๆ มาสตาร์ทรถอยู่หน้าเรา มโนทุจริตเริ่มเกิด สักพักวจีทุจริตอาจจะตามมา

เสียงทำให้เกิดอภิชฌาได้ไหม อยากได้เสียงพาตัวเองไปนั่งที่นั่นที่นี่บ้าง

ถ้าทุกขเวทนาจากเสียงก็เกิดโทสะ
ถ้าอุเบกขาเวทนาจากเสียงก็เกิดโมหะ

และก็เป็นปัจจัยแก่ตัณหาอยู่ดี ตัณหาเกิด อุปาทานเกิด คิดถึงเสียงก็เป็นมโนกรรม พูดถึงเสียงเป็นวจีกรรม ถ้ามีพฤติกรรมโต้ตอบจากเสียงก็กลายเป็นกายกรรม กรรมเหล่านี้ ก็เป็นปัจจัย เพื่อให้ "มีหูต่อไป"

ฉะนั้นเหตุที่ทำให้มีหูอันนั้น ก็คือความเพลินในเสียงอันนั้น

แล้วรู้เห็นอย่างไรถึงจะเบื่อหน่ายในเสียง จะได้เลิกเพลินในเสียงสักที นี่แหละที่เรียกว่าเป็นโยนิโสมนสิการ มาใคร่ครวญจนเบื่อหน่ายและคลายกำหนัด

ข้อปฏิบัติในศาสนานี้ไม่ใช่ไม่ไปสนใจเสียง แต่เข้าไปรอบรู้ในเสียงด้วยอำนาจของปริญญา 3

อย่างเสียงในทะเลที่ไม่ไปได้ยินมันล่ะ เกี่ยวข้องต้องไปพิจารณามั้ย?

ก็ต้องดูว่าเสียงนั้นเป็นอารมณ์ของจิตมั้ย?
เกี่ยวข้องกับกรรมไหม?

ซึ่งจิตและกรรมนี่แหละ เป็นที่ตั้งของตัณหาและอวิชชา 
กิเลสถ้าจะเกิดก็เกิดในสิ่งเหล่านั้นแหละ ในฐานะเป็นอารัมณปัจจัย   

เสียงนี้เป็นปัจจัยแก่กิเลสได้ 2 ปัจจัยเท่านั้นคือ
อารมณปัจจัย และอุปนิสยปัจจัย

สรุปประเด็น รู้เห็นอย่างไรจึงจะเบื่อหน่ายในเสียง

จับที่สมุฏฐานของเสียงเป็นอันดับแรก
  1. ตัวเหตุของเสียงมันจีรังยั่งยืนไหม
  2. แล้วตัวเสียงมันเที่ยงไหม?
  3. การได้ยินเสียงที่ต้องอาศัยหูนี่ ถ้าหูเสื่อมจะได้ยินไหม?
  4. ถ้ามีอะไรมากั้นที่พลังงานถ่ายทอดมาไม่ได้นี่จะดังไหม?
พิจารณาลงไตรสิกขา
  1. เสียงนี้ทำให้ผิดศีลมั้ย
  2. เสียงนี้ทำให้เจริญสมถะได้มั้ย
  3. เสียงที่เกิดจากจิตเป็นสมุฏฐาน เช่น เสียงธรรมพระพุทธเจ้า เสียงนี้เป็นปัจจัยแก่จิตชนิดไหนบ้าง
มัชฌิมาปฏิปทานี้อยู่ตรงไตรสิกขา
ถ้ารับรู้อารมณ์อะไรแล้วไม่สามารถสงเคราะห์ลงไตรสิกขา เราจะไม่สามารถถึงมรรคได้
ตัวข้อปฏิบัติจริงๆ อยู่ตรงนี้

วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2564

12/8/2021

 โทสะไม่ได้น่ากลัว ที่น่ากลัวคือสมุทัย
เมื่อล่วงเลยมโนกรรม หลุดไปถึงวจีกรรมแล้ว
สัญญาจะชัดเจนมากขึ้น ปรากฏทีไรเป็นทุกข์ทุกที วิปปฏิสารกันไป

แม้จะมีความจำอันชัดเจนอยู่ว่าสังขารก็ไม่เที่ยง
แต่ความจำนั้นก็เกิดดับ สลับแทรกกับสัญญาวิปลาสให้เดือดร้อน ตามวาระ

อยู่ๆ ก็คิดขึ้นมาว่า แม้ยังประมาทอยู่อย่างมาก
แต่ภพที่ 8 ก็ไม่มีสำหรับเธอนั้น 
มันอาจจะดูอะไรประมาณแถวๆ นี้แหละ  ไม่ต้องดูไกล

ข้อสังเกตเมื่อถูกพยาบาทนิวรณ์กลุ้มรุม  และใจชุ่มกามนานๆ
พอออกมาแล้วมันจะอยู่ในโหมดถีนมิทธะ ถ้ารู้ไม่ทันจะถูกครอบอยู่สักพัก
มันจะไม่ใช่ สาตสหคต


#บันทึกความคิดขำๆ ไม่มีอะไร
#ไม่มีของดีให้ดูก็ดูนิวรณ์นี่ล่ะวะ

วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2564

เฉยๆ ไม่ได้แปลว่าไม่มีตัณหา

 ตัณหา ไม่ได้มีแค่อารมณ์เพลิดเพลินในความสุข

จริงๆ ตัวอารมณ์ธรรมดา คืออุเบกขานี่อันนี้เกิดมาก

ในชีวิตทั่วๆ ไป ที่ไม่ค่อยได้รับอิฎฐารมณ์นี่

เช่น ว่าเห็นของตรงหน้าเนี่ย ไม่ได้โสมนัส แต่ก็ไม่ได้รังเกียจ และก็ไม่ได้ปัจจเวกอะไรด้วย

เฉยๆ นี่แหละโลภะ-อุเบกขา 

เหล่านี้นี่สมุทัยทั้งนั้น

ดังนั้น ปัจจัย-ปัจจยุบัน ต้องใคร่ครวญให้มาก

หูนี่คืออะไรมีปัจจัยอะไร ฟังนี่มีผลอะไร มันพาอะไรมา แล้วมันเที่ยงหรือไม่เที่ยง

การใคร่ครวญทั้งหมดเป็นไปเพื่อละฉันทราคะทั้งสิ้น