วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

พูด

๑.  เป็นนักพูดที่ดีและฟังเป็น  คือ  ไม่ใช่ฝึกพูดอย่างเดียวนะคะ  ต้องฝึกฟังด้วยต้องรู้ว่าเมื่อไรควรพูด เมื่อไรควรฟัง  การฟังผู้อื่นพูดทำให้เราได้รับความรู้เพิ่มขึ้น  หรือเป็นการทบทวนความรู้เดิมที่เรามีอยู่
๒.  ศึกษาหาความรู้อยู่เสมอไม่หยุดยั้ง   นอกจากจะได้จากการฟังการสนทนากับผู้รู้ต่าง ๆ  การฟังข่าววิทยุ โทรทัศน์แล้ว  ความรู้ที่ได้จากการอ่านสำคัญที่สุด  เพราะเสนอวิธีตักตวงความรู้ที่รวดเร็วและรวบรัดที่สุด  นักพูดต้องรักการอ่าน  มิฉะนั้น  การพูดจะวนเวียนอยู่ที่เดิมจะไม่ไปไหน
๓.  ยอมรับฟังคำวิจารณ์  นักพูดต้องยอมรับฟังคำวิจารณ์จากผู้อื่น  ต้องต้อนรับทั้งคำติและชม  ไม่ใช่หลงใหลอยู่กับคำชมคำสรรเสริญเยินยอแต่ฝ่ายเดียว  ที่ไม่ให้อะไรมากไปกว่ายาหอมชะโลม  มีความสุขชั่วครู่ ชั่วยามเดี๋ยวก็ลืม  แต่คำติให้ข้อคิดกับเราไม่ว่าจะเป็นคำติเพื่อก่อ หรือทำลาย  เพื่อตั้งสติให้มั่นคง  นำมาพิจารณหา ข้อเท็จจริง  ให้รีบนำมาปรับปรุงแก้ไขตัวเองใหม่ ถ้าเขาไม่ติเรา แล้วเราจะรู้สึกถึงสัญญาภัยเหล่านี้ได้อย่างไร
๔.  เป็นตัวของตัวเอง  นักพูดต้องเป็นตัวของตัวเองอย่าเลียนแบบใคร  เพราะไม่สร้างสรรค์  ไม่ทำความเจริญให้แก่โลก  และไม่ทำความความภาคภูมิใจให้แก่ตัวเอง  เราจะเป็นยอดในสิ่งนั้นไม่ได้  เพราะในที่สุดของที่สุดเราจะพ่ายแพ้  คน ๆ หนึ่ง  คือ คนที่เราเลียนแบบเขานั่นเอง  ให้จับเอาตัวอย่างที่ดี  คำพูด  ข้อคิดที่ดีมาใช้  และต้องเอ่ยนามเขาด้วย  เพราะถือว่าเป็นมารยาทอันงดงาม  และยังสามารถถ่ายทอดสิ่งต่าง ๆ  เหล่านั้นได้อย่างเต็มปากเต็มคำ ไม่เคอะเขินอีกด้วย
๕.  มีความสุขในการถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้อื่น  คนที่หลงความรู้นอกจากทำให้โลกไม่เจริญแล้ว  ตัวเองก็ยังทำให้เจริญไม่ได้ด้วยเพราะถ้าเราปิดบังไม่ยอมถ่ายทอดหรือถ่ายทอดไม่หมด  เก็บไว้หากินวันหลังบ้างทำนองนี้  เราก็จะไม่ขวยขวายค้นคว้าหาความรู้ใหม่ในที่สุดความรู้ก็เท่าเดิมไม่พัฒนาขึ้น แต่ให้ถือว่าการพูดทุกครั้งเป็นโอกาสดี ที่เราจะได้ทำประโยชน์  เป็นเกียรติยศที่ผู้ฟังหยิบยื่นให้แก่เรา  ความคิดเช่นนี้เป็นความสุขที่มองไม่เห็น เป็นความภาคภูมิใจที่ซ่อนเร้น  ซึ่งจะบันดาลให้การพูดเป็นประกอยเฉิดฉาย  มีพลังมีศรัทธและมีหัวใจที่ทุ่มเทให้กับการพูดทุกครั้ง


http://7meditation.blogspot.com/2012/01/43.html

1.เป็นคำพูดที่แสดงถูกกาล กล่าวคือ เป็นคำพูดที่พูดถูกจังหวะ ถูกเวลา ถูกสถานที่ 
1.1.การพูดถูกจังหวะ คนมักชอบ ดังคำที่เคยมีผู้กล่าวไว้ว่า “ พูดมากก็มากเรื่อง พูดน้อยก็พลอยเคียง ไม่พูดก็ไม่รู้เรื่อง แต่การพูดผิดจังหวะคนมักชัง ตัวอย่าง ในการสนทนากัน  บางคน พูดไม่ถูกจังหวะ เขาพูดยังไม่จบรีบพูดแทรกในขณะที่คนอื่นพูดไม่จบ การพูดที่ผิดจังหวะนี้เมื่อทำบ่อยๆ คนที่สนทนาด้วยก็มักจะไม่ชอบ แต่เขามักจะชัง
1.2.การพูดถูกเวลา คนมักชอบ แต่การพูดผิดเวลาคนมักชัง ดังนั้น ในบางกรณี ก่อนที่เราจะพูด เราควรถามอีกฝ่ายหนึ่งก่อนว่า  “ ขอโทษครับ ผมขอเวลาปรึกษาเรื่อง...ไม่ทราบว่าคุณจะพอมีเวลาว่างให้ผมไหมครับ ”
1.3.การพูดถูกสถานที่ การพูดเรื่องบางเรื่องเราก็ไม่ควรนำไปพูดในบางสถานที่ เช่น เขากำลังทำพิธีสวดศพอยู่ เราดันไปพูดเรื่องตลก หัวเราะชอบใจในงานศพ เมื่อเจ้าภาพเห็นเขาอาจ ไม่รู้สึกสนุกเหมือนเราสนุกก็เป็นได้
2.น้ำเสียงสอดคล้องกับเรื่องที่พูด  น้ำเสียงมีความสำคัญต่อเรื่องที่พูด มีคนเคยกล่าวว่า “ ภาษาสื่อถึงความหมาย
แต่น้ำเสียงก่อให้เกิดความหวั่นไหวในใจ ” คำพูดดังกล่าวมีความเป็นจริงมากอยู่ทีเดียว เช่น เรากล่าวแสดงความเสียใจในการจากไปของบิดาของเพื่อนสนิท แต่เรากล่าวด้วยน้ำเสียงที่ตื่นเต้น ดีใจ ชอบใจ เพื่อนจะมีความรู้สึกเช่นไร ถึงแม้เราจะใช้ภาษาที่บอกว่าเราเสียใจนะ แต่น้ำเสียงเราไม่สอดคล้องกัน อาจทำให้เพื่อนเรา ชังเราได้
                3.มีอารมณ์ขันบ้าง การพูดที่ทำให้คนชื่นชอบ มักเป็นคำพูดที่ทำให้คนหัวเราะ ดังนั้น หากผู้พูดท่านใดเป็นนักสะสมอารมณ์ขัน หรือ เรื่องราวที่สนุกๆ คนมักจะชื่นชอบ อีกทั้งทำให้มีเพื่อนมาก คนอยากรู้จัก แต่สิ่งที่ต้องระวังก็คือ ผู้พูดควรต้องรู้จักวิเคราะห์ เนื้อหาในข้อที่ 1 เพิ่มด้วย คือ ควรใช้อารมณ์ขันให้ถูกกาล (ถูกจังหวะ ถูกเวลาและถูกสถานที่)ด้วย
                4. พูดให้เนื้อหามีความชัดเจน ชวนติดตาม ผู้พูดที่ผู้ฟังชื่นชอบ มักพูดเนื้อหาให้มีความชัดเจน อีกทั้งยังทำให้เกิดการติดตาม มีการจัดลำดับในการพูดเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย ผู้ฟังไม่สับสน มีการพูดเรื่องที่ใกล้ตัวผู้ฟัง ผู้ฟังจึงสนใจที่อยากจะฟัง
                5.ภาษาที่มีความเหมาะสมกับเรื่องและผู้ฟัง  ไม่ใช้ภาษาต่างประเทศมากจนเกินไปหากพูดกับผู้ฟังที่เขาไม่มีความรู้ในภาษานั้น หรือ คำศัพท์ในวงการนั้นๆ  ไม่ควรมีคำฟุ่มเฟือย คำแสลง มากจนเกินไป  หลีกเลี่ยงการระบุชื่อ หากสื่อถึงผู้นั้นในทางที่เสียหาย เพราะอาจทำให้เกิดโทษมากกว่า ประโยชน์ บางครั้ง ผู้พูด ใช้คำพูดที่ระบุถึง ความเสียหายของบุคคลโดยระบุชื่อ ก็อาจจะถึงกับขึ้นโรง ขึ้นศาลไปเลยก็มีมาแล้ว เพราะอาจโดนผู้ที่เสียหายฟ้องหมิ่นประมาทได้
                6.การให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม การพูดโดยเฉพาะการพูดต่อหน้าที่ชุมชน หากผู้พูดเปิดโอกาสให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมก็จะทำให้ผู้ฟัง มีความสุขที่ได้แสดงความคิดเห็นของตนเอง ดังนั้น ผู้พูด เมื่อพูดไป ก็ควรตั้งคำถามให้ผู้ฟังตอบหรือขอให้ผู้ฟังแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องดังกล่าวที่ผู้พูดพูด เพราะผู้ฟังอาจจะไม่สนใจในสิ่งที่ผู้พูด พูดเลย หากผู้พูดไม่ให้ความใส่ใจในตัวผู้ฟัง
                การพูดที่พูดถูกกาล , การใช้น้ำเสียง ,การใช้อารมณ์ขัน , การพูดให้เกิดความชัดเจน , การใช้ภาษาให้ถูกต้องเหมาะสมและการให้ผู้ฟังมีส่วนร่วม ในการพูด จึงเป็นสิ่งที่ผู้พูดที่ฉลาดควรกระทำกัน

http://www.oknation.net/blog/markandtony/2012/01/16/entry-5

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น