พอใจอยู่ในความสุข = โลภ
โกรธ = ไม่พอใจในอารมณ์ ไม่แช่มชื่นใจ
วันอาทิตย์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2560
วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2560
การบ้าน 2/6
ข้อ1. ให้ใช้คำว่า "อันตรธาน" (Disappear) ในการตามรู้กาย-ใจดังนี้ คือ:
- ทุกอย่างเกิดและขึ้นหายไปต่อหน้าต่อตา ทุกอย่างล้วนอันตรธาน
- ทุกอย่างคือ ตากระทบรูป, หู-เสียง, จมูก-กลิ่น, ลิ้น-รส, กาย-สัมผัส, อารมณ์/ความคิดกระทบใจ
- ทุกอย่างที่เกิดขึ้นอันตรธานเดี๋ยวนั้นไหม มีอะไรไม่อันตรธานบ้าง
ข้อ2. สุขทุกข์ไม่ได้เกิดจากคนอื่นทำ, สุขทุกข์ไม่ได้เกิดจากเราทำเอง
- มองเห็นตอนไหนอย่างไรบ้าง
- เห็นแล้วได้ใช้ชีวิตตามนั้นอย่างไรบ้าง
- ตรวจสอบดูว่าปฏิบัติหรือดำเนินชีวิตสอดคล้องกับความจริงนี้หรือไม่
- ทุกอย่างเกิดและขึ้นหายไปต่อหน้าต่อตา ทุกอย่างล้วนอันตรธาน
- ทุกอย่างคือ ตากระทบรูป, หู-เสียง, จมูก-กลิ่น, ลิ้น-รส, กาย-สัมผัส, อารมณ์/ความคิดกระทบใจ
- ทุกอย่างที่เกิดขึ้นอันตรธานเดี๋ยวนั้นไหม มีอะไรไม่อันตรธานบ้าง
ข้อ2. สุขทุกข์ไม่ได้เกิดจากคนอื่นทำ, สุขทุกข์ไม่ได้เกิดจากเราทำเอง
- มองเห็นตอนไหนอย่างไรบ้าง
- เห็นแล้วได้ใช้ชีวิตตามนั้นอย่างไรบ้าง
- ตรวจสอบดูว่าปฏิบัติหรือดำเนินชีวิตสอดคล้องกับความจริงนี้หรือไม่
วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2560
เซ็ง
ดูอยู่นาน แม้จะขึ้นต้นเป็นโทสะพรึ่บแล้วดับ เหมือนถูกขัดเล็กน้อย
แต่ก็ตามไปด้วยสภาวะคล้ายๆ neutralized
เนื่องจากไม่มี "ระยางค์ทางใจ" โผล่ออกมาให้เห็นแบบอาการของความโกรธโทสะทั่วไป
ทั้งนี้ พบว่ามีความเพิกต่อบุคคลต้นเหตุแห่งความเซ็งดังกล่าว
นั่นคือ เพิกแม้การกระทำโดยมารยาท
อันนี้จับพิรุธทางใจไม่ออก แต่ไปจับออกทางพฤติกรรม
จะเห็นว่ามีการหลบอารมณ์ ถึงได้โป้ง อ้าว นี่โทสะนี่
แต่ก็ตามไปด้วยสภาวะคล้ายๆ neutralized
เนื่องจากไม่มี "ระยางค์ทางใจ" โผล่ออกมาให้เห็นแบบอาการของความโกรธโทสะทั่วไป
ทั้งนี้ พบว่ามีความเพิกต่อบุคคลต้นเหตุแห่งความเซ็งดังกล่าว
นั่นคือ เพิกแม้การกระทำโดยมารยาท
อันนี้จับพิรุธทางใจไม่ออก แต่ไปจับออกทางพฤติกรรม
จะเห็นว่ามีการหลบอารมณ์ ถึงได้โป้ง อ้าว นี่โทสะนี่
วันอังคารที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2560
วันจันทร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2560
2nd Reset, Reload
Reset : ทิ้งมุมมองที่ผิดของการปฏิบัติธรรม
การปฏิบัติธรรม ลบภาพของการนั่งหลับตา หรือเดินจงกรม
Reload : การปฏิบัติธรรมหรือการภาวนา
คือการบ่มเพาะชีวิตให้เจริญขึ้นใน 4 ด้าน อันประกอบไปด้วย
- กายภาวนา – การดูแลกายให้แข็งแรง เลือกที่อยู่อาศัย ที่กิน ปฏิบัติต่อตนเองให้เหมาะสม ไปจนถึงการรู้จักเกี่ยวข้องติดต่อกับสิ่งทั้งหลายผ่านอินทรีย์ 5 (ตา/หู/จมูก/ลิ้น/กาย) ด้วยดี (คือเป็นกุศล = มีคุณ ถูกต้อง)
- สีลภาวนา – การปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม ควรทำอะไร ไม่ควรทำอะไร ต่อเพื่อน ต่อการงาน ต่อสังคม
- จิตตภาวนา – เมื่อดูแลผ่าน 2 ข้อ อันเป็นพื้นฐานความสงบเป็นเบื้องต้นแล้ว ก็พัฒนาจิตให้มีคุณสมบัติที่ดี เช่น เข้มแข็งมั่นคง แช่มชื่น เบิกบาน ผ่องใส ตั้งมั่น เช่น เมตตากรุณา เจริญสมาธิ
- ปัญญาภาวนา – ทำปัญญาให้แจ่มชัด รู้และเข้าใจตามความเป็นจริง และใช้ชีวิตที่สอดคล้องกับปัญญานั้น
ทั้งหมดอธิบายเพิ่มเติมในมงคล 38 ประการ ไล่ดูทีละข้อ
ก็ลงล็อคการพัฒนาฝึกอบรมทั้ง 4 ด้านนี้เช่นกัน เช่น
- ในข้อที่เกี่ยวกับการทำงาน หากงานการที่ทำมีประโยชน์ผลที่เกิด คือ ใจเกิดปราโมทย์ (ย่อมนำไปสู่ปีติ ปัสสัทธิ ...)
- ในข้อสันโดษ สันโดษ หมายถึง พอใจในผลที่ได้มาโดยชอบธรรม ใจที่พอ ใจที่อิ่ม นี้เป็นอาการของปีติ
- การกระทำทั้งหมดนี้ “เป็นมงคลอันอุดม”
---
บันทึกเนื้อหาเกี่ยวกับสภาวะในรายละเอียดเพิ่มเติม
- สมาธิเป็นตัวเดียวกันความสบายและขี้เกียจ พอใจสบาย แต่ยังไม่พ้นทุกข์ ชื่อว่ายังประมาท ผลของความประมาท คือ นิสัย
- การภาวนา ถ้าการใช้ชีวิต ในขั้น กาย-, สีล-, จิตภาวนา ไม่เรียบร้อย อยู่ๆ จะมาฟังข้อ 4 คือ ปัญญาเลย จะไม่รู้เรื่อง
- การมองที่ฉลาดไม่ได้มองในเรื่องราว แต่มองในโครงสร้าง ว่ามันเกิดขึ้นแล้วดับทั้งสิ้น เป็นเหตุปัจจัย ไม่สำคัญว่าสิ่งนั้นคืออะไร ครั้งพอมองเห็นสภาวะแล้วว่าหลงไป แอบมีต่อ ว้า~~เราแพ้แล้ว (ก็ยังไม่ผ่านนะเส้นผมบังภูเขา มีใครแพ้กันหรือ)
- ปฏิบัติธรรม คือภาวนา พัฒนา กาย ศีล จิต ปัญญา จนบริบูรณ์ -> พระอรหันต์คือผู้ที่พัฒนาทั้ง 4 ด้านจนบริบูรณ์แล้ว
- การเล่นเฟสบุค และอุปกิเลส 16 ระมัดระวังในข้อโอ้อวด เช่น การโพสต์ในลักษณะ “วันนี้ได้ไป....” สำรวจใจ หากเป็นการสะสมมานะ และทิฏฐุปาทาน จะทำให้ไม่สามารถมองเห็นอริยสัจ
- การให้ได้ สละได้ สำคัญ
- รู้จักบังคับควบคุมตน self control simple life ไม่ทำตนให้ลำบาก
- อยู่กับสัจจะปลอดภัยที่สุด
- แค่รักษาการระลึกรู้ไว้
- ตั้งมุมมอง : สุขทุกข์ไม่ได้มาจากตน ไม่ได้มาจากคนอื่น จะแก้ปัญหาอย่างไร
- ตั้งมุมมอง : ดูความอันตรธาน
จุดตรวจสอบ
การเห็นนิพพานมีจุดตรวจสอบสำคัญ คือ
- รับรู้รูปเสียงหรืออารมณ์ใดๆ ก็มีจิตบริสุทธิ์ เห็นภาวะที่ไม่มีโลภะ โทสะ โมหะในใจตน ไม่ใช่เห็น บุคคล สถานที่ รูปภาพ หรือองค์อะไรที่ดีวิเศษ
- เป็นการเห็นด้วยปัญญา ไม่ใช่เห็นด้วยจิตสมาธิ
- ถึงภาวะหลุดพ้น โปร่งโล่งอิสระ ไม่ใช่จมอยู่แค่ความปลาบปลื้มดื่มด่ำติดใจ
วันอังคารที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2560
7 มี.ค.60 ท่านปู่และการให้
สภาวะตอนเดินกลับบ้าน
เจอ "ท่านปู่" 2 ขณะจิต เหตุจากการระลึกภาพการให้ในสถานะที่ให้ได้ยาก
แต่เมื่อให้ออกไปก็ว่าง เป็นการให้ทางกายประกอบไปด้วย
---
挥霍 Huīhuò
慷慨 kāngkǎi
挥霍 Huīhuò คือ การเอาสิ่งที่ไม่มีประโยชน์แล้วสำหรับตัวเองให้ไปส่งเดช ที่อาจแย่กว่านั้นคือผีอาจโผล่ขึ้นมาว่า
"นี่ชั้นให้เธอตั้งมากขนาดนี้ทำไมจึงไม่สำนึกบุญคุณอีก"
เจอ "ท่านปู่" 2 ขณะจิต เหตุจากการระลึกภาพการให้ในสถานะที่ให้ได้ยาก
แต่เมื่อให้ออกไปก็ว่าง เป็นการให้ทางกายประกอบไปด้วย
---
挥霍 Huīhuò
慷慨 kāngkǎi
สองคำนี้มีความหมายถึงการให้เหมือนกัน
挥霍 Huīhuò 慷慨 kāngkǎi ความต่างของคำที่เกี่ยวข้องกับการให้
慷慨 kāngkǎi คือ การมอบสิ่งที่ดีที่สุดในการให้
挥霍 Huīhuò คือ การเอาสิ่งที่ไม่มีประโยชน์แล้วสำหรับตัวเองให้ไปส่งเดช ที่อาจแย่กว่านั้นคือผีอาจโผล่ขึ้นมาว่า
"นี่ชั้นให้เธอตั้งมากขนาดนี้ทำไมจึงไม่สำนึกบุญคุณอีก"
coaching w love
- รู้ใจ ใจเป็นนามธรรม ให้รู้ด้วยกาย การเป็นตัวรับรู้ เป็นดัชนี เป็นมิเตอร์ เป็นอินดิเคเตอร์
- Field of awareness ภายใน ขยายออกสู่ภายนอก
- การถูกปฏิเสธสามครั้งติดต่อกัน อยู่ใกล้นกหวีดมากๆ
- ไม่เอาเปรียบใคร แต่ไม่ยอมเสียเปรียบใคร เมื่อเห็นโอกาสที่ทำได้ก็อยู่ในกติกา ผู้อื่นมองไม่เห็นเอง
- คิดบวก คือ จะทำอะไรต่อดี ไม่ใช่คิดปลอบใจตัวเอง
ได้ไปเที่ยวอินเดียมากับครอบครัวก็จะเห็นว่าอะไรบางอย่างมันเป็นกัมมพันธุจริงๆ เรียกว่าลองไล่ดูละกัน
- ให้ใครก่อนไม่เป็น
- ให้แบบไม่มีเงื่อนไขไม่เป็น
- ให้แบบไม่ไตร่ตรองคิดแล้วคิดอีกไม่เป็น
- ถ้ามีต้องให้โดยมารยาทจะรู้สึกถูกอึดอัด
- ถ้าคนที่ไม่สนิทให้ของจะอึดอัด
- ถ้าคนที่ไม่สนิทให้ของจะรู้สึกเป็นภาระ ขณะที่ความสนใจทั้งหมดพุ่งไปอยู่ที่ของ
- คาดหวังในผลของการให้อย่างสูง
- ให้โดยประณีตไม่เป็น
- ไม่อาจตัดใจทิ้งอะไรได้ แม้ไม่ได้ใช้ประโยชน์
- ไม่เคยเอาเปรียบใคร
- ไม่ยอมเสียเปรียบใคร
- อะไรตามสิทธิ์จะต้องได้ตามนั้น
- ไม่สละสิทธิ์แม้ไม่ได้ใชข้เอาไว้ก่อน
- ยืนยันเสมอว่าไม่ใช่การกระทำที่โลภ เพียงรักษาสิทธิ์
- แต่ละคนมีการ "เอา" ในลักษณะที่เหมือนกัน เหมือนกันในที่นี้ หมายถึงระดับการรับการให้ ท่าที ทัศนะในแง่นี้เทียบเท่ากัน ต่างเพียงสิ่งที่เอา
วันจันทร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2560
อธิปัญญา
ว่าด้วยผู้สอนอธิปัญญา
ความรู้ที่จัดเจนหาเพียงพอไม่
ผู้สอนพึงเป็นกัลยาณมิตร ที่สามารถสร้างศรัทธา
สามารถชี้แนะให้ผู้เรียนเป็นคนรู้จักคิดเองได้
อย่างน้อยให้เขามีความเห็นชอบตามทำนองคลองธรรม
ถ้าสามารถกว่านั้น ก็ให้เขารู้จักมองโลกและใช้ชีวิตอย่างรู้เท่าทันความจริง
สามารถวางใจ และวางท่าที มีความสัมพันธ์กับสิ่งทั้งหลายอย่างถูกต้อง
พุทธธรรม 548 - บทนำมัชฌิมาปฏิปทา
ความรู้ที่จัดเจนหาเพียงพอไม่
ผู้สอนพึงเป็นกัลยาณมิตร ที่สามารถสร้างศรัทธา
สามารถชี้แนะให้ผู้เรียนเป็นคนรู้จักคิดเองได้
อย่างน้อยให้เขามีความเห็นชอบตามทำนองคลองธรรม
ถ้าสามารถกว่านั้น ก็ให้เขารู้จักมองโลกและใช้ชีวิตอย่างรู้เท่าทันความจริง
สามารถวางใจ และวางท่าที มีความสัมพันธ์กับสิ่งทั้งหลายอย่างถูกต้อง
พุทธธรรม 548 - บทนำมัชฌิมาปฏิปทา
อธิจิตตสิกขา
อธิจิตตสิกขา คลุมรวมถึงการจัดระบบกัลยาณมิตร และจัดสรรสัปปายะ
ไปจนถึงอุบายวิธีต่างๆ ที่ช่วยส่งเสริมคุณภาพจิตคน
ให้คนพร้อมก้าวหน้าไปทางเจริญสมาธิ พัฒนาจิตยิ่งขึ้นไป
เช่น การจัดสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
การสร้างบรรยากาศในที่อยู่อาศัย ที่ทำงาน ให้สดชื่นแจ่มใส
ชวนให้คุณภาพจิตมีความประณีตยิ่งขึ้น
ไปจนถึงอุบายวิธีต่างๆ ที่ช่วยส่งเสริมคุณภาพจิตคน
ให้คนพร้อมก้าวหน้าไปทางเจริญสมาธิ พัฒนาจิตยิ่งขึ้นไป
เช่น การจัดสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
การสร้างบรรยากาศในที่อยู่อาศัย ที่ทำงาน ให้สดชื่นแจ่มใส
ชวนให้คุณภาพจิตมีความประณีตยิ่งขึ้น
วินัยนั้นพ่วงมากับศีล
สาระของ "อธิศีล" ในไตรสิกขานั้น ไม่ได้หยุดอยู่เฉพาะการปฏิบัติของบุคคล
แต่ส่องถึงภารกิจที่มนุษย์จะต้องจัดทำในระดับชุมชนและสังคมด้วย
โดยมีวินัยเป็นฐานเชื่อมโยงเข้าสู่ศีล
โดยนัยนี้ เมื่อพูดถึงศีลในความหมายแบบคลุมๆ โดยให้รวมถึงวินัยด้วย
ศีลจะกินความถึงการจัดสรรสภาพแวดล้อมทั้งทางวัตถุและทางสังคม
ที่ปิดกั้นโอกาสทำชั่ว และส่งเสริมโอกาสในการทำความดี
เฉพาะอย่างยิ่งการจัดระเบียบชีวิต จัดระบบสังคม โดยวางโครงสร้างจัดการกิจกรรมกิจการต่างๆ
กฏ ระเบียบ กติกา มารยาท
ที่มุ่งปิดโอกาสการทำชั่ว และขยายโอกาสการทำดี
คำว่า "วินัย" นั้นท่านทรงบัญญัติสำหรับสังฆะ
มีข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติส่วนตัว
กับทั้งข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดระบบความเป็นอยู่ของชุมชน
แต่ส่องถึงภารกิจที่มนุษย์จะต้องจัดทำในระดับชุมชนและสังคมด้วย
โดยมีวินัยเป็นฐานเชื่อมโยงเข้าสู่ศีล
โดยนัยนี้ เมื่อพูดถึงศีลในความหมายแบบคลุมๆ โดยให้รวมถึงวินัยด้วย
ศีลจะกินความถึงการจัดสรรสภาพแวดล้อมทั้งทางวัตถุและทางสังคม
ที่ปิดกั้นโอกาสทำชั่ว และส่งเสริมโอกาสในการทำความดี
เฉพาะอย่างยิ่งการจัดระเบียบชีวิต จัดระบบสังคม โดยวางโครงสร้างจัดการกิจกรรมกิจการต่างๆ
กฏ ระเบียบ กติกา มารยาท
ที่มุ่งปิดโอกาสการทำชั่ว และขยายโอกาสการทำดี
คำว่า "วินัย" นั้นท่านทรงบัญญัติสำหรับสังฆะ
มีข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติส่วนตัว
กับทั้งข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดระบบความเป็นอยู่ของชุมชน
ประโยชน์สูงสุด
รู้เท่าทันคติธรรมดาของสังขารธรรม
ไม่ตกเป็นทาสของโลกและชีวิต
มีจิตใจเป็นอิสระ โปร่งโล่ง ผ่องใส เบิกบาน
ไม่ถูกบีบคั้นบังคับจำกัด ด้วยความยึดติดถือมั่นหวั่นหวาดของตนเอง
ปราศจากสิ่งเผาลนที่ทำให้เศร้าหมองขุ่นมัว
อยู่อย่างไร้ทุกข์ แจ้งความสุขประณีตภายในที่สะอาดบริสุทธิ์สิ้นเชิง
อันประกอบพร้อมด้วยความสงบเยือกเย็นสว่างไสวเบิกบานโดยสมบูรณ์
พุทธธรรม 538 - ประโยชน์ของการครองชีวิตอันประเสริฐ >> ประโยชน์สูงสุด (ปรมัตถะ)
ไม่ตกเป็นทาสของโลกและชีวิต
มีจิตใจเป็นอิสระ โปร่งโล่ง ผ่องใส เบิกบาน
ไม่ถูกบีบคั้นบังคับจำกัด ด้วยความยึดติดถือมั่นหวั่นหวาดของตนเอง
ปราศจากสิ่งเผาลนที่ทำให้เศร้าหมองขุ่นมัว
อยู่อย่างไร้ทุกข์ แจ้งความสุขประณีตภายในที่สะอาดบริสุทธิ์สิ้นเชิง
อันประกอบพร้อมด้วยความสงบเยือกเย็นสว่างไสวเบิกบานโดยสมบูรณ์
พุทธธรรม 538 - ประโยชน์ของการครองชีวิตอันประเสริฐ >> ประโยชน์สูงสุด (ปรมัตถะ)
ตื่นและรู้
ตื่นรู้
ตื่นและรู้
ตื่นแต่ไม่รู้ก็มี
รู้แต่ไม่ตื่นก็มี
ตื่น - ตื่นจากความคิด
รู้ - รู้ไตรลักษณ์
มรรคอยู่ในฐานะอุปกรณ์ให้ใช่ ไม่ใช่สำหรับแบกโก้ไว้
พุทธธรรม 542 - มัชฌิมาปฏิปทา
การปฏิบัติธรรมที่ขาดความตระหนักในวัตถุประสงค์ ความเป็นอุปกรณ์ และความสัมพันธ์กับธรรมอื่นๆ ย่อมกลายเป็นการปฏิบัติที่เลื่อนลอย คับแคบ ตัน และที่ร้ายยิ่งคือ ทำให้เขวออกนอกทาง ไม่ตรงจุดหมาย และกลายเป็นธรรมที่เฉื่อยชา เป็นหมัน ไม่แล่นทำการ ไม่ออกผลที่หมาย
เพราะการปฏิบัติธรรมอย่างไร้จุดหมายเช่นนี้ ความไขว้เขว และผลเสียหายต่างๆ จึงเกิดขึ้นแก่หลักธรรมสำคัญๆ เช่น สันโดษ อุเบกขา เป็นต้น
การปฏิบัติธรรมที่ขาดความตระหนักในวัตถุประสงค์ ความเป็นอุปกรณ์ และความสัมพันธ์กับธรรมอื่นๆ ย่อมกลายเป็นการปฏิบัติที่เลื่อนลอย คับแคบ ตัน และที่ร้ายยิ่งคือ ทำให้เขวออกนอกทาง ไม่ตรงจุดหมาย และกลายเป็นธรรมที่เฉื่อยชา เป็นหมัน ไม่แล่นทำการ ไม่ออกผลที่หมาย
เพราะการปฏิบัติธรรมอย่างไร้จุดหมายเช่นนี้ ความไขว้เขว และผลเสียหายต่างๆ จึงเกิดขึ้นแก่หลักธรรมสำคัญๆ เช่น สันโดษ อุเบกขา เป็นต้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)