วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

กิเลส - เก็บวรรคทอง

จากหนังสือ สิ่งที่เรียกว่ากิเลส และวิธีทำให้สิ้นไป
https://www.bia.or.th/ebook/content/web/index.php?bookid=177


กิเลส

  1. ตัณหา คืออยากด้วยความโง่
  2. สพฺเพ ปูเรนฺตุ สงฺกปฺปา คืออยากด้วยปัญญา
  3. กิเลสมาจากอวิชชา ถ้ามาจากปัญญาไม่เรียกกิเลส
  4. กิเลสจำง่าย : ตัณหาจะเอา (ราคะ) ตัณหาจะทำลาย (โทสะ) ตัณหาจะมัวเมาเวียนอยู่ (โมหะ)
  5. พวกนี้เป็นกิเลสชั้นต้น ธรรมดา ให้รู้จักให้ดีเหมือนรู้จักวัตถุ
อนุสัย
  1. เมื่อกิเลสผ่านไป จะเหลือสิ่งที่เรียกว่า "ความเคยชินแห่งกิเลส" (= ความเคยชินที่จะเกิดอีก)
อาสวะ
  1. กิเลสที่ไหลออก เพราะอนุสัยมากเข้า จึงพร้อมที่จะดันกลับออกมา
    นัยว่าเกิดเร็วและแรงจนบังคับไม่ไหว (ตรงนี้ฟังแล้วยังงงๆ)
วิธีทำให้สิ้นกิเลส
  1. แม้จะใช้วิธีบังคับก็ทำเถิด  อนุสัยจะไม่เพิ่มพูน เป็นอุบายลดนิสัย

วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ปาตุภวนฺติ ธมฺมา ในปฐมโพธิสูตร

ปาตุภวนฺติ อาจแปลได้ 2 อย่าง

  1. เกิดขึ้น
  2. ปรากฏ


นั่นขึ้นกับว่าจะ อธิบาย ธมฺมา เป็นอะไร

ถ้าแปลว่า เกิดขึ้น ก็คือ อธิบายว่า ธมฺมา หมายถึง โพธิปักขิยธรรม (อธิบายเป็นตัวรู้)
ถ้าแปลว่า ปรากฏ ก็คือ อธิบายว่า ธมฺมา หมายถึง อริยสัจ (อธิบายเป็นตัวถูกรู้)

หเว

หเว นิยมแปลว่า แล

ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา
เช่น ในกาลใด ธรรมท.ปรากฏอย่างชัดเจน

หเว ความหมาย คือ ชัดเจน กระจ่างแจ้ง

วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ความดับของอภิธรรม VS ความดับของพระสูตร

ความดับในความหมายแง่ของพระสูตรคือ
ไม่มีเงื่อนไขการเกิด คืออวิชชาถูกละไป

การใช้งาน
คือจะได้โฟกัสถูกจุดว่า "ความรู้" น่ะมีไหม?
ไม่ต้องสนใจว่าตัณหาแรง - เบา
ให้สนใจที่ความเข้าใจนะถูกหรือยัง

===

ความดับในความหมายแง่อภิธรรม
คือความเกิดดับเป็นขณะๆ ของจิตแต่ละดวงที่เกิดขึ้นแล้วดับไป

การใช้งาน
ให้รู้ว่าตัณหาก็เป็นสิ่งที่เกิดแล้วดับ
อวิชชาก็เป็นสิ่งที่เกิดแล้วดับ
ฉะนั้น ไม่ต้องไปทำอะไรกับตัณหา หรืออวิชชาเลย (แต่ขั้นต้นยังต้องบริหารจัดการอยู่)
คือมันเหมือนผี จะไปทำการดับอะไรกับสิ่งที่เกิดดับอยู่แล้ว บ้าเปล่าๆ

ให้สนใจว่า แล้วความรู้น่ะประกอบอยู่ไหม
ไม่ต้องไปวุ่นวายกับการดับ
ให้มาโฟกัสกับการเดินมรรค การประกอบความรู้ ตอนนี้รู้หรือเปล่า

ตัณหาลดลงดูอย่างไร

กำลังของตัณหานี่
กิเลสมีกำลังมากน้อยนี่ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ !!!

การมาสนใจกิเลสยิบย่อย
เหมือนมาคอยนั่งลิดใบของต้นไม้
แล้วสักพักก็งอกใหม่

ประเด็นของสติปัฏฐานคือ ขุดรากถอนโคน
ฉะนั้นอาจจะลิดใบบ้างอะไรบ้าง แต่ไม่ใช่จุดสนใจเป็นพิเศษ

ตัณหาเบา - แรง ไม่ได้ดูตรงมันเกิดแรงหรือไม่แรง
เขาดูที่ เข้าใจว่ามันเป็นทุกข์หรือไม่

ถ้าไม่เข้าใจว่าสิ่งนั้นเป็นทุกข์ ถือว่ายังมีตัณหาอยู่ (ถึงแม้ตอนนี้จะไม่มีตัณหาก็ตาม !!! )


เข้าใจไหมว่าสิ่งนั้นมันไม่เที่ยง

ถ้าไม่เข้าใจ ถือว่าตัณหานั้น "ยังแรงอยู่" (ถึงแม้ตอนนี้จะไม่มีตัณหาก็ตาม)

เช่น ลูกตาของเรา
ตอนนี้ไม่ได้รู้สึกเสียดายอะไรเลย เฉยมาก
แต่ "ถ้ายังไม่ได้เห็นว่าลูกตานี้มันเป็นของไม่เที่ยง 
ลูกตานี้มันเป็นของเป็นทุกข์
ยังไม่รู้จักว่าลูกตานั้นเป็นของที่จะผุพังเป็นธรรมดา"
ถือว่า "ตัณหาในลูกตายังแรงอยู่" 
แม้ว่าตอนนี้จะแทบไม่ได้นึกถึงลูกตาเลยก็ตาม

คือสติปัฏฐานจะให้มองลึกลงไปถึงหัวเชื้อ ต้นตอตัณหาเลย
คือถ้ายังไม่เห็นว่าสิ่งนั้นเป็นทุกข์
แสดงว่ายังมีความติดในสิ่งนั้นอยู่

สติปัฏฐานจะไม่มารอดูว่ามีกิเลสเกิดมั้ย
แต่จะยังดูว่า "มีกิเลสอยู่ไหม"

มีกิเลสอยู่ ไม่แปลว่า กิเลสเกิดนะ
มีกิเลสอยู่ แปลว่า เงื่อนไขของกิเลสยังอยู่

การลดลงของตัณหา
จึงดูที่การเจริญขึ้นของมรรค
ถ้าความเข้าใจมากขึ้น ตัณหาก็ลดลงนั่นเอง

สรุปคือวัดที่การเห็นทุกข์
ไม่ได้วัดที่ตัณหาไม่เกิดในสิ่งนั้นๆ