วันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2566

สรุปโพธิราชกุมารสูตร

 โพธิราชกุมารสูตร


โพธิราชกุมาร ถวายภัตตาหารพระพุทธเจ้าเสร็จ ก็นั่งลงสนทนาธรรม โดยกล่าวว่าตนเนี่ย มีความเชื่อว่า 


ความสุขอันบุคคลจะพึงถึงได้ด้วยความสุขไม่มี 

ความสุขอันบุคคลจะพึงถึงได้ด้วยความทุกข์แล.


พระพุทธเจ้าเลยเล่าเรื่องตอนสมัยออกบวชใหม่ๆ เดิมท่านก็เชื่ออย่างนั้นเหมือนกัน ก็ได้ไปศึกษาทั้งอาฬารดาบส อุทกดาบส แต่ก็พบว่ายังไม่ใช่


วันหนึ่งก็เกิดอุปมาแก่พระโพธิสัตว์ขึ้นมา 3 ข้อว่า


1. เหมือนต้นไม้ที่แช่น้ำอยู่ จะเอามาจุดไฟ ก็เป็นไปไม่ได้ฉันใด

ถ้าหากบุคคลยังไม่หลีกออกจากกาม ยังแช่อยู่ในกาม ยังห่วงหากาม อาลัยในกาม 


ไม่ว่าคนๆ นั้นจะเสวยทุกขเวทนาอันเผ็ดร้อนเพราะการบำเพ็ญเพียรหรือไม่ก็ตาม การจะตรัสรู้ก็ย่อมเป็นไปไม่ได้


2. หรือเหมือนต้นไม้ที่ยกมาไว้บนบกแล้ว แต่ยังเป็นไม้สด จะเอามาจุดไฟก็เป็นไปไม่ได้ ถ้าหากบุคคลนั้น แม้จะเอากายหลีกมาจากกาม แต่ยังห่วงหากาม อาลัยในกาม 


ไม่ว่าคนๆ นั้นจะเสวยทุกขเวทนาอันเผ็ดร้อน เพราะการบำเพ็ญเพียรอยู่หรือไม่ก็ตาม การตรัสรู้ย่อมเป็นไปไม่ได้


3. หรือเหมือนไม้แห้งที่อยู่บนบก ไกลน้ำ เมื่อจะเอามาจุดไฟ ย่อมทำได้โดยง่าย

ถ้าหากบุคคลนั้น มีกายหลีกออกจากกาม และไม่ห่วงกาม ไม่อาลัยในกาม 


ไม่ว่าคนคนนั้นจะเสวยทุกขเวทนาอันเผ็ดร้อนเพราะการบำเพ็ญเพียรอยู่หรือไม่ก็ตาม การตรัสรู้ย่อมเป็นไปได้


ว่าแล้วก็ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา

ทำไปจนสุด พิจารณาว่าในอดีตใครจะทำแบบนี้ก็ทนได้ไม่เกินนี้ ในอนาคตใครจะทำอย่างนี้ก็ทนได้ไม่เกินนี้

ก็เห็นว่าไม่มีอะไรดีขึ้น ทางคงไม่ใช่ทางนี้เป็นแน่


วันหนึ่งระลึกได้ถึงการเข้าฌานสมัยเด็ก ความสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌานนั่นแลพึงเป็นทาง กลับมากินข้าวเหมือนเดิม แล้วเจริญสมาธิ เมื่อจิตบริสุทธิ์และควรแก่การงานแล้ว ก็น้อมไปเพื่อพิจารณาอดีตชาติ การเกิดดับของสัตว์ และพิจารณาว่านี้ทุกข์ นี้สมุทัย นี้นิโรธ นี้มรรค  กำจัดอวิชชาได้ตามลำดับ


พอบรรลุแล้วก็ขวนขวายน้อยเพราะเห็นว่าธรรมนั้นละเอียด จนพรหมต้องมาอาราธนา แล้วก็พิจารณาบุคคลที่ควรสอน แล้วก็สั่งสอนปัญจวัคคีย์จนบรรลุ


โพธิราชกุมารถามว่า ต้องเรียนกับพระพุทธเจ้านานขนาดไหนถึงจะบรรลุ


ท่านตอบว่า มันก็ขึ้นกับว่าคนนั้น

1. มีศรัทธามากแค่ไหน

2. ร่างกายแข็งแรงมั้ย

3. เป็นผู้โอ้อวด มีมายารึป่าว

4. ความเพียรเป็นอย่างไร

5. มีปัญญาไหม


ถ้าบุคคลมีคุณสมบัติทั้ง 5 เหล่านี้ ก็ไม่เกิน 7 ปีหรอก หรือถ้าพร้อมมาก สอนเช้าบรรลุเย็น สอนเย็นบรรลุเช้าก็ได้


โพธิราชกุมารสรรเสริญ คุณพระพุทธน่าอัศจรรย์หนอ คุณพระธรรมน่าอัศจรรย์หนอ คุณพระสงค์น่าอัศจรรย์หนอ

วันเสาร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2566

สรุปคณกโมคคัลลานสูตร

ว่าด้วยพราหมณ์เข้าไปคุยกับพระพุทธเจ้า บอกจะเรียนศิลปะใดๆ เขาก็มีลำดับมีขั้นมีตอน จึงถามว่าในการฝึกปฏิบัติในธรรมวินัยนี้มีเป็นลำดับขั้นตอนบ้างไหมอย่างไร


พระพุทธเจ้าก็ตอบว่ามีสิ

เข้ามาใหม่ๆ เราก็ให้เขาประพฤติตามศีล สิกขาบท

เมื่อศีลดีแล้ว เราก็แนะนำเพิ่ม ให้ฝึกการสำรวมอินทรีย์ เมื่อมองรูป ยินเสียงแล้ว ไม่มั่นหมายตามนิมิต ก็จักไม่ถูกความชอบใจไม่ชอบใจครอบงำได้

เมื่อสำรวมอินทรีย์ได้ดีแล้ว เราก็แนะนำเพิ่ม ว่าให้ฝึกพิจารณาการกิน ให้รู้ว่ากินเพื่ออะไร ไม่กินเพราะอะไร

เมื่อรู้ประมาณในการบริโภคดีแล้ว เราก็แนะนำเพิ่ม ให้ฝึกการประกอบจิตให้อยู่กับความตื่น โดยการนั่งและจงกม หรือหากจะนอนก็สีหไสยยาสน์ กำหนดสติว่าจะตื่นเอาไว้

เมื่อประกอบจิตในความตื่นดีแล้ว เราก็แนะนำเพิ่มว่าให้ตั้งสติสัมปัชัญญะในอิริยาบถทั้งหลาย ทั้งก้าว ถอย เหยียด คู้ แล เหลียว

เมื่อมีสติสัมปชัญญะในอิริยาบถต่างๆ ดีแล้ว เราก็แนะนำให้เธอยินดีในที่สงัด นั่นต้นไม้ นั่นถ้ำ กลับจากบิณฑบาตแล้ว ก็เข้าสมาธิ ชำระจิตให้พ้นจากนิวรณ์

เมื่อจิตปราศจากนิวรณ์แล้ว เราก็แนะนำให้เธอเข้าฌานไปตามลำดับ

สำหรับผู้ยังไม่บรรลุ เราก็สอนอย่างนี้
สำหรับผู้จบงานแล้ว เราก็แนะนำอย่างนี้ เพราะเป็นเครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน

พราหรณ์ถามว่า นี่มีขั้นตอนวิธีการที่ชัดเจนขนาดนี้ มีคนสอน มีคนชักชวนด้วย ผู้ปฏิบัติตามนี่เยอะเลยสิ

ท่านตอบว่า ไม่เยอะ

พราหมณ์ถาม ทำไม

ท่านตอบว่า ก็เหมือนกับท่านรู้ทางเป็นเมืองราชคฤห์ดี ใครมาถามก็บอกได้โดยละเอียด แต่บางคนก็ไป บางคนก็ไม่ไป บางคนบอกอย่างนึงไปคิดว่าเป็นอีกอย่างนึง หลงทาง บางคนก็ไปถึงโดยสวัสดิภาพ นั่นทำไมละ

พราหมณ์ตอบ ก็เราเป็นแค่ผู้บอกทาง

ตถาคตกล่าว ฉันใดฉันนั้นแหละ ตถาคตก็เป็นเพียงแค่ผู้บอกทาง

บุคคลจำพวกที่ไม่มีศรัทธา เป็นผู้โอ้อวด มีมายา เจ้าเล่ห์ ฟุ้งซ่าน ยกตัว กลับกลอก ปากกล้า มีวาจาเหลวไหล ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่น ไม่มุ่งความเป็นสมณะ ไม่มีความเคารพกล้าในสิกขา มีความประพฤติมักมาก มีความปฏิบัติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในทางเชือนแช ทอดธุระในความสงัดเงียบ เกียจคร้าน ละเลยความเพียร หลงลืมสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่มั่นคง มีจิตรวนเร มีปัญญาทราม เป็นดังคนหนวกคนใบ้ พระโคดมผู้เจริญย่อมไม่อยู่ร่วมกับบุคคลจำพวกนั้น

สรุปอินทรียภาวนา

 (แสดงสิ่งที่ไม่ใช่)

การเจริญอินทรียนี่ไม่ใช่การไม่ดู ไม่ฟัง ปิดหู ปิดตา


(แสดงการเจริญ)

คือการพิจารณาว่า เมื่อความชอบใจไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นนั้น เออ มันเกิดจากการดูการฟังนี่แหละ เป็นของหยาบ อาศัยกันเกิด ไม่น่าเอาเลย อุเบกขามันละเอียดประณีตกว่าตั้งเยอะ


(แสดงสเกลของการเจริญ)

คือ ถ้าอินทรีย์พัฒนาได้ดีเท่าไร การปล่อยอารมณ์ชอบใจไม่ชอบใน มาสู่อุเบกขาก็จะยิ่งเร็วเท่านั้น เหมือนกระพริบตา เหมือนเหยียดคู้แขน เหมือนน้ำหยดลงกะทะร้อนๆ ก็หายไปในทันที ง่ายขนาดนั้น


(แสดงฐานะว่ายังเจริญไม่เสร็จ)

เมื่อใดที่ยังอึดอัด ไม่ชอบใจ เบื่อหน่ายความชอบใจไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นเพราะผัสสะทั้ง 6 ทาง นี่เรียกว่ายังปฏิบัติอยู่ ยังเป็นพระเสขะ


(แสดงฐานะว่าเจริญเสร็จแล้ว)

แต่ถ้าอินทรีย์เจริญเต็มที่แล้ว เธออยากจะหมายเอาอย่างไรก็ได้ ปฏิกูลให้ไม่ปฏิกูล ไม่ปฏิกูลให้ปฏิกูล หรือจะวางเฉยซะอย่างมีสติสัมชัญญะเธอก็ทำได้


วันอาทิตย์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2566

อาการยืนพื้นตั้งใจฟัง แต่ไม่ได้ฟัง

เป็นการหมายไว้โดยไม่รู้ตัว
ทำให้ฟังธรรม แต่ไม่ไปตามธรรม

เวลาเราพิจารณาธรรม
ตั้งเรายืนพื้นอยู่
แล้วพิจารณาสิ่งที่อยู่ตรงหน้า
เลยกลายเป็นซ่อนเราไว้เสมอๆ

แต่พอฟังเสร็๗แล้วก็จะเกิดคำถาม

"แล้วจะทำยังไงให้เข้าใจความจริงแบบนี้"

นี่คือไม่ได้ฟังธรรมเลย

เวลาตั้งใจฟัง
ก็นั่งรักษาตัวใน นั่งรักษาสติ
เกรงว่าถ้าไม่ฟังจะไม่พ้นทุกข์ 

ไม่รู้ว่านี่คือภพชาติ แสดงพฤติกรรมแฝง
ทำอะไรเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองตลอดเวลา

กลัวหลง เลยไปตั้งรู้เอาไว้ 
ไปตั้งไว้ว่า ต้องรู้เฉยๆ
ตั้งตัวรู้ขึ้นมาเพื่อจะรู้เฉยๆ

ถีนมิทธะ เจอก็ไม่ต้องงง

ถีน จิตมันถอยจากควาามตั้งใจไปเรื่อย เข้ามุม จนเลิกทำ

มิทธะ เซื่องซึม ขี้เกียจ

ถ้านิวรณ์เกิดแล้วปฏิบัติต่อมันถูกก็จะเป็นสมาธิ

วิธีปฏิบัติ 5 ข้อ ต่อนิวรณ์

  1. รู้ชัด รู้ชัดว่านี้เป็นนิวรณธรรม เป็นสังขารขันธ์ เป็นของเกิดเป็นของดับ
    สิ่งนี้เกิดขึ้นแล้ว ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นแล้ว จะเรียกชื่ออะไรก็ได้ ไม่เอาความคิดใส่เข้าไป รู้ว่ามันเกิดเพราะมีเหตุแล้ว และรู้ชัดว่ามันเกิดแล้วจะต้องดับไปแน่นอน มันไม่ได้ดับตามที่เราอยากให้ดับ แต่ดับเมื่อเหตุมันหมด สิ่งที่ต้องทำคือแค่อดทน
  2. รู้ชัด ไม่มีอยู่ก็รู้ว่าไม่มีอยู่ ตอนไม่มีมันเป็นยังไง มันสบายยังไง แล้วมันเที่ยงมั้ย
  3. เกิดได้ยังไงก็รู้ กิเลสทุกชื่อทั้งปวงเกิดจากความคิดผิด จำให้แม่นๆ ความคิดยังไงก็ต้องผิด เพราะข้อมูลมันผิดอยู่ จะให้เราคิดถูกตลอดก็ไม่ได้ เพราะข้อมูลมันผิดน่ะ นี่เป็นโทษของความไม่มีอริยมรรค
  4. ไม่เกิดได้ยังไงก็รู้
  5. ไม่เกิดอีกเพราะอะไรก็รู้ ฉะนั้นต่อไปถ้ามันเกิดอีกก็ไม่งง เพราะระดับเรายังไม่ถึงขั้น ตอนนี้ที่มันเไม่เกิดเพราะตอนนี้จิตมันเป็นกุศลอยู่เฉยๆ 
  • ปฏิฆะนิมิต -  ข้อมูลที่ผิดที่เป็นเหตุให้เกิดความโกรธ เช่น จำไว้ว่ากิริยาอย่างนี้เขาด่าเรา, จำไว้ว่าถ้าเขามองเราตั้งแต่หัวจรดเท้าคือจะมีเรื่อง
  • แต่ถ้าจำใหม่ - โดนด่า เป็นทุกขสัจ ความคิดก็เปลี่ยน หรือจำใหม่ว่าถ้าเขามองเราตั้งแต่หัวจรดเท้าคือเขาสนใจเรามาก ความคิดมันก็เปลี่ยน
  • สุภะนิมิต - ข้อมูลที่ผิดที่เป็นเหตุให้เกิดโลภะ
  • โดยสรุปแล้ว กิเลสเกิดจากความคิด ความคิดก็ไม่เที่ยง ความคิดเกิดจากสัญญา สัญญาก็ไม่เที่ยง แล้วกิเลสที่เกิดจากความคิดที่ไม่เที่ยงมันจะเที่ยงอยู่ได้ไหม
  • มันไม่เกี่ยวกับมันไม่ดับ มันเกี่ยวกับรู้มั้ยว่ามันจะดับ
  • ใช้กำลังของปัญญา ทำความเข้าใจมัน เข้าใจจนไม่สงสัย ก็จะผ่านได้ทุกเรื่อง