ว่าด้วยพราหมณ์เข้าไปคุยกับพระพุทธเจ้า บอกจะเรียนศิลปะใดๆ เขาก็มีลำดับมีขั้นมีตอน จึงถามว่าในการฝึกปฏิบัติในธรรมวินัยนี้มีเป็นลำดับขั้นตอนบ้างไหมอย่างไร
พระพุทธเจ้าก็ตอบว่ามีสิ
เข้ามาใหม่ๆ เราก็ให้เขาประพฤติตามศีล สิกขาบท
เมื่อศีลดีแล้ว เราก็แนะนำเพิ่ม ให้ฝึกการสำรวมอินทรีย์ เมื่อมองรูป ยินเสียงแล้ว ไม่มั่นหมายตามนิมิต ก็จักไม่ถูกความชอบใจไม่ชอบใจครอบงำได้
เมื่อสำรวมอินทรีย์ได้ดีแล้ว เราก็แนะนำเพิ่ม ว่าให้ฝึกพิจารณาการกิน ให้รู้ว่ากินเพื่ออะไร ไม่กินเพราะอะไร
เมื่อรู้ประมาณในการบริโภคดีแล้ว เราก็แนะนำเพิ่ม ให้ฝึกการประกอบจิตให้อยู่กับความตื่น โดยการนั่งและจงกม หรือหากจะนอนก็สีหไสยยาสน์ กำหนดสติว่าจะตื่นเอาไว้
เมื่อประกอบจิตในความตื่นดีแล้ว เราก็แนะนำเพิ่มว่าให้ตั้งสติสัมปัชัญญะในอิริยาบถทั้งหลาย ทั้งก้าว ถอย เหยียด คู้ แล เหลียว
เมื่อมีสติสัมปชัญญะในอิริยาบถต่างๆ ดีแล้ว เราก็แนะนำให้เธอยินดีในที่สงัด นั่นต้นไม้ นั่นถ้ำ กลับจากบิณฑบาตแล้ว ก็เข้าสมาธิ ชำระจิตให้พ้นจากนิวรณ์
เมื่อจิตปราศจากนิวรณ์แล้ว เราก็แนะนำให้เธอเข้าฌานไปตามลำดับ
สำหรับผู้ยังไม่บรรลุ เราก็สอนอย่างนี้
สำหรับผู้จบงานแล้ว เราก็แนะนำอย่างนี้ เพราะเป็นเครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน
พราหรณ์ถามว่า นี่มีขั้นตอนวิธีการที่ชัดเจนขนาดนี้ มีคนสอน มีคนชักชวนด้วย ผู้ปฏิบัติตามนี่เยอะเลยสิ
ท่านตอบว่า ไม่เยอะ
พราหมณ์ถาม ทำไม
ท่านตอบว่า ก็เหมือนกับท่านรู้ทางเป็นเมืองราชคฤห์ดี ใครมาถามก็บอกได้โดยละเอียด แต่บางคนก็ไป บางคนก็ไม่ไป บางคนบอกอย่างนึงไปคิดว่าเป็นอีกอย่างนึง หลงทาง บางคนก็ไปถึงโดยสวัสดิภาพ นั่นทำไมละ
พราหมณ์ตอบ ก็เราเป็นแค่ผู้บอกทาง
ตถาคตกล่าว ฉันใดฉันนั้นแหละ ตถาคตก็เป็นเพียงแค่ผู้บอกทาง
บุคคลจำพวกที่ไม่มีศรัทธา เป็นผู้โอ้อวด มีมายา เจ้าเล่ห์ ฟุ้งซ่าน ยกตัว กลับกลอก ปากกล้า มีวาจาเหลวไหล ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่น ไม่มุ่งความเป็นสมณะ ไม่มีความเคารพกล้าในสิกขา มีความประพฤติมักมาก มีความปฏิบัติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในทางเชือนแช ทอดธุระในความสงัดเงียบ เกียจคร้าน ละเลยความเพียร หลงลืมสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่มั่นคง มีจิตรวนเร มีปัญญาทราม เป็นดังคนหนวกคนใบ้ พระโคดมผู้เจริญย่อมไม่อยู่ร่วมกับบุคคลจำพวกนั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น