วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2567

นานามานะ

  • มานะ ความสำคัญตน ยกตน เชิดชูตน ให้เป็นที่รู้จัก มีลักษณะเชิงเปรียบเทียบเราเขา มีลักษณะว่ามีเราอยู่ในรูป มีเราอยู่ในเวทนา มีเราอยู่ในสัญญา มีเราอยู่ในสังขาร มีเราอยู่ในวิญญาณ แต่เป็นการมีเราในลักษณะที่มีความสำคัญแบบมานะ ก็คือมีเราสำคัญกว่าคนอื่น คำว่ามีเราสำคัญกว่าคนอื่นนี้อาจจะอาศัยรูปก็ได้ เช่น เราแข็งแรงกว่าผู้อื่น (แต่ถ้าทิฏฐินี่จะไม่มีการไปเปรียบเทียบอะไรกับใคร มีเราเป็นก้อน เป็นแท่ง เป็นศูนย์กลางของทุกอย่าง ของทุกเรื่อง) หรือสำคัญเอาสังขาร เช่น เรามีสติปัญญาดีกว่าคนอื่น สำคัญตน อยากให้ตนเป็นคนสำคัญ อยากให้ตนเป็นที่รู้จัก มีตนเทียบกับคนอื่นโดยอาศัย รูปร่างหน้าตา ชาติกำเนิด วิทยฐานะ ภูมิความรู้ ฯลฯ เราหน้าตาดีกว่าเขา เราเป็นคนไทยเสมอกัน ลูกเธอจบนอกเหมือนลูกฉันเลย
  • มานะ 3
    • เราสูงกว่าเขา
    • เราเสมอเขา
    • เราด้อยกว่าเขา
  • มานะ 9 : เอามานะ 3 ไปสำคัญอีกต่อนึง (เป็นสำคัญแบบ ถูก 1 ผิด 2)
    • เราสูงกว่าเขา →สำคัญตนว่าสูงกว่า เท่ากัน ด้อยกว่า
    • เราเสมอเขา → สำคัญตนว่าสูงกว่า เท่ากัน ด้อยกว่า
    • เราด้อยกว่าเขา → สำคัญตนว่าสูงกว่า เท่ากัน ด้อยกว่า
    • สำหรับอันที่สำคัญแบบผิดนี้ โสดาปัตติมรรคจะละได้
    • ส่วนอันที่สำคัญแบบถูก อรหัตมรรคจึงจะละได้
  • มานะ สำคัญตนด้วยอะไร ละได้ด้วยมรรคนั้นๆ
    • สำคัญแบบไม่ตรงกับความเป็นจริง
      → ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค
      จะแยกทิฏฐิกับมานะออกชัดก็ต่อเมื่อเป็นโสดาบัน ก่อนหน้านั้นมันจะเหมือนปนๆ กัน แต่จริงๆ ทิฏฐิกับมานะไม่ได้เกิดด้วยกัน แยกกันเกิดตลอด
    • สำคัญตนด้วยกาม เช่น รูปร่างกาย ทรวดทรง ฉันตาดีกว่าเธอ ฉันมีเงินมากกว่า
      → เบาบางด้วยสกทาคามิมรรค และละได้ด้วยอนาคามิมรรค
    • สำคัญตนด้วยคุณธรรม
      → ละได้ด้วยอรหัตมรรค
  • มานะอื่นๆ
    • อติมานะ - ความดูหมิ่นชาวบ้าน (สำคัญตัวเกินไปจนดูหมิ่นชาวบ้าน) 
      ฉันอายุมากกว่าแกยังแข็งแรงกว่าแก
    • มานาติมานะ - มานะที่สำคัญว่าเราเสมอเขาในตอนต้นและดูหมิ่นเขาในตอนปลาย
      • ตอนที่ไม่ค่อยรู้จักกันก็จะเหมือนคนทั่วไป คือเรากะเขาเสมอกัน พอรู้จักกันนานๆ มักจะคิดว่าเราดีกว่าชาวบ้าน
    • โอมานะ - ดูหมิ่นตัวเอง แบบนางเอ๊กนางเอก ฉันมันด้อยเธอดีนะเรียนแป๊บเดียวก็เข้าใจ, เธอยังโชคดีนะทำนิดเดียวได้ตั้งเยอะ ฉันทำแทบตายได้ 350 
    • อธิมานะ - สำคัญตนว่าได้บรรลุชั้นใดชั้นหนึ่ง การสำคัญตนว่าได้บรรลุนี้จะมีกับคนที่ศีลดี ปฏิบัติขยันหมั่นเพียร
      • ถ้าได้สมาธิ หรือวิปัสสนา อย่างใดอย่างเดียว อาจจะสำคัญตนว่าได้บรรลุเป็นโสดาบัน สกทาคามี อนาคามี ชั้นใดชั้นหนึ่ง (ไม่สำคัญว่าบรรลุอรหันต)
        • ถ้ามีแค่สมาธิ ก็จะสงสัยเรื่องนั้นเรื่องนี้อยู่ แต่ไม่มีราคะไม่มีโทสะ ก็อาจจะสงสัยว่าตนเป็นอนาคามี
        • ถ้ามีแต่วิปัสสนา ก็จะยังมีกิเลสนั่นนี่แทรกมาเรื่อย จะไม่นึกว่าตนเป็นอรหันต์
      • ถ้าได้ทั้งสมาธิและวิปัสสนา เก่งทั้งสองทาง เมื่อเกิดมานะมักจะสำคัญว่าได้บรรลุอรหันต์ กิเลสไม่มี แถมไม่สงสัย เข้าใจทุกสิ่ง
    • อัสมิมานะ - สำคัญว่ามีเรา (อัสมิ = มีเรา)
    • มิจฉามานะ - สำคัญตัวจากสิ่งที่ผิด ตัวเองน่ะผิดเลวกว่าเขา แต่เอาสิ่งเลวๆ นี้มายกตนข่มคนอื่น เป็นมานะที่อาศัยสิ่งไม่ดีมาเป็นมานะ ฉันด่าคนได้เจ็บมาก เธอสู้ฉันไม่ได้ เช่น คนมีมิจฉาทิฏฐิชอบมีพิธีรีตอง ฉันผ่านพิธีมาแล้ว. อาศัยการงานในเรื่องฆ่าสัตว์ ฉันฆ่าสัตว์เก่งกว่าเธอหลายเท่า เธอไม่เห็นจะได้เรื่อง ฉันโกหกเก่งจนคนอื่นจับไม่ได้ ฉันด่าคนได้แสบมากจนไม่มีใครกล้าต่อกรกะฉัน
  • ตัวอย่าง เอาวิญญาณมาเป็นมานะ เช่น ฉันไปเมืองจีนแล้วฉันได้ดูแพนด้าแกไม่ได้ดู เรามีวิญญาณแล้วเอาวิญญามาเทียบแล้วดีกว่าชาวบ้าน


    เราสามารถมองเห็นสัตว์โลกเกิดดับนับพัน เราก็มีความเพียรเต็มที่ เหตุไรเราจึงยังไม่บรรลุ
    เราก็เห็นสัตว์โลกเกิดดับนับพัน อันนี้คือมานะของท่าน
    เราก็มีความเพียร อันนี้คือความฟุ้งซ่านของท่าน
    ทำไมเราจึงยังไม่บรรลุ อันนี้คือกุกกุจจะของท่าน

    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น