เวลาถูกมารครอบหัว (ความรู้สึก) ไม่อาจเห็นได้แม้ความงามของแสงแดดและต้นไม้ ก็ว่ากันไป
เมื่อวันก่อนที่รู้สึกถึง "พุทโธใหญ่" กับ "พุทโธเล็ก" มาคิดดูอีกที มันจะมีใหญ่มีเล็กไปได้อย่างไร ในเมื่อ 1 พุทโธก็เติมเต็ม 1 ขณะจิต จึงเป็นทฤษฏีขึ้นมาได้ว่า ไอ้ที่รู้สึกว่า "ใหญ่" นั้น ความจริงคือ "หลาย" หมายถึง หลายขณะ ส่วนเล็กนั้นก็เป็นขณะสั้นๆ ที่ถูกคั่นด้วยกระแสฟุ้งซ่าน
เวลาที่พุทโธไปแล้วมันถูกแทรกด้วยกระแสฟุ้งบ่อยๆ มันจะทำให้เกิดความท้อแท้ได้ แต่เมื่อคิดได้อย่างนี้ก็อย่าไปท้อมัน ถึงจะเป็นพุทโธเล็ก มันก็คือตัดเวลาให้สั้นลง อย่าไปว่ามันด้วย
เมื่อวานระหว่างทางเดินก็พบทูตจากพระเจ้า ตอนแรกว่าขี้เกียจฟัง แต่ก็หยุดฟังด้วยตั้งใจว่าเอามาเป็นเครื่องเปลี่ยนอารมณ์ก็ดี และก็ฟังด้วยจิตที่คิดว่าให้กำลังใจคนพูดไปเขาคงยืนมาทั้งวัน ฟังไปฟังมาก็รู้สึกว่าเขาพูดเรื่องพระเจ้า ถ้าแทนคำว่าพระเจ้าด้วยจิตเดิมแท้นี่จะลงกันเป๊ะเลยกับพุทธ เขาว่า...
พระเจ้านั้นสร้างเราขึ้นมา ประกอบด้วยส่วน กาย จิต และวิญญาณ ซึ่งพระเจ้านั้นอาศัยอยู่ในวิญญาณ ..อีกนัยนึงก็คือ พระเจ้านั้นอยู่กับเราตลอดเวลา
สิ่งที่ทำให้เข้าไม่ถึงพระเจ้าก็คือบาป เพราะมนุษย์มีบาปจึงเข้าไม่ถึงพระเจ้า .. ฟังดูคำว่าบาปนี่ก็คล้ายกับคำว่ากิเลส
ดังนั้นเมื่อชำระบาปออกไปก็ย่อมเข้าถึงพระเจ้า รับรู้การคงอยู่ของพระเจ้า
การสารภาพบาปเป็นการประกาศจิตใจที่ซื่อตรง กำจัดอธรรมออกไป พระเจ้าให้อภัย
ฟังดูแล้วก็เย็นดี ^^
วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
สิ่งที่ได้เรียนรู้เอง
เกิดภาวะจับต้นชนปลายไม่ถูกเมื่อเวลาผ่านไป สองสามวันเริ่มฟุ้งซ่านว่าจะไม่ได้อะไรขึ้นมา จึงไปนั่งเล่น เริ่มป้อนคำถามไปว่า "จิตทำหน้าที่อะไร" ทำหน้าที่รู้ รู้อะไรบ้าง ก็ไล่ไปตามตา หู จมูก ลิ้น แล้วแต่จะไปจับอะไร พอไล่มาถึงใจ กลับรู้สึกว่า มัน "ไม่มีอะไรนี่หว่า" แต่ก็ยังไม่ชัดนัก
จากว่าง สักพัก มันก็เข้าไปจับที่ความคิดในใจ จับไปจับมา แล้วพบว่าหลงอยู่กับความคิดในใจ - มโนผัสสะเป็นสัดส่วนมากกว่าอายตนะอื่นๆ พอใจว่างแล้วกลายเป็นที่ตั้งให้กับความฟุ้งซ่านได้อย่างง่ายดาย นี่เองที่เขาต้องพุทโธ ปิดรอยนี้เอาไว้ ไม่ให้ความเผลอเพลินเอาไปกิน
มันคงไม่เคยชินที่จะอยู่กับความว่าง
อีกคืนต่อมาที่กลับจากเดินธุดงค์ขึ้นเขา
ปวดขามาก เมื่อยขามาก แต่บอกกับตัวเองว่าก็ดี ดูเป็นเวทนาไม่ใช่ตัวเราไป
ทู่ซี้เดินบนพระเจดีย์ ด้วยท่าทียังไงก็ได้ เอาให้เมื่อยๆ สุดๆ หมดแรงกันไปข้างเลย
พอง่วงได้ประมาณนึง มันก็เริ่มแยกผู้รู้ออกมา
จิตที่คิดอกุศล เออก็คิดไป เรื่องของแก ไม่เอาตัวเข้าไปรับความเศร้าหมองใดๆ
ตอนไปทำพื้นโมเสก กลับลืมคำว่า Harmony ไปซะฉิบ ฟังแล้วก็ให้ขำตัวเอง
จากว่าง สักพัก มันก็เข้าไปจับที่ความคิดในใจ จับไปจับมา แล้วพบว่าหลงอยู่กับความคิดในใจ - มโนผัสสะเป็นสัดส่วนมากกว่าอายตนะอื่นๆ พอใจว่างแล้วกลายเป็นที่ตั้งให้กับความฟุ้งซ่านได้อย่างง่ายดาย นี่เองที่เขาต้องพุทโธ ปิดรอยนี้เอาไว้ ไม่ให้ความเผลอเพลินเอาไปกิน
มันคงไม่เคยชินที่จะอยู่กับความว่าง
อีกคืนต่อมาที่กลับจากเดินธุดงค์ขึ้นเขา
ปวดขามาก เมื่อยขามาก แต่บอกกับตัวเองว่าก็ดี ดูเป็นเวทนาไม่ใช่ตัวเราไป
ทู่ซี้เดินบนพระเจดีย์ ด้วยท่าทียังไงก็ได้ เอาให้เมื่อยๆ สุดๆ หมดแรงกันไปข้างเลย
พอง่วงได้ประมาณนึง มันก็เริ่มแยกผู้รู้ออกมา
จิตที่คิดอกุศล เออก็คิดไป เรื่องของแก ไม่เอาตัวเข้าไปรับความเศร้าหมองใดๆ
ตอนไปทำพื้นโมเสก กลับลืมคำว่า Harmony ไปซะฉิบ ฟังแล้วก็ให้ขำตัวเอง
วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
บันทึกคำสอนตัดภพฯ (๗) - 12 พ.ค.56
- ที่แจ้วๆ ว่าเรา ก็คือ สังขาร นั่นหมายถึง มีเพียงความคิดที่เป็นเรา
- ถ้าไม่มีเราก็ไม่มีอะไรไปรองรับทุกข์
- การอธิษฐานก็ต้องเข้มแข็ง ตั้งใจจริง ไม่เหลาะแหละ
- มันต้องชัด และแรงพอที่จะตัด นิพพานเป็นอัพยากฤตธรรมที่ชัด
- ขณะที่มันแจ้วๆ อยู่ว่า "เราอย่างนู้นอย่างนี้" มันก็เกิดเฉลียวขึ้นมาว่า "เอ๊ะ! นี่มันไม่ใช่เรา"
- ภพชาติมันแค่เวทนา
- ถ้าเข้าไปสู่ความตั้งมั่นเป็นกลางบ่อยๆ มันจะออกจากภพชาติเอง
นิดหน่อยเกี่ยวกับสมาธิ ลพ
- มาตรฐานลพ. 4 ชั่วโมง ทำไมต้องนั่งนาน เพราะยิ่งนาน ยิ่งชัด กิเลสยิ่งอ่อนกำลัง
- อ่อนแอ งมงาย ขี้เกียจ ฟุ้งซ่าน
บันทึกคำสอนตัดภพฯ (๖) - 10 พ.ค.56
- หัดแยกความรู้สึกกับความคิด
- ความคิดจะไม่ล้ำเกินไปจากความจำ แต่ความรู้สึกนั้นจะต่างออกไป และเป็นแค่สภาวะ ไม่ได้แสดงสถานภาพของความรู้สึก
- ความอยากได้ปัญญาก็เพื่อมาสนองอัตตา
- มีแต่ทุกข์ (ความไม่คงที่) เกิดขึ้นแล้วดับไป -- ธรรมฐีติญาณ
- วจีสังขารก็เป็นสัญญาที่ผสมขึ้น
- มีความพึงพอใจในรูป ก็คือ มีอุปาทานในรูป
- ตัณหาดับ อุปาทานก็ดับ ก็แค่เผลอเพลินประเดี๋ยวเดียวก็หาย
- บุคคลคิดถึงสิ่งใด วิญญาณก็ตั้งในสิ่งนั้น
- ในสังขารมีสัญญา ในสัญญา มีเวทนา (เราจำเฉพาะเรื่องที่ทำให้เราสุข หรือทุกข์)
- ญาณก่อนนิพพานนั้นจะเกิดเป็นภาพรวมๆ
- ความคร่ำครวญอยากได้เวทนา มันก็ส่งผลให้คิดใหม่ ปรุงใหม่ ออกเป็นบุญ เป็นบาป เป็นการข่มอารมณ์ วิญญาณก็เข้าไปรับรู้ ส่งผลสู่นามรูป
- เวทนาเกิดจากกายส่วนใหญ่ มีที่สุดแค่กาย
- สังโยชน์ก็เกิดจากเวทนา
- สิ่งหนึ่งเมื่อปรากฏขึ้นแล้ว มันปรากฏลักษณะอื่นด้วยเสมอ -- มันเสื่อม
- สมาธิทั้งหมดคือการออกจากความคิดมาอยู่ที่ความรู้สึก มันจึงเทลาดไปสู่ความไม่ปรุงแต่ง นั่นคือ นิพพาน
บันทึกคำสอนตัดภพฯ (๕) - 9 พ.ค.56
- มันเป็นกระแส ไม่ได้มีใครไปเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่มีใครมีอุปาทาน ไม่มีใครมีเวทนา เพียงแค่เกิดจากผัสสะ เป็นกระแสขึ้นต่อเนื่องกันเท่านั้น
- เมื่อไม่รู้จักผัสสะจึงเกิดเป็นเวทนา เป็นตัณหา เป็นอุปาทาน ภพชาติ ความคับแค้นใจ
- รูปนั้นก็เกิดจากธาตุ 4 ดับจากธาตุ 4 เซลล์คนเราก็ผลัดทุกวัน เกิดดับตลอดเวลา copy ถ่ายสำเนาไปเรื่อยๆ เสื่อมลงไปเรื่อยๆ
- อวิชาชาพูดง่ายๆ คือความไม่รู้ขันธ์ 5
- รูปกระทบกันทำให้เกิดเวทนา แล้วเวทนาก็ทำให้เกิดจิตที่มีราคะ / โทสะ / โมหะ
- สัมปชัญญะ เข้ามารู้สึกตรงจิตเดิมแท้ ไม่ใช่ตัวราคะ โทสะ ซึ่งอันนั้นเป็นจิตสังขาร
- ความคิดนั้นไม่ได้เกิดจากสัญญาบริสุทธิ์ มันเต็มไปด้วยความคิดความเห็น ที่เรียกว่า สัญญาวิปลาส ซึ่งวิปลาสก็หมายถึง ความคลาดเคลื่อนนั่นเอง
- สรุปว่า จำผิด ก็คิดผิด
- เท้ากระทบพื้น ท่องไปในใจ โป้ง ชี้ กลาง นางก้อย แต่ไอ้ตัวปรมัตถ์มันไม่ได้รู้ด้วยหรอก
- กลับมารู้สึกที่ตัวเดิมแท้, จิต, วิญญาณ
- ที่เราฟังไปทั้งหมดก็เพื่อไปปรุงเป็นภาพ สร้างขึ้นมาก็ไม่มีตัวตน พอนึกปุ๊บก็มีเวทนาไปผสมทันที เช่น เราพูดถึงกุ้ง (รสกุ้ง สีกุ้งก็ตามมา)
- ความเห็นลักษณะ นั่นคือ เกิดจากอะไรก็รู้ ดับจากอะไรก็รู้
- เวทนานั้นทำให้เกิดราคะ โทสะ โมหะ
- พรหม มีรูปเดียวกัน สัญญาเดียวกัน
- เวลาเราดูวีดีโอ อ่านนิยาย จริงๆ เราเห็นจินตนาการ ไม่ได้เห็นคนจริงๆ ทุกอย่างนั้นมันไปกระตุ้นจินตนาการ สุดท้ายก็คือไปจบอยู่ที่เวทนา ไปกระตุ้นเวทนา
- ถ้าขาดจินตนาการ เช่น เวลาจะซื้อเสื้อผ้า มันก็อะไรก็ได้ สีอะไรก็ได้ ไม่มีรสชาติ
- ภพทั้งหมดก็ตอบสนองเวทนา
- การดูจิตในจิต ก็ดู ราคะ โทสะ โมหะ (ความพอใจในอุเบกขา) ถ้าเมื่อละสามสิ่งนี้ได้แล้วมันก็ไม่ได้เหลืออะไร
- พระโสดาบัณ - ละความเห็นผิดในตัวตน (แต่ยังละไม่ได้) มีความฟุ้งซ่านในธรรม (มันไม่แล้วใจ)
พระอรหันต์ - ละอุปาทานขันธ์ 5 - ถ้าไม่รอบรู้ในสิ่งทั้งปวง จะยังไม่ไปนิพพาน
คำว่า "สิ่งทั้งปวง" หมายถึง รูป เสียง กลิ่น รส
คำว่า "มาร" ไม่ใช่อะไร หมายถึง สภาวะที่มาบดบังนิพพาน หรือก็คือการปรุงแต่ง - อาจหาญ ร่าเริง สง่างาม เป็นตัวของตัวเอง
- ใน 1 วัน อยู่กับความรู้สึกตัวที่ไม่ถูกครอบงำโดยการปรุงแต่ง
- ถูกผัสสะบังหน้า ถูกผัสสะปุ๊บก็กระโดดเข้าไปปรุงแต่ง ให้มาดูแค่ "มีการกระทบเกิดขึ้นนี่นา"
- อาศัยสติ - ทำให้ไม่เหม่อ ไม่เผลอ ไม่เพลิน
- เพราะเวทนาทั้งหมดให้ผลเป็นความเผลอเพลิน
- ความรู้สึกตัวไม่เคยหายไปไหน ส่วนสิ่งที่เป็นผัสสะนั้นเกิดแล้วก็ดับ
- ไปเทอดค่าว่ามันต้องอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นเวทนาเท่านั้น แท้ที่จริง ความสุขจากอย่างหนึ่งไม่ได้ยิ่งใหญ่หรือด้อยค่าไปก่วาความสุขจากอีกอย่างหนึ่ง
- คำว่าทุกข์นั้น หมายถึง ทุกขลักษณะ - แปลว่า ลักษณะอันคงที่อยู่ไม่ได้ ไม่ได้หมายถึงทุกขเวทนา
- นิวรณ์ธรรม ไม่ได้เรียนเพื่อจะกำจัด แต่เรียนเพื่อดูลักษณะ
- สติปัฏฐาน 4 ทุกตัวเป็นการดูลักษณะ นั่นคือ เกิดจากอะไรก็รู้ ดับจากอะไรก็รู้
- อุปาทาน มันจะเทอดค่าให้ยิ่งใหญ่ หรือต่ำต้อย
- สังโยชน์ เคยมีเพราะอะไรก็รู้ ไม่มีเพราะอะไรก็รู้
- เสน่ห์ของโพชฌงค์ 7 นั้นอยู่ที่ ปัญญานำสมาธิ มันไม่ได้เกิดมั่วๆ เป็นการเก็บข้อมูลวิจัย พอสติบริบูรณ์ (ตามดูลักษณะ) งานวิจัยก็บริบูรณ์ไปพร้อมๆ กัน
- ถ้าโลภะ โทสะ โมหะ มีอยู่ตลอดเวลา ใครมันจะไปนิพพานได้
- จิตที่ไม่แส่ส่ายมันก็ตั้งอยู่กับที่ เรียกมันว่า สมาธิสัมโพฌชงค์
- มองสมาธิด้วยใจที่เป็นกลางๆ
- อุปาทาน มีหน้าที่ยึดกับความอยากแบบไม่ปล่อย
- ภพชาติ ไม่ได้มีอยู่ก่อน
- พุทธะเป็นสภาวะธรรม ความหายสงสัยในในพุทธ ธรรม สงฆ์ คือความเห็นในสภาวธรรม ไม่ใช่หายสงสัยในพระพุทธเจ้า
- ถ้ายินดีกับการคลุกคลีเป็นหมู่คณะ จะไม่เห็นนิมิตแห่งจิต เมื่อไม่เห็นนิมิตแห่งจิต จะไม่ขึ้นสัมมาทิฏฐิ
- เผชิญหน้ากับความสงัด
- เห็นจิตไม่ได้มีตัวตน ลบความรู้สึกว่าเราเป็นนู่นนี่ในหมู่คณะ
- กลับไปดูตัวเองว่ายังเป็นตัวนี้อยู่กี่ %
- ปมด้อยนั้นมันทำให้เกิดการต้องการความยอมรับ
- ต้องละวาทะตัวตน
- ศีลพรตลองไปดูว่ายังติดความงมงายอะไร
- กระแส เวลาคิดเมื่อ + ด้วย สัมมาทิฏฐิ, สัมมาวายามะ, สัมมาสติ จะเข้าสู่กระแส
- ไม่ว่าคิดอะไรมันก็ไม่มีทางใช่สิ่งนั้น
- เวลาโกรธ - "เขาผิด เราถูก"
- รักษาจิตอันปกติ (เป็นเครื่องอยู่ที่ง่ายสุด)
- ดูเกิดดับ
- ละการแสวงหา
- กายสังขารสงบระงับ (พวกเข้าฌาน)
- แค่กำจัดนิวรณ์ 5 ก็เข้าสมาธิได้
- จะมีญาณเกิดขึ้นว่า คนชั่วและคนถ่อยทำสมาธิไม่ได้
บันทึกคำสอนตัดภพฯ (๔) - 8 พ.ค.56
พอจ.ปารมี
- "ว่าง ไปไหนกันดี"
- ต้องทำอะไรเสียวๆ จิตจะอยู่กับที่ดี ป่ะ ปีนกำแพงวัดกัน
- เนสัชชิกนี่ห้ามหลับนะ โงกปุ๊บโดนเพี๊ยะเลย นั่งแล้วหลับนี่ใช้ไม่ได้
- อารมณ์นั้นเป็นอาหารของจิต พอจิตไม่มีอารมณ์มันก็หมดหน้าที่
- เพลงระบำสุโขทัย, ทวารวดี เพลงสมัยก่อนฟังแล้วสงบเย็นใจ
- เป็นผู้นำไม่ต้องเครียดก็ได้ พอจ.อยู่กลางป่าเขายังทำงานได้ เหมือนไม่ได้ทำอะไรเลยเห็นไหม ไม่ใช่ว่าต้องวางอำนาจสั่งเอาๆ
- เพลงไม่มีเวลา ของอ.พุทธทาส - แค่มีสติรู้ความไม่สบายใจที่เกิดขึ้นก็พอ
- เพลงขลุ่ยทิเบต
- เดินป่าเดินเขา อยู่แต่กับปัจจุบัน จะพลาดตกหรือเปล่า ไม่ปฏิบัติก็เหมือนปฏิบัติ
- ผลการเดิน - เหนื่อยน้อย เมื่อยน้อยกว่าการเดินจงกรม
- อยู่วิเวกป่าเขาซักฟอกอารมณ์ได้ดี ทำไมหนอเจอหน้าคนนี้ทีไรเราไม่สบายใจทุกที ใครมันมาบังคับให้เราทุกข์หรือ
- รู้น้อยเพียรปฏิบัติ ดีกว่ารู้สารพัดแต่ไม่ทำอะไร
- กุหลาบเนี่ย มันก็มาจากดินนะ แต่ก่อนจะออกดอก พลิกหาที่ไหนในแผ่นดินก็ไม่มีนะ จะจุดธูปเป็นเข่งๆ นั่งสมาธิเจ็ดวันเจ็ดคืน ขุดลึกลงไปในดินเป็นกิโลๆ มันก็ไม่ได้อยู่ในนั้น พวกเราปฏิบัติไปก็อย่าได้ไปท้อแท้ มันกำลังบ่มเพาะอยู่ถึงเวลาก็เบ่งบานออกมาเอง
บันทึกคำสอนตัดภพฯ (๓) - 7 พ.ค.56
- เสพติดโลก โลกก็เกิดดับ
- รูปรสกลิ่นเสียงทั้งหลายไม่ใช่กาม
- ความกำหนัดในรูปรสกลิ่นเสียงนั้นต่างหากที่เป็นกาม
- ความงามมี 4 ระดับ beauty, สุนทรีย์, จริยะ (เช่นความเมตตาเล็กๆ น้อยๆ ต่อสรรพชีวิต), สัจจะ
- จะเข้าใจความจริงได้จะต้องกล้า
- ได้บุญมาเยอะเลย หมายความว่า ได้ความสุขมาเยอะเลย (บุญเป็นชื่อของความสุข)
- ความรู้สึกเท้ากระทบ อยู่กันคนละที่กับความคิดว่า "นี่เท้าๆ"
- อวิชชามันอยากจะมีตัวตน
- ใจปกติไม่เพิ่มไม่ลด มันเป็นความอ่อนแอที่จะเอานู่นเอานี่มาเปรียบเทียบ
- ความอยากได้ อยากเป็น อยากพ้น ต่างก็มาประชุมกันที่เวทนา
- จิตมีราคะ / โทสะ / โมหะ ก็เป็นไปด้วยสนองเวทนา
- มันไม่เกี่ยวกับว่าจริตใคร ทิฏฐิใครเหมาะกับเราหรือไม่ มันอยู่ที่ว่าเราเอาจริงหรือเปล่า พระพุทธเจ้าไม่เคยกักขังใครเป็นบริวาร มีแต่ปลดปล่อยให้ไปสู่อิสรภาพที่แท้จริง
- ยิ่งโตยิ่งมีโทสะ เพราะสำคัญว่าตัวเป็นนั่นเป็นนี่
- เท้าที่ลอยอยู่จะพบว่ามันหายไปเลย พอแตะใหม่ก็มีใหม่
- พอเห็นได้นี่เกิดๆ ดับๆ มันจะสนใจไปในอีกอย่างที่ไม่เกิดไม่ดับ
- จมูกเนี่ย เราไม่รู้สึกว่ามันโด่งๆ หรอก เราแค่รู้สึกว่ามันอยู่แถวๆ นี้
หูก็เหมือนกัน เราไม่ได้รู้สึกว่ามันเป็นรูปหูหรอก รู้แค่ว่ามันอยู่แถวๆ นี้ พอไปส่องกระจกถึงได้มโนออกมาเป็นรูปร่าง - ดูไปเรื่อยๆ มันก็จะไม่ไปยึดเวทนาว่าเป็นเรา ของเรา พอมันแปรปรวนก็ไม่คร่ำครวญ
- ตัวรู้สึกนั้น มันไม่ได้รู้สึกทั้ง 5 นิ้ว เรามันสมมตินิ้วขึ้นเอง
- แยกผัสสะออกเป็นสิ่งที่ถูกรู้ และผู้รู้อีกตัวหนึ่ง
- มีแต่ผัสสะที่ดับไปๆ
- มันต้องกลัว จึงจะหาทางออกอย่างจริงจัง กลัวการกลับมามีขันธ์ 5
- กายนั้นก็เกิดจากกรรมเก่าที่เจตนาก่อขึ้นมารองรับเวทนา ถ้าไม่ได้อยากได้มาเสวยสุขเวทนาจะเกิดมาทำอะไร
- รูป รส กลิ่น เสียง ไม่ได้เกี่ยวอะไรด้วย
- เอาเท้าแช่ให้นานๆ ชัดๆ ที่สุดเลย เมื่อชัดความคิดจะไม่เกิด สักพักความรู้สึกจะลามไปทั้งตัว รู้สึกว่างไปทั่วร่าง ให้ฝึกบ่อยๆ ให้รู้สึกตัวโดยเฉพาะพวกที่วอกแวกบ่อย ที่มันรู้สึกไม่ได้ เพราะอยุ่กับความคิด
- นิพพานก็เหมือนกระพริบตาและลืมตา
- จิตที่เข้าสู่อิสรภาพจะเกิดปาฏิหาริย์ 3 อย่างเป็นของแถม - อิทธิปาฏิหาริย์, เทศนาฯ, อนุสาสนีฯ
- เหมือนดาบที่อยู่กับฝักดาบ
- ให้ผ่านด่านความรู้สึกตัวให้มันโปร่งก่อน ถ้าไปเริ่มจากปาฏิหาริย์จะไปติดที่ตัวโลภ
- ทุกขาปฏิปทาเหมาะกับกิเลสหยาบๆ โลภจัด/หลงจัด/โทสะจัด
- ถ้าสุขาปฏิปทาก็ใช้ปัญญา
บันทึกคำสอนตัดภพฯ (๒) - 5 พ.ค.56
- แยกตัวผุ้รู้ออกมา
- อยู่ตรงผัสสะไว้ไม่มีกำลังก็พุทโธไป ให้จิตมีเครื่องอยู่ ตื่นขึ้นมาเมื่อใดก็มีเครื่องอยู่ พุทโธไว้
- ถ้ามันไม่เคยมีมาก่อน พอมามีขึ้นจะมีตัวตนถาวรได้ยังไง มันก็มีแล้วก็ไม่มีเป็นแบบนี้ไปเรื่อย
- เรียนโลกมามากก็จะยึดได้มากกว่า คนที่ไม่เห็นผัสสะ อุปาทานจะก่อตัวเข้ม ยึดเอาไว้ไม่ปล่อย แล้วจิตก็เสียอิสรภาพ
- พอไม่เข้าไปอาศัยก็จะเห็นในความไม่ปรุงแต่ง
- คนทั่วไปคุยด้วยเหตุผลตรงไปตรงมาไม่เข้าใจ เลยต้องเอาอะไรประหลาดๆ มาจัดฉากเพื่อหว่านล้อมเข้ามา มนุษย์ติดนิสัยงมงาย อ่อนแอ เราก็ปล่อยโลกไปตามประสา
- ความคิดนี่มันไม่มีมาก่อน พอจำอันนี้มาจึงมีความคิดอันนี้
- ธรรมะนั้นไม่ได้เกิดขึ้นมาจากถ้อยคำของสมณะ ไม่ต้องอาศัยว่าเชื่อไม่เชื่อ มันก็เห็นกันอยู่โต้งๆ ถ้าเห็นแล้วก็ไม่จำเป็นจะต้องเชื่อ ถ้ายังไม่เห็นถึงจะต้องเชื่อๆ ไปก่อน
- ระบบชนชั้นนั้น เป็นความสมยอมกัน 2 ฝ่าย ผู้ที่ยอมก็ศิโรราบมากเกินไปจนไม่ยอมมองความจริง เป็นการข่มขี่ทางจิตวิญญาณ
- อย่าไปดูถูกพระเจ้า นั่นมันก็เป็นกลไกให้คนอยู่ร่วมกัน
- สัมมาทิฏฐิ - เบื้องต้น ก็เช่น บุญมี สวรรค์มี นรกมี ทานมี
อริยะ - เป็นปัญญา ปัญญินทรีย์ บุญก็เป็นเพียงสภาวธรรม - ใช้พิธีกรรมอย่างฉลาดและมีความสุข
- ความรู้ที่เข้าในในกฏของความเป็นจริงในธรรมชาติจะไม่เสื่อม
- คนที่เข้าสู่ศาสนาแรกๆ เจตนามักไม่บริสุทธิ์ มักจะมีโลภะที่อยากจะได้อะไรพิศดาร แต่ยิ่งศึกษาไปๆ ก็เจอแต่สภาวธรรม
- อวิชชา คือ ไม่รู้ในขันธ์ 5 เกิดเพราะอะไร ดับเพราะอะไร
4 ตัวแรก เกิดเพราะผัสสะ ดับเพราะผัสสะ
วิญญาณ เกิดจาก 4 อันข้างต้น - พอเคลียร์ โลภะ โทสะ โมหะ หมด พอว่างแล้ว แต่ก็ดันมีคำถาม "อันนี้อะไร?" เจอวิจิกิจฉาปิดท้ายอีกที ปัญหามันก็อยู่ที่โลภุ เพราะความที่ไม่รู้จักพอ (ตั้งคำถาม แล้วก็สนใจคำถาม แล้วก็ดิ้นกระแด่วๆ)
- ความพอ คือ ความอัศจรรย์ เช่น เท้าที่กระทบพื้นนะ ถ้ามันพอ มันจะรู้สึกอัศจรรย์มากเลย เฮ้ย มันรู้สึกได้ยังไง
- เวทนาเป็นศูนย์กลางแห่งความกระเสือกกระสน
- หลับก็หลับ ตื่นมาก็พุทโธ
- ทั้งวันดูผัสสะตัวเดียวเลยให้มันต่อเนื่องนานๆ ให้เห็นจุดยืนมันเปลี่ยน
- ช่วงกลางคืน นิวรณ์แรงๆ จะทำงานน้อย ช่วงเคลิ้มจัดจิตจะกระโดดเข้าอัปนาสมาธิ แต่ถ้าสติไม่พอมันจะหลับ
- หาเวลาอยู่ลำพังมากๆ ช่วงแรกๆ มาวัด จิตจะพักตัว ไม่เป็นไร
- ถ้ามุ่งไปที่ความอยากจะได้มรรคผล มันจะไม่ได้ผล
- ให้ทำชีวิตให้เรียบง่าย อยู่กับตัวเอง อยู่กับธรรมชาติ
บันทึกคำสอนตัดภพฯ (๑) - 4 พ.ค.56
- ละความงมงาย
- ธรรมะนั้นตรงไปตรงมา แต่จะต้องยืนอยู่บนขาของเหตุและผล
- จะเชื่อต้องเชื่อด้วยต้องพิสูจน์เอา
- พระโสดาบัณละความงมงายในศีลพรต เป็นผู้มีเหตุมีผล เช่นว่า ถ้าไม่อยากให้มีใครมาพูดจาขาดสติกับเรา เราก็อย่าไปพูดจาขาดสติกับใคร
- การตกอบายภูมิเป็นไปไม่ได้ด้วยเพราะไม่ได้สร้างเหตุอย่างนั้นเอาไว้
- ผัสสะเกิดจากอะไร?...มีเสียง มีหู ย่อมมีผัสสะ
อย่ามัวไปตั้งคำถามว่า "ใครหนอผัสสะ"
เมื่อมีกาย, วาจา, ใจ ก็ย่อมมีเจตนาทางกาย, วาจา, ใจ - เมื่อดูแค่ผัสสะ ตัณหาจะไม่ก่อตัว
- จุดสังเกตเมื่อเกิด "เรา" คือมันจะ คร่ำครวญ และ คับแค้น
- ผู้ที่เห็นผัสสะจะไม่คร่ำครวญเมื่อเวทนานั้นแปรปรวนไป และเมื่อไม่คร่ำครวญได้ ชีวิตก็เข้าสู่ความ "พอ" คำว่า "พอ" นี้สำคัญ
- อาศัยสิ่งใดไปดูผัสสะ? - ตอบ "สติ"
- การดูให้เริ่มต้นดูที่ผัสสะ จะเป็นรอยต่อที่สำคัญ
- หากกำลังยังไม่มากนั้น มันก็จะมีเพียง "ความเชื่อว่า..."
- เมื่อเห็นผัสสะบ่อยๆ สมาธิจะค่อยๆ มั่นคงขึ้นเป็นลำดับ เนื่องเพราะ จะให้มันไม่ชอบ (พยาบาท) / หดหู่(ถีนะมิทธะ) / หรืออยากได้อะไร (กามราคะ) / หรือฟุ้งซ่านไปในอะไรๆ ได้อย่างไรในเมื่อมันไม่เห็นว่าเวทนาเป็นเรา
- ตัณหาจะไม่ก่อตัว ถ้ามันรู้ว่าผัสสะดับไปได้
การที่อยากจะได้อะไรๆ ก็เพราะจะเอาไปสนองผัสสะ แต่จะไปเอาอะไรกับมันได้ในเมื่อเห็นมันดับไปๆๆ - เทคโนโลยีก็สร้างเพื่อรองรับอายตนะ 6
- จะเก่งแค่ไหน ถ้าไม่รู้จักที่มาของสุข-ทุกข์มันก็แก้ปัญหาไม่ได้
- กฏแห่งกรรมนั้นไปไกลถึงขนาดที่ว่า "ไม่มีใครอยู่ในกรรม"
- มีเยื่อใยอาลัยอาวรณ์ที่จะไม่ทิ้งความงมงาย มันก็ดื้อตาใสไปเรื่อย
- สมาธิคือ ธรรมชาติแห่งจิตที่จะไม่ถูกรบกวนด้วยนิวรณ์
- การรับรู้ - วิญญาณ - concious
- ความคิดก็เอาความจำนั่นแหละมาปรุงเป็นวจีสังขาร เป็นเพียงความประมวลเปรียบเทียบ
- ความสุขที่ไม่ขึ้นไม่ลง ไม่ต้องเปรียบเทียบ ไม่ต้องคร่ำครวญ
- กลับเข้าสู่วิธีการมันคือ การใช้ "สติรู้ชัดลงไปเรื่อยๆ"
- การจะไปคาดหวังให้เกิดอะไรพิลึกพิศดาร มันเป็นเพียงแค่ ความไม่รู้จักพอ ซึ่งถึงจะมีอะไรพิศดารแต่มันก็ไม่ได้ประหลาด เช่น การท่องพุทโธ โลภะ โทสะ โมหะก็ไม่มี ก็จบแล้ว
- ถ้าดูมันตรงไปตรงมา มันก็จะแค่นั้นเอง ไม่ต้องมีอะไรประหลาดๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง
- อุปาทาน คือ การยึดกับตัณหา แล้วไม่ปล่อย ถ้าไม่มีตัณหามันจะยึดกับอะไร ชอบเอาความงมงายเข้ามาขวาง
- วิปัสสนา มันก็เกิดตรงปัจจุบันขณะได้เลย รู้จักตรงผัสสะ สมถะวิปัสสนาเจริญพร้อมกันเลย ไม่ได้เกิดแยกกัน ไม่ได้เกิดขณะหลับตา
- เห็นขันธ์ 5 อายตนะ 6 เป็นไปด้วยเหตุปัจจัยทั้งหมด
- แค่มีชีวิตที่ไม่คร่ำครวญ ไม่คับแค้น ก็สุดยอดแล้ว
- นักวิทยาศาสตร์ เขาใช้แค่สมาธิ กับจินตนาการเท่านั้น แล้วก็ใส่เป็นตัวเลขเข้าไป
- ศาสนาถ้าขาดวิทยาศาสตร์ก็ตาบอด วิทยาศาสตร์ถ้าขาดศาสนาก็ไปไม่รอด
- แม้สวรรค์ก็สร้างจากจินตนาการ
- ยมกปาฏิหาริย์, อิเล็คตรอนปรากฏสองที่พร้อมกัน มันเกิดได้เพราะมันเกิดบนความว่างมันก็ดับไปบนความว่าง
- สวรรค์หกชั้น จำแนกเป็นตามเหตุแห่งการทำความดีคือ ทำเพื่อตัวเอง, ทำเพราะเห็นว่ามันดี, ทำเพราะทำตามๆ กันมา, ทำเพราะเสียสละ, ทำเพราะมันเป็นนิสัยไปแล้ว, ทำด้วยความปลาบปลื้มประณีต
- เรานั้นมองโลกด้วยสายตาแบบไหน?
- เด็กน้อยเกิดจากพื้นดิน ขึ้นมาวิ่งเล่นบนพื้นดิน รอยเท้าเด็กน้อยก็ไปจุมพิตกับพื้นดิน
- ปัจจุบันขณะนั้นไม่เคยหายไปไหน
- ความรู้นั้นคือรู้ว่า นี่คือขันธ์5, มันเกิดจากอะไรก็รู้, มันดับเพราะอะไรก็รู้, คุณของขันธ์ 5 (จะทำให้มีความสุขกับมันได้), โทษของขันธ์ 5 (ทำให้แม้จะแปรปรวนก็ไม่คร่ำครวญ), และรู้จักวิธีทางที่จะออกจากมัน
- ศรัทธาพละ - เห็นในโสดาปัตติยังคะ 4
วิริยพละ - เห็นในสัมมัปปทาน 4
สมาธิพละ - เห็นใน ฌาณ 4
ปัญญาพละ - เห็นในอริยสัจ 4 - แถมท้าย เวลาจะคิด/ทำ/พูดใดๆ ให้บวก...
สัมมาทิฏฐิ - สุขทุกข์ไม่ได้มาจากเรา เขาทำ หรือเกิดลอยๆ
สัมมาวายามะ - เพียรปิดกั้นอกุศลที่จะเข้ามา
สัมมาสติ - รู่ชัดในผัสสะ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)