- มันเป็นกระแส ไม่ได้มีใครไปเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่มีใครมีอุปาทาน ไม่มีใครมีเวทนา เพียงแค่เกิดจากผัสสะ เป็นกระแสขึ้นต่อเนื่องกันเท่านั้น
- เมื่อไม่รู้จักผัสสะจึงเกิดเป็นเวทนา เป็นตัณหา เป็นอุปาทาน ภพชาติ ความคับแค้นใจ
- รูปนั้นก็เกิดจากธาตุ 4 ดับจากธาตุ 4 เซลล์คนเราก็ผลัดทุกวัน เกิดดับตลอดเวลา copy ถ่ายสำเนาไปเรื่อยๆ เสื่อมลงไปเรื่อยๆ
- อวิชาชาพูดง่ายๆ คือความไม่รู้ขันธ์ 5
- รูปกระทบกันทำให้เกิดเวทนา แล้วเวทนาก็ทำให้เกิดจิตที่มีราคะ / โทสะ / โมหะ
- สัมปชัญญะ เข้ามารู้สึกตรงจิตเดิมแท้ ไม่ใช่ตัวราคะ โทสะ ซึ่งอันนั้นเป็นจิตสังขาร
- ความคิดนั้นไม่ได้เกิดจากสัญญาบริสุทธิ์ มันเต็มไปด้วยความคิดความเห็น ที่เรียกว่า สัญญาวิปลาส ซึ่งวิปลาสก็หมายถึง ความคลาดเคลื่อนนั่นเอง
- สรุปว่า จำผิด ก็คิดผิด
- เท้ากระทบพื้น ท่องไปในใจ โป้ง ชี้ กลาง นางก้อย แต่ไอ้ตัวปรมัตถ์มันไม่ได้รู้ด้วยหรอก
- กลับมารู้สึกที่ตัวเดิมแท้, จิต, วิญญาณ
- ที่เราฟังไปทั้งหมดก็เพื่อไปปรุงเป็นภาพ สร้างขึ้นมาก็ไม่มีตัวตน พอนึกปุ๊บก็มีเวทนาไปผสมทันที เช่น เราพูดถึงกุ้ง (รสกุ้ง สีกุ้งก็ตามมา)
- ความเห็นลักษณะ นั่นคือ เกิดจากอะไรก็รู้ ดับจากอะไรก็รู้
- เวทนานั้นทำให้เกิดราคะ โทสะ โมหะ
- พรหม มีรูปเดียวกัน สัญญาเดียวกัน
- เวลาเราดูวีดีโอ อ่านนิยาย จริงๆ เราเห็นจินตนาการ ไม่ได้เห็นคนจริงๆ ทุกอย่างนั้นมันไปกระตุ้นจินตนาการ สุดท้ายก็คือไปจบอยู่ที่เวทนา ไปกระตุ้นเวทนา
- ถ้าขาดจินตนาการ เช่น เวลาจะซื้อเสื้อผ้า มันก็อะไรก็ได้ สีอะไรก็ได้ ไม่มีรสชาติ
- ภพทั้งหมดก็ตอบสนองเวทนา
- การดูจิตในจิต ก็ดู ราคะ โทสะ โมหะ (ความพอใจในอุเบกขา) ถ้าเมื่อละสามสิ่งนี้ได้แล้วมันก็ไม่ได้เหลืออะไร
- พระโสดาบัณ - ละความเห็นผิดในตัวตน (แต่ยังละไม่ได้) มีความฟุ้งซ่านในธรรม (มันไม่แล้วใจ)
พระอรหันต์ - ละอุปาทานขันธ์ 5 - ถ้าไม่รอบรู้ในสิ่งทั้งปวง จะยังไม่ไปนิพพาน
คำว่า "สิ่งทั้งปวง" หมายถึง รูป เสียง กลิ่น รส
คำว่า "มาร" ไม่ใช่อะไร หมายถึง สภาวะที่มาบดบังนิพพาน หรือก็คือการปรุงแต่ง - อาจหาญ ร่าเริง สง่างาม เป็นตัวของตัวเอง
- ใน 1 วัน อยู่กับความรู้สึกตัวที่ไม่ถูกครอบงำโดยการปรุงแต่ง
- ถูกผัสสะบังหน้า ถูกผัสสะปุ๊บก็กระโดดเข้าไปปรุงแต่ง ให้มาดูแค่ "มีการกระทบเกิดขึ้นนี่นา"
- อาศัยสติ - ทำให้ไม่เหม่อ ไม่เผลอ ไม่เพลิน
- เพราะเวทนาทั้งหมดให้ผลเป็นความเผลอเพลิน
- ความรู้สึกตัวไม่เคยหายไปไหน ส่วนสิ่งที่เป็นผัสสะนั้นเกิดแล้วก็ดับ
- ไปเทอดค่าว่ามันต้องอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นเวทนาเท่านั้น แท้ที่จริง ความสุขจากอย่างหนึ่งไม่ได้ยิ่งใหญ่หรือด้อยค่าไปก่วาความสุขจากอีกอย่างหนึ่ง
- คำว่าทุกข์นั้น หมายถึง ทุกขลักษณะ - แปลว่า ลักษณะอันคงที่อยู่ไม่ได้ ไม่ได้หมายถึงทุกขเวทนา
- นิวรณ์ธรรม ไม่ได้เรียนเพื่อจะกำจัด แต่เรียนเพื่อดูลักษณะ
- สติปัฏฐาน 4 ทุกตัวเป็นการดูลักษณะ นั่นคือ เกิดจากอะไรก็รู้ ดับจากอะไรก็รู้
- อุปาทาน มันจะเทอดค่าให้ยิ่งใหญ่ หรือต่ำต้อย
- สังโยชน์ เคยมีเพราะอะไรก็รู้ ไม่มีเพราะอะไรก็รู้
- เสน่ห์ของโพชฌงค์ 7 นั้นอยู่ที่ ปัญญานำสมาธิ มันไม่ได้เกิดมั่วๆ เป็นการเก็บข้อมูลวิจัย พอสติบริบูรณ์ (ตามดูลักษณะ) งานวิจัยก็บริบูรณ์ไปพร้อมๆ กัน
- ถ้าโลภะ โทสะ โมหะ มีอยู่ตลอดเวลา ใครมันจะไปนิพพานได้
- จิตที่ไม่แส่ส่ายมันก็ตั้งอยู่กับที่ เรียกมันว่า สมาธิสัมโพฌชงค์
- มองสมาธิด้วยใจที่เป็นกลางๆ
- อุปาทาน มีหน้าที่ยึดกับความอยากแบบไม่ปล่อย
- ภพชาติ ไม่ได้มีอยู่ก่อน
- พุทธะเป็นสภาวะธรรม ความหายสงสัยในในพุทธ ธรรม สงฆ์ คือความเห็นในสภาวธรรม ไม่ใช่หายสงสัยในพระพุทธเจ้า
- ถ้ายินดีกับการคลุกคลีเป็นหมู่คณะ จะไม่เห็นนิมิตแห่งจิต เมื่อไม่เห็นนิมิตแห่งจิต จะไม่ขึ้นสัมมาทิฏฐิ
- เผชิญหน้ากับความสงัด
- เห็นจิตไม่ได้มีตัวตน ลบความรู้สึกว่าเราเป็นนู่นนี่ในหมู่คณะ
- กลับไปดูตัวเองว่ายังเป็นตัวนี้อยู่กี่ %
- ปมด้อยนั้นมันทำให้เกิดการต้องการความยอมรับ
- ต้องละวาทะตัวตน
- ศีลพรตลองไปดูว่ายังติดความงมงายอะไร
- กระแส เวลาคิดเมื่อ + ด้วย สัมมาทิฏฐิ, สัมมาวายามะ, สัมมาสติ จะเข้าสู่กระแส
- ไม่ว่าคิดอะไรมันก็ไม่มีทางใช่สิ่งนั้น
- เวลาโกรธ - "เขาผิด เราถูก"
- รักษาจิตอันปกติ (เป็นเครื่องอยู่ที่ง่ายสุด)
- ดูเกิดดับ
- ละการแสวงหา
- กายสังขารสงบระงับ (พวกเข้าฌาน)
- แค่กำจัดนิวรณ์ 5 ก็เข้าสมาธิได้
- จะมีญาณเกิดขึ้นว่า คนชั่วและคนถ่อยทำสมาธิไม่ได้
วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2556
บันทึกคำสอนตัดภพฯ (๕) - 9 พ.ค.56
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น