วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2564

วรรคทองเจ้าอาวาส

 จะบอกว่ายากหรือง่ายไม่ได้ อยู่ที่ความคุ้นเคย

ความหมายของภิกษุ

 ภิกษุ มีหลายความหมาย

  • ในนัยของพระวินัย หมายถึงผู้ขอ คือนักบวช
  • ในนัยของพระสูตร หมายถึง ผู้เห็นภัยในวัฏฏะ จะไม่ได้หมายถึงแต่นักบวช

อสัมโมหสัมปชัญญะ

จากการเจริญสัมปชัญญะ 3 ข้อต้น แล้วไม่หลงลืมในความเป็นขันธ์ ธาตุ อายตนะ ปัจจัย อริยสัจ

สัปปายสัมปชัญญะ

สัปปายสัมปชัญญะ

ทำแล้วสบายไหม คือสบายต่อสมถะวิปัสสนาไหม?

ทำแล้วเกิดกุศลไหม?

(ไม่ใช่ทำแล้วสบายกายสบายใจเฉยๆ)

---

หรือบางอย่าง แม้สิ่งที่ทำมีประโยชน์ แต่ไม่เหมาะกับอัธยาศัย ก็ไม่เกิดกุศล

ถ้าไม่เป็นกุศล จะวางใจอย่างไรให้เป็นกุศล

ปริญญา

 ปริญญา ที่แปลกันว่ารู้รอบ หรือกำหนดรู้

ที่จริงแปลว่า วิเคราะห์ก็ได้ ใคร่ครวญก็ได้

แบ่งออกเป็นสามชั้น

  1. ญาตปริญญา
    "ญาต" นี้ อาจแปลว่า กำหนด
    คือมองสิ่งนั้น รวมทั้งสมุฏฐานของสิ่งนั้น
  2. ตีรณปริญญา
    ตีรณ แปลว่าพิจารณา
    ปริญญา แปลว่ารอบรู้ รู้รอบ
    ตีรณปริญญา คือการพิจารณาเป็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นต้น
  3. เมื่อพิจารณาตีรณอย่างเข้มข้นก็จะเริ่มละความยึดถือ อันนี้เป็นปหานปริญญา

สมมติเข้าใจกรรมและการให้ผลของกรรมเป็นอย่างดีแล้ว จะเข้าใจเรื่องความไม่เที่ยงเป็นอย่างดี

เพราะถ้ากัมมชรูปตกแต่งมาให้เป็นอย่างนี้ ถ้ามีกรรมบางอย่างมาเบียดเบียน กัมมชรูปนั้นก็อยู่ไม่ได้ เมื่ออยู่ไม่ได้ ไอ้ที่ว่าไม่มีแล้วก็มีขึ้น มีแล้วก็ไม่มี นี้เรียกว่า อนิจจัง

แต่การจะเข้าใจเรื่องอนิจจังนั้น จะต้องเข้าใจเรื่องปัจจัยเป็นอย่างดี การที่อยู่ๆ จะกระโดดพรวดพรากไปคิดเรื่องไม่เที่ยงเลย โดยไม่พิจารณาปัจจัย เรียกว่าฐานยังไม่แน่น ต้องมาเสริมฐานความเข้าใจเรื่องปัจจัยก่อน

พิจารณาให้เห็นว่ารูปมีนั้นมีสมุฏฐานเป็นอะไร อย่างนั้นแล้ว ถ้าสมุฏฐานนั้นไม่มี รูปนั้นก็ไม่มี

การไปดูระยิบระยับวิบวับอะไรแล้วบอกไม่เที่ยง อย่างมากจะได้แค่ความรู้อุปมาบางอย่าง แต่ความรู้ที่ชัดเจนนั้นจะมาจาก ความรู้ในเรื่องสมุฏฐานที่มีมาเป็นอย่างดี เมื่อสมุฏฐานนั้นหมดไป รูปนั้นก็หมดไป ตรงไปตรงมา

เช่น สีหน้ายิ้มแย้ม มีจิตเป็นสมุฏฐาน ถ้าจิตอันนั้นเปลี่ยนไปแล้ว สีหน้ายิ้มแย้มนั้นจะยังมีอีกไหม เป็นต้น


คำแปล ชวน

 ชวน แปลว่า แล่น ไว เร็ว

คำแปล อาวัชชนะ

 อาวัชชนะ แปลว่า รำพึง พิจารณา แต่ไม่ถึงกับแบบที่เรามานั่งคิด


เครียดคืออะไร

 เครียดคือ สนใจเรื่องหนึ่งเรื่องใดนานเกินไป

สติสังวรณ์ คือยังไง

 สติสังวรณ์

  • รักษาว่าตามองเห็น ใจไม่เป็นบาป
  • รักษาว่าหูได้ยิน ใจไม่เป็นบาป
  • รักษาว่าจมูกได้กลิ่น ใจไม่เป็นบาป
  • รักษาว่าลิ้นรู้รส ใจไม่เป็นบาป

做自己的选择题

不要做别人的判断题

要做自己的选择题

note เกี่ยวกับ สอุปปาทิเสสนิพพาน อนุปาทิเสสนิพพาน

สอุปปาทิเสสนิพพาน

อนุปาทิเสสนิพพาน

เป็นชื่อของสังขารธรรม ไม่ใช่ชื่อของนิโรธสัจ


มิลินท 8 

1.58

สัมมาสังกัปปะ

เนกขัมมสังกัปปะ - เจริญอสุภะและวิปัสสนา

อพยาปาทสังกัปปะ - เจริญเมตตา

อวิหิงสาสังกัปปะ - เจริญกรุณา

ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ

 ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ

การถึงสรณคมน์ มี 4 ความหมาย

  1. ถึงคือรู้ รู้ธรรม
  2. มีธรรมไปข้างหน้า นำหน้า
  3. มอบกายถวายชีวิตเพื่อธรรม
  4. นอบน้อมในธรรม

ตายแล้วไปสวรรค์ดีจริงหรือ

บริโภคโลภะล้วนๆ เก้าล้านปี คิดว่าตายแล้วจะไปไหน

สั่งสมความเพลิน เก้าล้านปี คิดว่าตายแล้วจะไปไหน

สมุทัยโดยแท้ก็คือความวิปลาสในขันธ์

 สมุทัยโดยแท้ก็คือความวิปลาสในขันธ์


ถ้าไม่เจริญปัจจัยปริคคหญาณ สมุทัยชุดไหนจะเกิด

ถ้าไม่เจริญสัมมัสสนญาณ สมุทัยชุดไหนจะเกิด

ฯลฯ

ลองไล่ๆ ดู

อาสวะไปถึงไหน

 อาสวะ

โดยภพ - ไหลไปถึงภวคคพรหมเนวสัญญาฯ

โดยธรรม - ไหลไปถึงโคตรภู


โคตรภูนี้โดยองค์ธรรมมีนิพพานเป็นอารมณ์ด้วยซ้ำไป แต่ยังถือเป็นแดนที่อาสวะไหลไปถึง (เหมือนเห็นพระราชาอยู่ลิบๆ แต่ยังไม่ได้เข้าเฝ้า)


เวลาพูดของสูง ถือว่าของต่ำได้ถูกแสดงแล้ว

อย่างพูดภวัคคพรหม แปลว่าภพทั้งสามถูกรวมเข้าอยู่แล้ว

เวลาพูดถึงโคตรภู แปลว่าโลกิยธรรมทั้งหมดได้ถูกแสดงแล้ว ได้แก่ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ

---

อาสวะนี้เป็นตัวสมุทัย

สัจฉิกาตัพพธรรม

สัจฉิกาตัพพธรรม ธรรมอันควรกระทำให้แจ้ง

หมายถึงนิพพาน


บางที่ใช้คำว่าเข้าถึง 

จะให้ภาพแบบนิพพานเป็นเมืองหรือลงรูอะไรสักอย่าง

คำว่าทำให้แจ้งนี้ ความหมายเท่ากับ ผุสิตา คือสัมผัส หรือกระทำให้เป็นอารมณ์ 

คือทำใจให้มีนิพพานเป็นอารมณ์ หรือทำให้สัมผัสกับนิพพาน ไม่ใช่ต้องไปในที่ไหนๆ

วิโมกข์ 8

วิโมกข์ 8


โมกข หมายถึง โน้มเอียง, พ้น


คือความโน้มเอียงของจิตที่นำไปสู่ความพ้น(จากกิเลส)


น้อมใจไปอยู่ในอารมณ์แปด (คือเอาใจไปสัมผัสอารมณ์พวกนี้) เช่น

1. รูปภายใน

2. รูปภายนอก

3. พรหมวิหาร

4-7 อรูปสี่

8. นิพพาน

ธรรมขันธ์ห้า

 ธรรมขันธ์ห้า

  1. ศีลขันธ์
  2. สมาธิขันธ์
  3. ปัญญาขันธ์
  4. วิมุตติขันธ์
  5. วิมุตติญาณทัสสนขันธ์


ในบรรดาวิมุตติห้า

จะมีเฉพาะ สมุจเฉทวิมุตติ, ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ, นิสสรณวิมุตติ ที่นับเป็นวิมุตติขันธ์ (อื่นๆ ไม่นับลงขันธ์นี้)

ส่วนวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ หมายถึง ปัจเวกขณญาน

อกุปปาเจโตวิมุตติ

 อกุปปาเจโตวิมุตติ

หมายถึง เจโตวิมุตติ ที่ไม่กลับกำเริบ หรือไม่เสื่อม

สภาวะคือ อรหัตผล

ความหลุดพ้นแห่งจิต (จากกิเลสนานา) โดยไม่เสื่อมอีกต่อไป

สิ่งที่ควรกระทำให้แจ้งคือวิชชาและวิมุตติ

วิชชา คือ มรรค

วิมุตติ คือ ผล

--

สิ่งที่ควรกระทำให้แจ้ง

ถ้าพูดแบบสองคือ

วิชชาและวิมุตติ


วิชชาคือมรรค

วิมุตติคือผล


วิชชาถ้าขยาย จะขยายเป็นวิชชา 3 (ปุพเพนิวาสาฯ, จุตูปปาตฯ, อาสวกขยญาณ) 


สูงสุดคืออาสวกขยญาณ คือมรรคญาณ


วิชชา เป็นปัญญา

วิมุตติ เป็นสภาวะที่เข้าถึง

กรรมฐานไหนเจริญตอนไหน

 ท่านให้เจริญกรรมฐานตามกาล (ไม่ใช่ตามเวลาเช้า สาย บ่าย เย็น) 

เช่น

ตอนมีโทสะ - เจริญเมตตา

ตอนมีราคะ - เจริญอสุภะ

ตอนมีอัสมิมานะ - เจริญอนิจจสัญญา

การทำชาคริยานุโยค

 ชาคริยานุโยค จะทำอิริยาบถไหนก็ได้ เงื่อนไขคือห้ามถูกนิวรณ์ครอบ

สฬายตนะ

 สฬายตนะ


วิเคราะห์ได้ทั้ง อายตนะทั้งหก และอายตนะที่หก

คือถ้าอรูปก็จะเหลืออายตนะเดียว

สมถะวิปัสสนาในโพชฌงค์

 7 ข้อในโพชฌงค์

มีเฉพาะธัมมวิจัย ที่จัดอยู่วิปัสสนา

ที่เหลือสมถะหมดเลย

วิธียกจิต

การยกจิต 

ยกมันขึ้นมาจากอกุศล

บางจังหวะต้องยกด้วยวิปัสสนา

บางจังหวะต้องยกด้วยความเพียร (สังเวควัตถุ)

บางจังหวะต้องยกด้วยอนุสสติ

สมัยไหนเหมาะใช้อะไรเลือกเอา 

อีกความหมายของอายตนะ

 อายตนะ ที่ประชุมให้เกิดจิตและเจตสิก

ผลของการพิจารณาไตรลักษณ์

พิจารณาความไม่เที่ยง ละมานะ

พิจารณาความเป็นทุกข์ ละตัณหา

พิจารณาความเป็นอนัตตา ละทิฏฐิ

อะไรคือศีล

 อะไรคือศีล

อรรถของศีลคือตั้งมั่น (สมาทาน) ไม่ล่วงละเมิดกระจัดกระจาย

อุปทานาน คือรองรับกุศลธรรมชั้นสูง


เจตนาคือศีล

เจตสิกคือศีล

สังวรคือศีล


กิจ(หน้าที่) ของศีลคือ กำจัดความทุศีล

ศีล มีความสะอาดทางกาย วาจา เป็นเครื่องปรากฏ

ศีล มีหิริโอตตัปปะ เป็นเหตุใกล้


หิริ ปรารภ ภายใน

โอตตัปปะ ปรารภ ภายนอก


ศีลที่รักษาดีแล้ว นำมาซึ่งอวิปปฏิสาร

---

ศีล มี 4 อย่าง

  • เจตนา
  • เจตสิก
  • สังวรณ์
  • อวีติกม การไม่ล่วงละเมิด
---
ต้องรักษาศีลขนาดไหน?

  • ก็ขนาดที่ว่าพูดออกไปแล้วตำหนิตัวเองไม่ได้
---
ศีลเป็นกุศลได้สองขณะ
  1. สมาทาน 
  2. งดเว้น
เป็นกุศลเพราะเป็นจิตที่ไม่มีโทษ ฉลาด ไม่มีกิเลสเข้าไปเบียดเบียน
---

ความแตกต่างของผู้เป็นสาวก

 ฟังอริยสัจเหมือนกันผู้เป็นสาวกกับไม่เป็นสาวกต่างกันตรงไหน

แบบไหนเรียกอริยสาวก?

ต่างกันคือ อริยสาวก ท่านทำกิจต่ออริยสัจ

แต่ผู้ไม่ใช่สาวก ไม่ได้ทำกิจต่ออริยสัจเลย...

เห็นมรรคสัจ ต้องเห็นแค่ไหน

เห็นมรรคสัจ ต้องเห็นแค่ไหน

คือเห็นเป็นบันไดไปสู่นิโรธ

---

เนื่องมาจากเห็นนิโรธว่าเป็นที่น่ารื่นรมย์

วิธีที่ไปสู่ความน่ารื่นรมย์นั้น คือวิธีอย่างนี้

มรรคที่กำลังปฏิบัติโดยชัดเจนนี้นำไปสู่ความน่ารื่นรมย์

(ไม่อ้างอิงเพียงความสบายเฉพาะหน้าซึ่งเป็นเพียงเวทนาจากผัสสะ)

เห็นนิโรธต้องเห็นแค่ไหน

คือถ้าเทียบเห็นสมุทัยดังความหิว ความกระหาย

ก็เห็นนิโรธเป็นความอิ่ม ความน่ารื่นรมย์

---

ต้องเห็นอย่างนี้

ถ้ายังไม่เห็นอย่างนี้

คือฝึกฝนจนเห็นได้อย่างนี้เป็นธรรมดา

เห็นสมุทัยต้องเห็นแค่ไหน

เมื่อประสบกับอารมณ์ที่น่ารักน่าพอใจ

รู้สึกเหมือนดังเห็นบ่วงแห่งมัจจุราชที่มาดักเอาไว้

เหมือนดังเห็นหลุมถ่านเพลิง

มันต้องกุศลเกิดมากๆ แล้วมาเจออกุศลถึงจะรู้สึกว่ามันร้อน

--

ต้องเห็นอย่างนี้

ถ้ายังไม่เห็นอย่างนี้

คือฝึกฝนจนเห็นได้อย่างนี้เป็นธรรมดา

อสุภะอยู่ตรงไหนของไตรลักษณ์

 อสุภะ เป็นคำอธิบายหนึ่งของทุกขังในไตรลักษณ์

เหตุแห่งกุศล

 กุศลนี่ใช่ว่าจะเกิดจากโยนิโสมนสิการอย่างเดียว

ยังเกิดจาก อุปนิสัยปัจจัย อุตุ โภชน เสนาสนะ บุคคล

อยู่ใกล้คนมีศรัทธา ก็เขาทำเราทำด้วย

คำไวพจน์ของ เหตุ

 ธัมมัฏฐิติญาณ = ปัจจยปริคหญาณ 

คือรู้ ปัจจัย และ ปัจจยุบัน

คือรู้เหตุ และผลจากเหตุนั้น

โดยเหตุในที่นี้ ไม่ได้หมายถึง เหตุปัจจัยเสมอไป

เหตุ ในที่นี้ เป็นคำแทน ปัจจัย


เหตุ

= ปัจจัย

= สมุทัย

= นิทาน

= แดนเกิด

= ปภว

= สมฺภว

ทวารของพรหม

 รูปพรหมมี 3 ทวาร ตา หู ใจ

อรูปพรหม มีเฉพาะทวารใจ

ภพ ชาติ (more clue)

 ผลของกรรมนั้นๆ เรียกว่าภพ

ภพครั้งแรกในชีวิตนั้นเรียกว่าชาติ

ปณิธาน

 อนึ่ง...

ความเพียรที่เราเริ่มทำแล้วจักไม่ย่อหย่อน

สติที่เราตั้งไว้แล้วจักไม่หลงลืม

กายที่เราทำให้สงบแล้วจักไม่กระสับกระส่าย

จิตที่เราทำให้ตั้งมั่นแล้วจักมีอารมณ์แน่วแน่


อารพฺภวิริยา โหถ

พูดอย่างไร ทำอย่างนั้น

 ยถา วาที ตถา การี

คำแปลของ อสังขตะ

สังขตะ หมายถึง ธรรมที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง

อสังขตะ หมายถึง ธรรมที่เป็นที่ดับของสังขตะ ธรรมที่สามารถดับสังขารได้  ไม่ใช่สังขารพังไป แต่เป็นธรรมที่ดับสังขาร

ถ้ายังเห็นตาว่าดี จะยังมีตามต่อไป

อริยมรรคคือทางเป็นที่ดับตา

วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2564

35 ปี 5 เดือน 2 วัน

กรรมน่าติเตียนประจำวัน

เรื่องแรก
พูดผิดกับพ่อ ไม่ได้พูดเท็จ แค่ไม่ประกอบเมตตา พาใจเศร้าหมองไปพักใหญ่

หลุมหลอกคือ มีช่วงเงียบที่ไม่รู้จะพูดอะไร แล้วมันก็เลยถูกลากลงเรื่องอดีต

ตั้งใจแก้ไข ตั้งสติพูดด้วยเมตตา ไม่มีเรื่องพูด ก็สร้างเรื่องพูดขึ้นมา เล่าเรื่องดีๆ

เรื่องที่สอง

กล่าวไม่ดีลับหลังเพื่อนร่วมงาน แม้จะตั้งใจไว้ว่าจะไม่ทำแล้ว

หลุมหลอกคือ ถูกถามสถานการณ์แก้ไขเรื่องที่ทำงาน

แก้ไขไงดี...

วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2564

มโน และธัมมารมณ์

 มโน เท่ากับ ภวังค์ และอาวัชนะ (มโนทวาราวัชนะ)


ธรรม คือเว้น รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสกายเสีย ที่เหลือคือธรรม


มโนและธรรม ทำให้เกิดมโนวิญญาณ 


ธรรมสามประการรวมกันเป็นผัสสะ

นามรูป

ในปฏิจจสมุปบาทหมายเอา นามและรูป ที่เกิดจากวิญญานเป็นปัจจัย


นาม ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์


ไม่ใช่เวทนาทั่วไป ไม่ใช่สัญญาทั่วไป ไม่ใช่สังขารทั่วไป


เฉพาะนามขันธ์สาม ที่เกิดจากวิญญานเป็นปัจจัยเท่านั้น หมายเอาในที่นี้ ไม่รวมวิญญานขันธ์ด้วย เพราะกล่าวไปแล้ว


การพูดถึงองค์ธรรมปฏิจจสมุปบาท จะไม่พูดลอยๆ จะพูดเป็นปฏิจจสมุปปันธรรม เช่น นาม จะไม่พูดนามเฉยๆ จะพูดว่านามที่เกิดจากวิญญานเป็นปัจจัย 


ถ้าพูดลอยๆ มันจะงง 


จะพูดเป็นเงื่อนไข ถ้าเงื่อนไขมันบังคับมา มันก็จะไม่สงสัย

---

รูป ในปฏิจจสมุปบาท
ก็หมายเอาเฉพาะรูปที่มาจากวิญญาน ไม่ได้รวมถึงรูปที่มาจากอาหาร มาจากอื่นๆ


อย่างรูปที่กินแล้วอ้วนนี่อันนี้ทำมา เหมือนจะมีอำนาจควบคุม แต่ไม่ใช่รูปในปฏิจจสมุปบาท 


รูปในปฏิจจสมุปบาทมันถูกล็อคมาแล้ว เราไม่มีอำนาจอะไรเลย เหมือน ชาติแล้วต้องแก่ ต้องตาย อันนี้ทำอะไรไม่ได้เลย


อันนี้ถึงจะเป็นหลักพิจารณาที่ทำให้ความมีตัวตนหายหมด (ตรงที่มันทำอะไรไม่ได้ ไม่มีตรงไหนที่คุมได้) ทุกอย่างมาจากอำนาจปัจจัย 


รูปในปฏิจจสมุปบาทจึงไม่พิจารณารูปที่เหมือนจะควบคุมได้ เช่น ยื่นแขนออกไป จิตคิด ก็ดันยื่นออกไปได้เสียด้วย แต่เขาพิจารณารูปจากวิญญานวิบาก เกิดจากกรรม หนีไม่ ออก


ไม่ได้พิจารณาทุกรูป มันจะไม่ล็อคเป้า

----

ถ้าในแบบ 1 ขณะจิต 

วิญญาณปัจจยา นามรูปํ

รูป หมายเอาถึง หทยรูป ที่เป็นที่เกิดของวิญญาณ

วันจันทร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2564

สังขารในปฏิจจสมุปบาท

 การขยายความ "สังขาร" ในปฏิจจสมุปบาท จะขยายออกมาเป็นสองชุด 


1. ปุญญา อปุญญา อาเนญช

2. กาย วจี จิตสังขาร


แต่ก็อันเดียวกันคือ เจตนาที่สร้างวิบากออกมาได้


ไม่ใช่เจตนาทั้งหมด หมายเอาแค่เจตนาที่สร้างวิบากได้


คือ "ต้องการเอาขันธ์ห้าบางอย่าง"


ทำไมต้องการเอา ?


เพราะเขาไม่รู้ว่ามันเป็นทุกข์


ถ้าต้องการกระทำโดยสติสัมปชัญญะ คือรู้ว่าทำโดยจำเป็น เช่น ถ้าไม่กินจะไม่มีแรง ไม่มีแรงไม่มีสมาธิ ไม่มีสมาธิไม่มีปัญญา อันนี้ไม่ใช่สังขารในปฏิจจสมุปบาท


แต่ถ้ากินเพื่อจะได้ไม่โมโหหิว คือเพื่อจะเอาเวทนา


---

 ปุญญาภิสังขาร = กุศลเจตนา ที่เป็นกามาวจร รูปาวจร


อปุญญาภิสังขาร = อกุศลเจตนาที่เป็นกามาวจร


อาเนญชาภิสังขาร = กุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจร

กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร

 กายสังขาร 


เจตนาที่ปรุงแต่งสร้างวิบากโดยใช้กายเป็นทางออก

เช่น กายทุจริต กายสุจริต


วจีสังขาร


เจตนาที่ปรุงแต่งสร้างวิบากโดยใช้วาจาเป็นทางออก


จิตสังขาร


เจตนาที่ปรุงแต่งสร้างวิบากโดยใช้จิตเป็นทางออก เช่น พวกทำสมาธิ

อาเนญชาภิสังขาร

 อเนญชาภิสังขาร 

เจตนาจะสร้างความไม่หวั่นไหวขึ้น 

ความหวั่นไหวคือรูป ว่ามันแตกสลายถูกทำลายได้ พวกนี้จึงเป็นพวกอรูป

ไม่ใช่ทุกกรรมจะก่อวิบาก

ไม่ใช่ทุกกรรมจะก่อวิบากได้


กรรมบางกรรมก่อวิบากไม่ได้ สร้างวิญญานไม่ได้ อันนั้นเรียก สหชาติกรรม


ส่วนกรรมที่ก่อวิบาก สร้างวิญญานได้ เรียก อภิสังขาร


ก็คือเฉพาะเจตนาที่สามารถสร้างวิบากได้


ไม่ใช่ทุกเจตนาจะสร้างภพใหม่ เช่น เจตนาจะเดินจงกรม อันนี้ไม่สร้างภพใหม่ ไม่เป็นอภิสังขาร 

หรือเจตนามาฟังธรรมเฉยๆ ไม่ได้จะฟังเอาไปสวรรค์อะไร อันนี้ก็ไม่ได้นับเข้าปฏิจจสมุปบาท

นัย 4 ของปฏิจจสมุปบาท

 การเข้าใจปฏิจจสมุปบาท ต้องเข้าใจอรรถะ 4 นัยให้ดี


ปฏิจจสมุปบาทนี่มันเป็นองค์ประกอบที่แตกต่างกัน 12 อัน เกิดดับสืบเนื่องกันโดยไม่ขาดสาย


เอกัตนัย 


ปฏิจจสมุปบาทนี่สืบเนื่องเป็นสายเดียวกันไม่ขาดสาย 


ถ้าเห็นถูก จะละความเห็นว่าขาดสูญ เพราะเหตุมี ผลย่อมมี


แต่ถ้าเห็นผิด จะเข้าใจว่ามันเป็นสัสสตทิฏฐิ เพราะเห็นว่ามันเป็นสายเดียวกันแบบไม่ตัดตอน คือไปเข้าใจว่ามันเชื่อมต่อกันจริงๆ 


อันที่จริงมันต่อกัน แต่มันก็ไม่ได้เชื่อมกันจริงๆ มันตัดเป็นคนละภาวะ แต่เชื่อมกันด้วยอำนาจปัจจัย


====


นานัตนัย 


แต่ละสภาวะในปฏิจจสมุปบาทนี่แยกขาดจากกันเลย เป็นคนละตัว อวิชชาก็ไม่ใช่สังขาร อวิชชาก็เกิดดับเลย, สังขารคือเจตนาก็เกิดดับเลย, วิญญานก็เป็นสภาวะอีกอย่างหนึ่งเกิดดับ มันแยกกัน มันไม่ใช่ตัวเดียวกัน


ถ้าเห็นถูก ก็จะละสัสสตทิฏฐิ คืออวิชชาก็ไม่เที่ยง เกิดและดับไปแล้ว, ก่อให้เกิดสังขาร ที่ไม่เที่ยงเช่นกัน ไม่มีอะไรค้างอยู่


แต่ถ้าเห็นผิด จะไปถืออุจเฉททิฏฐิ เห็นว่ามันไม่ต่อกัน มันสูญ เพราะว่ามันคนละอันกัน


จริงๆ มันเกิดแล้วดับก็จริง แต่ว่ามันมีปัจจัยไปต่อให้คนอื่น


====

อัพยาปารนัย


แต่ละสภาวะไม่มีความขวนขวาย ไม่มีผู้มีอำนาจ อวิชชาไม่ได้อยากหรือไม่อยากให้สังขารเกิด, สังขารไม่ได้มีเจตนาให้วิญญานเกิด มันเป็นแค่ เหตุ-ผล ที่เป็นอย่างนั้น


ถ้าเห็นถูก จะละอัตตทิฏฐิ คือความเห็นว่ามีผู้สร้าง มันไม่ได้มีอำนาจจริงๆ แต่มันมีปัจจัยของมัน


ถ้าเห็นผิด จะไปเห็นว่าเป็นกิริยทิฏฐิ มันไม่มีใครทำงั้นก็ไม่ต้องทำอะไร กลายเป็นไม่เป็นอันทำอะไร


====

เอวังธัมมตานัย


เป็นธรรมดาของปัจจยาการเช่นนั้นเอง อวิชชาปัจจยาสังขารา สังขารจะมีขึ้นก็เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จะขาดอวิชชาไม่ได้ เป็นธรรมดาของมันอย่างนั้น


ถ้าสังขารมา แสดงว่าอวิชชาต้องมา จะแบบเดี่ยวๆ ลอยๆ ไม่ได้


ถ้าเห็นชอบ ก็จะละ อเหตุกทิฏฐิ และอกิริยทิฏฐิ


ถ้าเห็นผิดก็จะถือว่าไม่มีเหตุไปเลย และถือนิยตะ คือถือว่ามันเป็นอย่างนั้น คือมันเป็นอย่างนั้นก็จริง แต่ถ้าทำเหตุอื่น มันก็ไม่เป็นอย่างนั้นก็ได้ไง

กิเลสเยอะ บาปมั้ย

 กิเลสจะเยอะขนาดไหน 

ถ้าไม่ประกอบเจตนาก็ไม่บาป 

แต่ถ้าประกอบเจตนาก็เป็นกรรม นั่นแหละบาป

ดูก่อนภารดา

 ดูก่อนภารดา


ไฟไหม้ต้องมีสาเหตุ

แต่ที่ควรทำก่อนคือดับไฟ

กำหนด

 กำหนด = ปริคฺคณฺหาติ (ปริคคัณหาติ)


ความสามารถในการบ่งชี้ บ้างบอก แยกแยะโดยชัดเจน


"กำหนดแบบสติ" 

มีอารมณ์จดจ่อกับสิ่งนั้น เช่น กำหนดกาย มีอารมณ์จดจ่ออยู่กับกาย ไม่คลาดเคลื่อนไปจากกาย


"กำหนดแบบปัญญา" 

ปัญญากำหนดกาย หมายถึง ปัญญาไปแจกแจงกายออกเป็นธาตุสี่ หรือเป็นผม ขน เล็บ ฟัน หนัง


เป็นอาการคนละอย่าง แต่เวลาแปล ใช้คำว่ากำหนดเหมือนกัน

รวมสำนวนจากหนังจีน/qi pa shuo

 胸有激雷而面如平湖者,可拜上将军!


泰山崩于前而色不变,麋鹿兴于左而目不瞬


整个成熟的过程

从允许自己崩溃,

到允许别人崩溃

这些过程都是要自己发现的


知道自己是一个脆弱的人 

是个弱智

原谅自己

知道自己是个未成年人

慢慢地走上成年的道路


我觉得成年人的另一个标志就是不是那么喜欢争输赢


人生不能寄望在别人身上

不管别人是恶意还是善意

都不要寄望在别人身上


你藏不藏其实就在于你在不在乎别人


如果你根本就觉得别人帮不上什么忙

那你在别人面前展现崩溃这件事情是换不来什么的


它换来很多别人的干扰


藏了是因为我受不了我自己事后的后悔

我承受不了那个挫败感给我的冲击


我们跟一个人相处不只是在评价他

是在塑造他


一个人有多少被人喜欢的能力

他才在这个社会上有多少不被喜欢的权利