วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2564

ปริญญา

 ปริญญา ที่แปลกันว่ารู้รอบ หรือกำหนดรู้

ที่จริงแปลว่า วิเคราะห์ก็ได้ ใคร่ครวญก็ได้

แบ่งออกเป็นสามชั้น

  1. ญาตปริญญา
    "ญาต" นี้ อาจแปลว่า กำหนด
    คือมองสิ่งนั้น รวมทั้งสมุฏฐานของสิ่งนั้น
  2. ตีรณปริญญา
    ตีรณ แปลว่าพิจารณา
    ปริญญา แปลว่ารอบรู้ รู้รอบ
    ตีรณปริญญา คือการพิจารณาเป็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นต้น
  3. เมื่อพิจารณาตีรณอย่างเข้มข้นก็จะเริ่มละความยึดถือ อันนี้เป็นปหานปริญญา

สมมติเข้าใจกรรมและการให้ผลของกรรมเป็นอย่างดีแล้ว จะเข้าใจเรื่องความไม่เที่ยงเป็นอย่างดี

เพราะถ้ากัมมชรูปตกแต่งมาให้เป็นอย่างนี้ ถ้ามีกรรมบางอย่างมาเบียดเบียน กัมมชรูปนั้นก็อยู่ไม่ได้ เมื่ออยู่ไม่ได้ ไอ้ที่ว่าไม่มีแล้วก็มีขึ้น มีแล้วก็ไม่มี นี้เรียกว่า อนิจจัง

แต่การจะเข้าใจเรื่องอนิจจังนั้น จะต้องเข้าใจเรื่องปัจจัยเป็นอย่างดี การที่อยู่ๆ จะกระโดดพรวดพรากไปคิดเรื่องไม่เที่ยงเลย โดยไม่พิจารณาปัจจัย เรียกว่าฐานยังไม่แน่น ต้องมาเสริมฐานความเข้าใจเรื่องปัจจัยก่อน

พิจารณาให้เห็นว่ารูปมีนั้นมีสมุฏฐานเป็นอะไร อย่างนั้นแล้ว ถ้าสมุฏฐานนั้นไม่มี รูปนั้นก็ไม่มี

การไปดูระยิบระยับวิบวับอะไรแล้วบอกไม่เที่ยง อย่างมากจะได้แค่ความรู้อุปมาบางอย่าง แต่ความรู้ที่ชัดเจนนั้นจะมาจาก ความรู้ในเรื่องสมุฏฐานที่มีมาเป็นอย่างดี เมื่อสมุฏฐานนั้นหมดไป รูปนั้นก็หมดไป ตรงไปตรงมา

เช่น สีหน้ายิ้มแย้ม มีจิตเป็นสมุฏฐาน ถ้าจิตอันนั้นเปลี่ยนไปแล้ว สีหน้ายิ้มแย้มนั้นจะยังมีอีกไหม เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น