การเข้าใจปฏิจจสมุปบาท ต้องเข้าใจอรรถะ 4 นัยให้ดี
ปฏิจจสมุปบาทนี่มันเป็นองค์ประกอบที่แตกต่างกัน 12 อัน เกิดดับสืบเนื่องกันโดยไม่ขาดสาย
เอกัตนัย
ปฏิจจสมุปบาทนี่สืบเนื่องเป็นสายเดียวกันไม่ขาดสาย
ถ้าเห็นถูก จะละความเห็นว่าขาดสูญ เพราะเหตุมี ผลย่อมมี
แต่ถ้าเห็นผิด จะเข้าใจว่ามันเป็นสัสสตทิฏฐิ เพราะเห็นว่ามันเป็นสายเดียวกันแบบไม่ตัดตอน คือไปเข้าใจว่ามันเชื่อมต่อกันจริงๆ
อันที่จริงมันต่อกัน แต่มันก็ไม่ได้เชื่อมกันจริงๆ มันตัดเป็นคนละภาวะ แต่เชื่อมกันด้วยอำนาจปัจจัย
====
นานัตนัย
แต่ละสภาวะในปฏิจจสมุปบาทนี่แยกขาดจากกันเลย เป็นคนละตัว อวิชชาก็ไม่ใช่สังขาร อวิชชาก็เกิดดับเลย, สังขารคือเจตนาก็เกิดดับเลย, วิญญานก็เป็นสภาวะอีกอย่างหนึ่งเกิดดับ มันแยกกัน มันไม่ใช่ตัวเดียวกัน
ถ้าเห็นถูก ก็จะละสัสสตทิฏฐิ คืออวิชชาก็ไม่เที่ยง เกิดและดับไปแล้ว, ก่อให้เกิดสังขาร ที่ไม่เที่ยงเช่นกัน ไม่มีอะไรค้างอยู่
แต่ถ้าเห็นผิด จะไปถืออุจเฉททิฏฐิ เห็นว่ามันไม่ต่อกัน มันสูญ เพราะว่ามันคนละอันกัน
จริงๆ มันเกิดแล้วดับก็จริง แต่ว่ามันมีปัจจัยไปต่อให้คนอื่น
====
อัพยาปารนัย
แต่ละสภาวะไม่มีความขวนขวาย ไม่มีผู้มีอำนาจ อวิชชาไม่ได้อยากหรือไม่อยากให้สังขารเกิด, สังขารไม่ได้มีเจตนาให้วิญญานเกิด มันเป็นแค่ เหตุ-ผล ที่เป็นอย่างนั้น
ถ้าเห็นถูก จะละอัตตทิฏฐิ คือความเห็นว่ามีผู้สร้าง มันไม่ได้มีอำนาจจริงๆ แต่มันมีปัจจัยของมัน
ถ้าเห็นผิด จะไปเห็นว่าเป็นกิริยทิฏฐิ มันไม่มีใครทำงั้นก็ไม่ต้องทำอะไร กลายเป็นไม่เป็นอันทำอะไร
====
เอวังธัมมตานัย
เป็นธรรมดาของปัจจยาการเช่นนั้นเอง อวิชชาปัจจยาสังขารา สังขารจะมีขึ้นก็เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จะขาดอวิชชาไม่ได้ เป็นธรรมดาของมันอย่างนั้น
ถ้าสังขารมา แสดงว่าอวิชชาต้องมา จะแบบเดี่ยวๆ ลอยๆ ไม่ได้
ถ้าเห็นชอบ ก็จะละ อเหตุกทิฏฐิ และอกิริยทิฏฐิ
ถ้าเห็นผิดก็จะถือว่าไม่มีเหตุไปเลย และถือนิยตะ คือถือว่ามันเป็นอย่างนั้น คือมันเป็นอย่างนั้นก็จริง แต่ถ้าทำเหตุอื่น มันก็ไม่เป็นอย่างนั้นก็ได้ไง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น