วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ปัญญาดับ กิจที่ปัญญาทำแล้วไม่ดับ

 อุปมาเหมือน

คนจะเขียนจดหมายตอนกลางคืน
เปิดไฟ แล้วก็เขียนๆๆๆ
พอเขียนจดหมายเสร็จ ก็ปิดไฟ

เมื่อดับไฟ ตัวหนังสือในจดหมายก็ไม่ได้หายไปไหน

คนเดียวกัน รึคนละคน

ถ้าบอกว่าเราตอนเด็ก กับเราตอนโตเป็นคนละคนกัน

ถ้าอย่างนั้น 

  • เด็กที่ไปเรียนหนังสือก็คนหนึ่ง - เด็กที่รับปริญญาก็อีกคนหนึ่ง
  • คนที่ทำกรรมก็คนหนึ่ง - คนที่รับผลก็อีกคนหนึ่ง
  • คนที่หกล้มก็คนหนึ่ง - คนที่เจ็บก็อีกคนหนึ่ง
  • แม่ของเด็กก็คนหนึ่ง - แม่ของคนโตก็อีกคนหนึ่ง
มันไม่ใช่อย่างนั้น

ที่บอกว่าเป็นคนเดียวกันตั้งแต่เด็กจนโต 
เพราะอาศัยกายเดียวกันนี้แหละ

เหมือนจุดตะเกียง มันย่อมสว่างตั้งแต่หัวค่ำยันรุ่งเช้า

ตะเกียงนี่เป็นอันเดียวกัน
แต่เปลวไฟตอนต้น ตอนกลาง ตอนปลาย ไม่ใช่อันเดียวกัน

เหมือนวิญญาณก่อนเกิดขึ้นแล้วดับไป วิญญาณใหม่เกิดขึ้น
วิญญาณก่อนก็สงเคราะห์ลงกับวิญญาณหลัง
เพราะธรรมมันสืบต่อกัน เกิดขึ้นแล้วดับไปสืบต่อกัน
จึงจะบอกว่าเป็นคนเดียวกันก็ไม่ได้ เป็นคนละคนก็ไม่ได้

***

เหมือนนมสด เมื่อตั้งไว้ ก็ค่อยๆ เปลี่ยนไป กลายเป็น นมส้ม - เนยใส - เปรียง

ถามว่า เป็นอันเดียวกัน หรือเป็นคนละอัน
จะบอกว่าเป็นอันเดียวกันก็ไม่ถูกแน่
แต่นมส้ม ก็อาศัยนมสด
อาศัยนมส้ม จึงเกิดเนยใส
อาศัยเนยใส จึงเกิดเปรียง

คือมันไม่ได้ตัดขาดแบบหายไปจากกันเลย แต่มันอาศัยกันเกิด
คือตามปรมัตถ์ มันเกิดดับขาดกันก็จริง แต่ต้องเข้าใจด้วยว่ามันต่อกันเป็นกระแสและอาศัยกัน 
ไม่ใช่ว่าเกิด-ดับแล้วหายเงียบ ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับใคร

เพราะมันสืบเนื่องกันแบบนี้แหละ จะบอกว่าเป็นอันเดียวกันก็ไมได้ จะบอกว่าเป็นคนละอันก็ไม่ได้

วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ลักษณะของปัญญา

  1. เฉทนลกฺขณา มีลักษณะตัด 
  2. โอภาสนลกฺขณา มีลักษณะส่องสว่าง
    • ย่อมกำจัดความมืด คือ อวิชชา
    • ย่อมทำความสว่างคือ วิชชา ให้เกิดขึ้น
    • ย่อมส่องสว่าง คือ ญาณ
    • ย่อมกระทำอริยสัจสี่ให้ปรากฏ

ลักษณะของสมาธิ

ปมุขลกฺขโณ

กุศลทั้งปวง

  • มีสมาธิเป็นประมุข
  • โน้มไปทางสมาธิ
  • เอนไปทางสมาธิ
  • ล้มไปทางสมาธิ
เหมือนจันทัน (โคปานสิโย) เอนไปทางยอด (กูฎ)


ในที่นี้อธิบายเจาะจงตอบสมาธิระดับสูง คือเป็นประมุข
ไม่ได้มุ่งตอบอวิกเขป หรือ เอกัคคตา หรือ อุปสม ที่เป็นสมาธิทั่วไป

ลักษณะของสติ

  1. อปิลาปน ไม่เลอะเลือน ไม่เลื่อนลอย ไม่สับสน ไม่มั่ว ไม่ปะปน ชัดเจนว่าอะไรเป็นอะไรในเรื่อง
    • กุศล - อกุศล 
    • มีโทษ - ไม่มีโทษ
    • ทราม - ประณีต
    • ดำ - ขาว
    • ไม่เลอะเลือนในธรรมประณีตยิ่งๆ ขึ้นไป แยกแยะชัดเจน เช่น 
      • เหล่านี้คือ สติปัฏฐาน
      • เหล่านี้คือ สัมมัปปธาน
      • เหล่านี้คือ อิทธิบาท
      • เหล่านี้คือ อินทรีย์
      • เหล่านี้คือ พละ
      • เหล่านี้คือ โพชฌงค์
      • นี้คือ มรรค
      • นี้คือ สมถะ
      • นี้คือ วิปัสสนา
      • นี้คือ วิชชา
      • นี้คือ วิมุตติ 
    • เมื่อชัดเจน ย่อมเสพธรรมที่ควรเสพ ไม่เสพธรรมที่ไม่ควรเสพ
    • เหมือนเลขามารายงานเจ้านายประจำๆ ว่าตอนนี้มีทรัพย์สินอยู่เท่านี้ๆ มีนั่นเท่านี้ มีนี่เท่านี้ เจ้านายก็ไม่สับสนว่ามีอะไรไม่มีอะไร มีอะไรเท่าไร เตือนให้นึกได้ถึงสมบัติของตนๆ สติเมื่อเกิดขึ้นก็ย่อมเป็นอย่างนี้
  2. อุปคณฺหณ เข้าไปถือเอา ไปจับเอาแบบตรงตัว 
    • เมื่อเกิดขึ้น สามารถรับรู้และเป็นไปอย่างชัดเจนในกระแส ในสาย ในคติแห่งธรรม ว่า
      • มีประโยชน์ - ไม่มีประโยชน์
      • มีอุปการะ - ไม่มีอุปการะ
    • เมื่อชัดเจน ย่อมจับเอา รับเอาเฉพาะธรรมที่มีประโยชน์ ขจัดทิ้งซึ่งธรรมที่ไม่มีประโยชน์
      ย่อมจับเอาเฉพาะธรรมที่มีอุปการะ ขจัดซึ่งธรรรมที่ไม่มีอุปการะ
สติญฺจ ขฺวาหํ ภิกฺขเว สพฺพตฺถิกํ วทามิ 
ตถาคตย่อมกล่าวว่าสติมีประโยชน์ในเรื่องทั้งปวง

ลักษณะของวิริยะ

ค้ำจุนไม่ให้กุศลเสื่อมไป
เป็นกองหนุน เป็นกำลังเสริม

ลักษณะของศรัทธา

ลักษณะของศรัทธา

  1. ผ่องใส = เลื่อมใส ผ่องใส ไม่มีไฝฝ้า ไม่มีมลทิน
  2. แล่นไป = ตามเขาไป เขาไปได้เราก็ไปได้

ศรัทธาเมื่อเกิดขึ้น จะข่มนิวรณ์ไม่ให้เกิด

นิวรณ์บังสมาธิมี 5
นิวรณ์บังปัญญามี 1 อวิชชา

เคหสิต เนกขัมมสิตอุเบกขา

เคหสิตอุเบกขา

เห็นรูปแต่ไม่ล่วงเลยรูป
เฉยแบบไม่ล่วงเลยรูป ติดคาอยู่กับรูป
มีรูปเป็นอารมณ์ แต่ไม่เห็นความเป็นจริงของรูป
ไม่รู้ความเกิดความดับของรูป

เรียก อัญญาณอุเบกขา ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย แต่หลง

เนกขัมมสิตอุเบกขา

อุเบกขาเกิดขึ้นแก่ผู้ซึ่่งเห็นความไม่เที่ยง
เห็นความแปรปรวนของรูปทั้งหลาย
มีรูปเป็นอารมณ์ แล้วปล่อยรูปไป

อาศัยเรือน อาศัยเนกขัมมะ

อาศัยเรือน คืออาศัยกามคุณ

อาศัยเนกขัมมะ คือ อาศัยวิปัสสนา
ตรงนี้ เอามาจาก "พึงทราบ" 

พึงทราบ คือพึงทราบด้วยวิปัสสนาและมรรค

มโนปวิจาร 18

มโนปวิจาร 18

ทวาร 6 และเวทนา 3

แปลโดยคำศัพท์ หมายถึง ความหมุนเวียนไปของใจ

มน ตรงนี้ ใช้คำว่่า ใจ แต่ไม่ได้หมายถึงใจ หมายถึง วิตก

โดยสภาวะหมายถึง วิตก และวิจาร

วิตกกับวิจารนี่เรียกว่าเป็นเท้าของโลก เที่ยวไปเรื่อย

พึงทราบ

 แปลว่า พึงทราบด้วยวิปัสสนา และมรรค

วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

5 ก.พ.66

5 ก.พ.66
เดินจงกรมเช้า ตากระทบแสงส่องไฟฉายแว่บไปแว่บมา ในก็ถูกลากให้แกว่งไปแกว่งมาตามความไหวของแสงไฟนั้น ก่อปฎิฆะขึ้นมา เมื่อหลายรอบเข้าก็พบว่าปัญญาดับ นึกหันไปจะกล่าวห้ามกิริยาผู้อื่นอยู่ 2 ครั้ง ก็ระงับไว้เสียด้วยระลึกธรรมข้อวีรตีและขันติขึ้นมา ว่าหากหันไปขณะนี้ ต่อให้พูดดีมีเหตุผลขนาดไหน ก็ย่อมเป็นวาจาทุจริต

แล้วใจก็นึกในทางกลับกัน โอ ใจนี้น่าสงสารหนอ ถูกอารมณ์กระชากไปมา ไม่เป็นตัวของตัวเอง แม้สุขกับเพราะอารมณ์นั้นลากไป แม้ทุกข์ก็เพราะอารมณ์นั้นลากไป ใจนี้ไม่เป็นใหญ่ ยังไม่มีกำลังพอจะต้านทานการลากไปมาของอารมณ์นี้ เมื่อไม่สามารถเปลี่ยนผัสสะ หรือไม่ใส่ใจได้ ด้วยแรงกระชากนั้นรุนแรงเกินไป เราจะพึงบริกรรมเพื่อให้ใจมีที่ต้านทานเสีย

เมื่อกวาดลานวัด

กวาดลานก็เหมือนถือศีล เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์ ก็ไม่ต้องเนี้ยบก็ได้ เอาแค่ตะไคร่ไม่ขึ้นก็พอ ศีลก็เอาพอแก่สมาธิและปัญญา ไม่จำเป็นต้องเนี้ยบทุกกระเบียดจนเคร่งเครียด

วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ข้อสังเกตจากการเรียนเรื่องความถี่การเกิดดับของจิต

จิตเกิด-ดับ เรียก 1 ขณะจิต

ใน 1 ขณะ แบ่งเป็ฯ 3 อนุขณะ

รูป 1 รูป มีอายุ 17 ขณะจิต

อุปาทักขณะของรูป เท่ากับอุปาทักขณะของจิต
ภังคักขณะของรูป เท่ากับภังคักขณะของจิต
ช่วงตรงกลาง คือ ฐีติขณะของรูป

กัมมชรูปนั้น เกิดขึ้นทุกๆ อนุขณะจิต

กัมมชรูปที่เกิดที่อุปาทักขณะของปฏิสนธิจิต จะไปดับที่ภังคักขณะของจิตดวงที่ 17
กัมมชรูปที่เกิดที่ฐีติขณะของปฏิสนธิจิต จะไปดับที่อุปาทักขณะของจิตดวงที่ 18
กัมมชรูปที่เกิดที่ภังคักขณะของปฏิสนธิจิต จะไปดับที่ฐีติขณะของจิตดวงที่ 18

สังเกตจากการอธิบายอย่างนี้ แปลว่า ภังคักขณะของจิตดวงก่อนหน้า ไม่ใช่เวลาเดียวกันกับอุปาทักขณะของจิตดวงถัดไป แต่มีความห่างของช่วงระยะเวลา ซึ่งเท่ากับ 1 อนุขณะ

จากการอธิบายเรื่องอายุรูป จึงย้อนกลับมาได้ว่า จิตเกิด-ดับ ด้วยความถี่เท่ากัน

จิตชรูป เกิดทุกๆ อุปาทักขณะ

อาหารชรูป เกิดก็ต่อเมื่อได้สารอาหาร และไปบำรุงรูปทุกอนุขณะจิต

รูปทุกรูปในฐีติขณะสร้าง อุตุชรูป หมดเลย

กัมมปัจจยอุตุชรูป คือ อุตุชรูปที่เกิดที่ฐีติขณะของรูปที่เกิดจากรรมเป็นปัจจัย
จิตตปัจจยะอุตุชรูป คือ อุตุชรูปที่เกิดที่ฐีติขณะของรูปที่เกิดจาจิตเป็นปัจจัย
อุตุปัจจยะอุตุชรูป คือ อุตุชรูปที่เกิดที่ฐีติขณะของรูปที่เกิดจาอุตุเป็นปัจจัย
อาหารปัจจยะอุตุชรูป คือ อุตุชรูปที่เกิดที่ฐีติขณะของรูปที่เกิดจาอาหารเป็นปัจจัย