วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ลักษณะของสติ

  1. อปิลาปน ไม่เลอะเลือน ไม่เลื่อนลอย ไม่สับสน ไม่มั่ว ไม่ปะปน ชัดเจนว่าอะไรเป็นอะไรในเรื่อง
    • กุศล - อกุศล 
    • มีโทษ - ไม่มีโทษ
    • ทราม - ประณีต
    • ดำ - ขาว
    • ไม่เลอะเลือนในธรรมประณีตยิ่งๆ ขึ้นไป แยกแยะชัดเจน เช่น 
      • เหล่านี้คือ สติปัฏฐาน
      • เหล่านี้คือ สัมมัปปธาน
      • เหล่านี้คือ อิทธิบาท
      • เหล่านี้คือ อินทรีย์
      • เหล่านี้คือ พละ
      • เหล่านี้คือ โพชฌงค์
      • นี้คือ มรรค
      • นี้คือ สมถะ
      • นี้คือ วิปัสสนา
      • นี้คือ วิชชา
      • นี้คือ วิมุตติ 
    • เมื่อชัดเจน ย่อมเสพธรรมที่ควรเสพ ไม่เสพธรรมที่ไม่ควรเสพ
    • เหมือนเลขามารายงานเจ้านายประจำๆ ว่าตอนนี้มีทรัพย์สินอยู่เท่านี้ๆ มีนั่นเท่านี้ มีนี่เท่านี้ เจ้านายก็ไม่สับสนว่ามีอะไรไม่มีอะไร มีอะไรเท่าไร เตือนให้นึกได้ถึงสมบัติของตนๆ สติเมื่อเกิดขึ้นก็ย่อมเป็นอย่างนี้
  2. อุปคณฺหณ เข้าไปถือเอา ไปจับเอาแบบตรงตัว 
    • เมื่อเกิดขึ้น สามารถรับรู้และเป็นไปอย่างชัดเจนในกระแส ในสาย ในคติแห่งธรรม ว่า
      • มีประโยชน์ - ไม่มีประโยชน์
      • มีอุปการะ - ไม่มีอุปการะ
    • เมื่อชัดเจน ย่อมจับเอา รับเอาเฉพาะธรรมที่มีประโยชน์ ขจัดทิ้งซึ่งธรรมที่ไม่มีประโยชน์
      ย่อมจับเอาเฉพาะธรรมที่มีอุปการะ ขจัดซึ่งธรรรมที่ไม่มีอุปการะ
สติญฺจ ขฺวาหํ ภิกฺขเว สพฺพตฺถิกํ วทามิ 
ตถาคตย่อมกล่าวว่าสติมีประโยชน์ในเรื่องทั้งปวง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น