วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ข้อสังเกตจากการเรียนเรื่องความถี่การเกิดดับของจิต

จิตเกิด-ดับ เรียก 1 ขณะจิต

ใน 1 ขณะ แบ่งเป็ฯ 3 อนุขณะ

รูป 1 รูป มีอายุ 17 ขณะจิต

อุปาทักขณะของรูป เท่ากับอุปาทักขณะของจิต
ภังคักขณะของรูป เท่ากับภังคักขณะของจิต
ช่วงตรงกลาง คือ ฐีติขณะของรูป

กัมมชรูปนั้น เกิดขึ้นทุกๆ อนุขณะจิต

กัมมชรูปที่เกิดที่อุปาทักขณะของปฏิสนธิจิต จะไปดับที่ภังคักขณะของจิตดวงที่ 17
กัมมชรูปที่เกิดที่ฐีติขณะของปฏิสนธิจิต จะไปดับที่อุปาทักขณะของจิตดวงที่ 18
กัมมชรูปที่เกิดที่ภังคักขณะของปฏิสนธิจิต จะไปดับที่ฐีติขณะของจิตดวงที่ 18

สังเกตจากการอธิบายอย่างนี้ แปลว่า ภังคักขณะของจิตดวงก่อนหน้า ไม่ใช่เวลาเดียวกันกับอุปาทักขณะของจิตดวงถัดไป แต่มีความห่างของช่วงระยะเวลา ซึ่งเท่ากับ 1 อนุขณะ

จากการอธิบายเรื่องอายุรูป จึงย้อนกลับมาได้ว่า จิตเกิด-ดับ ด้วยความถี่เท่ากัน

จิตชรูป เกิดทุกๆ อุปาทักขณะ

อาหารชรูป เกิดก็ต่อเมื่อได้สารอาหาร และไปบำรุงรูปทุกอนุขณะจิต

รูปทุกรูปในฐีติขณะสร้าง อุตุชรูป หมดเลย

กัมมปัจจยอุตุชรูป คือ อุตุชรูปที่เกิดที่ฐีติขณะของรูปที่เกิดจากรรมเป็นปัจจัย
จิตตปัจจยะอุตุชรูป คือ อุตุชรูปที่เกิดที่ฐีติขณะของรูปที่เกิดจาจิตเป็นปัจจัย
อุตุปัจจยะอุตุชรูป คือ อุตุชรูปที่เกิดที่ฐีติขณะของรูปที่เกิดจาอุตุเป็นปัจจัย
อาหารปัจจยะอุตุชรูป คือ อุตุชรูปที่เกิดที่ฐีติขณะของรูปที่เกิดจาอาหารเป็นปัจจัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น