วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2566

สงฺวตฺตติ

 แปล ทั่วไปคือ ทำให้เป็นไป
 หรือจะแปลโดยโวหารว่า นำมาซึ่ง ก็ได้

เช่น 

ปีติ ปสฺสทฺธิยา สงฺวตฺตติ
ปสฺสทฺธิ โสมนสฺสาย สงวตฺตติ

การเขียนในลักษณะแบบนี้ คือ ศีลเป็นเหตุแบบไปเป็นทอดๆ ไม่ได้เป็นเหตุโดยตรง

สีลํ ... 

โสมฺนสฺสํ อาเสวนาย สงฺวตฺตติ
โสมนัส นำมาซึ่ง อาเสวนะ (การเสพสมาธิ, การเจริญบ่อยๆ ซึ่งสมาธิ, การทำให้สมาธิมีพลัง)

อาเสวน ภาวนาย สงฺวตตติ
ภาวนาตัวนี้ก็มาจาก อาเสวนา ดังนั้นการหมั่นฝึกสมาธิ (หมั่นเสพ) ก็ทำให้ สมาธินั้นเติบโต

ภาวนา พหุลีกมฺมาย สงฺวตฺตติ
อะไรที่มันไม่มาก แล้วทำให้มาก จะลง อี ปัจจัย
เหมือนทำให้เกิดครั้งแรก เป็นภาวนา 
พอทำให้เกิดขึ้นบ่อยเข้าก็กลายเป็น พหุลีกมฺมา

พหุลีกมฺมํ อลงฺการาย สงฺวตฺตติ
ทำให้มากเพื่อทำให้มันเป็นเครื่องประดับของสมาธิ
องค์ธรรมของอลังการตรงนี้ คืออินทรีย์ 5 
เพื่อให้เกิดซึ่งอินทรีย์มีสัทธินทรีย์เป็นต้น อันเป็นเครื่องประดับของสมาธิ
(แปลตามวิสุทธิมคฺมหาฎีกา) ถ้าแปลเองว่าเครื่องประดับจะไม่รู้เรื่องเลย
การจะเข้าถึงเนื้อความที่ไม่ได้แสดงไว้ในตัวอักษรนี่ต้องเข้าถึง พยาส/วยาส 
(หมายถึง คัมภีร์อธิบาย)

อลงฺกาโร ปริกฺขาราย สงฺวตฺตติ
อินทรีย์ เป็นเครื่องช่วย, เป็นตัวช่วย (บริขาร)
ถ้าเราต้องการได้สมาธิ ก็ดูเลยอะไรที่เป็นตัวช่วยมาตั้งแต่ต้น ที่เขียนร่ายมา เรียกว่าเป็นบริขาร หรือเป็นสัมภาระของสมาธิ

ปริกขาโร บริวาราย สงฺวตฺตติ
จริงๆ คำก็จะใกล้ๆ กัน อลังการ บริขาร บริวาร
บริวาร คือธรรมที่ห้อมล้อม

ปริวาโร ปาริปูริยา สงฺวตฺตติ
ถึงซึ่งความเป็น วสีภาว คือ ปาริปูริ ความบริบูรณ์แห่งสมาธิ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น