วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2566

ศีล 5 (ปัญจกศีล 47) : กรรมบถศีล 10/ปุพพภาคศีล 5/มหาวิปัสสนาศีล 18/มรรคศีล 4

ศีล 5
  1. ปหาน การละ ชื่อว่าศีล
  2. เวรมณี ความงดเว้น ชื่อว่าศีล
  3. เจตนา ควาามจงใจ ชื่อว่าศีล 
  4. สังวร ความระวัง ชื่อว่าศีล
  5. อวีติกฺกม ความไม่ล่วงละเมิด ชื่อว่าศีล
กรรมบถศีล 10
การละ การงดเว้น การจงใจ การระวัง การไม่ล่วงละเมิด ซึ่ง กรรมบถ 10 ชื่อว่าศีล

ปุพพภาค 2 สาย
  • ของฌาน ได้แก่ การละนิวรณ์ ด้วยศีล 5
  • ของอริยมรรค ได้แก่ วิปัสสนาญาณ
ปุพพภาคศีล 5
ปุพพภาคของฌาน
  1. เนกฺขมฺเมน กามจฺฉนฺทสฺส ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งกามฉันทะ ด้วยเนกขัมมะ ชื่อว่าศีล
    (เนกขัมมะ = กุศลจิตตุปบาทที่มีอโลภะเป็นประธาน)
  2. อพฺยาปาเทน พฺยาปาทสฺส ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งพยาบาท ด้วยอพยาบาท
  3. อาโลกสญฺญาย ถีนมิทธสฺส ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งถีนมิทธะ ด้วยอาโลกสัญญา ชื่อว่าศีล
  4. อวิกเขป อุทธจสฺส ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งอุทธัจจะ ด้วยความไม่ซัดส่าย ชื่อว่าศีล
    (อวิกเขป เป็นชื่อของสมาธิ)
  5. ธมฺมววตฺถาเนน วิจิกิจฺฉาย ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งความสงสัย ด้วยธัมววัตถานญาณ ชื่อว่าศีล
    (ววตฺถาน = การตัดสินแบบเฉียบขาด)

อุบาย 2 / ปฏิปทา
  1. ญาเณน อวิชฺชาย ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งอวิชชา ด้วยญาณ ชื่อว่าศีล
    (ญาณ คือปัญญาอันเป็นเหตุให้ได้มรรค)
  2. ปามุชฺเชน อรติยา ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งอรติ ด้วยปราโมช ชื่อว่าศีล
    (อรติ คือความไม่ยินดีในฌาน)
ในเวลาเข้าวิปัสสนา จะเอาสังขารเป็นอารมณ์ คือเอารูป-นามเป็นอารมณ์ แต่ถ้ายังมองเป็นบัญญัติ หรือเป็นบุคคลอยู่ วิปัสสนาจะยังไม่เกิด
ปหายก - ผู้ละ (ฝ่ายกุศล)
ปหาตัพพะ - ผู้ถูกละ (ฝ่ายอกุศล) ส่วนมากจะมุ่งถึงมิจฉาทิฏฐิ
ลักษณะของความตรงข้ามเป็นอย่างนี้ (ปฏิปกฺข) คืออยู่ด้วยกันไม่ได้

มหาวิปัสสนาศีล 18 (ทำไมนับได้ 19 ล่ะ)
  1. อนิจฺจานุปสฺสนาย นิจฺจสญฺญฺาย ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งความเข้าใจผิดที่คิดว่าเป็นสิ่งที่เที่ยงแท้แน่นอน (เป็นมิจฉาสัญญา) ด้วยอนิจฺจานุปัสสนา (ปัญญาที่เห็นความไม่เที่ยงในเตภูมิกธรรม - ธรรมที่เป็นไปในภูมิ 3 คือไม่นับนิพพาน ไม่นับบัญญัติ) ชื่อว่าศีล
  2. ทุกฺขานุปสฺสนาย สุขสญฺญาย ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่ง ด้วย ชื่อว่าศีล การละ ซึ่งสุขสัญญา ด้วยทุกขานุปัสสนา ชื่อว่าศีล
  3. อนตฺตานุปสฺสนาย อตฺตสญฺญาย ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งอัตตสัญญา (ความเข้าใจผิดว่าเป็นสัตว์ตัวตนบุคคลเราเขา) ด้วยอนัตตสัญญา ชื่อว่าศีล
  4. นิพฺพิทานุปสฺสนาย นนฺทิยา ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งนันทิ (ราคะ = ตัณหา = โลภเจตสิก) ด้วยนิพพิทานุปัสสนา (ปัญญาที่มองเห็นความเบื่อหน่ายในสังขารท.) ชื่อว่าศีล
  5. วิราคานุปสฺสนาย ราคสฺส ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งราคะ ด้วยวิราคานุปัสสนา (ปัญญาเกิดขึ้นโดยอาการคลายความยึดมั่นถือมั่น ละความยินดีในสังขารท.) ชื่อว่าศีล
  6. นิโรธานุปสฺสนาย สมุทยสฺส ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งสมุทัย (ตัณหาที่เป็นเหตุเกิด, หรือแปลว่าการเกิดก็ได้) ด้วยนิโรธานุปัสสนา (การมองเห็นการดับแห่งสังขารท.) ชื่อว่าศีล
  7. มุญฺจิตุกามฺยตานุปสฺสนาย อมุญฺจิตุกามฺยสฺส ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่ง ด้วย ชื่อว่าศีล
  8. ปฏินิสฺสคฺคานุปสฺสนาย อาทานสฺส ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งการถือเอา ด้วยการพิจารณาการสลัดออกซึ่งสังขารท. ชื่อว่าศีล 
  9. ขยานุปสฺสนาย ฆนสณญฺาย ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งฆนสัญญา (การมองเห็นเป็นกลุ่มก้อน เป็นมือ เป็นแขน เป็นขา เป็นต้น) ด้วยญาณที่มองเห็นการสิ้นไป ชื่อว่าศีล
  10. วยานุปสฺสนาย อายูหนสฺส ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งการปรุงแต่ง, การสร้างขึ้น, การประกอบขึ้น ด้วยญาณพิจารณาความเสื่อมไป ชื่อว่าศีล
  11. วิปริณามานุปสฺสนาย ธุวสณญฺาย ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งธุวสัญญา ด้วยการมองเห็นความเปลี่ยนแปลงของสังขารท. ชื่อว่าศีล
  12. อนิมิตฺตานุปสฺสนาย นิมิตฺตสฺส ปหานํ สีลํ 
  13. อปฺปณิหิตานุปสฺสนาย ปณิธิยา ปหานํ สีลํ 
  14. สุญฺญตานุปสฺสนาย อภินิเวสสฺส ปหานํ สีลํ 
  15. อธิปณญฺาธมฺมวิปสฺสนาย สาราทานาภินิเวสสฺส ปหานํ สีลํ 
  16. ยถาภูตญาณทสฺสเนน สมฺโมหาภินิเวสสฺส ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งความใส่ใจอย่างงมงายลุ่มหลง หลงทาง
    (อภินิเวส = การทำไว้ในใจ = มนสิการ) ด้วยการเพ่งพินิจพิจารณาตามความเป็นจริง
    เป็นอนิจจานุปัสสนาญาณเป็นต้น ที่ภาวนาจนมั่นคงแล้ว มีพลังแล้ว
    (จริงๆ คำนี้ในที่อื่นอาจความหมายกว้าง เช่น รวมไปถึงสัพพัญญุตญาณด้วย ก็เรียกยถาภูตญาณทัสสนะ) ชื่อว่าศีล
  17. อาทีนวานุปสฺสนาย อาลยาภินิเวสสฺส ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งการใส่ใจด้วยอาลัย, ห่วงแหนสังขาร, เป็นห่วงเป็นใยในสังขารท. ทำอะไรก็กล้าๆ กลัวๆ ไม่ทุ่มเท ทิ้งไม่ได้ (องค์ธรรมคือ โลภะ) ด้วยการพิจารณาเพ่งดูให้รู้ถึงโทษ แต่ไม่ใช่การไปสร้างไปบิ้วด์ ผิวๆ เผินๆ ชื่อว่าศีล
  18. ปฏิสงฺขานุปสฺสนาย อปฺปฏิสงฺขาย ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งการไม่พิจารณา (อกุศลจิตตุปบาท (หรืออกุศลธรรมท.) ที่มีโมหะเป็นประธาน ซึ่งเป็นปฏิปักษ์กับการใช้ปัญญาพิจารณา) ด้วยการพิจารณาเนืองๆ (ถ้านานๆ ครั้งจะไม่มีพลัง) ชื่อว่าศีล
  19. วิวฏฏฺฏานุปสฺสนาย สํโยคาภินิเวสสฺส ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งการยึดมั่นในสังขารท.โดยความเป็นสิ่งที่ผูกพัน ด้วยอำนาจของสังโยชน์ (สังโยชน์ คือ ความอาลัย ความยึดติด) ด้วยปัญญาที่พิจารณาเห็นพระนิพพาน (วิปัสสนาไม่ได้เห็นนิพพาน แต่เรียกว่าเป็นการน้อมไปเนืองๆ) ชื่อว่าศีล (อะไรที่กลมๆ เรียกว่า วัฏฏะ, วฏฺฏโต วิคตํ วิวฏฺฏํ ภาวะที่ปราศจากวัฏฏะ เรียกว่า วิวัฏฏะ คือ นิพพาน)(ถ้ามองในแง่ญาณ 16 จะเป็นขั้น สังขารุเปกขาญาณ เพิกเฉยในสังขาร และ อนุโลมญาณ)
มรรคศีล 4
  1. โสตาปตฺติมคฺเคน ทิฏฺเฐกฏฺฐานํ กิเลสานํ ปหานํ สีลํ
    การละซึ่งทิฏฐิและกิเลสที่เป็นฐานเดียวกับทิฏฐิ
    (ทิฏฐิ + เอกฏฺฐ = กิเลสที่เป็นฐานเดียวกันกับทิฏฐิ
    (ฐานเดียวกัน คือ โดยความเป็นสหชาติ, หรือเป็นกิเลสที่ละด้วยญาณระดับเดียวกัน)
    ด้วยโสดาปัตติมรรค ชื่อว่าศีล
  2. สกทาคามิมคฺเคน โอฬาริกานํ กิเลสานํ ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งกิเลสที่หยาบ
    (คือ หยาบเมื่อเทียบกับกิเลสที่จะต้องละด้วยอนาคามีและอรหัตตมรรค,
    แต่จริงๆ กิเลสที่ละด้วยชั้นนี้ย่อมละเอียดกว่ากิเลสที่ละด้วยโสดาปัตติมรรค)
    ด้วยสกทาคามิมรรค ชื่อว่าศีล
  3. อนาคามิมคฺเคน อณุสหคตานํ กิเลสานํ ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งกิเลสอณู (อณุ แปลว่า ละเอียด,
    เปรียบเทียบด้วยกิเลสที่ละได้โดยโสดาปัตติมรรคและสกทาคามิมรรค)
    ด้วยอนาคามิมรรค ชื่อว่าศีล
  4. อรหตฺตมคฺเคน สพฺพกิเลสานํ ปหานํ สีลํ
    การละ ซึ่งกิเลสที่เหลือ (ไม่ได้ไปละกิเลสที่ชั้นต้นๆ ละมาแล้วซ้ำ)
    ด้วยอรหัตตมรรค ชื่อว่าศีล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น