ศัพท์เดิม ปฏิสงฺขาย
ย นี้มาจาก ตฺวา ปัจจัย ที่แปลว่า แล้ว
ท่านลบ ย เพื่อความสวดง่าย
ปฏิสงฺขา แปลว่า พิจารณาแล้ว (ปจฺจเวกฺขิตฺวา)
เหมือน
สยํ อภิญฺญาย
เหลือ สยํ อภิญฺญา แปลว่า รู้แจ้งแล้วด้วยตนเอง
โยนิโส คือ ด้วยอุบาย (อุปาเยน)
โยนิ ในที่นี้ ไม่ได้แปลว่า กำเนิด แต่แปลว่า อุบาย
อุปาย ในบาลี หมายถึง วิธีการที่ถูกต้อง (ไม่ได้แปลแนวฉ้อฉลแบบคำไทย)
แปลรวมๆ คือการคิดใคร่ครวญอย่างถูกต้องขณะเสพหรือใช้สอย
***
จีวร ในบทพิจารณา ไม่ได้หมายถึง ไตรจีวร
แต่หมายถึงผ้า 9 อย่าง ที่อนุญาตให้ใช้สอย
- อันตรวาสก = สบง
- อุตราสงค์ = จีวร (อุตราสงค์ คือที่คำไทยเรียกจีวร)
- สังฆาฎิ = ผ้าที่พาดบ่า จริงๆ คือผ้าสำรอง เผื่อหนาวค่อยห่ม
1-3 คือ ไตรจีวรที่เรียกกัน - อุทกสาฏิกา = ผ้าอาบน้ำฝน (บางทีเรียก = วสฺสาวาสิก)
- นิสีทนะ = ผ้าปูนั่ง
- วณปฏิฉาทน = ผ้าพันแผล
- มุขปุญฉน = ผ้าเช็ดปาก
- ปัจจัตถรนะ = ผ้าปูนอน
- ปริกฺขาลโจฬ = ผ้าใช้สอยอื่นๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น