(๑) ควบคุมรักษาสภาพจิตให้อยู่ในภาวะที่ต้องการ
โดยตรวจตรากระบวนการรับรู้และกระแสความคิด
เลือกรับสิ่งที่ต้องการ กันออกไปซึ่งสิ่งที่ไม่ต้องการ
ตรึงกระแสความคิดให้นิ่งเข้าที่ และทำให้จิตเป็นสมาธิได้ง่าย
(๒) ทำให้ร่างกายและจิตใจอยู่ในสภาพ เป็นตัวของตัวเอง
เพราะมีความโปร่งเบา ผ่อนคลาย เป็นสุขโดยสภาพของมันเอง
พร้อมที่จะเผชิญความเป็นไปต่างๆ และจัดการกับสิ่งทั้งหลายในโลกอย่างได้ผลดี
(๓) ในภาวะที่จิตเป็นสมาธิ
อาจใช้สติเหนี่ยวนำกระบวนการรับรู้ และกระแสความคิด
ทำขอบเขตการรับรู้และความคิดให้ขยายออกไป
ในมิติต่างๆ หรือให้เป็นไปต่างๆ ได้
(๔) โดยการยึดจับอารมณ์ที่เป็นวัตถุแห่งการพิจารณาวางไว้ต่อหน้า
จึงทำการพิจารณาสืบค้นด้วยปัญญา ดำเนินไปได้ชัดเจนเต็มที่
เท่ากับเป็นพื้นฐานการสร้างเสริมปัญญาให้เจริญบริบูรณ์
(๕) ชำระพฤติกรรมต่างๆ
ทั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ให้บริสุทธิ์
อิสระ ไม่เกลือกกลั้ว
หรือเป็นไปด้วยอำนาจตัณหาอุปาทาน
และร่วมกับสัมปชัญญะ
ทำให้พฤติกรรมเหล่านั้นเป็นไปด้วยปัญญา หรือบริสุทธิ์ล้วน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น