วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2567
จิตปล่อยจิต ไตรลักษณ์และอริยสัจ
วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2567
ประเด็นคนตื่นธรรมอีกมุมหนึ่ง
วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2567
7 ก.ย. 2567 / 2024 จิปาถะจากวัดญาณ
- พุทธธรรม คือ ทรงไว้ซึ่งความเป็นพุทธะ
พุทธะ คือ ตื่น รู้ และเบิกบาน - ให้ความสำคัญกับความตื่น รู้ ที่เบิกบาน หาใช่แค่
"อือ ก็รู้แหละว่าวันนึงเราต้องจากกัน" แล้วก็เฮ่อ...
จงเบิกบาน และยิ้มรับ (ฝึกถ้ายังไม่เป็นอย่างนั้น) - ปัญญาจะทำงานได้ดีในจิตที่ปราโมช
- นึกถึงความตาย มันเป็นโทสะ
ธรรมชาติของโทสะคือต้องปลดปล่อยออก ระบายออก
แต่ความตายนั้น ก็เข้าใจว่าสักวันต้องเป็นอย่างนั้น กระนั้นมันก็ยังมีโทสะ - โทสะที่หาทางระบายออกไม่ได้ เพราะไม่รู้จะไปโทษใคร ด้วยไม่มีใครให้โทษ
จึงแปลงเป็นโสกะ - เมื่อใดที่ถอนหายใจ "เฮ่อ" 1 ที ก็ให้สูดลมหายใจเอาความเบิกบานกลับเข้าไป 1 ทีด้วย
ไม่งั้นจิตมันจะจำแต่ความไม่พอใจเล็กๆ น้อยๆ สะสมเข้าเป็นความซึมเศร้า - การพิจารณาความตายนั้นทำไปม้วนเดียวจบไปเลย คือ
เราตายได้ทุกแบบ
เราตายได้ทุกที่
เราตายได้ทุกเมื่อ
ดังนั้นจะอยู่ยังไงให้ดีตอนที่ยังไม่ตาย - ความเมตตาตนเองก็คือนึกอยากให้ตนเองมีความสุขนั่นแหละ
- ขณะนั่งดูสภาวะ ก็รู้สึกว่า กายปัสสัทธิ กับจิตตปัสสัทธิ ไม่ต้องมาด้วยกันก็ได้นี่กว่า
ความรู้มันรุู้ความมึนและง่วงอยู่เฉยๆ ของมันอยู่อย่างงั้น - สังเกตว่าเวลาฟังธรรม ราวกับจิตมันค่อยๆ defragment ตัวเองให้เป็นระเบียบ ช่างเป็นเวลาที่เยียวยา
- วันนี้หันไปหาพระพุทธเจ้า เพื่อฟังธรรม ท่านบอกว่าอย่าเสียเวลาเลย
วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2567
15 - 19 ส.ค.2567 / 2024
14 ส.ค.67 มีเหตุการ feedback
ซึ่งก็ตลก เหมือนจะเครียดแบบไม่มีสาเหตุชัดเจนมาตั้งแต่ก่อนหน้า
ซึ่งในตอนนั้น เป็นเครียดเรื่องจะทำยังไงไม่ให้อีกฝ่าย broken
ใน เหตุการณ์ทุกอย่างปกติ หลังเหตุการณ์วันเดียวกัน ทุกอย่างปกติ
15 ส.ค.67
มีการรับรู้เรื่องการ abuse ส่วนหนึ่งจากภาค
และมีการรับรู้ซ้อนเข้าไปเรื่อง อ้าว เธอไม่รู้เหรอว่ามันเป็นแบบนี้
และมีการอธิบายถึง ปกติต่อให้รู้ก็ไม่พูดเพราะมันไม่เกี่ยวกับเรา
หลังจากนั้นอะไรบางอย่างก็กระแทกให้น้ำตาไหล และรู้สึกจะคลื่นไส้จะอ้วกแบบเป็น reflex
ทำนองว่าสังคมที่อยู่นี้สกปรกเหลือเกิน เราจะต้องอยู่ที่นี่หรือ
ดูมันสยดสยองบางอย่างแต่ไม่รู้อะไร
หลังจากนั้นก็อยู่ใน Dark mode มาจน function ไม่ได้
พบมีความ avoidance อะไรสักอย่าง แต่ไม่ชัดเจนว่าอะไร
พอแยกเวทนาออกจากสังขาร ก็เหมือนทำให้มันเบลอๆ ไป
เอาจริงคือมันไม่เข้าใจอะไรเลย ดูเป็นทุกข์ที่งงๆ ที่สุดละ
มีคำนึงที่เข้ามาคือ invisible hand
เหตุการณ์ที่เกิดไม่ได้มีปัจจัยจากเหตหนึ่งเหตุใด
แต่มันคือ momentum ที่ผลักดันกันไปอย่างละนิดๆๆ จนสู่แดนประหาร
มันดูกลัวกับ position หรือ situation ที่อยู่
และถ้ายังอยู่ต่อไป มันจะเข้าสู่วงจรนี้แน่ๆ ไม่ว่าจะป้องกันยังไงก็ตาม
ในความรู้สึกคือ คุณไม่มีทางต่อต้าน momentum นั้นได้
มัน echo ผนวกกับเสียงเตือนตั้งแต่เด็กที่ว่า ชาตินี้อย่ายุ่งกับความเป็นที่ 1 เด็ดขาด
แต่ไม่เคยรู้ว่าทำไม แต่เดิมเข้าใจเอาโดยตรรกะว่า
เมื่ออยู่ใน position แล้ว ต่อให้เรื่องที่ไม่อยากทำ ก็จำเป็นต้องทำ
มันมาในนามของ "หน้าที่ที่พึงทำ"
ส่วนหนึ่งก็มีความคิดเข้าข้างตัวเองว่า "มันจัดเหตุได้"
"ก็เห็นเหตุอยู่ทุกอย่าง เราไม่จำเป็นต้องเจออย่างนั้น"
"Be small and do your jobs, that thing couldn't reach you"
แต่มันอาจเป็นความช็อคที่ว่า ที่หลบนั้นไม่มี
และมันมาเยือนเธอแล้วแม้ว่าจะป้องกันดีขนาดไหนก็ตาม
ถูกความรับรู้นี้ strike จน down
การแสดงออกเหมือนกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง
หลบสิ่งที่ไม่อยากเจอ
รู้สึกเหมือนไม่มีที่พึ่ง
เหมือนปลาถูกทุบหัว ไม่มีแรงชีวิต
ช่วงนี้แม้จะรับรู้ได้ว่ารอบข้างดู nice มาก
แต่กลับไม่อยากเจอ และไม่อยากยุ่ง
เป็นความรู้สึกขัดแย้ง ภาพที่เห็นเป็นของปลอม
ใจที่ไม่มีกำลังเลยแยกแยะอะไรได้ไม่ชัดเจน
ถ้าปล่อยให้ลืมไปงงๆ แบบนี้ สักวันจะซ้ำรอย
วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
เวลาที่จิตจะล้างกิเลส
เวลาที่จิตมันจะล้างกิเลส มันจะมีกระบวนการของมัน
ถ้าจิตของเราทรงสมาธิจริงๆ
เราจะเห็นเป็น ช็อต..ช็อต..ช็อต..ช็อตนะ
อย่างสมมติเราเปียกฝนนะ แล้วเราก็กังวลใจ
ว่าเอ๊ เดี๋ยวต้องเป็นหวัดแน่เลย
พอกังวลใจเนี่ย จิตที่เคยฝึกเจริญสติมาชำนาญ
พอเกิดความกังวลขึ้น สติระลึกรู้ทันทีเลย
ความกังวลดับปั๊บลงไป
พอความกังวลดับปั๊บลง ขณะนั้นเนี่ย ศีล สมาธิ ปัญญาของเราแก่รอบพอแล้ว
จิตมันจะวางการรับรู้อารมณ์ภายนอก
มันจะทวนกระแสเข้ามาภายใน
จิตมันจะเข้าฌาน
เข้าอัปปนาสมาธิ เข้าเอง
ชาตินี้ไม่เคยเข้าฌานก็ไม่เป็นไร
เจริญสติไปเถอะ ถึงจุดที่จะแตกหัก จิตเข้าฌานทุกคน
จะเข้าเอง อัตโนมัติ
พอจิตรวมเข้ามาแล้วเนี่ย
จิตผู้รู้จะตั้งมั่นอยู่นะ แล้วมันก็จะเห็นสภาวะธรรมเกิด-ดับ 2-3 ขณะ
บางคนเกิด 2 ครั้ง บางคนเกิด 3 ครั้ง
ถ้าพวกที่ปัญญากล้านี่เกิด 2 ที
ไหววับดับ วับดับ
ถามว่ารู้ไหมว่าอะไรเกิดอะไรดับ
(ตอบว่า) ไม่รู้ว่าอะไรเกิดอะไรดับ
เห็นแค่สิ่งบางสิ่งเกิด และสิ่งนั้นก็ดับ
เหมือนที่พระโกณฑัญญะท่านเห็น
ยํ กิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธ ธมฺมนฺติ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น สิ่งนั้นทั้งหมดดับเป็นธรรมดา
ทำไมใช้คำว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่ง?
Something เพราะไม่รู้ว่าคืออะไร
เพราะไม่ได้ไปหมายรู้ ไม่ได้ไปคิดนึกปรุงแต่งว่าสภาวะนี้คืออะไร
มันจะผุดขึ้นมาแล้วก็ดับ ผุดขึ้นมาแล้วก็ดับ 2-3 ครั้ง
แต่ละคนแตกต่างกัน
ถ้าเป็นพวกปัญญินทรีย์กล้า จะเห็น 2 ที
ถ้าเรียนยังไม่เก่ง 3 ที ถึงจะเข้าใจ
พอเห็นสภาวะเกิดดับ 3 หน จิตจะวางการรู้สภาวะ
แล้วทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้
เข้ามาที่ผู้รู้ ทวนเข้ามาที่จิตผู้รู้
ตรงที่ทวนนี้ชั่วขณะเดียว
พอเข้ามาถึงตรงจิตผู้รู้แล้ว
มันจะแหวกตัวนี้ออก
อาสวะจะถูกอริยมรรคแหวกออก
ชั่วขณะจิตเดียว แล้วจิตจะสัมผัสพระนิพพาน 2-3 ขณะ
แล้วแต่แต่ละคนไม่เท่ากัน
ถ้าพวกปัญญินทรียแก่กล้าจะเห็นเป็น 3 ขณะ
ว่าง -- สว่าง -- เบิกบาน
ถ้าไม่แก่กล้า จะเห็น ว่าง -- แล้วก็สว่าง เฉยๆ
แต่กิเลสขาดไปละ
แจกแจงสภาวะได้ไม่ชัด ไม่ละเอียดเฉยๆ
เหมือนคนตกต้นไม้แล้วนับไม่ทันว่าผ่านกิ่งไม้มากี่กิ่ง
หล่นตุ้บถึงพื้นเลย
แต่พวกที่สติปัญญาแรงนี่
(รู้เลย) ตกลงมาผ่านกิ่งไม้มากี่กิ่ง
ไม่จำเป็นนะ จิตมันเป็นไปเอง
กี่กิ่งก็ช่างมันเถอะ
ให้มันพ้นก็แล้วกัน
พอมันแหวกออกมันก็ว่าง สว่างนะ
ก็รู้เลยว่า "โอ้ ไม่มีตัวเรานะ"
ไม่มีตัวเรา ไม่มีของเรา
ก็ภาวนาไปเรื่อยๆ นะ
ปัญญามันก็จะแก่รอบมากขึ้นๆ
วิธีภาวนาถัดจากนี้ก็ทำเหมือนเดิม
มีสติรู้กายรู้ใจ ตามความเป็นจริงด้วยจิตที่ตั้งมั่นและเป็นกลาง
ถ้าเหนื่อยหมดแรง กลับมาทำความสงบ
มีกำลังแล้วขึ้นไปเดินปัญญาต่อ
แบบเนี้ยทำไปเรื่อยๆ
แล้วความรู้ถูก ความเข้าใจถูก็จะมากขึ้นๆ
ทีแรกหลงยาวแล้วถึงจะรู้
ต่อไปเนี่ย พอผ่านกระบวนการครั้งที่ 2 ไปแล้วเนี่ย
หลงปั๊บรู้ปั๊บๆ เลย เร็ว
เพราะฉะนั้นกิเลสมันจะเบาบาง
เพราะอะไร? เพราะสติมันเร็ว
สติเกิดปุ๊บกิเลสดับปั๊บเลย
มันจะเร็วขึ้นๆๆๆๆ
แล้วสุดท้าย ปัญญามันจะเรียนรู้บีบวง
จากความปรุงแต่งทั้งหลาย มันบีบวงเข้ามาที่ร่างกาย
แล้วมันก็รู้แจ้งแทงตลอดนะ
ร่างกายนี้คือตัวทุกข์ !
ไม่ใช่ทุกข์บ้างสุขบ้างอีกต่อไปแล้ว
พอรู้ว่าร่างกายเป็นตัวทุกข์
มันก็ปล่อยวางกาย
ถ้าปล่อยวางกายได้
เขาเรียกพระอนาคามี
พระอนาคามีนี่จิตไม่ติดในกามแล้ว
ไม่ติดในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัสแล้ว
ทำไมไม่ติด?
เพราะเห็นแล้วมันทุกข์
เมื่อเห็นตาเป็นทุกข์ รูป(ก็)ไม่มีความหมาย
เมื่อเห็นหูเป็นทุกข์ เสียงก็ไม่มีความหมายแล้ว
ไอ้ตัวที่สัมผัสนี่มันทุกข์ซะแล้วนะ
ไอ้ของข้างนอก ไม่มีความหมายอะไร
พอจิตมันไม่ได้ยินดีใน ตา หู จมูก ลิ้น กาย
มันก็ไม่ได้ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
แล้วมันก็ไม่ยินร้ายในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
กามและปฏิฆะ ขาดตรงนี้ !
ตรงที่มันรู้แจ้งเห็นจริงว่า กายนี้คือก้อนทุกข์แท้ๆ เลย
แล้วการภาวนาถัดจากนั้นมันจะบีบวงเข้ามาที่จิตล้วนๆ เลย
มาแตกหักกันตรงที่จิตนี้แหละ
เห็นจิตเป็นตัวทุกข์ล้วนๆ
จะเห็นได้ 3 แบบนะ
บางท่านท่านเห็นอนิจจัง
ครูบาอาจารย์บางองค์ท่านเห็นจิตนี้เป็นตัวทุกขัง
บางท่านท่านเห็นเป็นอนัตตา
49.21-55.11
...
ถ้าเราเห็นร่างกายที่หายใจออกไม่ใช่เรา
ร่างกายที่หายใจเข้าไม่ใช่เรา
ร่างกายทั้งหมดจะไม่ใช่เรา
ถ้าเราเห็นว่าร่างกายที่ยืน เดิน นั่ง นอน ไม่ใช่เรา
ร่างกายทั้งหมดก็ไม่ใช่เรา
...
ธัมมานุปัสสนาจะรู้ธรรม
อะไรเป็นธรรม?
สิ่งใดเกิดจากเหตุ ถ้าเหตุดับธรรมนั้นก็ดับ
ในธัมมานุปัสสนานั้นจะมีทั้งสิ่งที่ชั่วคือนิวรณ์
เราก็เรียนจนเห็นเหตุของนิวรณ์
ถ้าเหตุของนิวรณ์ดับ นิวรณ์ก็ดับ
ไม่มีใครดับนิวรณ์ แต่เหตุของมันดับ ตัวมันดับ
เราเรียนเรื่องโพชฌงค์ อันนี้เป็นตัวกุศล
สุ่มตัวอย่างฝ่ายกุศลคือตัวโพชฌงค์มาเรียน
หรือเรื่อง ขันธ์ ธาตุ อายตนะ เป็นการสุ่มตัวอย่างมาเรียน
นี้เรียกว่า ธรรมในธรรม
เรียนเพื่อให้เห็น รู้เหตุ รู้ผล
แต่ถ้าเรียนกายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา
ก็เรียนให้เห็นมันเป็นไตรลักษณ์เฉยๆ
พอมันแก่รอบขึ้นมาจิตมันจะก้าวขึ้นมาสู่ธัมมานุปัสสนาทุกคน
แล้วสุดท้ายมันจะแตกหักตรงที่สัจจบรรพทุกคน
พระอรหันต์ทุกคนผ่านสัจจบรรพ
ฉะนั้นอยู่ในสติปัฏฐานนั่นเอง
หลักสติปัฏฐานข้อที่ 1
มีหลักให้จิตอยู่ มีบ้านให้จิตอยู่ เมื่อจิตหนีออกไปจากบ้านจะได้รู้ทัน
ข้อที่ 2 มีความเพียรแผดเผากิเลส
ไม่ได้ภาวนาเพื่อสนองกิเลส
ไม่ได้ภาวนาเพื่ออยากเป็นพระอรหันต์
ภาวนาเพราะอยากเป็นพระอรหันต์เรียกว่าสนองกิเลส ไม่ได้แผดเผากิเลสแล้ว
ภาวนาเพราะอยากรู้ อยากเห็น อยากเป็น อยากได้ อยากดี ไม่ใช่ !
ภาวนาเพื่อจะลดละกิเลส นั่นเรียก อาตาปี
วิธีที่จะลดละกิเลสได้ คือมีสัมปชาโน
มีความรู้เนื้อรู้ตัวอยู่ ตรงที่รู้เนื้อรู้ตัวนี้ จิตต้องตั้งมั่นนะ
ถ้าจิตไม่ตั่งมั่นมันก็ลืมเนื้อลืมตัว
ทีนี้พอรู้เนื้อรู้ตัวแล้ว
พอสติระลึกรู้รูปธรรม นามธรรมใดๆ
ก็จะเห็นไตรลักษณ์
ระลึกรู้กาย ก็เห็นไตรลักษณ์
ระลึกรู้เวทนา ก็เห็นไตรลักษณ์
ระลึกรู้จิต ระลึกรู้ธรรม ก็เห็นไตรลักษณ์ทั้งหมด
พอระลึก..ระลึก..ระลึก..ไป
จิตมันรู้นะ อย่างมันเห็นกุศลเกิด
หรือบางทีก็อกุศลเกิด
พอกุศลเกิดนะ เราพอใจ
อกุศลเกิด เราไม่พอใจ
หรือพอความสุขเกิด เราพอใจ
ความทุกข์เกิด เราไม่พอใจ
เนี่ย มันจะมี พอใจ - ไม่พอใจอยู่
ให้เรารู้ทันลงไปอีกชั้นหนึ่ง
ทีแรกเรารู้สภาวะที่กำลังมีกำลังเป็น
แล้วถ้าจิตมันยินดีพอใจ หรือยินร้ายไม่พอใจ ให้รู้ตรงนี้ด้วย
ฉะนั้นในสติปัฏฐานบอกว่า
วิเนยยะ อภิชฌา โทมนัสสัง ถอนความยินดียินร้ายในโลกเสีย
ฉะนั้น เวลาภาวนา จิตยินดีให้รู้ทัน จิตยินร้ายให้รู้ทัน แล้วมันจะเป็นกลาง
อันนี้ยังเป็นกลางด้วยสตินะ
แล้วต่อไปพอปัญญาเกิดมันเห็น
สุขกับทุกข์เท่ากัน เกิดแล้วดับเหมือนกัน
ดีกับชั่วก็เท่ากัน เกิดแล้วดับเหมือนกัน
นี่จิตจะเข้าสู่ความเป็นกลางด้วยปัญญา
ตรงที่จิตเป็นกลางด้วยปัญญาตรงนี้เรียกว่า
จิตเข้ามาถึงสังขารุเปกขาญาณ
ญาณคือปัญญา ปัญญาจนกระทั่งเป็นอุเบกขาต่อความปรุงแต่ง ทั้งหลายทั้งปวง
สังขารุเปกขาญาณนี้เป็นประตูของการบรรลุอริยมรรค อริยผล
บางคนปรารถนาพุทธภุมิ จิตมาหยุดอยู่ตรงนี้ ไม่ไปไหนต่อ
คนส่วนใหญ่มาถึงตรงนี้ไม่นานก็เสื่อม
ทำขึ้นไปอีกจนกระทั่งเป็นกลาง ก็ยังเสื่อมได้อีกนะ ขึ้นๆ ลงๆ
จนกระทั่งมันแข็งแรงพอ
ศีล สมาธิ ปัญญาแก่กล้าพอ
มันจะก้าวข้ามจากจุดที่สังขารุเปกขาญาณ เกิดอริยมรรค-อริยผลขึ้น
เส้นทางนี้มีจริง
คำสอนของพระพุทธเจ้ามีจริง
ดังนั้นพระพุทธเจ้ามีจริง
อยู่ที่พวกเราเอาจริงไหม
****
การพยากรณ์ เป็นเอกสิทธิ์ของพระพุทธเจ้า
และผู้ภาวนาที่จะรู้ได้ด้วยตนเอง
***
ชาติ จิตไปตะครุบเขาตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ขึ้นมา
***
จิตยิ้ม
ยิ้มเยาะกิเลส เจ้าครอบงำเราไม่ได้อีกแล้ว
***
จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง จึงปล่อยวางจิต
คือเห็นจิตโดยความเป็นไตรลักษณ์
เมื่อปล่อยวางจิตก็ไม่มีอะไรให้ยึดถืออีกต่อไป
จิตนั้นแหละคือตัวทุกข์
ทุกข์ตัวสุดท้ายที่จะเห็นอย่างแจ่มแจ้งคือจิต
ทำลายผู้รู้ คือไม่ยึดถือผู้รู้
วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
17 ก.ค.2567 /2024
อีก landmark
เฝ้าดูมา 8 ปี ด้วยความสบายใจ
วันนี้แสดงตัวให้เห็นแล้ว เจตนา ปานาติบาต
แม้เป็นในฝัน แต่เจตนาไปจนถึงกายกรรม ชัดเจน
ฝันเสร็จ มีความไม่เอา ในช่วงแรก หมายถึง เหมือนเป็นเรื่องคนอื่นทำ
แต่พอทบทวน มีการคว้าเป็นของเรามากขึ้นเรื่อยๆ และติดเป็นมลทินของจิต
ไม่เยอะ แต่ติด
มีความพยายามวนซ้ำว่า เอ๊ะ หรือว่า มันมีได้เกิดได้ แต่แค่ไม่เอา
มันเป็นเพราะบังเอิญไปดูภาพยุงดูดเลือดแล้วถูกตบ จนเก็บไปฝัน
และก็มีฝ่ายค้านบอกว่า นี่มันเริ่มเพี้ยน เห็นหรือเปล่า เชื่อตัวมากกว่าเชื่อพระพุทธเจ้า
"อบายยังเป็นที่หมายที่เป็นไปได้"
ขอบคุณที่ชี้แนะ
วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2567
ว่าด้วยชุมนุมเทวดา
วันเสาร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
ปัสสัทธิ
การนั่งเฉยๆ แล้วกายสงบใจสงบ นี้เป็นผลจากศีลที่ทำมาดี ตรงนี้ยังไม่จัดเป็นสมาธิ หรือสมถะแต่อย่างใด เป็นเพียงผลเท่านั้น
พอได้ความสงบตรงนี้แล้ว อาจจะเจริญสมาธิต่อ อันนี้คือต้องศึกษากรรมฐานมาก่อน แล้วก็พาใจไปเจริญกรรมฐานที่ว่าเพื่อให้สมาธิเจริญต่อไป แล้วเมื่อได้สมาธืแล้ว ก็ไปเจริญปัญญาต่อ
ไม่งั้นสบายไปสมบายมา ทางที่ไปได้ถ้าไม่ทำงาน ก็คือหลับ
หรืออีกอย่างคือเอาใจไปพิจารณาทางปัญญาเลย เป็นวิปัสสนา
สรุปคือ สบายแล้วให้ทำงาน ถ้าไม่มีงานมันจะหลับ
เทศน์พอจ.สมบัติ อภืภายตนะ8
เรื่องพรหมลูกฟัก
เรื่องพรหมลูกฟัก
ได้ยินว่าฌาน 4 นั้นมี 2 แบบ แบบแรกสติยังอยู่ อย่างที่ 2 คือดับจิตลงไป
เป็นการที่ไปเจริญกรรมฐานที่บีบคั้นจิตมากๆ จนจิตหนีทุกข์ ดับตัวลงไป จึงไม่ได้เป็นเหตุแห่งการพ้นหรือมีปัญญาแต่อย่างใด
ลพ.ปราโมทย์ เทศน์วันที่ 26 พ.ค.67
วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
8-9/5/2024 - 2567
8/5
วิรตี เป็นองค์มรรคที่ต่างจากอันอื่นคือ แค่ละเว้น ไม่ต้องทำ ก็เต็มได้
เมื่อได้ฟังประโยคนี้สิ่งที่เกิดขึ้นคือ
เข้าใจวิถีแห่งสมาธิมากขึ้น เพราะเกิดความยั้งอมรรคขึ้นตั้งแต่ในใจ
ถ้าคอยเลี้ยงจิตไม่ให้หล่นไปในวิถีแห่งนิวรณ์
ความมั่นคง ไม่หวั่นไหวก็ค่อยๆ งอกงามขึ้น
ก็เหมือนจะเข้าใจว่าทำไมศีลเป็นฐานของสมาธิขึ้นมาอีกนิดนึง
----
9/5
เมื่อเช้าตอนอาบน้ำ
คิดขึ้นมาว่า แค่การเห็นประโยชน์มันยังไม่ยอมเดินจิตให้เข้าสู่ร่องที่ควร
แต่ต้องคิดเกมให้มันทำ เช่น เกมวิรตีนี่แหละ ให้มันฝึกเหมือนทำ quest ผ่านด่าน
คือ มันยอมเดิน เพราะมันสนุก
เหตุแห่งฉันทะประเภทที่รู้ความจริง เห็นประโยชน์ เข้าใจโทษ ยังไม่พอสำหรับจิตดื้อๆ นี่
เพื่อเวทนาตามเคย
วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
หอฟังฝน - นายช่างผู้สร้างเรือน
อเนกชาติสํสารํ สนฺธาวิสฺสํ อนิพฺพิสํ
คหการํ คเวสนฺโต ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ
คหการก ทิฏฺโฐสิ ปุน เคหํ น กาหสิ
สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคา คหกูฏํ วิสงฺขตํ
วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา ฯ
(ขุทฺทกปาเฐ ธมฺมปท)
........................
เหนื่อยนับ เกิดตาย หลายล้า เทียวหา ไม่พบ หลบกาย
ตามตัว ช่างสร้าง เรือนราก เวียนเกิด ซ้ำซาก ทุกข์หน่าย
ช่างเอ๋ย เจอแล้ว เจอนาย อย่าหมาย สร้างเรือน อีกครั้ง
โครงเรือน นายราบ หักเหี้ยน ยอดเรือน รื้อเตียน ทั้งหลัง
ใจหมด รสปรุง มุงบัง ถึงฝั่ง สิ้นกัน ตัณหา ฯ
Credit หอฟังฝน
วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2567
สมาธิในทางพุทธศาสนา
สมาธิในทางพุทธศาสนา ยิ่งสูง ยิ่งต้องประกอบองค์เข้ามาให้มากขึ้น
เมื่อละวิตกวิจาร ต้องประกอบความผ่องใสแห่งใจในภายในขึ้น
เพื่อให้จิตมีทิศทาง ไม่งั้นจะจมปีติ สุข
ความผ่องใสแห่งใจในภายใน นั่นคือศรัทธาในปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
เมื่อปีติสิ้นไป เหลือสุข จะแช่นิ่งเฉย
สติและสัมปชัญญะในขั้นตอนนี้จึงสำคัญ (เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข)
วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2567
นานามานะ
- มานะ ความสำคัญตน ยกตน เชิดชูตน ให้เป็นที่รู้จัก มีลักษณะเชิงเปรียบเทียบเราเขา มีลักษณะว่ามีเราอยู่ในรูป มีเราอยู่ในเวทนา มีเราอยู่ในสัญญา มีเราอยู่ในสังขาร มีเราอยู่ในวิญญาณ แต่เป็นการมีเราในลักษณะที่มีความสำคัญแบบมานะ ก็คือมีเราสำคัญกว่าคนอื่น คำว่ามีเราสำคัญกว่าคนอื่นนี้อาจจะอาศัยรูปก็ได้ เช่น เราแข็งแรงกว่าผู้อื่น (แต่ถ้าทิฏฐินี่จะไม่มีการไปเปรียบเทียบอะไรกับใคร มีเราเป็นก้อน เป็นแท่ง เป็นศูนย์กลางของทุกอย่าง ของทุกเรื่อง) หรือสำคัญเอาสังขาร เช่น เรามีสติปัญญาดีกว่าคนอื่น สำคัญตน อยากให้ตนเป็นคนสำคัญ อยากให้ตนเป็นที่รู้จัก มีตนเทียบกับคนอื่นโดยอาศัย รูปร่างหน้าตา ชาติกำเนิด วิทยฐานะ ภูมิความรู้ ฯลฯ เราหน้าตาดีกว่าเขา เราเป็นคนไทยเสมอกัน ลูกเธอจบนอกเหมือนลูกฉันเลย
- มานะ 3
- เราสูงกว่าเขา
- เราเสมอเขา
- เราด้อยกว่าเขา
- มานะ 9 : เอามานะ 3 ไปสำคัญอีกต่อนึง (เป็นสำคัญแบบ ถูก 1 ผิด 2)
- เราสูงกว่าเขา →สำคัญตนว่าสูงกว่า เท่ากัน ด้อยกว่า
- เราเสมอเขา → สำคัญตนว่าสูงกว่า เท่ากัน ด้อยกว่า
- เราด้อยกว่าเขา → สำคัญตนว่าสูงกว่า เท่ากัน ด้อยกว่า
- สำหรับอันที่สำคัญแบบผิดนี้ โสดาปัตติมรรคจะละได้
- ส่วนอันที่สำคัญแบบถูก อรหัตมรรคจึงจะละได้
- มานะ สำคัญตนด้วยอะไร ละได้ด้วยมรรคนั้นๆ
- สำคัญแบบไม่ตรงกับความเป็นจริง
→ ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค
จะแยกทิฏฐิกับมานะออกชัดก็ต่อเมื่อเป็นโสดาบัน ก่อนหน้านั้นมันจะเหมือนปนๆ กัน แต่จริงๆ ทิฏฐิกับมานะไม่ได้เกิดด้วยกัน แยกกันเกิดตลอด - สำคัญตนด้วยกาม เช่น รูปร่างกาย ทรวดทรง ฉันตาดีกว่าเธอ ฉันมีเงินมากกว่า
→ เบาบางด้วยสกทาคามิมรรค และละได้ด้วยอนาคามิมรรค - สำคัญตนด้วยคุณธรรม
→ ละได้ด้วยอรหัตมรรค - มานะอื่นๆ
- อติมานะ - ความดูหมิ่นชาวบ้าน (สำคัญตัวเกินไปจนดูหมิ่นชาวบ้าน)
ฉันอายุมากกว่าแกยังแข็งแรงกว่าแก - มานาติมานะ - มานะที่สำคัญว่าเราเสมอเขาในตอนต้นและดูหมิ่นเขาในตอนปลาย
- ตอนที่ไม่ค่อยรู้จักกันก็จะเหมือนคนทั่วไป คือเรากะเขาเสมอกัน พอรู้จักกันนานๆ มักจะคิดว่าเราดีกว่าชาวบ้าน
- โอมานะ - ดูหมิ่นตัวเอง แบบนางเอ๊กนางเอก ฉันมันด้อยเธอดีนะเรียนแป๊บเดียวก็เข้าใจ, เธอยังโชคดีนะทำนิดเดียวได้ตั้งเยอะ ฉันทำแทบตายได้ 350
- อธิมานะ - สำคัญตนว่าได้บรรลุชั้นใดชั้นหนึ่ง การสำคัญตนว่าได้บรรลุนี้จะมีกับคนที่ศีลดี ปฏิบัติขยันหมั่นเพียร
- ถ้าได้สมาธิ หรือวิปัสสนา อย่างใดอย่างเดียว อาจจะสำคัญตนว่าได้บรรลุเป็นโสดาบัน สกทาคามี อนาคามี ชั้นใดชั้นหนึ่ง (ไม่สำคัญว่าบรรลุอรหันต)
- ถ้ามีแค่สมาธิ ก็จะสงสัยเรื่องนั้นเรื่องนี้อยู่ แต่ไม่มีราคะไม่มีโทสะ ก็อาจจะสงสัยว่าตนเป็นอนาคามี
- ถ้ามีแต่วิปัสสนา ก็จะยังมีกิเลสนั่นนี่แทรกมาเรื่อย จะไม่นึกว่าตนเป็นอรหันต์
- ถ้าได้ทั้งสมาธิและวิปัสสนา เก่งทั้งสองทาง เมื่อเกิดมานะมักจะสำคัญว่าได้บรรลุอรหันต์ กิเลสไม่มี แถมไม่สงสัย เข้าใจทุกสิ่ง
- อัสมิมานะ - สำคัญว่ามีเรา (อัสมิ = มีเรา)
- มิจฉามานะ - สำคัญตัวจากสิ่งที่ผิด ตัวเองน่ะผิดเลวกว่าเขา แต่เอาสิ่งเลวๆ นี้มายกตนข่มคนอื่น เป็นมานะที่อาศัยสิ่งไม่ดีมาเป็นมานะ ฉันด่าคนได้เจ็บมาก เธอสู้ฉันไม่ได้ เช่น คนมีมิจฉาทิฏฐิชอบมีพิธีรีตอง ฉันผ่านพิธีมาแล้ว. อาศัยการงานในเรื่องฆ่าสัตว์ ฉันฆ่าสัตว์เก่งกว่าเธอหลายเท่า เธอไม่เห็นจะได้เรื่อง ฉันโกหกเก่งจนคนอื่นจับไม่ได้ ฉันด่าคนได้แสบมากจนไม่มีใครกล้าต่อกรกะฉัน
- ตัวอย่าง เอาวิญญาณมาเป็นมานะ เช่น ฉันไปเมืองจีนแล้วฉันได้ดูแพนด้าแกไม่ได้ดู เรามีวิญญาณแล้วเอาวิญญามาเทียบแล้วดีกว่าชาวบ้าน
วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2567
ว่าด้วยหลักสูตร
วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2567
17-20 มี.ค. 2567 / 2024 - The empire strikes back
ข้อสังเกตจากการเกิดผัสสะการรับรู้ที่ไม่โสภาขึ้น
การรับรู้แบ่งเป็นหลายช่วง
1st contact คือ ก็เฉยๆ เป็นการรับรู้เรื่องราวปกติ ไม่มีเสียดาย ไม่มีไม่น่าเลย สะท้อนความน่ากลัวของสังสารวัฏ ไม่ได้อยากรู้อะไรมากขึ้นกว่านี้ จิตเฉย
2nd impression กายนครมีความเคลื่อนไหว ราวกับแต่ละเซลล์มีความคิดเล็กๆ น้อยๆ ของตนเอง ไม่สนใจ แต่พบว่าสังขารก็ปรุงแต่งไปตามธรรมชาติ ด้วยความที่เป็นเรื่องที่ไม่เจอ จึงเกิดการวิจัย-วิจาร เกิดการทบทวนเรื่องราว มองหาความไม่ uniformity ของข้อเท็จจริง มองหาโอกาสเข้าใจคลาดเคลื่อน หรือสิ่งที่อาจจะเป็น exaggeration ทบทวนสิ่งที่ต้องจัดการหรือไม่ต้องจัดการเมื่อรับทราบเรื่องราวดังกล่าว จะมีความลังเล ความชั่งน้ำหนัก ว่าอะไรควร / ไม่ควร
3rd impression เมื่อชัดว่าต้องสื่อสารต่อ ก็สื่อสารต่อไป เลือกคน เลือกระดับการสื่อสาร
4th impression รับรู้ข้อมูลเพิ่มเติมที่เป็นหลักฐานที่น่าสังเวชใจ
5th impact รับทราบข้อมูลจากอีกฝั่งที่ claim ว่า มันไม่ได้อะไรอย่างนั้น ซึ่งขัดแย้งกับ purposely prepare solid evidence สิ่งที่รับรู้ขณะรับฟังคือ ความขนลุกและน่ากลัว สัมผัสได้ถึงความพยายาม discredit กันไปมา 2 ฝ่าย กายนครปั่นป่วนจากภายนอกเข้าสู่ภายใน ราวเป็นกระแสน้ำวนเล็กๆ ที่มุ่งเข้าสู่จิตตนครในใจกลาง และนำมาสู่การตอบสนองเพื่อป้องกันนครทั้งหมดคือ Desensitization
6th Response เลิกสนใจ เมื่อเกิดความกลัวทั้งคู่และจิตตัดสินใจที่จะเลิกยุ่งกับวงจรกรรมทั้ง 2 คน มันทำการ Disintegrate ข้อมูล และ Desensitize ตนเองอัตโนมัติ คือ วางการรับรู้ข้อมูลทั้งหมด ไม่สนใจว่าสิ่งที่ได้รับมา และสิ่งที่มีโอกาสจะได้รับต่อไปจะเป็น fact / fiction ถือเป็นเพียงแค่ Data ที่ทำให้เกิดความรู้สึกเท่านั้น กระจายทุกอย่างลงเป็นผัสสะ แค่ผัสสะและเวทนา มีการตัดสินใจที่ไม่รับรู้ข้อมูลใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้อีกต่อไป มีการตัดสินใจที่จะไม่เกี่ยวข้องกับตัวละครที่เกี่ยวข้องอีกต่อไปในทุกฝ่าย มีความคิด back and forth ว่าควรจะติดตามข้อเท็จจริงบางประเด็นเพิ่มเติมที่ sounds unlikely และน่าจะ find out ได้ไม่ยาก แต่จิตก็ desensitize และเห็นว่าไม่จำเป็นอีกต่อไป
ผลติดตามที่พบคือ
- ใบหน้าของตัวละครถูกเบลอ และถูกกันระยะออกจากการรับรู้ในจิต
- memory ทั้งหมดที่ดีๆ แม้เกิดขึ้นไม่นาน ถูกกันระยะออกราวกับเป็นเรื่องเมื่อชาติที่แล้ว รับรู้แต่ไม่ระลึก ไม่ร่วมรู้สึก
- Devalue บทสนทนาตัวละครทั้ง 2 ฝ่าย
- Stop contact ทันทีที่จิตตัดสินใจ "เลิกยุ่ง" แม้มีบทสนทนาต่อจากการตัดสินใจนั้น คือ keep it short with no empathy whatsoever ยอมทิ้งแม้กระทั่งสิ่งที่รับปากว่าจะช่วย หยุดทันทีทั้ง 2 ฝ่าย
- มันไม่ได้เป็นผัสสะที่รุนแรงต่อจิตในเบื้องแรก แต่คลื่นกระทบมันค่อยๆ ก่อตัวเล็กๆ มาจากฝั่งกลาย แล้วขยายวงเข้าสู่ใจกลางในที่สุด
- สังเกตเห็นความทำงานโดยธรรมชาติของสังขารที่ปั่นต่อ ที่แยกขาดจากเวทนาที่เฉยสนิท
- การตัดสินใจของจิตที่เลิกยุ่งและใส่เกียร์หมาแบบ ASAP
- ความสังเวชในความไม่ปลอดภัย และความเอาเป็นที่พึ่งพาอาศัยอะไรไม่ได้ของสังขาร
- ความสังเวชในความถดถอยของปณิธานการเป็นนักบวชที่ถูกกัดกร่อนด้วยกาลเวลา
- ความเข้าใจในความยากของการครองเพศพรหมจรรย์ที่ไม่ได้ง่าย
- ขอบคุณและขออุทิศบุญจากการเรียนรู้นี้ให้กับผู้ประสบภัยทั้งหลาย ที่โคจรมาเป็นที่แสดงกรรมให้เห็นต่อหน้าต่อตา ขอเธอทั้งปวงจงพ้นจากทุกข์เถิด