30/9/57
เช้านั่งสมาธิ ตอนกินข้าวเกิดสติเอง 5-6 แว้บ ระหว่างวันวันนี้หลงเยอะกว่าเมื่อวาน
ได้เวลาช่วงเย็นมาโดยไม่ตั้งใจ จึงไปสวดมนต์ที่วัดปทุม วันนี้สวดไม่ค่อยวอกแวก แล้วนั่งสมาธิต่อ ความคิดเพลิดเพลินเกิดขึ้น มีครั้งที่หลงไป แล้วก็มีครั้งที่มันแยกห่างออกมา
นั่งสมาธิคอหักก่อนนอน
วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557
วันจันทร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2557
29/9/57
29/9/57
การไปกราบครูบาอาจารย์เมื่อวานทำให้สำนึกได้ถึงความจำเป็นที่ต้องให้ใจได้กินอาหาร
ระหว่างวันมีแรงที่จะตั้งสติอยู่บ่อยครั้ง แต่ยังไม่เป็นอัตโนมัติ มีความคิดระลึกถึงบางเรื่องขึ้นมา แล้วก็คิดว่ามันมีโอกาสกลายเป็นการยึดแบบราคะได้ ใจมีขยาดแหยงๆ ตามเคยชินของมัน แต่รู้สึกถึงความไม่เชื่อมโยงบางอย่างสภาวะอย่างนั้นจึงไม่เกิดขึ้น
สังเกตระหว่างเดินว่าก้มหน้า กับเงยหน้าตั้งกายตรง ใจไม่เหมือนกัน ตอนก้มหน้า แม้ไม่ได้มีความคิดอะไรเป็นคำพูด แต่รู้สึกเหมือนหลุดจากปัจจุบันไปไหนไม่รู้
ได้สนทนากับเพื่อนเนยทางเฟสบุค คุยไปคุยมารู้สึกถึงความอิน ยึด สะดุดกำแพงตัวเอง เลยล้างไพ่ๆ ไปกินข้าวแล้วกลับมาคุยใหม่บรรยากาศก็เปลี่ยนเป็นละเมียดละไมมากขึ้น
ก่อนนอนนั่งสมาธิ แต่หลับป๊อกไปตั้งแต่ตอนไหนไม่รู้ค่ะ 5555
การไปกราบครูบาอาจารย์เมื่อวานทำให้สำนึกได้ถึงความจำเป็นที่ต้องให้ใจได้กินอาหาร
ระหว่างวันมีแรงที่จะตั้งสติอยู่บ่อยครั้ง แต่ยังไม่เป็นอัตโนมัติ มีความคิดระลึกถึงบางเรื่องขึ้นมา แล้วก็คิดว่ามันมีโอกาสกลายเป็นการยึดแบบราคะได้ ใจมีขยาดแหยงๆ ตามเคยชินของมัน แต่รู้สึกถึงความไม่เชื่อมโยงบางอย่างสภาวะอย่างนั้นจึงไม่เกิดขึ้น
สังเกตระหว่างเดินว่าก้มหน้า กับเงยหน้าตั้งกายตรง ใจไม่เหมือนกัน ตอนก้มหน้า แม้ไม่ได้มีความคิดอะไรเป็นคำพูด แต่รู้สึกเหมือนหลุดจากปัจจุบันไปไหนไม่รู้
ได้สนทนากับเพื่อนเนยทางเฟสบุค คุยไปคุยมารู้สึกถึงความอิน ยึด สะดุดกำแพงตัวเอง เลยล้างไพ่ๆ ไปกินข้าวแล้วกลับมาคุยใหม่บรรยากาศก็เปลี่ยนเป็นละเมียดละไมมากขึ้น
ก่อนนอนนั่งสมาธิ แต่หลับป๊อกไปตั้งแต่ตอนไหนไม่รู้ค่ะ 5555
28/9/57
28/9/57
ได้เพื่อนก้อยเป็นสะพานบุญมาชวน ทำให้ได้ไปกราบครูบาอาจารย์ที่รพ.วิชัยยุทธ ตื่นสายกว่าที่ตั้งใจ แต่ใจก็ไม่เดือดร้อน ทันก็ทันไม่ทันก็ไม่ทัน ไม่ได้ออกบ้านในวันหยุดเช้าขนาดนี้มานานมาก มีโอกาสเห็นคนใส่บาตรก็น้อมใจใส่ไปด้วย การเดินทางมีขลุกขลักนิดหน่อย คลื่นโทสะเกิดบ้าง ก็บอกตัวเองว่า ตั้งใจดีแล้วอย่าให้เสีย ให้สำรวม
ได้เพื่อนก้อยเป็นสะพานบุญมาชวน ทำให้ได้ไปกราบครูบาอาจารย์ที่รพ.วิชัยยุทธ ตื่นสายกว่าที่ตั้งใจ แต่ใจก็ไม่เดือดร้อน ทันก็ทันไม่ทันก็ไม่ทัน ไม่ได้ออกบ้านในวันหยุดเช้าขนาดนี้มานานมาก มีโอกาสเห็นคนใส่บาตรก็น้อมใจใส่ไปด้วย การเดินทางมีขลุกขลักนิดหน่อย คลื่นโทสะเกิดบ้าง ก็บอกตัวเองว่า ตั้งใจดีแล้วอย่าให้เสีย ให้สำรวม
ไปถึงรพ. เห็นก้อยเดินไปถวายเครื่องดื่มหลวงปู่ (ตอนนั้นยังงงๆ ว่าอะไรยังไง) หันมองตาม สักพักก็รู้สึกส่งจิตออกนอก ไม่มีประโยชน์ ก็พามันกลับบ้านมาอยู่กับฐาน นั่งสงบอยู่หน้าห้องหลวงปู่ท่อนรู้สึกกระแสดีมาก ว่าง สว่าง สงบ เพียงครู่เดียวก็รู้สึกมีกำลัง สักพักมีคนยกถาดอาหารจะไปถวายหลวงปู่ท่อนแต่เราไม่ได้เข้าไปด้วย น้อมใจถวายตาม เกิดปีติ
ระหว่างรอ ก้อยพาไปกราบหลวงปู่อีกองค์จากอ่างทองที่ห้องใกล้ๆ กัน ได้ถวายปัจจัยท่าน ตั้งอธิษฐาน ตอนกราบท่านเกิดปีติ
นั่งอยู่พักหนึ่งก็เห็นญาติโยมแห่ไปทางห้องหลวงปู่ไดโนเสาร์ เลยได้มีโอกาสกราบและฟังนิทานพุทธประวัติจากท่าน เมื่อท่านเล่าจบญาติโยมทั้งหมดก้มลงกราบ ใจกลับเห็นเหมือนเป็นภาพพระพุทธเจ้าแสดงธรรมแล้วบรรดาภิกษุก้มลงกราบ เกิดปีติน้ำตาไหล
ออกจากรพ.เดินทางไปฟังธรรมหลวงพ่อปราโมทย์ต่อ นั่งสมาธิฟังไปสักพักรู้สึกมืด เลยลืมตา แล้วกระดิกนิ้วเรียกความรู้สึกตื่นตัว ฟังต่อถึงช่วงส่งการบ้านของท่านหนึ่ง เป็นเรื่องกำลังใจในการปฏิบัติ หลวงพ่อเล่าถึงครูบาอาจารย์องค์หนึ่ง ท่านว่าองค์นั้นเล่าว่าท่านนั้นอยู่กับหลวงปู่มั่น องค์อื่นนั้นได้รู้ธรรมเห็นธรรมกันไปหมดแล้วท่านยังไม่ได้ แต่ท่านไม่ท้อหรอกนะจะปฏิบัติต่อไป อีกร้อยชาติก็จะปฏิบัติ หลวงพ่อปราโมทย์ว่าท่านก้มกราบครูบาอาจารย์องค์นี้อย่างเต็มหัวจิตหัวใจ กำลังใจในการปฏิบัติมันต้องอย่างนี้
เกิดปีติน้ำตาไหลพราก
ระหว่างเดินทางไปเรียนช่วงบ่าย ใจก็คิดถึงเรื่องสนุกๆ ขึ้นมา แล้วก็เพลินไปเรื่อย มีจังหวะนึงมันระลึกกลับมาว่า โห.. กำลังที่ไปชาร์จมาเมื่อกี้ สภาวะเมื่อกี้ หายแซบหายสอย ชนิดนึกไม่ออก เอากะมันสิ
พอถึงที่เรียน จะหยิบไอแพดมาเล่น อยู่ๆ ก็รู้สึกว่าเป็นการใช้เวลาไม่คุ้มกัน ทำใจเสียเปล่าๆ เลยเก็บ แล้วนั่งสมาธิรอเรียนไป
ตอนเย็นไปสวดมนต์ที่วัดปทุม ใจค่อนข้างนิ่ง นั่งสมาธิต่อก็ค่อนข้างนิ่ง จับลมหายใจได้สบายๆ ไม่บีบคั้น สังขารมีบ้างแต่เป็นความเคลื่อนไหวไปมา ไม่ขึ้นมาเป็นเรื่องเป็นราวให้สาวความต่อ
วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557
22-26 ก.ย.57
22-26 ก.ย.57
นั่งสมาธิเช้า - เย็น ไม่เห็นสภาวะอะไรเป็นพิเศษ ตอนเดินไปทำงานก็เสียบหูฟังธรรม หรือบทสวดมนต์ไปเรื่อย กำลังเริ่มตกเพราะไม่ได้ตั้งใจในรูปแบบ ระหว่างสัปดาห์งานเยอะทั้งที่บ้านและที่ทำงาน จิตงอแง ทุรนทุรายอยากจะนอน วกกลับมาเป็นความพร่องในศีลวาจา ด้วยความที่อยากจะให้งานจบตามกำหนด หลายครั้งจะตัดบทสนทนาคนอื่นที่เริ่มเวิ่นเว้อ แต่ไม่ยักตัดบทเวิ่นเว้อตัวเองเรื่องจะนอน :P
จากการทำงานทำให้ได้เรียนรู้ว่า หลายอย่างมันมีจังหวะ มีครรลองตามธรรมชาติของมัน การจะไปเร่งเร้า ก็เหมือนยิ่งดิ้นยิ่งทุกข์ อะไรบางอย่างจะเกินงามไป ครั้นจะตรงข้ามคือไม่แตะไม่ต้องไม่ดูไม่แล โอกาสจะทำอะไรบางอย่างก็จะพลาดไป
จิตในการทำงาน ยังไม่พอดี ยังมีความจับจ้องอยากจะให้บรรลุผลที่ดีที่สุด กลายเป็นใส่ความเครียดเข้าไป แสดงออกเป็นความเค้นในน้ำเสียงกับบางคน เป็นคำพูดอ่อนหวานเกินปกติกับบางคน บางทีก็ขาดกระทั่งความเมตตาต่อตัวเอง ด้วยกดดันว่าควรจะต้องเป็นแบบนั้นแบบนี้
นั่งสมาธิเช้า - เย็น ไม่เห็นสภาวะอะไรเป็นพิเศษ ตอนเดินไปทำงานก็เสียบหูฟังธรรม หรือบทสวดมนต์ไปเรื่อย กำลังเริ่มตกเพราะไม่ได้ตั้งใจในรูปแบบ ระหว่างสัปดาห์งานเยอะทั้งที่บ้านและที่ทำงาน จิตงอแง ทุรนทุรายอยากจะนอน วกกลับมาเป็นความพร่องในศีลวาจา ด้วยความที่อยากจะให้งานจบตามกำหนด หลายครั้งจะตัดบทสนทนาคนอื่นที่เริ่มเวิ่นเว้อ แต่ไม่ยักตัดบทเวิ่นเว้อตัวเองเรื่องจะนอน :P
จากการทำงานทำให้ได้เรียนรู้ว่า หลายอย่างมันมีจังหวะ มีครรลองตามธรรมชาติของมัน การจะไปเร่งเร้า ก็เหมือนยิ่งดิ้นยิ่งทุกข์ อะไรบางอย่างจะเกินงามไป ครั้นจะตรงข้ามคือไม่แตะไม่ต้องไม่ดูไม่แล โอกาสจะทำอะไรบางอย่างก็จะพลาดไป
จิตในการทำงาน ยังไม่พอดี ยังมีความจับจ้องอยากจะให้บรรลุผลที่ดีที่สุด กลายเป็นใส่ความเครียดเข้าไป แสดงออกเป็นความเค้นในน้ำเสียงกับบางคน เป็นคำพูดอ่อนหวานเกินปกติกับบางคน บางทีก็ขาดกระทั่งความเมตตาต่อตัวเอง ด้วยกดดันว่าควรจะต้องเป็นแบบนั้นแบบนี้
วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557
19-21 ก.ย.57
19 ก.ย.57
มีเรื่องที่ทำงานมาหลายวัน เจออะไรตุกติกยิ่งวิตกหนัก นั่งรถเมล์ไปประชุม แหงนหน้ามองกระจก เห็นหน้างี้แก่ไปเลย รอยพยาบาทมันวาดไปตามคิ้วกะหน้าผาก เลยเอานิ้วดีดๆ นวดๆ ทำสปาหน้าให้กลับมาๆ ดึงทั้งหน้าดึงทั้งใจ
ตกเย็นตั้งใจจะไปสวดมนต์ แต่บังเอิญเจอเพื่อนเสียก่อน เลยไปนั่งสนทนาธรรมกันแทน เล่านู่นนี่นั่นให้ฟัง พบว่าตอนเล่าไป เหมือนตัวเองจะเข้าใจอะไรมากขึ้น จากใจที่ตอนแรกฟุ้งซ่านหน่อยๆ กังวลว่าจะไม่ได้ไปสวดมนต์ ก็เย็นลงเป็นเฉยๆ แล้วก็เบิกบาน ระหว่างมีกระเพื่อมเล็กน้อยเวลาพูดไปแล้วเจออุปาทานจากอีกฝั่ง เซ็งแว้บแล้วก็ปล่อย
20 ก.ย.57
รอวันเสาร์มาทั้งสัปดาห์ (วันคลายเครียด) พอถึงเวลาจริงๆ กลับนิ่งๆ อย่างงั้นๆ ระหว่างวันรู้สึกถึงความยึดในอารมณ์สุข ความอาลัยในความเพลิน แต่ก็รู้สึกว่าถ้าเป็นเมื่อก่อนจะอินกว่านี้
เช้า 21 ก.ย.57
ตื่นมานั่งสมาธิเช้า เห็นความเพลินในคิดเยอะไม่ตัด เลยเสียบหูฟังธรรมช่วย ฟังไปก็ดูมันค่อยๆ สงบลง จากเป็นเรื่องเป็นราวเป็นคนเป็นภาพ ก็ค่อยๆ ลดลงเป็นเรารู้สึก เป็นความรู้สึก เป็นความสั่นไหว
มีเรื่องที่ทำงานมาหลายวัน เจออะไรตุกติกยิ่งวิตกหนัก นั่งรถเมล์ไปประชุม แหงนหน้ามองกระจก เห็นหน้างี้แก่ไปเลย รอยพยาบาทมันวาดไปตามคิ้วกะหน้าผาก เลยเอานิ้วดีดๆ นวดๆ ทำสปาหน้าให้กลับมาๆ ดึงทั้งหน้าดึงทั้งใจ
ตกเย็นตั้งใจจะไปสวดมนต์ แต่บังเอิญเจอเพื่อนเสียก่อน เลยไปนั่งสนทนาธรรมกันแทน เล่านู่นนี่นั่นให้ฟัง พบว่าตอนเล่าไป เหมือนตัวเองจะเข้าใจอะไรมากขึ้น จากใจที่ตอนแรกฟุ้งซ่านหน่อยๆ กังวลว่าจะไม่ได้ไปสวดมนต์ ก็เย็นลงเป็นเฉยๆ แล้วก็เบิกบาน ระหว่างมีกระเพื่อมเล็กน้อยเวลาพูดไปแล้วเจออุปาทานจากอีกฝั่ง เซ็งแว้บแล้วก็ปล่อย
20 ก.ย.57
รอวันเสาร์มาทั้งสัปดาห์ (วันคลายเครียด) พอถึงเวลาจริงๆ กลับนิ่งๆ อย่างงั้นๆ ระหว่างวันรู้สึกถึงความยึดในอารมณ์สุข ความอาลัยในความเพลิน แต่ก็รู้สึกว่าถ้าเป็นเมื่อก่อนจะอินกว่านี้
เช้า 21 ก.ย.57
ตื่นมานั่งสมาธิเช้า เห็นความเพลินในคิดเยอะไม่ตัด เลยเสียบหูฟังธรรมช่วย ฟังไปก็ดูมันค่อยๆ สงบลง จากเป็นเรื่องเป็นราวเป็นคนเป็นภาพ ก็ค่อยๆ ลดลงเป็นเรารู้สึก เป็นความรู้สึก เป็นความสั่นไหว
วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2557
18/9/57
18/9/57
มีข้อให้ต้องตัดสินใจ แต่รู้สึกว่ามันทะแม่งๆ ตุกติกๆ ยิ่งคิดยิ่งเกิดแรงดัน ตัดสินใจตอนนี้ไม่เวิริ์ค ปรึกษาใครก็ยังไม่ได้คำตอบที่สบายใจ ได้แต่คำว่า "ไม่ต้องกังวลหรอก ทำๆ ไปเถอะ ใครๆ เขาก็ทำกัน" สุดท้ายเลยตุัดสินใจว่า ถ้ายังมีแรงดันจะไม่ตัดสินใจ 5555
เอาเรื่องไม่สบายใจไปปรึกษาแม่ แม่ก็เตือนว่าให้มีสติไว้ สักพักก็พูดต่อ "ไอ้คำพวกนี้พูดไปเหมือนง่ายนะ แต่มันต้องอาศัยเหตุปัจจัยอย่างอื่นอีก ใช่ว่าพูดแค่นี้แล้วสติจะเกิดซะเมื่อไร" ฟังแล้วยิ้มเลยค่ะ ปลื้มแม่มีมุมมองของเหตุปัจจัย
เปิดเฟสบุค นั่งสนทนากับเพื่อนก้อยใจก็สว่างขึ้นมา แรงดันหายไป พอนึกใหม่ก็ดันใหม่ หันไปคุยใหม่ก็หาย เลยตัดสินใจได้ว่า ถ้ารู้สึกไม่สบายใจก็ไม่ต้องทำ และเมื่อตัดสินใจแล้วก็ไม่ต้องกังวลเรื่องจะต้องไปผิดใจกับใคร Danger is real, fear is a choise
มีข้อให้ต้องตัดสินใจ แต่รู้สึกว่ามันทะแม่งๆ ตุกติกๆ ยิ่งคิดยิ่งเกิดแรงดัน ตัดสินใจตอนนี้ไม่เวิริ์ค ปรึกษาใครก็ยังไม่ได้คำตอบที่สบายใจ ได้แต่คำว่า "ไม่ต้องกังวลหรอก ทำๆ ไปเถอะ ใครๆ เขาก็ทำกัน" สุดท้ายเลยตุัดสินใจว่า ถ้ายังมีแรงดันจะไม่ตัดสินใจ 5555
เอาเรื่องไม่สบายใจไปปรึกษาแม่ แม่ก็เตือนว่าให้มีสติไว้ สักพักก็พูดต่อ "ไอ้คำพวกนี้พูดไปเหมือนง่ายนะ แต่มันต้องอาศัยเหตุปัจจัยอย่างอื่นอีก ใช่ว่าพูดแค่นี้แล้วสติจะเกิดซะเมื่อไร" ฟังแล้วยิ้มเลยค่ะ ปลื้มแม่มีมุมมองของเหตุปัจจัย
เปิดเฟสบุค นั่งสนทนากับเพื่อนก้อยใจก็สว่างขึ้นมา แรงดันหายไป พอนึกใหม่ก็ดันใหม่ หันไปคุยใหม่ก็หาย เลยตัดสินใจได้ว่า ถ้ารู้สึกไม่สบายใจก็ไม่ต้องทำ และเมื่อตัดสินใจแล้วก็ไม่ต้องกังวลเรื่องจะต้องไปผิดใจกับใคร Danger is real, fear is a choise
วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557
การบ้าน 16-17 ก.ย.57
16-17 ก.ย.57
นั่งสมาธิเช้า - เย็น ระหว่างวันมีสติประปราย เกิดดับแล้วผ่าน นึกอะไรขึ้นมาไม่รู้แล้วรู้สึกอาย ก็ลองดูมันไปตรงๆ เดี๋ยวมันก็แผ่วลง มีหงุดหงิด, เครียดเพราะงานเยอะ พอช่วงพักก็ไปนั่งในสวน ใจก็ถูกดูดเข้าไปคิดเรื่อยว่าเดี๋ยวจะทำอะไรต่อ ทำยังไงดี ตอนเย็นเลิกงานไปเล่นโยคะได้ยืดเส้นยืดสาย สติถูกดึงมาอยู่กับกาย แล้วมันก็ว่า เออ ใช่ๆ คิดมากต้องออกมาอยู่กับกาย
นั่งสมาธิเช้า - เย็น ระหว่างวันมีสติประปราย เกิดดับแล้วผ่าน นึกอะไรขึ้นมาไม่รู้แล้วรู้สึกอาย ก็ลองดูมันไปตรงๆ เดี๋ยวมันก็แผ่วลง มีหงุดหงิด, เครียดเพราะงานเยอะ พอช่วงพักก็ไปนั่งในสวน ใจก็ถูกดูดเข้าไปคิดเรื่อยว่าเดี๋ยวจะทำอะไรต่อ ทำยังไงดี ตอนเย็นเลิกงานไปเล่นโยคะได้ยืดเส้นยืดสาย สติถูกดึงมาอยู่กับกาย แล้วมันก็ว่า เออ ใช่ๆ คิดมากต้องออกมาอยู่กับกาย
วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557
14/9/57 - 15/9/57
14/9/57
เมื่อวันอาทิตยฺ์ไปกราบหลวงพ่อสมบูรณ์ ได้คำมา 3 คำว่า แนบแน่น มั่นคง หนักแน่น ลองมาพิจารณาลงดูปัจจยาการ แล้วพบว่าจริง สามารถบรรยายได้ทั้งแบบพรรณนาและปัจจยา ดังนั้น ในการพิจารณาปฏิจจะในรูปแบบของ chronological sequence อาจไม่ถูกต้องเสียทีเดียวนัก
15/9/57
การรักษาสมดุลหยิน-หยาง
สองคนกำลังมีส่วนร่วมในเรื่องเดียวกัน ในกรณีนี้ึคือเกิดโทสะในเรื่องเดียวกันแต่เป็นในระดับที่ไม่เท่ากัน สมดุลนี้รักษากันในระดับว่ากันเป็นประโยคแต่ละขณะ คนนึงร้อน อีกคนจะเย็นลงอัตโนมัติ เป็นความขึ้นลงของสมดุลที่ตลกดี
เมื่อวันอาทิตยฺ์ไปกราบหลวงพ่อสมบูรณ์ ได้คำมา 3 คำว่า แนบแน่น มั่นคง หนักแน่น ลองมาพิจารณาลงดูปัจจยาการ แล้วพบว่าจริง สามารถบรรยายได้ทั้งแบบพรรณนาและปัจจยา ดังนั้น ในการพิจารณาปฏิจจะในรูปแบบของ chronological sequence อาจไม่ถูกต้องเสียทีเดียวนัก
15/9/57
การรักษาสมดุลหยิน-หยาง
สองคนกำลังมีส่วนร่วมในเรื่องเดียวกัน ในกรณีนี้ึคือเกิดโทสะในเรื่องเดียวกันแต่เป็นในระดับที่ไม่เท่ากัน สมดุลนี้รักษากันในระดับว่ากันเป็นประโยคแต่ละขณะ คนนึงร้อน อีกคนจะเย็นลงอัตโนมัติ เป็นความขึ้นลงของสมดุลที่ตลกดี
วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557
การบ้าน 13-15 ก.ย.57
13 ก.ย.57
นั่งสมาธิเช้า ระหว่างวันก็มีจังหวะที่สติเกิดแล้วตัดเร็วหลายช็อตอยู่ อารมณ์เซ็งยังติดใจอยู่ เผลอเป็นโผล่มาหลอก แต่บอกตัวเองว่าไม่ต้องดูแล้วไม่ต้องดู เปลี่ยนช่องๆ
14 ก.ย.57
วันเสาร์ได้ไปเรียนอะไรแล้ว วันนี้จิตมันเก็บมาเคี้ยวต่อเอร็ดอร่อย มันสนุก เพลินในความสนุก แถมมีความกลัวจะยึดด้วย กลายเป็นเกิดสภาวะครึ่งๆ กลางๆ ไม่กล้าสนุก 5555 เลยบอกตัวเองว่าที่กลัวยึดก็ยึดแหละ ยึดไปแล้วต้องฝึกปล่อยให้ไว
ตกเย็นไปสวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรมที่วัดปทุม
15 ก.ย.57
เช้า พื้นอารมณ์ไม่ค่อยดี มีเรื่องเครียดสืบทอดมาจากเมื่อคืน + กระแสเครียดคนใกล้ตัวเข้าไป ต้องเตือนตัวเองแต่เช้าให้ "ระวังฟืนไฟ" เดินเอามือไพล่หลัง (รู้สึกมันจะอยุ่กับกายได้มากกว่า) แต่พอเข้ามาอ่านการบ้านคนอื่นในห้องนี้ แล้วโพสต์ส่งการบ้านใจรู้สึกสว่างขึ้นมาเลย
ขอบพระคุณค่ะ
นั่งสมาธิเช้า ระหว่างวันก็มีจังหวะที่สติเกิดแล้วตัดเร็วหลายช็อตอยู่ อารมณ์เซ็งยังติดใจอยู่ เผลอเป็นโผล่มาหลอก แต่บอกตัวเองว่าไม่ต้องดูแล้วไม่ต้องดู เปลี่ยนช่องๆ
14 ก.ย.57
วันเสาร์ได้ไปเรียนอะไรแล้ว วันนี้จิตมันเก็บมาเคี้ยวต่อเอร็ดอร่อย มันสนุก เพลินในความสนุก แถมมีความกลัวจะยึดด้วย กลายเป็นเกิดสภาวะครึ่งๆ กลางๆ ไม่กล้าสนุก 5555 เลยบอกตัวเองว่าที่กลัวยึดก็ยึดแหละ ยึดไปแล้วต้องฝึกปล่อยให้ไว
ตกเย็นไปสวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรมที่วัดปทุม
15 ก.ย.57
เช้า พื้นอารมณ์ไม่ค่อยดี มีเรื่องเครียดสืบทอดมาจากเมื่อคืน + กระแสเครียดคนใกล้ตัวเข้าไป ต้องเตือนตัวเองแต่เช้าให้ "ระวังฟืนไฟ" เดินเอามือไพล่หลัง (รู้สึกมันจะอยุ่กับกายได้มากกว่า) แต่พอเข้ามาอ่านการบ้านคนอื่นในห้องนี้ แล้วโพสต์ส่งการบ้านใจรู้สึกสว่างขึ้นมาเลย
ขอบพระคุณค่ะ
วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557
การบ้าน 11 ก.ย.57
11/9/57
นั่งสมาธิเช้า - เย็น
หลังเลิกงานบังเอิญนึกย้อนเรื่องนึง เกิดอารมณ์เซ็งหนัก (แปลกใจที่ไม่พลิกเป็นโทสะ) จากคิ้วเบาๆ เลิกๆ อยู่ รู้สึกถึงคิ้วหนักขึ้นทันทีหางคิ้วตกลงเรื่อยๆ สักพักรู้สึกเหมือนหน้าฉีดโบท็อกซ์ 555 ดูไปสักพักมันก็เฉลียวของมันเองว่า นี่จมอารมณ์อยู่นิ แช่อยู่นี่ก็เพราะสงสัยไปเรื่อยนะ นี่ไม่ใช่ดูจิตนะ นี่ส่งออกนอก มันก็อ๋อว่า ที่เคยได้ยินหลวงพ่อปราโมทย์ว่าดูจิตดูไม่ถูกก็ไม่ใช่วิปัสสนานะ
เช้า 12/9/57
เพิ่งตื่นขึ้นมานั่งสมาธิ อยู่ๆ จิตยังไม่มีความฟุ้งซ่านมากเหมือนยังไม่ตื่นดี อยู่ๆ ก็ผุดเรื่องหนึ่งขึ้นมาแล้วดับไป ผุดอีกเรื่องขึันมาแล้วดับไป เป็นอยู่สองสามครั้ง แล้วก็นึกถึงเสียงหลวงพ่อปราโมทย์ "สัพเพ สังขารา สัพพะสัญญา อนิจจา" แล้วความฟุ้งซ่านแบ็คกราวน์ก็เข้ามา
นั่งสมาธิเช้า - เย็น
หลังเลิกงานบังเอิญนึกย้อนเรื่องนึง เกิดอารมณ์เซ็งหนัก (แปลกใจที่ไม่พลิกเป็นโทสะ) จากคิ้วเบาๆ เลิกๆ อยู่ รู้สึกถึงคิ้วหนักขึ้นทันทีหางคิ้วตกลงเรื่อยๆ สักพักรู้สึกเหมือนหน้าฉีดโบท็อกซ์ 555 ดูไปสักพักมันก็เฉลียวของมันเองว่า นี่จมอารมณ์อยู่นิ แช่อยู่นี่ก็เพราะสงสัยไปเรื่อยนะ นี่ไม่ใช่ดูจิตนะ นี่ส่งออกนอก มันก็อ๋อว่า ที่เคยได้ยินหลวงพ่อปราโมทย์ว่าดูจิตดูไม่ถูกก็ไม่ใช่วิปัสสนานะ
เช้า 12/9/57
เพิ่งตื่นขึ้นมานั่งสมาธิ อยู่ๆ จิตยังไม่มีความฟุ้งซ่านมากเหมือนยังไม่ตื่นดี อยู่ๆ ก็ผุดเรื่องหนึ่งขึ้นมาแล้วดับไป ผุดอีกเรื่องขึันมาแล้วดับไป เป็นอยู่สองสามครั้ง แล้วก็นึกถึงเสียงหลวงพ่อปราโมทย์ "สัพเพ สังขารา สัพพะสัญญา อนิจจา" แล้วความฟุ้งซ่านแบ็คกราวน์ก็เข้ามา
- ธัมม ทีโป สาธุ มันมีขณะที่รู้ ที่ได้เห็นธรรมแระ แต่ยังต้องฝึกให้ตั้งมั่น คือธรรมมันมาไวไปไว เพราะกำลังของเราไม่พอ แป้บเดียวฟุ้งซ่านเข้ามาได้แล้ว ก็ไม่เป็นไร ให้ทำไปเรื่อยๆ ขยายความรับรู้ไปเรื่อยๆ ขยายชั่วขณะที่เป็นสมาธิ สังขารยังไม่ตื่นมาทำงาน ให้ฉวยโอกาสนั่งสมาธิเจริญสติให้ต่อเนื่อง ต่อเวลาไปเรื่อยๆ
- ธัมม ทีโป จะชี้ให้เห็นว่า ถ้าเราพิจารณาธรรม ด้วยขณิกสมาธิมันจะเป็นแบบนี้ คือพอสติกับสมาธิพอดีกัน เราเห็นการเกิดดับ ของสังขาร ความคิดปรุงแต่งได้ อย่างชัดเจน หนึ่งขณะ สองขณะ สามขณะ แล้วเกิดสัญญาธรรมผุดสอน รองรับสภาวะที่ได้เห็น อันนี้คือกระบวนการในการวิปัสสนา แต่ว่ามันยังไม่นานพอที่จิตจะเห็นจนแจ้ง ก็ถูกนิวรณ์แทรกแล้ว
- ธัมม ทีโป คนที่เขามีสมาธิมากอีกหน่อย อุปจารสมาธิ ก็จะพิจารณาได้นานกว่านี้ โดยมีนิวรณ์มารบกวนได้เบาบาง สำหรับผู้ที่ได้อัปปนาสมาธินั้น กำลังที่ตั้งมั่น มันสามารถตั้งได้นานพอ จนกระทั่งจิตหมุนเต็มรอบ เขาถึงบรรลุธรรมกันได้แบบ "อาสนะเดียว" เขา ที่ว่านี่คือระดับพ่อแม่ครูอาจารย์ที่เราอ่านๆ มา
- ธัมม ทีโป หรือแบบที่ว่า เราแบ่งเวลาทำสมถะสวดมนต์ยาวๆ เติมกำลังก่อน พอจิตมีกำลังก็มั่นคง พอเราออกมา บางทีเราอยู่นิ่งๆ ก็เกิดสภาวะแบบที่น้องเล่ามาเนี่ย นั่งล้างจานอยู่ก็เกิดได้ ตื่นนอน เดินๆ อยู่ ก็เกิดได้ อันนี้เพราะผลที่จิตเขาตั้งมั่น เมื่อธรรมเขาพร้อม เหตุปัจจัยพร้อม ก็ "เห็นสภาวะธรรม" คือ วิปัสสนานั่นเอง
วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557
การบ้าน 8-10 ก.ย.57
8-9 ก.ย.57
นั่งสมาธิเช้า-เย็น หลงบ้าง คิดบ้าง หลับบ้าง ช่วงนี้ได้ช่วยที่บ้านทำเฟสบุคขายของแล้วมีคนมาขอแอดมาก กดไลค์มาก คอมเมนท์มาก เห็นใจเดี๋ยวก็เผือกไป เดี๋ยวก็เผือกไป
ช่วงที่เดินทางก็เสียบหูฟังเทศน์หลวงพ่ออำนาจ ช่วงนี้ชอบฟังเทศน์ปฏิจจะฯ บางทีก็เขียนออกมาด้วย แล้วก็คิดว่า เฮ้ย รอยต่อตรงนี้มันยังไงกันนี่ โดนความคิดตะปบลงรูตามสไตล์ ส่วนที่รู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบางมันพยายามจะสร้างโมเดล
10 ก.ย.57
ตอนเย็นที่ผ่านมาขึ้นรถไฟฟ้า อยู่ดีๆ ก็นึกถึงว่าตอนเด็กๆ เวลาการ์ตูนที่ชอบวางแผงแล้วเราไปซื้อ ในตอนที่ได้การ์ตูนมาใจมันมีความ "ได้อะไรที่เป็นของมัน" มาบางอย่าง คือ ของมันอยู่ในมือ แต่ความได้มันอยู่ที่ใจ ใจมันดีใจ ใจมันลูบ ใจมันคลำ ทำความคุ้นเคย คือที่แปลกใจเพราะไม่มีความรู้สึกแบบนี้มานานจนจำไม่ได้แล้ว
วันนี้มีเวลาเลยไปวัดปทุม คิดจะนั่งสมาธิแต่ดูสภาพดินฟ้าอากาศ นั่งไปคอหักแน่ เลยนั่งสวดพระปริตรแทน มีคนพิมพ์เล่มเล็กน่ารักมาวางแจกพร้อมคำแปล เลยตั้งใจอนุโมทนากับผู้พิมพ์ด้วยเลย สวดเสร็จคิดว่าน่าจะพอนั่งต่อได้อีกหน่อยเลยนั่งสมาธิอีก 20 นาที
นั่งสมาธิเช้า-เย็น หลงบ้าง คิดบ้าง หลับบ้าง ช่วงนี้ได้ช่วยที่บ้านทำเฟสบุคขายของแล้วมีคนมาขอแอดมาก กดไลค์มาก คอมเมนท์มาก เห็นใจเดี๋ยวก็เผือกไป เดี๋ยวก็เผือกไป
ช่วงที่เดินทางก็เสียบหูฟังเทศน์หลวงพ่ออำนาจ ช่วงนี้ชอบฟังเทศน์ปฏิจจะฯ บางทีก็เขียนออกมาด้วย แล้วก็คิดว่า เฮ้ย รอยต่อตรงนี้มันยังไงกันนี่ โดนความคิดตะปบลงรูตามสไตล์ ส่วนที่รู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบางมันพยายามจะสร้างโมเดล
10 ก.ย.57
ตอนเย็นที่ผ่านมาขึ้นรถไฟฟ้า อยู่ดีๆ ก็นึกถึงว่าตอนเด็กๆ เวลาการ์ตูนที่ชอบวางแผงแล้วเราไปซื้อ ในตอนที่ได้การ์ตูนมาใจมันมีความ "ได้อะไรที่เป็นของมัน" มาบางอย่าง คือ ของมันอยู่ในมือ แต่ความได้มันอยู่ที่ใจ ใจมันดีใจ ใจมันลูบ ใจมันคลำ ทำความคุ้นเคย คือที่แปลกใจเพราะไม่มีความรู้สึกแบบนี้มานานจนจำไม่ได้แล้ว
วันนี้มีเวลาเลยไปวัดปทุม คิดจะนั่งสมาธิแต่ดูสภาพดินฟ้าอากาศ นั่งไปคอหักแน่ เลยนั่งสวดพระปริตรแทน มีคนพิมพ์เล่มเล็กน่ารักมาวางแจกพร้อมคำแปล เลยตั้งใจอนุโมทนากับผู้พิมพ์ด้วยเลย สวดเสร็จคิดว่าน่าจะพอนั่งต่อได้อีกหน่อยเลยนั่งสมาธิอีก 20 นาที
วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557
รอยต่อ
ทุกข์ทำให้เกิดศรัทธา - คือเชื่ออย่างมีเหตุผลว่ามันไม่คงที่
ศรัทธาทำให้เกิดปราโมทย์ - คือความร่าเริงบันเทิงใจ
ปราโมทย์ทำให้เกิดปีติ - คืออิ่มเอิบ
ปีติทำให้เกิดปัสสัทธิ - เมื่อซาบซ่านย่อมไม่แส่ส่าย
ปัสสัทธิทำให้เกิดสุข -
ความสุขทำให้เกิดสมาธิ
สมาธิทำให้เกิดยถาภูตญาณทัสนะ - ปัญญาเห็นเหตุปัจจัย
ยถาภูตญาณทัสนะทำให้เกิดนิพพิทา - เบื่อ
นิพพิทาทำให้เกิดวิราคะ - คลายกำหนัดในสิ่งนั้น
วิราคะทำให้เกิดวิมุตติ - หลุดพ้น
วิมุตติทำให้เกิดญาณ - อาสวักขยญาณ
ศรัทธา คือ โสดาปัตติยังค 4
หากมีศรัทธาในพระพุทธแต่ยังประมาทอยู่ ปราโมทย์จะไม่เกิด -- ปีติไม่เกิด -- ปัสสัทธิไม่เกิด ฯลฯ นั่นคือเลื่อมในอย่างเดียว "ไม่พอ" หากแค่เลื่อมใส แต่ไม่เจริญ ปราโมทย์ ปีติ ปัสสัทธิ
การพบสัตบุรุษทำให้เกิดการฟัง - การฟังทำให้เกิดศรัทธา - ศรัทธาทำให้เกิดโยนิโส - โยนิโสทำให้เกิดสติสัมปชัญญะ - สติสัมปชัญญะทำให้เกิดอินทรีย์สังวร - อินทรีย์สังวรทำให้เกิดสุจริตสาม - สุจริตสามเป็นอาหารให้กับสติปัฏฐานสี่ - สติปัฏฐานสี่เป็นอาหารให้กับโพชฌงค์เจ็ด - โพชฌงค์เจ็ดเป็นอาหารแก่วิชชาและวิมุตติ
สัมมาทิฏฐิ ขึ้นจาก 2 อย่าง การได้ฟัง และการโยนิโส
-----
ถ้าไม่มีเราได้ ก็ไม่มีเราเสีย
สัญญาในเสียง สัญญาในธัมมารมณ์ สัญญาในเนื้อเรื่อง
ความเห็นผิดว่ามีเราเข้ามากลุ้มรุม "เขาว่าเรา"
---------
อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี (วจีสังขาร, กายสังขาร, จิตสังขาร)
ไม่รู้จักว่านี่เป็นสังขารที่เกิดจากสัญญา - - - ทิฏฐิอุปาทาน ยึดมั่นกับความคิดความเห็นทันที, เทิดค่า
ความคิดนี้ก็ไม่ใช่เรา ก็อยู่กับมันอย่างสบายๆ -- สมาธิเกิดขึ้นอย่างนี้
--------
เมื่อมีศีลก็ไม่มีความกังวล
เมื่อไม่มีความกังวล ก็ไม่ต้องมีเจตนาเพื่อให้เกิดปราโมทย์ (ความเบิกบานเกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องทำอะไร)
ศรัทธาทำให้เกิดปราโมทย์ - คือความร่าเริงบันเทิงใจ
ปราโมทย์ทำให้เกิดปีติ - คืออิ่มเอิบ
ปีติทำให้เกิดปัสสัทธิ - เมื่อซาบซ่านย่อมไม่แส่ส่าย
ปัสสัทธิทำให้เกิดสุข -
ความสุขทำให้เกิดสมาธิ
สมาธิทำให้เกิดยถาภูตญาณทัสนะ - ปัญญาเห็นเหตุปัจจัย
ยถาภูตญาณทัสนะทำให้เกิดนิพพิทา - เบื่อ
นิพพิทาทำให้เกิดวิราคะ - คลายกำหนัดในสิ่งนั้น
วิราคะทำให้เกิดวิมุตติ - หลุดพ้น
วิมุตติทำให้เกิดญาณ - อาสวักขยญาณ
ศรัทธา คือ โสดาปัตติยังค 4
หากมีศรัทธาในพระพุทธแต่ยังประมาทอยู่ ปราโมทย์จะไม่เกิด -- ปีติไม่เกิด -- ปัสสัทธิไม่เกิด ฯลฯ นั่นคือเลื่อมในอย่างเดียว "ไม่พอ" หากแค่เลื่อมใส แต่ไม่เจริญ ปราโมทย์ ปีติ ปัสสัทธิ
การพบสัตบุรุษทำให้เกิดการฟัง - การฟังทำให้เกิดศรัทธา - ศรัทธาทำให้เกิดโยนิโส - โยนิโสทำให้เกิดสติสัมปชัญญะ - สติสัมปชัญญะทำให้เกิดอินทรีย์สังวร - อินทรีย์สังวรทำให้เกิดสุจริตสาม - สุจริตสามเป็นอาหารให้กับสติปัฏฐานสี่ - สติปัฏฐานสี่เป็นอาหารให้กับโพชฌงค์เจ็ด - โพชฌงค์เจ็ดเป็นอาหารแก่วิชชาและวิมุตติ
สัมมาทิฏฐิ ขึ้นจาก 2 อย่าง การได้ฟัง และการโยนิโส
-----
ถ้าไม่มีเราได้ ก็ไม่มีเราเสีย
สัญญาในเสียง สัญญาในธัมมารมณ์ สัญญาในเนื้อเรื่อง
ความเห็นผิดว่ามีเราเข้ามากลุ้มรุม "เขาว่าเรา"
---------
อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี (วจีสังขาร, กายสังขาร, จิตสังขาร)
ไม่รู้จักว่านี่เป็นสังขารที่เกิดจากสัญญา - - - ทิฏฐิอุปาทาน ยึดมั่นกับความคิดความเห็นทันที, เทิดค่า
ความคิดนี้ก็ไม่ใช่เรา ก็อยู่กับมันอย่างสบายๆ -- สมาธิเกิดขึ้นอย่างนี้
--------
เมื่อมีศีลก็ไม่มีความกังวล
เมื่อไม่มีความกังวล ก็ไม่ต้องมีเจตนาเพื่อให้เกิดปราโมทย์ (ความเบิกบานเกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องทำอะไร)
วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557
ส่วนหนึ่งของ "อาจารย์ศิลป์กับลูกศิษย์"
ต้นเดือนกันยายนปีนี้ (2557) เราสูญเสีย อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ศิลปินคนสำคัญไปอีกหนึ่งท่าน
เพื่อเป็นการระลึกถึงอาจารย์ถวัลย์ และเนื่องจากใกล้วันศิลป์ พีระศรี 15 กันยายน วันคล้ายวันเกิดของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี บุคคลอันเป็นที่รักของอาจารย์ถวัลย์และชาวศิลปะ ผม (สุธี คุณาวิชยานนท์) ขอนำข้อเขียนจากหนังสือ “อาจารย์ศิลป์กับลูกศิษย์” ที่เขียนโดยอาจารย์ถวัลย์ ดัชนี มาเผยแพร่ให้ได้อ่านกัน เผื่อว่าคนอ่านบางคนจะได้รู้จักบรมครูกับลูกศิษย์คู่นี้มากขึ้น
ด้วยรักและอาลัยถึงบรมครูทั้งสอง
ข้อเขียนมีดังนี้
ถวัลย์ ดัชนี
จิตรกรอิสระ
จิตรกรอิสระ
กราบคารวะพระคุณของอาจารย์ ที่รู้ว่าศิษย์นั้นโง่ ขยัน
กระนั้นก็ยังรักและเมตตา
กระนั้นก็ยังรักและเมตตา
ก่อนเข้ามาเรียนศิลปากร ภายใต้การสอนของอาจารย์ศิลป์ ผมมาจากเชียงราย เข้าเรียนวาดเขียนที่โรงเรียนเพาะช่าง ความรัก ความศรัทธาและความใฝ่เรียนใฝ่รู้ ทำให้ผมมาเข้าศิลปากร
ความงุนงงสงสัย ความฉงนฉงาย เคลือบแคลงเส้นแบ่งกั้นระหว่างช่างฝีมือ คนรังสรรค์ศิลปะ ช่างหัตถกรรม กับผู้รังสฤษฏ์ จิตวิญญาณและรอยเท้า ลมหายใจพระเป็นเจ้า
จากเบ้าหลอมหนึ่งไปสู่เตาเผาใหม่ ขัดเกลา ขูดถาก เคี่ยวกรำมาอีกห้าปีในคณะจิตกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร และธุดงค์รอนแรมข้ามฟ้าไปอีกหลายประเทศในยุโรปอีกกว่าห้าปี
บ่อยครั้งที่ย้อนทวนกระแสกาลเวลาเวียนคืนหลัง ความทรงจำเก่าๆ กลับผุดพราย เมื่อวันวาน แจ่มกระจ่าง โปร่งเบา หดหู่ท้อแท้ด้วยความเยาว์เขลา และโง่ ปีติยินดีเริงร่ากับความสำเร็จชั่วครู่ยามเหมือนหยดน้ำค้าง ขันสมเพช ระคนความลี้ลับของมรรคาศักดิ์สิทธิ์ในวิหารแห่งศิลปะ ที่ผมเดินก้าวย่างเข้าไปในเทวาลัยทิพย์นั้นมาตลอดชีวิต และครั้นในปัจฉิมวัย ได้นั่งเคี้ยวเอื้องคืนวันในแรกระบัดหนุ่ม
อาจารย์ศิลป์ ถ้าเปรียบประดุจเทพ แห่งจิตวิญญาณ ผู้บรรจุสายธารชีวิตให้พะเนียงโชนประกาย ทำนุบำรุงแสงเพลิงเหล่านั้นให้ส่องทางวิถีสุนทรียศาสตร์ รังสรรค์ความรักปรากฏรูป ผ่านฝีมือ ประสบการณ์ความชำนาญแม่นยำในทักษะ ความรู้จัดเจนปราดเปรื่องเป็นเลิศ ปราชญ์สุนทรีย์ทางทฤษฎี ความนุ่มนวลควรแก่การงานของดวงจิต และวิญญาณอิสระในแง่นิรมิตสร้างสรรค์
อาจารย์ไม่ใช่ปั้นดินให้เป็นดาว หากแต่นิรมิตมนุษย์ให้เป็นเทพและให้เทพรังสรรค์ลมหายใจแห่งความรักออกมาเป็นศิลปะ โอยทานทิพย์แก่มวลมนุษยชาติ
ระลึกถึงอาจารย์ ผ่านการทำงานศิลปะมาตลอดชีวิต วันนี้มาขอดเกล็ดบางครั้งในร่มเงามหาวิหารแห่งพุทธิปัญญา เมตตาธรรม และแพร้วด้วยอารมณ์ขันของท่านเอง
สมัญญาจากอาจารย์
ผมเป็นนักเรียนจิตรกรรมคนแรก คนเดียวของท่านที่มาจากเชียงรายโดยกำเนิด ผมมาจากภูสูงของผ้าห่มปกและผีปันน้ำ แดนลาว ไทย พม่า สามเหลี่ยมทองคำ ชอบเสื้อสีแดงชายครุยกรุยกรายของกระเหรี่ยง เครื่องประดับชาวเขาหลายเผ่า อาวุธและเครื่องใช้ในพิธีกรรมของชาวเขาเผ่าต่างๆ ทั้งที่สูงบนดอยและที่ราบลุ่ม
อาจารย์เรียกผมว่า “นายคนภูเขา” ซึ่งเป็นชื่อเรียกขานตัวผมมาตลอดชีวิตของท่าน
ขยันเกินไป
ผมตั้งใจเรียน ขยัน และทำงานหนัก แต่สิ่งเหล่านั้นดูเหมือนจะไม่มีความสลักสำคัญอะไรนัก ถ้าเราปราศจากความเข้าใจแจ้ง ทำงานแต่พอควร ถนอมออมแรงไว้สำหรับงานสุนทรียภาพ ผมทำงานอย่างบ้าคลั่งมาตลอดหกเดือนแรกของการเข้าเป็นนักศึกษาใหม่ ด้วยตระหนักว่ามาจากเพาะช่าง รากฐานยังไม่มั่นคง ดำริชอบ และเข้าใจชอบไม่มี มีแต่เพียรชอบ วิริยะชอบ ตั้งใจชอบ ผมตกซ้ำแล้วซ้ำเล่าแทบทุกวิชา เพราะความผิดอย่างเดียวกัน
“นายคนภูเขา นายมันโง่แล้วขยัน ไม่ดีนะนาย นายยิ่งทำงานหนัก ยิ่งล่มจม เหมือนอียิปต์และเขมร ประเทศชาติล่มจมเพราะทำปิรามิด สร้างเทวาลัยมากเกินไป นายหัดคิดเสียบ้าง อย่าเอาแต่ทำ ขยันเกินไป โง่เกินไป ทำปุ๋ยก็ยังไม่ดีนาย...”
ผมหยุดทบทวนบทบาทตัวเองใหม่ เรียน เสาะแสวง ค้นคว้าไต่ถาม อีกปีต่อมาคะแนนทุกวิชาของผม โดยเฉพาะ วาดเส้น วิจัยศิลปไทย ผมได้ถึงขั้นดีเป็นเลิศ ครั้งแล้วครั้งเล่า งานนักศึกษาเหล่านั้นของผมแทบจะยึดครองบอร์ดนักศึกษา
ส่งห้า-ออกเจ็ด
แล้ววันหนึ่งก็มาถึง วันส่งงานเข้าแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ตอนนั้นผมเรียนอยู่ชั้นปีหนึ่งปลายปี ผมเคยส่งงานเข้าร่วมแสดงมาแล้วเมื่อครั้งอยู่เพาะช่าง ได้เข้าร่วมแสดง ขายได้ด้วย จึงชะล่าใจส่งเข้าแสดงอีกครั้ง
ผมส่งงานเข้าไปห้ารูป เป็นวัดโพธิ์สีน้ำมัน ต้นดอกทองกวาววัดพระแก้ว และชาวเขา ผมถูกคัดออกมาทั้งหมดเจ็ดรูป?! ส่งงานห้ารูปถูกคัดออกเจ็ดรูป!? เป็นที่เยาะเย้ยหุยโห่ฮาป่าของเพื่อน รุ่นพี่ รุ่นน้องคนรู้จักในแวดวง
อีกสองรูปมาจากไหนหรือ?
มันเป็นงานติดบอร์ดที่ผมเคยภาคภูมิใจ อิ่มเอิบด้วยความปีติมาแล้วนั่นเอง!
ไม่รู้ว่า “ผู้หวังดี ประสงค์ร้าย” ท่านใดกรุณาส่งเข้าไปสมทบซ้ำเติม
และสำหรับวันนั้นเล่า มันทั้งอาย เจ็บแสบ หดหู่ และความไม่เข้าใจแจ้ง
ผมนั่งรออยู่คนเดียวจนมืดค่ำ เมื่อแน่ใจว่าไม่มีใครเห็น ไม่มีใครทัก ผมค่อยๆ ย่องเข้าไปแบกรูปมากองไว้มุมตึกทีละรูป เรียกรถตุ๊กๆ มาขนกลับไปไว้ในส้วมร้างข้างบ้าน เพราะไม่มีที่เก็บ ต่อมาผมทาสีดำทับเพื่อเอาไว้ใช้เขียนรูปอื่นต่อไป
แต่ผมไม่เคยท้อแท้ ไม่เคยเหนื่อยหน่าย ยอมรับความผิดหวัง หากยังมีพลัง ยังมีไฟศิลปที่ลุกเรืองอยู่ในจิตวิญญาณนิรันดร์
มีแต่ถูกต้อง
วันหนึ่งในสนธยากาล อาจารย์กำลังจะกลับบ้าน ในความขมุกขมัวรัวลางทั้งบรรยากาศและความคิด ท่านเดินเข้ามาหาผมในซอกตึกเรียนแล้วบอกว่า
“นายคนภูเขา
งานของนายมีแต่ถูกต้อง มันเป็นงานเรียน เป็นอะคาเดมิคนะนาย มันไม่มีชีวิต ปลาของนายว่ายน้ำไม่ได้ ไม่มีกลิ่นคาว
ม้าของนายตายแล้ว ยืนตาย วิ่งไม่ได้ ร้องไม่ได้
วัดของนายเหมือนฉากลิเก
ฟ้าของนายไม่มีอากาศ หายใจไม่ได้
รูปของนายไม่มีมิสติคเลย นายไม่เข้าใจนะ นายคนภูเขา”
งานของนายมีแต่ถูกต้อง มันเป็นงานเรียน เป็นอะคาเดมิคนะนาย มันไม่มีชีวิต ปลาของนายว่ายน้ำไม่ได้ ไม่มีกลิ่นคาว
ม้าของนายตายแล้ว ยืนตาย วิ่งไม่ได้ ร้องไม่ได้
วัดของนายเหมือนฉากลิเก
ฟ้าของนายไม่มีอากาศ หายใจไม่ได้
รูปของนายไม่มีมิสติคเลย นายไม่เข้าใจนะ นายคนภูเขา”
ผมจะไปเข้าใจได้ยังไงล่ะ รุ่นพี่ที่ได้แสดงงานศิลปกรรมครั้งนั้น รูปเขียนปลาของเขาได้คะแนนสิบห้า ส่วนของผมได้คะแนนเก้าสิบ กลับถูกคัดออก
อะไรคือศิลป?
คำถามนั้นก้องสะท้อนอยู่ในผนังใจของผมในวัยหนุ่ม ในขณะที่ผมกำลังทำความเข้าใจศิลปะ ทะลวงกำแพง และหักโซ่ตรวน ขื่อคาพันธนาการทางงานช่างฝีมือ ไปความสะเทือนใจในศิลป
นี่นาย
“นี่นาย...ฉันคิดว่า นายพอแล้ว นายทำได้แล้วงานเรียน นายคิดซินาย สร้างสรรค์นะนาย นายทำอะไรมาก็ได้ ที่ผิดน่ะนาย ฉันจะบอกนายว่ามันผิดยังไง
นี่นาย...อันนี้ ไม่ใช่นิสัยของนายนะ มันเป็นเดคคอเรทนะนาย มันสวยเกินไป มันไม่มีกำลังนะนาย เลิกทำเสียดีกว่านาย
นี่นาย...อันนี้ นายแกล้งทำเกินไป มันไม่ซินเซียร์นะนาย มันมากเกินไป มันเป็นบาโรคนะนาย มันไม่มีข้างใน มันกลวงนะนาย ฉันว่ามันไม่ดีนี่นาย...ของนายมันเป็นโปสเตอร์นะนาย เพอร์สเปคตีฟนายผิดนะนาย มันไม่เป็นศิลปะนะนาย นายไม่เข้าใจฟิลลิ่ง มันไม่มีสปิริตนะนาย
นี่นาย...ควายของนาย แอ็คชั่นมากเกินไปนะ ฉันว่าม้าเท่านั้นทำท่านี้ วัวควายไม่ทำนาย
นี่นาย...เราเรียนศิลปะนะ ทำไมนายถึงไปให้เขาฝึกทหาร ซ้ายหันขวาหัน คนนะนายไม่ใช่ควาย
นี่นาย...หัวหน้ากองหัตถศิลป์ มาฟ้องว่าพวกนายนั่งนินทานางแบบทั้งวันไม่ทำงาน
นี่นาย...นู้ดของนายเหมือนไม้ทาสีนะนาย ไม่มีชีวิตเลย นายพยายามนะนาย
นี่นาย...รูปคนของนายยุ่งเกินไป ทำการเมืองมากเกินไป ฉันอยากให้นายทำศิลปะนะนาย ไม่อยากให้นายยุ่งเรื่องการเมืองในศิลปะ อันตรายมากนะนาย
นี่นาย...นายตกเพอร์สเปคตีฟอีกแล้ว นายมารีเอ็กแซมกับฉันนะนายก่อนกลับบ้าน
นี่นาย...นายอยากได้อ่านทีซีสไหมนาย มาหาฉันที่ห้องนะ พรุ่งนี้ฉันไปโรงพยาบาล
นี่นาย...ถ้านายรักฉัน ทำศิลปะนะนาย นายไม่ต้องจัดวันเกิดให้ฉัน นายจัดห้องเรียนให้สะอาด นายโกนหนวดแล้ว คนภูเขา วันนี้นายเป็นฮิวแมนบีอิ้งแล้ว ก่อนนั้นนายเป็นลิงนะนาย
นี่นาย...นายเข้าเรียนภาษาอังกฤษกับอาจารย์ผู้หญิงด้วยนะนาย ฉันรู้นายไม่ชอบ แต่อาร์ตีสต้องมีความรู้เรื่องอื่นนะนาย ถ้านายปฏิเสธ นายลำบากนะนาย วันหน้า
นี่นาย...ฉันคิดว่า ที่นายขอห้าร้อยไปซื้อผ้าร้อยเมตรมาเขียนโปสเตอร์งานแห่งชาติ ฉันให้นายห้าบาทพอแล้วนาย เขียนเมตรเดียวพอ อาร์ท เอ็กซิบิชั่น ฉันออกวิทยุแล้ว ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์แล้ว ฉันไม่ใช่โสเภณีนะนาย เราทำงานศิลปะ คนดูเขาอยากมาเอง ฉันไม่ได้ขายตัว ฉันทำศิลปะนะนาย
นี่นาย...ค่ำแล้ว นายเพิ่งกลับมาหรือ? (ผมกับวิรัช กันทรัพย์ เพื่อนรุ่นน้องมัณฑนศิลป์ อาจารย์ใช้ให้ไปเขียนประกาศนียบัตรที่สถานทูตแห่งหนึ่ง ทั้งวัน เช้าจรดเย็น ตามคำสั่งอาจารย์)
นายได้มีข้าวกินไหม? เขาเลี้ยงไหม? เขาให้เงินนายไหม? ไม่เลยหรือ? บ้าจริงๆ
นี่ฉันให้นายนะ (อาจารย์ควักเงินส่วนตัวให้คนละร้อย บ่นพึมพำว่าบ้า บ้าจริงๆ)
นี่นาย...รูปชาวเขาลงผี อันนี้ของนาย เก็บไว้ให้ดีนะ นายมีหัวคนหนึ่ง วันหนึ่งจะเป็นรูปสำคัญของเมืองไทยนะ
นี่นาย...นายคิดว่านายเป็นใคร สวัสดิ์ ชลูด ตั้งราคาสามพันบาท นายไปตั้งราคาเท่าเขาได้ยังไง นายยังเป็นนักเรียนอยู่นะ นายไม่ใช่อาร์ตีส
นี่นายคนภูเขา นายเอากะเขาด้วยหรือ? แสดงรูปวังสวนผักกาดนี่เหรอ? นายระวังนะ นายทำคอมเมอร์เชี่ยลมากไปนะนาย ฉันว่านายตั้งใจทำงานดีกว่า
นี่นายคนภูเขา ฉันให้นายได้รางวัล แต่รูปนายแย่มากนะนาย สีนายไม่ทำงาน เพอร์สปคตีฟนายผิด มันเป็นโปสเตอร์นะนาย รูปนายเป็นรูปที่เลวน้อยนิดหน่อยนะนาย
นี่นาย...ฉันคิดว่าถ้านายเขียนรูปอย่างนี้นะนาย ตายดีกว่านาย ไม่มีสปิริตเลย
มหาวิหารแห่งคุณธรรม
อาจารย์คือเทพเจ้า สำหรับลูกศิษย์ ทั้งเคารพรัก ยกย่องเทิดทูนบูชา ต่อหน้าและลับหลัง เราวางท่านไว้บนหิ้งบูชาดุจคุรุเทพ เกรงและกลัวท่านจะโกรธเสียใจที่เราไม่ขยันหมั่นเพียร ท่านเป็นแบบอย่างที่ดีเลิศ ทั้งคุณธรรม จริยธรรมและตลอดจนเป็นแบบอย่างของการดำรงชีวิต อาจารย์อยู่อย่างสงบสันโดษ มักน้อย อ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ละโมบยินดีในลาภสรรเสริญสุข ทรงภูมิทรงปัญญา หากแต่อ่อนน้อมค้อมต่ำกับผู้คนทุกหมู่เหล่า มีมนุษย์สัมพันธ์เป็นเลิศ ผู้คนที่ได้รู้จักท่านประทับใจในความสง่างามของบุคลิก ความเชื่อมั่นศรัทธากล้าในศิลปศาสตร์ทุกสาขา ความรอบรู้ในภาษาศาสตร์ อาจารย์พูดได้ดีทั้งภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน นอกเหนือไปจากอิตาเลียน สเปนและภาษาไทยพื้นฐานของท่าน
ท่านกว้างขวางในทัศนคติ และยิ่งใหญ่ด้วยเมตตาธรรม ปรารถนามิตรสหายที่สามารถปฏิเสธแนวความคิดของท่านได้
อาจารย์มามหาวิทยาลัยแต่เช้า ทำงาน เขียนหนังสือ เตรียมการสอน ตรวจตรา วิจารณ์ ควบคุม ให้แนวนโยบาย ไปร่วมงานสังคม พิธีกรรมทางศิลป กินอาหารกลางวันคนเดียวง่ายๆ ในห้อง ไม่มีเครื่องดื่มใดๆ ไม่มีอบายมุข ไม่มีราคะจริตความฟุ้งเฟ้อใดๆ เข้ามาแผ้วพาน มีชีวิตแสนขลังอยู่ในเทวาลัยเร้นลับน่าพิศวงของเหล่าศิษย์ และนั่งสงบสง่าอยู่ท่ามกลางดวงใจ ดวงวิญญาณของเหล่าศิษย์อยู่ในอนันตภาวะ
ในความเบิกบานทางสุนทรียภาพนั้น อาจารย์เปรียบประดุจ ห้องสมุดอเล็กซานเดรียแห่งอียิปต์ วิหารแห่งเมโสโปเตเมีย อโครโปลีสแห่งกรีก มหาวิหารแห่งโรมและฟลอเรนซ์ ตรีมูรติแห่งอินเดีย และมหากาพย์ภารตะอุปนิษัท และไตรปิฎกแห่งหินยานและมหายาน ปกรณัมแห่งทวยเทพ ตลอดจนวรรณคดีดนตรีทุกท่วงทำนอง เหล่าศิษย์กำซาบสุนทรียรสเหล่านั้น แม้กระทั่งสอนนั่งโต๊ะกินข้าว มรรยาทผู้ดีฝรั่ง กินไวน์หลากรส กลิ่น สี เรียนรู้รากเหง้าอู่อารยธรรมตะวันตก
ฉันเป็นมนุษย์นะนาย
ครั้งหนึ่ง ผมและอาจารย์ไปลงเรือข้ามฟากท่าช้าง อาจารย์พาพวกเราไปดูวัด ในพลบโพล้แห่งสนธยากาล ระลอกทองของแดดยามเย็น เกลือกกริ้วบนพรายน้ำเจ้าพระยา อาจารย์และลูกศิษย์ยืนอยู่ท้ายเรือ ท่ามกลางผู้โดยสารที่บุ้ยใบ้ชี้ให้ดูกัน
“ฝรั่ง! ฝรั่ง! สอนคนไทยดูวัด!?”
ผู้ชายฝรั่ง วัยต้นหกสิบ รูปร่างสง่างาม ผมหยัดศก ใบหน้าสงบนิ่งเหมือนนักบุญผู้คงแก่เรียน มองดูลูกศิษย์ผู้ร่วมทาง แล้วกล่าวว่า
“นายคนภูเขา ดูซิ เขาว่าฉันเป็นฝรั่ง แต่ข้างในของฉัน มีเลือดสีแดงเหมือนทุกคน ฉันเป็นมนุษย์นะนาย ฉันเป็นคน คนที่รักเมืองไทย ศิลปวัฒนธรรมของนายด้วย”
พลันทันทีหูผมอื้ออึงด้วยกัมปนาทอารมณ์ จินตนาการและท่วงทำนองของมนุษยชาติ อดนึกถึง มาร์โคโปโล โคลัมบัส วาสโคดากามา มาจนถึง โคร์ราโด เฟโรจี หนุ่มน้อยจากฟี่เรนเซ่ มหานครแห่งศิลปอิตาลี ธุดงค์กาลเวลามาหว่านเมล็ดพันธุ์ศิลปร่วมสมัยในสยามประเทศ กว่าร้อยปีฉนำกาล จนเติบใหญ่เป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร ผลิตศิลปินของชาติไปสู่นานาอารยประเทศ ทิ้งรอยอัจฉริยภาพแผ่นดินไว้บนผืนใจแผ่นพื้นจิตวิญญาณตราบจนทุกวันนี้
ผมไม่เคยภาคภูมิใจในกิจกรรมอันใดของสมมุติสัจจะในชีวิต ที่เคยได้มี ได้ทำ ได้เป็น ไม่เคยให้ความสลักสำคัญกับโลกธรรมเหล่านั้น มีเพียงสิ่งหนึ่งสิ่งเดียวที่เคยได้มี เคยได้เป็น นั่นคือ เป็นลูกศิษย์คนหนึ่งของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี
ความรู้สึกผูกพัน สำนึกคุณ กตัญญู และมีเจ้าของ เป็นเหมือนลูกหมาพันทางหลงเข้ามาในเมือง มีมูลนายคอยปกป้องเลี้ยงดูจนมีชีวิตเติบกล้ามาจนถึงทุกวันนี้
กว่าสามสิบปีที่อาจารย์จากไป ตำนานชีวิต ยังคงตราตรึงตอกประทับอยู่ภายในส่วนลึกของศิษย์ ต่างกรรมต่างวาระต่างวาทะ หากแต่ด้วยดวงใจและความรัก ความปรารถนาดีและเมตตาจิตอย่างหามิได้ ไม่มีที่สิ้นสุด อาจารย์ที่เราเห็นคือผู้ชายแกร่งทรนงองอาจในภูมิปัญญาบริสุทธิ์ อ่อนน้อมค้อมต่ำแก่ศิลป สุนทรียศาสตร์ ให้ความหวังให้พลังศรัทธา บ่อเกิดความหวังและพะเนียงใฝ่ศิลปะที่ฉาบเปลวความเป็นอมตกาล ที่เปล่งแววพุทธิปัญญาท้าทายกาลเวลา อยู่กับนิรันดรภาพ
ผมเป็นคนเขียนรูปไร้สังกัด อิสระเหมือนควายป่า โดดเดี่ยวเหมือนนอแรด มีความสุขอิ่มเอมสงบระงับ ตามมรรคาวิถีเดียวกันกับครรลองเล็กๆ ที่อาจารย์ได้แผ้วถางไว้ให้
ทำงานหนัก โง่ ขยัน เหมือนเก่า
เพียงแต่ แกขึ้น งุ่มง่ามและช้าลง
“นายคนภูเขา” ของอาจารย์ ไม่เคยพูดถึงอาจารย์ผ่านตัวหนังสือ นอกจากวาดรูป
วันนี้วันเกิดอาจารย์อีกครั้ง ขอให้คารวธรรมของผมจากดวงใจ จากจิตวิญญาณ จงสัมผัสถึงอาจารย์ เหมือนภูเขาสัมผัสทะเลไกลด้วยไอหมอกจากภูสูงด้วยเถิด.
(เขียนโดย ถวัลย์ ดัชนี ในหนังสือ “อาจารย์ศิลป์กับลูกศิษย์”, พิมพ์ครั้งที่ 2 กันยายน 2542, หน้า 418-427.)
การบ้าน 1-7 ส.ค.57
1-7 ส.ค.57
นั่งสมาธิเช้า-เย็น ตั้งแต่ส่งการบ้านคราวก่อนไปครูเจี๊ยบตอบมายาว + กับอ่านที่ครูตอบเดอะเนย (ขออนุญาตพาดพุง ^_^) เลยได้กลับมาทบทวนตัวเอง แต่เครื่องมือทบทวนก็ยังอาศัยความคิดอยู่นั่นแหละค่ะ 5555
เริ่มที่จะสังเกตความสงสัย สังเกตความดูดของมัน ดูดไม่ปล่อยเหมือนมีปลิงเกาะที่ใจตลอดเวลา ก็หาเรื่องเปลี่ยนผัสสะไปแทน ไม่เก็บมันไว้ เห็นมันดูดอีกทำท่าจะถลำก็เปลี่ยนผัสสะอีก หนูว่าหนูไปหวงมันไว้ด้วยความเชื่อว่ามันจะพาไปให้เห็นอะไรสักอย่าง มันเลยเกาะใจอยู่อย่างนั้น
นั่งสมาธิเช้า-เย็น ตั้งแต่ส่งการบ้านคราวก่อนไปครูเจี๊ยบตอบมายาว + กับอ่านที่ครูตอบเดอะเนย (ขออนุญาตพาดพุง ^_^) เลยได้กลับมาทบทวนตัวเอง แต่เครื่องมือทบทวนก็ยังอาศัยความคิดอยู่นั่นแหละค่ะ 5555
เริ่มที่จะสังเกตความสงสัย สังเกตความดูดของมัน ดูดไม่ปล่อยเหมือนมีปลิงเกาะที่ใจตลอดเวลา ก็หาเรื่องเปลี่ยนผัสสะไปแทน ไม่เก็บมันไว้ เห็นมันดูดอีกทำท่าจะถลำก็เปลี่ยนผัสสะอีก หนูว่าหนูไปหวงมันไว้ด้วยความเชื่อว่ามันจะพาไปให้เห็นอะไรสักอย่าง มันเลยเกาะใจอยู่อย่างนั้น
ธัมม ทีโป เพิ่งได้เห็นการบ้านอันนี้ของนิ๊ง สงสัยว่าจะดูถูกเลย คือเราไปหวงมันไว้ด้วยความเชื่อว่ามันจะพาไปให้เห็นอะไรสักอย่าง ซึ่งจริงๆ แล้ว เราโดนหลอกจ้ะ สภาวะที่จะพาเราไปเห็นอะไรสักอย่างหรือหลายอย่างคือ จิตเป็นอิสระ รู้ ตื่น เบิกบาน ไม่ใช่นิวรณ์ธรรมจ้ะ
วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2557
ตอบการบ้านวิปัสสนึก
- ธัมม ทีโป หนูยังเพลิดเพลินกับการพิจารณาธรรมทางความคิดน่ะค่ะ ถ้าเป็นการศึกษาก็เรียกว่า เป็นการศึกษาโดยตำแหน่งผู้มีส่วนร่วม แต่ยังไม่ใช่การวิปัสสนาที่แท้ การวิปัสสนาที่แท้นั้น เราศึกษาในตำแหน่งผู้รู้ผู้ดู ไม่ใช่ผู้ร่วม
- ธัมม ทีโป มุมมองจะต่างกันหนึ่งระดับ คือมุมมองของผู้มีส่วนร่วม จะเป็นมุมมองเสมอตา คือในระดับสายตา แต่มุมมองผู้รู้น้ัน เป็นมุมเหนือตา (อาจจะเหนือตัวด้วย) เป็น bird eye view
- ธัมม ทีโป ไม่ได้บอกว่าการศึกษาแบบที่ทำอยู่ผิดนะ ในช่วงที่เรายังสนุกกับการเป็นผู้เล่น เราก็เล่นไปดูไปรู้ไปก่อน แต่ก็ยังไม่ใช่สภาวะที่เรียกว่า เป็นผู้ดูโดยแท้จริงค่ะ ความรู้ที่ได้จากการศึกษาแบบที่เราเป็นผู้เล่นด้วย จะได้อารมณ์ แต่ไม่พ้นจากอารมณ์โดยง่ายค่ะ
- ธัมม ทีโป ที่พี่บอกว่า ปรุงแต่งซ้อนปรุงแต่ง คือเรากำลังศึกษาพฤติกรรมการปรุงแต่ง หรือสภาวะการปรุงแต่ง แต่เราเองก็ยังปรุงแต่งไปด้วยในขณะที่ศึกษา คืออาศัยธรรมคือการปรุงแต่งเป็นเครื่องมือในการศึกษาธรรมคือการปรุงแต่ง หรือ ศึกษาโทษของความคิด โดยอาศัยเครื่องมือ คือความคิด
- ธัมม ทีโป อย่างนี้เป็นการศึกษาให้ทำให้เกิดผล คือความคิดที่ชัดเจนขึ้น หรือมีการปรุงแต่งที่มีระบบระเบียบชัดเจนขึ้น เปรียบเทียบกับระดับการวิเคราะห์ แยกแยะเพื่อให้เกิดความเข้าใจ
- ธัมม ทีโป มีคำเรียกว่า "วิปัสสนึก" ซึ่งตัวพี่เองถือว่า เป็นวิธีนึงในการวิปัสสนานะ แต่เราจะต้องรู้ข้อจำกัดของการวิปัสสนึก ว่ามันไม่ทำให้เราหลุดพ้น ในลักษณะของการหยุดการปรุงแต่ง
- ธัมม ทีโป ถ้าเราต้องการจะหยุดการปรุงแต่ง เราก็ต้องเริ่มต้นด้วยการหยุดคิดเสียก่อน เราจะต้องอยู่ในภาวะของการเป็นผู้รู้ผู้ดูที่ตั้งมั่น
มีคำกล่าวว่า เราต้องเอาสิ่งที่นิ่ง ไปดูสิ่งที่เคลื่อนไหว เราก็จะเห็นการเคลื่อนไหวได้อย่างชัดเจนที่สุด แต่ถ้าเราเคลื่อนไหวไปด้วย ดูการเคลื่อนไหวไปด้วย แม้เราจะเห็นการเคลื่อนไหวได้ แต่จะไม่เห็นได้ชัดเจน เท่ากับการหยุดนิ่ง แล้วจึงดูการเคลือนไหว - ธัมม ทีโป การวิปัสสนา เป็นภาวะของการ "รู้" ไม่ใช่การคิด
ดังนั้นหากเราไม่ "หยุดคิด" เราก็จะไม่สามารถ "รู้" ได้อย่างแท้จริง - ธัมม ทีโป "วิ" แปลว่าเห็น ถ้าเราเพลินกับการคิด เราก็จะสูญเสียความสามารถใน การมองเห็น "ธรรมตามความเป็นจริง" หรือภาพรวมของธรรมทั้งหมดไป
- ธัมม ทีโป จึงเป็นคำตอบว่า ทำไมรู้สึกเหมือนจับผีได้ 1 ตัว แต่ยังตอบโจทย์ไม่ได้ทั้งหมดว่า "ทำไมจึงเกิดแรงต้านที่จะปฏิบัติตาม"
- ธัมม ทีโป เราชอบตัวอย่างนี้มาก เพราะว่าเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน ซึ่งเป็นสภาวะที่หลายคนจะต้องเคยเจอมาก่อน ถ้าเป็นพวกทีเดินวิปัสสนานำ หรือวิปัสสนาล้วน จะต้องเจอกับดักนี้ แต่น้อยคนที่จะเห็นกับดัก
ถึงได้บอกว่า วิปัสสนาหรือพิจารณาธรรมแบบนี้ เป็นการวิเคราะห์ ก็ได้ความรู้เหมือนกัน (แต่จะไม่ได้ผลเท่านั้น) - ธัมม ทีโป ถ้าเราต้องการจะวิปัสสนาอย่างแท้จริง เราจะต้องหยุดคิดก่อน เพื่อจะได้เห็น กลไกของความคิด และการปรุงแต่ง เวลาที่มันทำงาน และเราจะไม่ได้เห็นแค่นั้น ถ้าเราหยุดมากพอ เราจะได้เห็นผลของการหยุดคิดด้วย
- ธัมม ทีโป การวิเคราะห์ต้องอาศัยความคิด เป็นเพียงปัญญาแยกแยะ แต่ธรรมะของพระพุทธองค์ คือภาวนามยปัญญา เน้นการ crystallize คือตกผลึก เมื่อเราหยุดจนกระทั่งความคิดมันแห้งหายไป จะเหลือแต่ผลึกก็คือธรรม มันยากตรงที่ต้อง อดทน หยุด และ รอ จนมันตกผลึกนี่แล
- ธัมม ทีโป ขณะที่สนทนากับพี่เขา พบว่าเกิดการประเมินค่าในเนื้อหาโดยอัตโนมัติ พี่ก็จะแปลว่า "ฟังแล้วเกิดการปรุงแต่ง อย่างรวดเร็ว"
ปกติ ถ้ารู้ว่า เอ้านี่..เรากำลังปรุงแต่งอยู่ ถ้าความรู้หรือสติมีกำลังมากพอ มันจะหยุดได้ทันที คือรู้ว่าปรุงก็หยุดปรุงทันที แต่อันนี้ไม่หยุดเพราะว่าไหลไปปรุงเรียบร้อย - ธัมม ทีโป "แล้วกลายเป็นไม่ได้ฟังเท่าไร" นี่คือผลของการที่ผู้รู้ผู้ฟัง หายไปเพราะเปลี่ยนเป็นผู้คิดซะแล้ว
- ธัมม ทีโป เนื้อหาเหล่านี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่เคยได้ยิน เคยได้ยินและเห็นด้วยกับเนื้อความ
แต่ขณะฟังกลับมีความสงสัยว่า ถ้าเห็นดีคล้อยด้วยขนาดนั้น ถามว่า "แล้วทำไมถึงเกิดแรงต้านที่จะปฏิบัติตาม เรากำลังป้องกันตัวจากอะไร"
อันนี้เป็นวงจรที่สอง คือวงจรแรก ประเมินค่า
วงจรที่สอง คือ ความลังเลสงสัย ก็เป็นนิวรณ์ตัวนึง
พอนิวรณ์เกิดขึ้น ก็กั้นเราจากธรรม ที่แม้เราเคยได้ยินและได้ฟัง และเคยเห็นด้วยมาแล้ว แต่เมื่อนิวรณ์เกิดขึ้น ก็พาเราไปสงสัยอีกทางนึง
มันทำงานร่วมกับตัวแรก แล้วพาเราออกไปจากกายจากใจของเราเอง
ตัวแรกพาให้เราไปประเมินค่าเนื้อความ ซึ่งจริงๆ ก็คือประเมินค่าคนพูดด้วย
ตัวสอง พาเราไปสงสัยว่าเรากำลังป้องกันตัวจากอะไร ก็คือก็ยังพาเราไปสงสัยสิ่งนอกตัว อยู่ดี - ธัมม ทีโป พอกลับมาบ้าน มานั่งสมาธิ ถือว่าเป็นการหยุดล่ะ หยุดพิจารณาทบทวนสภาวะแระ แต่... ไอ้ตัวสงสัยมันพาให้เราไปทวนสภาวะคนอื่น อยู่ดี (อีกแล้วครับท่าน)
"กลับบ้านระหว่างนั่งสมาธิ ลองเอากลับมาทบทวนดู พบว่าเราเกิดปฏิกิริยากับคนพูด คือพี่คนนี้เป็นคนที่ให้เซนส์ของความไม่ปลอดภัย คือในการรับรู้ของเราแม้พี่เขาจะใจดี แต่ทุกครั้งที่รู้สึกว่าเขาใจดี จะมีอะไรบางอย่างสะกิดว่ามีศักยภาพ/โอกาสที่จะพลิกมุมโหดได้ตลอดเวลา อันนี้เขาวางคาแรคเตอร์ของเขาไว้แบบนั้น แล้วมันทำให้เราเกิดความรู้สึกไม่วางใจ เกิดเป็น image ของบุคคลขึ้นมา ทิ้งมุมมองเหตุปัจจัยซะฉิบ" - ธัมม ทีโป เมื่อวิเคราะห์จากข้อความ
"เอาจริงๆ คือ ถ้าคิดต่อให้ถึงที่สุด อย่างเราแทบไม่มีโอกาสสร้างเหตุให้เจอมุมโหดนั้นได้เลย คือ กลัวไปก็ไลท์บอยมันไม่มีทางเจอ รู้สึกเหมือนจับผีได้ 1 ตัว แรงต้านน้อยลง แต่ยังตอบโจทย์ได้ไม่ทั้งหมดว่า "ทำไมถึงเกิดแรงต้านที่จะปฏิบัติตาม"
ก็จะได้บทสรุปว่า การพิจารณานี้ ไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องแรงต้าน เพราะว่ามัน เป็นการพิจารณาที่ไม่เกี่ยวอะไรกับกายกับใจเราเลย คือมันไม่ได้หันกลับมาวิตกวิจารณ์ตัวมันเอง มันก็ไม่ได้เห็นตัวมันเองเลย มันก็เห็นแต่ผู้อื่น
การพิจารณานี้ ดูเผินๆ เป็นการพิจารณาธรรม แต่ว่าผู้บงการคืออัตตา อัตตานั้นจะมีความสามารถคือสามารถมองเห็นและวิเคราะห์ผู้อื่นได้หมดเลย ยกเว้นตัวเอง เพราะมันเป็นมุมที่มองออกไปจากตน แต่จะไม่สามารถมองย้อนกลับมาที่ตนเองได้
ก็มีคำพูดตลกๆ ที่เราชอบใช้ว่า วิธีจะย้อนกลับมามองตน คือย้อนศรอัตตา ก็หลับตาซะ พอเราหลับตา เราจึงจะสามารถเอาตากลับมามองตนได้ 555 (ลองทำดูดิ่ ตลกดี) - ธัมม ทีโป วิจิกิจฉา เป็นลูกของกิเลส คือเป็นนิวรณ์เครื่องกั้น ถ้าตัวลังเลสงสัยเป็นตัวนำการพิจารณา โอกาสที่จะพิจารณาได้พ้นจากความสงสัยเป็นเรื่องยาก
- ธัมม ทีโป จะต่างจากอิทธิบาทสี่ ตัวแรกฉันทะ เราเริ่มด้วยความชอบใจ พึงใจ แล้วจึงทำ เริ่มทำแล้วก็เพียรให้ต่อเนื่อง เมื่อเพียรแล้วก็เอาจิตไปจดจ่อไม่ให้ขาดสาย จากนั้นจึงวิมังสา คือทบทวนใคร่ครวญผลของมันอีกที ให้เปลี่ยนคำว่าทำ เป็น "ฟัง" ฟังด้วยความชอบใจ ตั้งใจ (กุศลจิต) จากนั้นเพียรฟังให้ต่อเนื่อง ติดตามไม่ให้ตกหล่น แล้วจึงมาพิจารณาในสิ่งที่ฟังว่าเป็นอย่างไร จะเมนท์อะไรก็จัดไปได้ เพราะเราฟังจริงๆ มาตั้งแต่ต้น
- ธัมม ทีโป หรือ ธรรมสูงกว่านั้น คือ โพชฌงค์ คือธรรมวิจัย เป็นวิปัสสนาแท้ๆ ตัวตั้งคือ "สติ" ต้องมีสติตั้งมั่น ไพบูลย์แล้ว จึงวิจัยธรรมได้
- ธัมม ทีโป ไม่มีธรรมะของพระพุทธองค์ พระสูตรใดเลย กล่าวว่า ให้ความลังเลสงสัยเป็นหนทางพาเราไปสู่การวิจัยธรรม แล้วจะสามารถพิจารณาจนกระทั่งได้ธรรมเป็นเครื่องตื่นรู้ หรือตัดกระแสกิเลสจ้ะ
- ธัมม ทีโป เราสงสัยสภาวะธรรมตัวเอง ไม่ได้สงสัยคนอื่นนะ แล้วก็ศึกษาต่อเนื่องเป็นเวลาหกเดือน จนยอมรับว่า สงสัยไปก็ไม่ได้คำตอบ ไม่ว่าจะหาข้อมูลด้วยวิธีใดก็ตาม ก็ไม่ได้คำตอบที่ทำให้หายสงสัยได้อย่างสิ้นเชิง คือหายบางส่วน แต่ก็จะมีสงสัยเหลืออยู่ หรือเพิ่มใหม่เสมอ
อาจารย์บอกไม่ต้องสงสัยหรอก ทำไปรู้เอง เราไม่เชื่อ เพราะ(กิเลส)บอกว่า เราเป็นคนที่ต้องรู้ชัด จึงจะทำได้ ถ้าไม่รู้ไม่เข้าใจทำไม่ได้หรอก 55 เลยอุทิศเวลาส่วนใหญ่ให้กับการตอบความสงสัยในสภาวะของตน
แต่กิเลสพูดไม่หมด หรือรู้ไม่หมด กิเลสมันรู้ได้แค่ตัวเอง ไม่สามารถรู้พ้นตัวเอง มันเลยไม่รู้ว่า ไอ้สภาวะนั้นน่ะ มันต้องทำก่อน แล้วถึงจะเข้าใจ ไม่ใช่เข้าใจแล้วจะทำได้ 555
กูก็ไม่ค่อยได้ทำ เพราะทำแล้วสงสัย สงสัยก็ไปหาคำตอบ แล้วก็มาทำต่อก็สงสัยต่อไปอีก หมดไปหกเดือน
ได้ความรู้ว่า "จริงของอาจารย์" ที่ท่านบอกว่า "ทำไปเหอะ เดี๋ยวรู้เอง" - ธัมม ทีโป และเข้าใจแจ้งว่า ภาวนามยปัญญาเป็นอย่างนี้เอง ไม่สามารถหาคำตอบได้จากวิธีการอื่นใดเลย นอกจากการภาวนา และเริ่มด้วยความรู้คือสติ ไม่ใช่เริ่มด้วยความสงสัยคือนิวรณ์
อันนี้ฟังดูยิ่งใหญ่ แน่นอนเป็นความรู้จริง เพราะเวลาศึกษาก็ศึกษาอย่างนักวิทยาศาสตร์ ไม่ได้ศึกษาด้วยอคติ ดังนั้นพอหกเดือนผ่านไป กรูแตกฉานเรยยย - ธัมม ทีโป แต่ผลเสีย ที่กิเลสไม่ได้บอกเรา(ผ่านความคิด) เพราะมันไม่รู้ ก็คือว่า เราเสียวสีในการลำดับฌาน เพราะเวลาที่เราควรเอาไปฝึกให้มันเป็นวสี เราเอาไปหาคำตอบ ให้กับความสงสัยว่าเราได้ฌานจริงหรือเปล่า ซึ่งวสีตัวนี้ หากว่าเวลาผ่านไปแล้ว เราจะทำไม่ได้อีก เพราะสภาวะจิตมันก็เดินเลยไปแล้ว เคยเล่าบ่อยๆ ว่าได้อรูปฌานสองแล้ว จึงแจ้งว่า เราได้รูปฌานจริงๆ แต่เพราะสงสัยไง
ถ้าเราละความสงสัยเสีย แล้วเชือครูอาจารย์ (ศรัทธา) เราก็ทำตามท่านบอก คิดว่าเดือนเดียวก็แม่นและรู้แจ้งไปแล้ว ไม่ต้องรอหกเดือน ถ้าเอาเวลาหกเดือนไปทำความเพียร นอกจากหายสงสัยแล้ว คงได้เป็นวสีแจ่มๆ เลย 555 - ธัมม ทีโป อันนี้เป็นบทเรียนราคาแพงจริงๆ ทีมักเล่าบ่อยๆ เพราะเราเป็นเจ้าแม่แห่งการวิปัสสนึก หากมีน้องๆ แนวเดียวกันก็มักเล่าให้ฟังเสมอๆ
- ธัมม ทีโป เมื่อใดก็ตามที่ความลังเลสงสัยเกิดขึ้น ก็ให้กำหนดรู้เท่าทันความสงสัยนั้น ว่ามันเป็นนิวรณ์ ให้ทำสติ แล้วสลัดความสงสัยนั้น เพื่อจะได้มีสติตั้งมั่นอยู่กับสภาวะธรรมตรงหน้า คือปัจจุบันธรรม แล้วรับรู้ธรรมตรงหน้าให้ตลอดสาย ก็คือไล่วิจิกิจฉาเสียก่อน แล้วเริ่มต้นด้วย "รู้" แล้วจึงค่อยมาพิจารณาทีหลัง อย่างนี้รับรองว่าผลที่ได้จะต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง เพราะเป็นการศึกษาเรียนรู้ ที่มี "ผู้รู้" เป็นตัวนำ มิใช่มีนิวรณ์หรือกิเลสเป็นตัวนำ
- ธัมม ทีโป สมมติว่าอ่านธรรมที่เราแสดง แล้วเกิดธรรมารมณ์ขึ้นมา เช่นสงสัย ก็ให้รู้ว่าสงสัย จนกระทั่งสงสัยดับไปแล้ว จึงอ่านต่อ พอมันเกิดขึ้นมาอีก สมมติตัวเดิม ก็หยุดพิจารณาอีก ให้สงสัยมันดับ แล้วอ่านต่อ โดยไม่ต้องไปสนเรื่องที่มันชวนสงสัย คือแค่ให้กำหนดรู้ว่า นี่กูสงสัยอีกแล้วนา ดูอย่างนี้ไปเรื่อยๆ เดี๋ยวมันจะเห็นว่า "กูสงสัยอะไรกันนักกันหนา" ตกลง "จะให้อ่านหรือจะให้สงสัย" 555 ถ้าเห็นอาการสงสัยชัดๆ อย่างต่อเนื่อง จนรู้ทันมัน ตัวสงสัยมันจะอายม้วนต้วนหายไปเลย ผลคือเราก็จะหายสงสัยในทันที
- ธัมม ทีโป หรือกรณีอื่นเช่น อ่านแล้ว เกิดไม่เชื่อ หรือธรรมารมณ์ทำนองต่อต้าน ไม่รับธรรม ก็กำหนดรู้ อืมม..ต่อต้าน ดูจนดับ แล้วอ่านต่อ มันขึ้นมาอีก ก็กำหนดรู้อีก เอิ่ม..ตกลงคือจะต่อต้านว่างั้น เอ้าถ้าต่อต้านหรือไม่เชื่อ ก็ไม่ต้องอ่านล่ะ เพราะอ่านไปก็ไม่มีประโยชน์ ไม่มีใครใช้หรือบังคับให้เชื่อ ไม่เชื่อก็ไม่ต้องเชื่อ จบข่าว (ไม่ต้องไปพิจารณาว่าทำไมไม่เชื่อ เพราะเนื้อหาหรือว่าเพราะคนเขียน -ก็เพราะเรานั่นแหละไม่เชื่อ จบข่าว)
- ธัมม ทีโป แบบนี้คือ รับรู้สภาวะตามความเป็นจริง มันก็จะไม่เกิดความขัดแย้ง คือไม่ใช่ไม่เชื่อก็ละไป ก็ไปหาอันที่ใช่ อันที่เชื่อ หรืออันที่ชอบ
- ธัมม ทีโป แต่มารมันจะไม่ยอม มันก็จะลากให้เราวิเคราะห์ วิจารณ์ แยกแยะหาเหตุผล ว่าอะไรทำให้เราไม่เชื่อ หรือต่อต้าน แลดูคล้ายๆ เป็นความฉลาดในการพิจารณา แต่ก็ขัดแย้งในตัวเอง ใจนึงก็ว่าอย่างนั้น อีกใจนึงก็ว่าอย่างนี้
มันจะกลายเป็นอยากจะเชื่อแต่ไม่สามารถเชื่อได้ เพราะ.. หรือก็อยากจะยอมรับ แต่ว่ามันก็ยังมีความรู้สึกต่อต้าน ทำไมวะ..
(ถ้ายอมรับว่าไม่เชื่อ แล้วไม่มีความอยากจะเชื่อมาปรุงแต่งซ้อน ก็จบตั้งแต่ลูปแรกล่ะ)
แต่ถ้าไม่เชื่อแล้วไม่ละ ก็จะเกิดความพยายามที่จะฝืนใจให้เชื่อ ก็จะต่อลูปสอง หาเหตุผลแทบตาย ก็ยังไม่เชื่ออยู่ดี ต่อลูปสาม ไปเรื่อยๆ จนเราเบลอ ทีนี้มันก็จะเสียบความคิดที่เป็นกรรมให้เราล่ะ
แต่เบ็ดเสร็จเรามักจบลงด้วยกรรมปรามาสหรือประมาทในธรรม ซ้ำแล้วซ้ำอีก คืออยู่ดีๆ แท้ๆ ถ้าไม่ใช่ไม่ชอบ ไม่เชื่อ แล้วละไป ก็จบล่ะ ไม่เป็นกรรม แต่ถ้าไม่ใช่ ไม่ชอบ ไม่เชื่อแล้วปรุงแต่งต่อ เผลอแผล่บเดียว จะเข้าเขตประมาท และปรามาสในธรรม โดยเรารู้ไม่ทันทันที เพราะมัวแต่เถียงกันในใจ หรือมัวแต่ไหลไปตามกระแสความคิด จนกระทั่งสุดสายมันก็จะดับ(อยู่ดี)
เป็นอันว่าเมื่อมันได้ชักชวนให้เราพลาดพลั้งอย่างน้อยเป็นมโนกรรมไปแล้ว มันก็จะดับไป คือสมอารมณ์หมาย มันก็จากเราไป
ทิ้งเราไว้กับ "ปัญหาเดิมๆ"
นี่คือกับดักของมาร ที่ออกแบบมาอย่างแนบเนียนสำหรับคนช่างคิดช่างพิจารณา ช่างวิพากษ์ วิจารณ์ - ธัมม ทีโป แถมอีกนิด สำหรับน้องใหม่ๆ ปกตินิวรณ์มีพี่น้อง 5 คน ชอบเล่นเป็นทีม บางทีส่งคุณลังเลมาสอดแนม ถ้าเรายอมไปกับคุณลังเล จะพาไปเจอพวกอีก บางสภาวะพอเรามาพิจารณาดีๆ จะเห็นว่า เจ้ย...มากันทั้งทีมเลย ตอนแรกคิดว่าโดนตัวเดียว
นิวรณ์๕ ได้แก่ ๑. กามฉันทนิวรณ์ ความยินดีพอใจในกามคุณ ๕
๒. พยาปาทนิวรณ์ ความผูกโกรธ ปองร้าย
๓. ถีนมิทธนิวรณ์ ความหดหู่(ถีน) ความง่วงหาว(มิทธ)
๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ความฟุ้งซ่าน(อุทธัจจ) และความหงุดหงิดรำคาญหรือกลัดกลุ้มใจ(กุกกุจจ)
๕. วิจิกิจฉานิวรณ์ ความลังเลสงสัยไม่แน่ใจ - ธัมม ทีโป คนขี้เกียจ เขาจะส่ง ถีนมิทธะมา
คนราคะจริต เขาส่งกามฉันทะมา
คนโทสะจริต เขาส่งพยาบาทมา
คนช่างคิด เขามักส่งวิจิกิจฉามา
แล้วจึงส่งต่อให้อุทธัจจะฯ อีกที
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)