วันอาทิตย์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2557

สอบสวนทิฏฐิ - กับดักวิปัสสนา


  • ธัมม ทีโป ลูกศิษย์หลวงพ่อปราโมทย์ทั้งหลาย แม่นมากในคำสอน แต่ว่าเข้าใจการ "ดูจิต" ในทางปฏิบัติหรือเปล่าจ๊ะ ? discussion กันได้
  • ธัมม ทีโป อย่างเรา เรียกว่าแก่กล้า แต่ยังไม่ 100 % นะ 555 ต้องฝึกอีกเยอะ ยิ่งอยู่ในโลก โอกาสหลงมีได้บ่อย ถ้ากำลังไม่ดี เจอกระแสหนักๆ ก็เบลอ หรือหลงได้ พอหลงไปแล้วจนจบโปรเซส ทีนี้พอเราพัก สติกลับมา เขาจะทวนและฟ้องเลย บางทีฟ้องเวลาทำข้อวัตร ทำสมาธิ สิ่งที่เราผิดพลาดพลั้งเผลอ จะขึ้นมาฟ้องเลย สติมาด่าตัวเองทันที ใหม่ๆ ก็จิตตก ไปได้เหมือนกัน เป็นหมาก็หูตูบ จ๋อยเลย แต่ต่อมาก็จะเข้าใจ พอโดนฟ้องก็ต้องยอมรับความผิด พิจารณาจุดที่ผิดพลาด แล้วตั้งใหม่ จิตก็จะกลับมาปกติ บางทีต้องปลงอาบัติ ไม่งั้นไม่หลุด มันจะทำให้จิตเศร้าหมองอยู่อย่างนั้นแหละ จนกว่าเราจะสารภาพบาปกับใครสักคน (หรือในการบ้าน) ถึงจะหลุดได้ก็มี
  • ธัมม ทีโป เช่น บางทีเราเจอผัสสะเวทนา เจอกระแสยักษ์ สติไม่ทัน ด่าน้องไป โวยๆๆ จนมันดับ เราไปทำอย่างอื่น โหย เขาโจทย์ยาว เด้งมาเป็นระยะ เราทำผิดนะ เราแสดงกิริยาโมโหใส่น้อง เราขาดสตินะ เดี๋ยวน้องเสียใจนะ จะขึ้นมาแบบวินโดวส์เลย จนกว่าเราจะไปขอโทษน้องน่ะ ถึงจะหาย 555 

    แต่อย่างนี้ ถ้าเราละปฏิฆะแล้ว ทำไมยังโมโหได้ จริงๆ จิตเราไม่มีโมโห แต่เพราะเหตุเข้ามากระทบ กระแสเข้ามากระทบ แล้วเราสติไม่ทัน กำลังไม่พอ กระแสจากภายนอกย้อมอารมณ์เรา จนเราโมโหตาม เมื่อสติไม่ทันกิเลสที่จรมา เผลอไปยึดปั๊บ โมโหกลายเป็นของเราทันที เราก็แสดงพฤติกรรมทางกายออกไป ผิดศีลเลยทันที (ศีลละเอียด) 

    แต่เมื่อหมดเหตุ มันก็ดับ เพราะว่าโทสะนั้นเป็นผลพวงของการกระทบจากผัสสะเวทนา เมื่อสติเรากลับมา เราก็จะพบว่า เราไม่มีโมโห หรือปฏิฆะในจิตเหมือนเดิม พอสติกลับ กำลังกลับมา จิตก็ว่างจากธรรมารมณ์เหมือนเดิม 

    หากละปฏิฆะได้แล้วจริงๆ ไม่สามารถโกรธใครได้นานเลย อาจจะโกรธขณะที่เกิดการกระทบ แต่คล้อยหลังไปก็ลืมแล้ว ดับแล้ว จะไม่มีการผูกโกรธ ประเภทข้ามวันข้ามคืน ไม่มีอีกเลย 

    นี่แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ละสังโยชน์ได้ เป็นพระอริยะ แต่ถ้าไม่สำรวมอินทรีย์ สติไม่ดี ก็สามารถผิดศีลได้ แต่ไม่ได้ผิดเพราะเจตนา อยากจะผิด คือจิตไม่มีเจตนา แต่สามารถพลั้งเผลอได้ และเมื่อเผลอไปแล้ว ขณะจิตต่อมาที่สติกลับคืนเป็นปกติ ก็จะรู้ได้เลยว่า นี่คือกรรม แล้ววิบากก็รับทันทีด้วย แต่มันจะเบา เพราะจิตมันไม่ได้ยึดมาเป็นอารมณ์
  • ธัมม ทีโป พวกเราต้องทำสติปัฏฐานให้ได้ต่อเนื่อง แล้วปัญญาจึงจะเดิน เมื่อปัญญาเดิน เราจะแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ด้วยกำลังของสติ และสมาธิที่เรามี ตัวสติจะช่วยรักษาศีล ตัวสมาธิจะเป็นฐานให้สติอีกที
  • ธัมม ทีโป หากว่าเราทำข้อวัตร ทุกวัน กระบวนการฟอกจิต มันจะทำทุกวัน แล้วเราเพิ่มการพิจารณา เช่น ทวนศีลแต่ละวัน ขณะทำสมาธิหรือสวดมนต์ ตัวที่เราพลั้งเผลอ จะเด้งขึ้นมา ปัญหาสะสมในจิต จะเด้งขึ้นมา ปกติคนทั่วไปต้องฝันเอานะ ถึงจะชำระอารมณ์สะสมในจิตได้ แต่พวกเรา ไม่ต้องฝัน ควรจะเด้งมาตอนเราทำความเพียรนี่แหละ ช่วงทำความเพียรหรือทำข้อวัตร ช่วงแรกๆ มันจะเด้งขึ้นมาให้เรา "กำหนดรู้" ถ้าไม่หลับหูหลับตาปัดออก ช่วงนี้เป็นวิปัสสนาขั้นพื้นฐานเลย
  • Ruetairat Issara แต่ก่อนหนูไม่เข้าใจค่ะ เวลาโกรธการกระทำภายนอกเราระวังไม่ออกมาทางกาย วาจาได้ แต่จิตใจนี่หนูส่วนใหญ่มันกลับกลายมาทำร้ายตัวเองทำให้เศร้าสร้อย คือมันไม่โกรธคนอื่นแล้วแต่มันโกรธตัวเอง 

    แต่หลังๆวิธีมันเปลี่ยนไปคือเห็นอะไรที่ร้อนๆเต้นๆขณะเกิดเรื่อง มันหยุดสนใจเหตุกระทบพักรบกะคนอื่นมาดูพอมันสาวไปสุดท้ายยอมรับว่าโกรธ มองไปที่กรณีแล้วมองใหม่ มันเข้าใจยอมรับจริงๆ มองตรงๆนึกถึงใจเราถ้าเป็นเขา ความเห็นใจในผู้อื่น 
    จริงๆแล้วใจเราร้ายกาจ หาเรื่องเป็นที่สุด พอรู้ว่ามีตัว ยอมรับว่าโกรธ มองดูตามจริงไม่มีใครผิดถูก ต่างถูกไปตามหน้าที่ของตอนนั้น มันก็หายไปง่ายๆเด้งออกไปเลยค่ะ
  • ธัมม ทีโป ทำผิดบาปอะไร แม่เด้งขึ้นมาฟ้องหมด ละความอายซะ แล้วพิจารณาเราผิดจริงม้ัย ผิดตรงไหน ถ้าไม่เข้าข้างตัวเองเกินไป ทุกอย่างที่เราทำจะถูกนำมาปรักปรำในชั้นศาลหมดเลย 555 ไม่ต้องมีใครมาพิพากษา ทุกอย่างที่ทำเก็บไว้ที่จิตหมดแหละ และจะเด้งขึ้นมาฟ้องเจ้าตัว 

    เราก็ดูให้รู้ว่า พลาดไปตรงไหน ถ้าเราไม่หนี ไม่หลงตัวเอง ยังไงเราก็จะรู้ได้ อ้อ..พลาดตรงนี้นะ ผิดตรงนี้นะ เราก็ทำความเข้าใจ กรรมนั้นหรือสภาวะนั้นก็จะดับไป คือ "รู้" เป็นตัว "ดับ" หรือ "ละ" 

    ชำระกันตอนนี้เลย ถ้าทำได้ทุกวัน มันก็จะไม่หมักหมมอยู่ในจิตเรา

    ยิ่งถ้าเราสำรวมได้ดีในระหว่างวัน ช่วงเวลาชำระนี้จะสั้น เราก็เพียรได้ง่าย ต่อยอดไปได้ง่าย
  • ธัมม ทีโป ถ้าเราเป็นคนไม่หลอกตัวเองนะ กระบวนการนี้จะทำให้เรามีปัญญา มีอีคิว แล้วก็ลดอัตตาไปเรื่อยๆ ไม่ต้องอายตัวเอง อายพระ แค่ยอมรับแล้วดูให้เห็นว่า ปัญหาอยู่ตรงไหน เราก็จะไม่ติดข้องในปัญหานั้นๆ 

    หลวงพ่อจะสอนให้ตำหนิตัวเอง พิจารณาตัวเอง คืออย่างนี้ 

    คนที่ภาวนาดีคือมีการกระทบอะไรก็ตาม สุดท้ายแล้ว มาตั้งศาล พิจารณาโทษ เจอตัวเองเป็นจำเลยได้หมด ผิดจริงทุกข้อกล่าวหา 555

    ถ้าการกระทำไม่ผิด ทวนยังไงก็ไม่ผิด ก็แสดงว่าหลงผิด หรือยึดผิด 

    แต่บางครั้งพิจารณาแล้วเราไม่ผิด ก็จะทำให้ละได้ ว่าเอ้า..เราไม่ผิด หลงไปยึดเอง เลยเป็นทุกข์ หรือติดค้างในจิต อย่างนี้ต่อไปก็รู้ทันล่ะ
  • Ruetairat Issara เมื่อวานหนูฝันค่ะครูมันตลกมาก ที่ในฝันหนู มีโจร3คนขโมยพระพุทธที่บ้านกวาดเรียบ ยกเว้นในห้องนอนหนูเอาไปไม่ได้ มีเรื่องราว ทดสอบ หนูไปรักษาศีลในฝันด้วยดูจะได้หลายข้อ ขำตัวเองค่ะ
  • ธัมม ทีโป ถ้าทำแบบนี้จนชิน จนเป็นนิสัย จะเป็นการพัฒนาตัวรู้ ต่อไปเราศึกษาเพิ่มเติม ทีนี้เราจะไม่พิจารณารายละเอียดแล้ว เราเอาแต่หัวข้อ สถานการณ์นี้ เหตุคือ กิเลสตัวไหน เออเนาะ เรายังมีกิเลสตัวนี้ ต่อไปเราก็ไปเพียรละ หรือเจริญในธรรมที่ตรงข้ามกัน ทีนี้มันยิ่งรู้จักตัวเองดี อ่านตัวเองแตก เป็นคนที่ไม่มีปัญหากับตัวเองอีกเลย จะมีก็ปัญหากับคนอื่น ซึ่งมันก็ลดงานไปเยอะในแต่ละวัน ปัญหากับคนอื่น ถ้าเราไม่มีตัวไปยึด มันหมดเหตุมันก็ดับ
  • ธัมม ทีโป เขาภาวนากันแบบนี้ และใช้ประโยชน์ในการทำข้อวัตร ในขั้นกลาง คือแบบนี้ (ขั้นต้น คือตั้งวัตรปฏิบัติให้ได้ ทำให้ได้ ให้ต่อเนื่อง)
  • ธัมม ทีโป แต่ถ้าเราทำขั้นต้นไม่ได้ ก็จะพัฒนาไปสู่ขั้นกลางไม่ได้ แต่บางคนถ้ารอตั้งได้ ไม่ต้องภาวนากัน ถ้าเรามันนิสัยแย่จริงๆ ตั้งข้อวัตรไม่ได้ซะที ก็อนุญาตให้ทำขึ้นกลางไปเลย แล้วเดี๋ยวมันย้อนไปพัฒนาขั้นต้นให้อีกที
  • ธัมม ทีโป การพิจารณาธรรม เฉพาะข้อธรรม โดยไม่ย้อนกลับมาที่ตัวเรา เป็นการพิจารณาแบบ "วิปัสสนึก" มันได้พิจารณาจริง แต่จะไม่ได้ผล จะกลายเป็นคน ดีชั่วรู้หมด แต่อดไม่ได้ เพราะว่าเราได้แต่คิด แล้วไม่ได้ทำจริง ไม่ได้เอาธรรมะมาใช้จริงๆ ธรรมะที่เรารู้ ต่อให้รู้มากแค่ไหน ก็แก้ปัญหา หรือทำให้ชีวิตเราดีขึ้นไม่ได้ คือไม่มีความก้าวหน้า ก็เป็นเถรใบลานเปล่าเท่านั้นเอง แต่ถ้าเราเอาธรรมะมาทำจริงๆ วิปัสสนาคือดูกายดูใจเราจริงๆ เห็นกิเลส เป็นธรรม ในกายในใจเราจริงๆ เราก็จะค่อยๆ เจริญขึ้นและสามารถเห็นความเปลี่ยนแปลงได้ ภายในสองสัปดาห์จริงๆ
  • ธัมม ทีโป คนที่ทำวิปัสสนาจริงๆ ก็คือเริ่มด้วยสติปัฏฐาน ให้เกิดผู้รู้ เอาผู้รู้มาดูกายดูใจเรา ในมิติต่างๆ ไม่ต้องรู้ธรรมะหรือสมมติบัญญัติอะไรเลย แค่สามัญสำนึกว่า ทำผิด ทำบาป จิตไม่โอเค ทำดี ทำบุญ จิต โอเค แค่นี้เอง เราดูแค่นี้ แล้วสามารถรักษากายและจิตให้อยู่ในแดนกุศลตลอดแล้ว เราสามารถบรรลุธรรมได้ แม้มีความรู้เท่าเด็ก 7 ขวบ
  • Noey Pan ครูให้ discuss เรื่องการดูจิตในทางปฏิบัติ ส่วนตัวเข้าใจว่าคือให้ดูจิตอย่างที่เขาเป็น ยอมรับทุกอย่างที่เขาเป็นค่ะ ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อเอามาคิดพิจารณาต่อ หรือปรุงแต่งต่อ รู้ลงไป ณ ขณะปัจจุบัน 

    ส่วนตัวหนูก็ทำอย่างนั้นได้บ้างไม่ได้บ้าง สังเกตว่ายังวิปัสสนึกอยู่เยอะค่ะ คือติดวิเคราะห์ ติดสอนตัวเอง บางทีก็ไม่อยากยอมรับที่เขาเป็น คราวก่อนมีประเด็นเรื่องกับดักความสำเร็จที่หนูว่าหนูก็พอรู้กับใจแล้วนะ แต่มันก็ยังติดเพ่งในงานอยู่ พอมาสารภาพในการบ้าน การเพ่งมันเบาขึ้นเยอะเลย สงสัยเป็นอย่างที่ครูบอกข้างบน แต่ก่อนเวลาถือศีลแปดแล้วมันหลุดอะไร ก็สงสัยว่าพระอาบัติยังมีวิธีปลงอาบัติ มีการสารภาพกับหมู่สงฆ์ แล้วอย่างเราต้องทำไง เพิ่งรู้ว่าการสารภาพในการบ้านก็เทียบได้กับการปลงอาบัติ 

    หนูว่าตัวเองเห็นอาการไหวของจิตได้ค่อนข้างละเอียด บางทีมันยังไม่ชัดว่าเป็นตัวอะไร แต่เหมือนว่าจะเป็นอกุศล 555 บางทีก็ตัดฉับ ขอขมาเลย (ไม่รู้อย่างนี้ปรุงแต่งเกินไปรึเปล่า) บางทีก็ดูเฉยๆ ถ้ามันอ่อนจนไม่รู้กุศลหรืออกุศล ส่วนใหญ่มันก็จะยอมดูเฉยๆ ค่ะ ถ้าเป็นอกุศลตัวที่จิตมันติดเยอะ บางทีก็จะเกิดการแอบปฏิเสธ หลีกหนี มันจำความรู้สึกนี้ได้ มันไม่ชอบ ประมาณนี้ค่ะ
  • Noey Pan อ่านที่ครูตอบนิ้งไปก็ได้ข้อคิดในการดับความปรุงแต่งมากขึ้นค่ะ จะได้ลองเอาไปทำดู
  • Noey Pan ขอบคุณค่ะ ^/\^
  • ธัมม ทีโป เอาที่น้องวันจันทร์ก่อน โมทนาด้วย เพิ่งโหลดข้อความให้เห็น บางทีธรรมเขาก็ทดสอบผ่านความฝันนะ ตอนนี้ห้องนอนนิ้ง โจรเข้าไม่ได้ ลองไปดูว่าโจรสามคนนั้นมันคืออะไร แล้วก็ ให้ฝึกยันทุนด้วย ฝันไม่ดียันทุนเลย
  • ธัมม ทีโป ตอบเนย- จิตตานุปัสสนาขั้นพื้นฐานคือยอมรับอย่างที่เป็น จิตหดหู่ก็รู้ว่าจิตหดหู่ แต่ในขั้นสูง ต้องฝึกพลิกจิตด้วย เอาสติมาพลิกจิต เมื่อรู้ว่าจิตหดหู่ ก็ต้องเจริญกรรมฐานเพื่อยกจิตให้พ้นจากอารมณ์หดหู่ได้ด้วย ลองไปดู พระพุทธเจ้าก็สอนเรื่องนี้ ท่านไม่ได้ให้เราดูเฉยๆ โดยไม่แก้ไขจิตนะ
  • ธัมม ทีโป หลวงพ่อถึงบอกว่า "วิปัสสนา คือ เข้าใจ" และ "สมถะ คือ ทำใจ" จริงๆ แล้วถึงต้องทำทั้งวิปัสสนา และสมถะ ถ้าเราเอาแต่เข้าใจ แต่ไม่ทำใจเลย เราก็ไม่พ้นมารค่ะ
  • ธัมม ทีโป แต่ถ้าสติเรากล้า จะเป็นสภาวะอย่างที่น้องวันจันทร์บอก คือพอเรารู้ปั๊บ มันจะดับเลย คืออารมณ์หรือกิเลสมันหายไปเลย อันน้ันคือกำลังการพิจารณาหรือการรู้มันเต็มรอบ ในสภาวะนั้นๆ จะให้ผลเป็นการดับลงของธัมมารมณ์ จิตจะพ้นจากการยึด อันนี้เป็นสภาวะที่พิจารณาทั้งสติและปัญญาไปพร้อมกัน
  • ธัมม ทีโป แต่บางคน กำลังสติแก่กล้า เพียงแค่รู้ว่าเกิดอกุศลจิต จิตขยับไหว รู้ปั๊บ ดับเลย จนบางทียังไม่รู้เลยว่าอารมณ์นั้นคืออะไร ถ้าดับหายจริง ขณะจิตต่อมาคือ "รู้" หรือ "ตื่่นรู้" จิตเป็นกุศล พร้อมทำงานในขณะจิตต่อๆ ไป อันนี้ใช้ได้ แม้ไม่แตกฉานในด้านปัญญา ก็ไม่เป็นไร วันนึงเขาจะคลี่ให้เอง แต่อันนี้คือสติมีกำลังมาก
  • ธัมม ทีโป แต่อันที่ไม่ควรเป็นคือ พอมันขึ้นมาปั็บ กระโดดดับมัน เอากำลังขับไล่มันด้วยความไม่รู้ หรือความไม่ชอบใจในสภาวะ อันนี้ก็คือสมถะ หินทับหญ้าดีๆ นี่เอง อันนี้บางทีมันก็ยังค้างอยู่ที่จิต แต่มันหายไปแล้วตรงหน้าเรา เรียกว่าเก็บกดโดยไม่รู้ตัว เพราะว่าติดดี หรือกลัวมีกิเลส หรือไม่ชอบกิเลส อันนี้แหละที่เรียกว่า ดูจิตแล้วไม่เห็นสภาวะธรรมตามความเป็นจริง ผลของจิตหลังจากที่ธัมมารมณ์ดับแล้ว จะเป็นโมหะ คือไม่รู้ หรือหลง
  • ธัมม ทีโป สามสภาวะนี้ต่างกันค่ะ
  • ธัมม ทีโป พวกมีสมถะจะเป็นอย่างที่สามกันมากเลย แล้วก็พวกติดดี รู้มาก ก็จะเป็นอย่างที่สามกันเยอะเหมือนกัน
  • Noey Pan 555 โดนดีค่ะ วันก่อนหนูจิตใจเหี่ยวแห้งกับเรื่องเดิมๆ ดูมันมั่งเปลี่ยนอารมณ์มั่ง อย่างไปฟังธรรมงี้ จะมองว่าเป็นการฝึกพลิกจิตได้ไหมคะ ถ้าเราไม่ได้ปล่อยจิตทิ้งแบบเลิกดู (หรือว่าหากิจกรรมอื่นที่ใช้ความคิดน้อยๆ พลิกจิตดีกว่า จะได้มีโอกาสดูมันเยอะๆ) วันนั้นทำแล้วจิตใจสบายขึ้นหน่อยนึง
  • Noey Pan ขอบคุณค่ะ m(_ _)m
  • ธัมม ทีโป คือหนูต้องแยกให้ออกว่า ดูจิต กับจ่อมอารมณ์น่ะมันไม่เหมือนกันดอก หนูจิตใจเหี่ยวแห้ง แล้วก็ดูจิตว่าจิตเหี่ยวแห้ง แต่ไม่หายเหี่ยวแห้ง นี่คือเธอจ่อมไปเรียบร้อย
  • ธัมม ทีโป การฟังธรรมถือเป็นกุศโลบายการพลิกจิตอย่างหนึ่งจ้ะ
  • ธัมม ทีโป การดูจิตน่ะ ถ้ากำลังสติเธอตั้งมั่นพอ แค่เห็นว่าจิตเหี่ยวแห้ง สติมันรู้ มันพลิกเองโดยอัตโนมัติเลย เรียกว่า "ละ" ก็ได้ คือพอรู้ปั๊บ มันละเองเลย แต่ถ้าเราเห็นว่าจิตเหี่ยวแห้ง แล้วยึดภาวะเหี่ยวแห้งนั้นไว้ แล้วไม่รู้ว่าตัวเองยึดไว้ จิตก็จะเหี่ยวแห้งต่อไปเรื่อยๆ
  • ธัมม ทีโป ความจริงคือว่า จิตหนูเหี่ยวแห้งกับเรื่องเดิมๆ เพราะว่าจิตหนูยัง "ยึด" ในเรื่องเดิมๆ ยัง "ละ" ไม่ได้ มันก็จะยึดไปจนหมดกำลัง ถ้าเธอไม่ทำอะไรเลย แต่ดูสภาวะให้ตรง คือดูให้เห็นว่าจริงๆ แล้วจิตเธอเหี่ยวแห้ง เพราะเธอยึดในอุปปาทานเรื่องเดิมๆ ที่ว่า แล้วละไม่ได้ แล้วเธอก็เลยต้องปล่อยให้มันเหี่ยวแห้งต่อไปเรื่อยๆ เธอตามรู้จนมันดับ เธอเห็นแบบนี้บ่อยๆ เธอก็อาจเกิดพุทธิปัญญาว่า ไอ้บร้า... ยังไงมันก็ดับ ต่อให้ยึดยังไง ถึงเวลามันหมดกำลัง มันก็ต้องดับ.. กรูจะยึดไปทำทรัพย์อะไร ต่อไปไม่ยึดดีกว่า เพราะว่าไม่ยึดหรือยึด สุดท้ายมันก็ต้องดับ จะยึดให้ทำร้ายตัวเองไปทำไม ถ้าเห็นได้ถึงตรงนี้ มันถึงจะเลิกยึด แล้วต่อไปแม้มีอารมณ์เดิมๆ ก็จะไม่ยึดในอารมณ์นั้นอีก ทีนีเธอจะเห็นว่า ผัสสะ หรือเวทนามันเข้ามา แต่เธอไม่ปรุงแต่งต่อ จิตเธอก็ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ไม่ใช่ผู้เหี่ยวแห้ง
  • ธัมม ทีโป ปัญหาของพวกอ่านมากฟังมาก คือ ผิดฝาผิดตัว คือเวลาฟังธรรมแล้วคิดตาม แต่สิ่งที่คิด กับสภาวะธรรมจริงๆ มันคนละตัวกัน เราบอกว่าเราดูจิต แต่จริงๆ เราไม่มีผู้รู้ผู้ดู ที่แยกออกมา ก็ไม่เรียกว่าเป็นการดูจิตที่แท้จริง แต่ยังไงก็ตาม แม้จะดูแบบจ่อมจม เพราะกำลังไม่พอยกเหนืออารมณ์ ก็ยังดีกว่าไม่ดู ไม่รู้เลยอยู่ดีแหละจ้ะ
  • Noey Pan ขอบคุณค่ะครู ขออนุญาตเรียบเรียงความคิดให้ครูดูว่าถูกมั้ย

    การดูจิตเหี่ยวแห้ง ถ้าดูจนจบโดยไม่พลิกจิต หรือพลิกไม่ได้ จนเห็นมันดับ ก็มีประโยชน์เพราะจิตจะได้เรียนรู้ว่ายึดไปก็เท่านั้น เดี๋ยวก็ดับ

    แต่ถ้าจะให้ดีกว่านั้นคือ ถ้าเห็นแล้วมันไม่ดับทันที แปลว่าจิตไม่ตั้งมั่น กำลังที่จะดูจิตอย่างมีประสิทธิภาพยังไม่พอ (ยังไม่มีสภาพจิตที่เหมาะที่จะดูจิตในขณะนั้น?) ก็ควรพลิกจิตก่อน การพลิกจิตหนูเดาว่าจะทำสมถะก็ได้ หรือทำอะไรก็ได้ที่ช่วยให้จิตเป็นกุศล มีกำลัง เช่น ฟังธรรม มีกำลังพอแล้วก็มาดูจิตอีกที

    ถ้าข้างต้นเข้าใจถูกแล้วก็มีคำถามต่ออีกหน่อยค่ะ คือระหว่างที่เราพลิกจิต เราควรจะดูอกุศลอย่างต่อเนื่องไปมั้ยคะ หรือว่าจดจ่อกับอารมณ์ใหม่ไปเลย เช่น ทำสมถะดูลมก็จดจ่อกับลมไปเลย อกุศลอะไรไม่ต้องสนใจดูก่อน
  • ธัมม ทีโป อกุศลนี่ ดูไปทำไมเหรอ ?
  • Noey Pan เข้าใจว่าเพื่อทำวิปัสสนาค่ะ
  • ธัมม ทีโป แล้วมันเป็นการทำวิปัสสนาตรงไหนอ่ะ 
    ผลที่ได้จากการดูอกุศลคืออะไร ?
  • ธัมม ทีโป " เราควรจะดูอกุศลอย่างต่อเนื่องไปมั้ยคะ?" ที่ถามมาอย่างนี้ เราถามกลับนิดว่า ดูอย่างไร หรือดูอะไร ช่วยขยายความตามที่เนยเข้าใจหน่อย

    และคำถามที่สองก็ถามว่า ดูอกุศลอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ แล้วยังไงต่อ ?
  • Rungtiwa Klibngern สาธุค่ะ ครูเจี๊ยบ
  • Noey Pan ตอบตามที่เข้าใจก็คือ
    ทำวิปัสสนาคือดูความเป็นไตรลักษณ์ของกายใจ ในที่นี้ อกุศลคือสภาวะเด่นของใจ ณ ขณะนั้น การดูอกุศลที่เกิดถ้าต่อเนื่องได้เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของอกุศล ทำให้ใจเห็นว่า เออ มันก็ไม่เที่ยง ไม่ต้องไปยึดมากมายก็ได้

    ดูอกุศลอย่างไร จริงๆ ก็คือดูสภาพจิตใจไปเรื่อยๆ หนูใช้คำว่าดูอกุศลเพราะเป็นตัวที่กำลังเด่นที่สุด แต่ถ้ามีตัวอื่นมาผสมโรงก็ดูด้วยค่ะ

    ดูไปเรื่อยๆ แล้วยังไงต่อ ถ้าทำวิปัสสนาต่อก็คือดูสภาพกายใจไปเรื่อยๆ ถ้าอกุศลดับแล้วก็ดูสภาพ/สภาวะ ณ ปัจจุบันต่อไปค่ะ

    ขอบคุณค่ะครู
  • ธัมม ทีโป พูดโดยย่นย่อ คือดูอกุศลที่เกิดขึ้นในจิต และดูอกุศลที่ดับไป ใช่ป่ะ เนย คือดูให้เห็นไตรลักษณ์ คือการเกิดดับของอกุศล (ซึ่งมีกำลังมากในขณะนั้นใช่ป่ะ ?)
  • ธัมม ทีโป เนยยังไม่มาตอบ แต่อยากเฉลยแล้ว อิอิ..
  • ธัมม ทีโป คำถามคือ "จนป่านนี้ยังไม่รู้อีกหรือว่า อกุศลน่ะ เกิดขึ้้น ตั้งอยู่ ดับไป" ยังจะต้องไปดูอะไรมานอีก 555 ดูครั้งนี้ แล้วมันต่างกับครั้งอื่นๆ เหรอ เหมือนว่า บทเรียนนี้ก็เรียนมาจนรู้ ท่องได้ขนาดนี้แล้ว ยังจะต้องไปดูมันอีกเหรอ ?
  • Noey Pan ตอบไปข้างบนแล้วค่ะ อิอิ
    เริ่มงงนิดๆ เดี๋ยวรอครูอ่านคำตอบก่อนค่ะว่ามีอะไรเสริมไหม
  • ธัมม ทีโป ตอบตรงไหนอ่า
  • ธัมม ทีโป เอาตรงนี้ก่อน คำถามคือ "จนป่านนี้ยังไม่รู้อีกหรือว่า อกุศลน่ะ เกิดขึ้้น ตั้งอยู่ ดับไป" ยังจะต้องไปดูอะไรมานอีก 555 ดูครั้งนี้ แล้วมันต่างกับครั้งอื่นๆ เหรอ เหมือนว่า บทเรียนนี้ก็เรียนมาจนรู้ ท่องได้ขนาดนี้แล้ว ยังจะต้องไปดูมันอีกเหรอ ?
  • Noey Pan เข้าใจว่าสำหรับวิปัสสนาอะไรเกิดก็ดูอันนั้น ไม่ว่ามันจะเคยดูมากี่ครั้งแล้วอะค่ะ แหะๆ หนูว่าที่หนูท่องได้มันอาจแค่ในระดับความคิด ระดับจิตเขาอาจจะยังเห็นไม่พอ?
  • Noey Pan อันนี้คือที่ตอบไว้ข้างบน >>
    ตอบตามที่เข้าใจก็คือ
    ทำวิปัสสนาคือดูความเป็นไตรลักษณ์ของกายใจ ในที่นี้ อกุศลคือสภาวะเด่นของใจ ณ ขณะนั้น การดูอกุศลที่เกิดถ้าต่อเนื่องได้เห็นความเป็นไตรลักษณ์ของอกุศล ทำให้ใจเห็นว่า เออ มันก็ไม่เที่ยง ไม่ต้องไปยึดมากมายก็ได้

    ดูอกุศลอย่างไร จริงๆ ก็คือดูสภาพจิตใจไปเรื่อยๆ หนูใช้คำว่าดูอกุศลเพราะเป็นตัวที่กำลังเด่นที่สุด แต่ถ้ามีตัวอื่นมาผสมโรงก็ดูด้วยค่ะ

    ดูไปเรื่อยๆ แล้วยังไงต่อ ถ้าทำวิปัสสนาต่อก็คือดูสภาพกายใจไปเรื่อยๆ ถ้าอกุศลดับแล้วก็ดูสภาพ/สภาวะ ณ ปัจจุบันต่อไปค่ะ

    ขอบคุณค่ะครู
  • ธัมม ทีโป เนยลองอ่านคำถามเรา แล้วตอบคำถามเราตรงๆสิ ถามอะไรมา พิจารณาแล้วตอบเลย โดยไม่ต้องอ้างอิงความรู้เก่า
  • ธัมม ทีโป คืออันที่ตอบน่ะ ครูอ่านแล้ว ก็เลยถามต่อไง
  • ธัมม ทีโป อย่างนี้เรียกว่า ยังไม่ร่วมภพกัน ยังไม่อยู่กับปัจจุบันเดียวกัน เห็นๆ เลย อิอิ
  • ธัมม ทีโป คำถามคือ "จนป่านนี้ยังไม่รู้อีกหรือว่า อกุศลน่ะ เกิดขึ้้น ตั้งอยู่ ดับไป" ยังจะต้องไปดูอะไรมานอีก 555 ดูครั้งนี้ แล้วมันต่างกับครั้งอื่นๆ เหรอ เหมือนว่า บทเรียนนี้ก็เรียนมาจนรู้ ท่องได้ขนาดนี้แล้ว ยังจะต้องไปดูมันอีกเหรอ ?
  • Noey Pan รู้ค่ะว่าอกุศลเกิดแล้วดับ อาจต่างจากครั้งอื่นๆ ในรายละเอียด แต่ก็ดับเหมือนกัน เริ่มงงว่าถ้าไม่ดูแบบนี้แล้วควรทำไงค่ะ
  • ธัมม ทีโป นั่นสิ.. เพราะหนูบอกว่าดูอกุศลแล้วมันเหี่ยวแห้งไง แล้วหนูก็ถามควรจะดูต่อไป หรือพลิกจิตเลยดี ถูกป่ะ ? ครูก็ย้อนถามว่า ดูอกุศลไปทำไมกัน
  • ธัมม ทีโป หนูตอบว่าดูให้เห็นไตรลักษณ์ ครูก็ถามต่อว่า จนป่านนี้ยังไม่เห็นอีกหรือไตรลักษณ์ คือมันก็รู้ทั้งรู้อยู่ ว่าอกุศลเกิดแล้วดับ หนูก็ว่า "อาจต่างจากครั้งอื่นๆ ในรายละเอียด แต่ก็ดับเหมือนกัน" ก็นั่นซี.. แล้วหนูจะไปทนดูมันทำไม ในเมื่อสาระสำคัญของมัน ก็มีแค่นั้น สาระสำคัญที่หนูเรียกว่าวิปัสสนาหรือพิจารณาน่ะ คือเขาดูให้รู้ชัด เห็นความจริงว่า "อะไรๆ ก็ตาม มันเกิดแล้วก็ดับ"
  • ธัมม ทีโป พระอัญญาโกณทัญญะ ท่านมีดวงตาเห็นธรรม ท่านฟังธรรมพระพุทธเจ้าเสร็จแล้วก็โพล่งว่า "ยัง กิญจิ สมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะ ธัมมันติ" แปลว่า สิ่งใดเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมดับไปเป็น *** ธรรมดา

    ท่านเห็นแค่นี้เลย บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันองค์แรกในพระพุทธศาสนา
  • ธัมม ทีโป เดอะเนย เห็นมากี่รอบแล้วเนี่ย 555 ทำไมยังงงงวยอยู่ล่ะ ?? เคยสงสัยอ๊ะป่าว ??
  • ธัมม ทีโป ปัญหาอยู่ที่ "ไม่รู้" หรือ อยู่ที่ "ไม่ยอมรับ" กันแน่จ๊ะ ? ! ?
  • Noey Pan อ่า ค่ะ ที่ผ่านมาหนูนึกว่ามันจะเกิดกี่ทีก็ต้องดูอะค่ะ (ถ้าจะทำวิปัสสนา) จนกว่ามันจะแจ้ง / เข้าใจในสภาวะ เข้าใจตัวเองจริงๆ อันนี้ที่ทุกข์ก็เข้าใจว่าเพราะมันยังข้องอยู่ ยังไม่แจ้ง
  • ธัมม ทีโป อันนั้นน่ะถูก คือเกิดกี่ที ก็ต้องดู ดูว่ามันเกิด แล้วก็ดับ อันนี้น่ะถูกเลย แต่เนยยึดธรรมนี้ จนไม่สามารถตอบคำถามตัวเองได้ว่า เราจะต้องพลิกจิตเลยไหม เพราะว่าเราดูอกุศล แล้วจิตมันเหี่ยวแห้ง
  • ธัมม ทีโป คือเวลาหนูตอบน่ะ มันตอบด้วยทฤษฏี มันถูกตามบัญญัติที่กล่าวมา แต่ว่าในทางปฏิบัติน่ะ หนูยังไม่เข้าใจในสภาวะไง เพราะเรายึดบัญญัติ ที่เราตีความว่า มันต้องเป็นอย่างนี้อย่างนี้ เมื่อเราเกิดสภาวะ เราติดสภาวะ เราไม่สามารถแก้ไขสภาวะได้ เพราะจริงๆ แล้วสภาวะจริง กับบัญญัติที่เรายึดไว้ มันไม่ตรงกัน พูดง่ายๆ เราตีความเคลื่่อนไปจากความจริง
  • Noey Pan คือครูหมายความว่า การพยายามดูต่อในสภาพเหี่ยวแห้ง ไม่สำคัญเท่าการพลิกจิตให้พ้นจากความเหี่ยวแห้งใช่ไหมคะ
  • ธัมม ทีโป หนูว่าไงล่ะ ?
  • ธัมม ทีโป ดูต่อในสภาพเหี่ยวแห้ง แล้วจะได้อะไร ?
  • ธัมม ทีโป และ พลิกจิตให้พ้นจากความเหี่ยวแห้งตอนนั้นเลย จะได้อะไร ?
  • ธัมม ทีโป ลองพิจารณาตามครู แล้วตอบคำถามมาก่อน
  • Noey Pan ดูต่อในสภาพเหี่ยวแห้ง ก็อาจทนดูได้จนเห็นความดับค่ะ แต่ก็เห็นแบบเหี่ยวแห้งอยู่ดี ๕๕๕
    พลิกจิตเลย จิตก็สภาพดีขึ้น ได้เห็นว่าจิตมันเปลี่ยนไปตามเหตุที่เปลี่ยน แต่อาจไม่แจ้งในทุกข์ที่ติดข้องจริงๆ
  • Noey Pan คือแบบแรกก็อาจไม่แจ้งเหมือนกันค่ะ แต่มีข้อดีที่ว่าดูมันต่อเนื่อง
  • Noey Pan ส่วนข้อสองมีข้อดีที่ว่า มีกำลังในการกลับมาดูจิตต่อ
  • Noey Pan คือพลังในการดูที่เพิ่มขึ้น ก็อาจทำให้ดูได้เป็นกลางและมีคุณภาพกว่า
  • ธัมม ทีโป นี่แหละคือกับดักนักวิปัสสนา
  • ธัมม ทีโป เหมือนเราเหยียบขี้หมาน่ะ เราดูก็รู้ว่าขี้หมา เพราะเรามีประสบการณ์ เราต้องดมมั้ย เพื่อเฟิร์มว่ามันเป็นขี้
  • ธัมม ทีโป ต้องวิจัยขี้ต่อมั้ย ว่ามันขี้หมาหรือขี้แมว หมามันทำไมมาขี้ตรงนี้
  • ธัมม ทีโป เหยียบขี้หมา ก็เหม็น เราควรเก็บไว้วิจัยให้แน่ชัดจริงๆ แล้วค่อยไปล้าง หรือว่าพอรู้ว่าเป็นขี้หมาแล้ว ก็ชักเท้าออก แล้วไปล้างเลยดีกว่า
  • ธัมม ทีโป ปัญหาของพวกวิปัสสนาล้วนๆ คือ ไม่มีคุณภาพของจิตพอที่จะวิปัสสนาได้ แล้วไปเข้าใจว่า การพิจารณาความคิด คือการวิปัสสนา เพราะว่าไม่รู้จริงๆ ว่าการวิปัสสนาจริงๆ มันเป็นยังไง
  • Noey Pan ค่ะครู 
  • ธัมม ทีโป ขออ้างอิงหลวงปู่ศรีเลย 

    ...เทศนาธรรม...

    “ให้จิตมีสมาธิก่อน”

    ...การที่จะประพฤติปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนานั้น ต้องอาศัยการรวบรวมกำลัง คือทำให้จิตใจมีกำลังก่อน เราจึงจะออกประพฤติปฏิบัติฝึกหัดได้อย่างเต็มที่ ถ้าหากจิตใจอ่อนกำลังแล้ว ก็ถึงแม้ว่าเราจะประพฤติปฏิบัติยังไง ก็เป็นไปได้ยาก...

    หลวงปู่ศรี มหาวีโร 
    เทศนา เรื่อง หลักในการปฏิบัติจิตใจ
  • ธัมม ทีโป ถ้าให้ครูฟันธง ก็จะบอกว่า ที่หนูเนยทำอยู่ ยังไม่ใช่การวิปัสสนาที่แท้จริง เพราะขาดพื้นฐานคือกำลังในการวิปัสสนา จึงส่งผลให้เป็นเพียงการดูความคิด หรือภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้น และเมื่อดูไปเรื่อยๆ ก็จมไปในความคิดหรือภาวะอารมณ์โดยไม่รู้ตัว จึงเป็นคำตอบว่า ทำไม "รู้แล้ว" จึง "ละ" ไม่ได้
  • ธัมม ทีโป แล้วเพราะเรายึดว่า การวิปัสสนาที่เราฟังมา อ่านมา คือขั้นตอนแบบนี้ๆ เราก็เลยมองว่า การที่ผลมันไม่ได้ เป็นเพราะเรายังไม่รู้จริงๆ ยังไม่แจ้งจริงๆ เราก็เลยยังดูจิตแบบเดิมๆ ต่อไป
  • Noey Pan เข้าใจค่ะ  ต่อไปคงต้องสังเกตว่าขนาดไหนถึงเรียกว่ามีกำลังพอจะดูค่ะ
  • Noey Pan ก็คือที่ว่ายังไม่แจ้งนั้นเข้าใจถูก แต่ที่ไม่ถูกคือวิธีทำให้แจ้ง
  • ธัมม ทีโป การดูจิต ในแง่วิปัสสนา จะทำได้ดีก็ต่อเมื่อเรามีสติพอ เรามีสติพอ ตามบัญญัติคือ ตั้งมั่นที่ฌาน 4 แล้วถอยลงมาพิจารณา บางคนถอยมาระหว่างสามกับสี่ บางคนถอยออกเลย คือพอกำลังเต็มแล้ว ก็ออกจากฌาน มาเป็นปกติ ก็จะมีกำลังพอที่จะวิปัสสนา "ตามความเป็นจริง" เพราะภาวะนั้น จิตเราเป็นปกติ เพราะได้กำลังจากสมถะ
  • ธัมม ทีโป ถ้าทำได้อย่างนี้ เวลาที่เราพิจารณาสภาวะธรรม หรือที่เรียกว่าวิปัสสนาเนี่ย จะเห็นเลยว่ามัน "ขาด" คือ "อ่านเกมขาด"
  • ธัมม ทีโป ในสายเจริญสติ จะมีคำกล่าวว่า "จิตนุ่มนวลควรแก่งาน" ก็แปลว่า จิตคุณต้องมีกำลัง มีปีติ มีสุข จนมันนุ่มนวล เมื่อนุ่มนวลแล้ว ก็พร้อมที่จะทำงาน งานนี้คือ "การวิปัสสนา" ซึ่งหากเราเอาจิตที่ควรแก่งานมาทำงาน ผลที่ได้ ไม่ว่ามันจะเป็นสภาวะแย่แค่ไหนก็ตาม เราก็จะเห็นมันตามความเป็นจริง และเห็นมันเป็น "ธรรมดา"
  • ธัมม ทีโป แต่หากจิตไม่มีกำลังพอ มันจะเห็นความจริง แต่ไม่ได้เห็นอย่างเป็นธรรมดา เห็นอย่างมีกิเลสชี้นำ หรือมีการปรุงแต่ง ให้ค่า ว่าดี ว่าไม่ดี ว่าถูก ว่าผิด ว่าชอบ ว่าไม่ชอบ
  • ธัมม ทีโป นักภาวนาส่วนหนึ่ง มัวแต่เพลินกับการดูจิต จนไม่ทันเห็น หรือรู้ทันว่าขณะนั้นจิตมันปรุงแต่งไปเรียบร้อยแล้ว มันให้ค่าไปเรียบร้อยแล้ว ผลของจิตที่ปรุงแต่ง คือโดนอารมณ์ที่ดูมันย้อมไปเรียบร้อยแล้ว ก็คือสภาวะอารมณ์หลังดูจิต ว่ามันได้ผลเป็นจิตที่อ่อนแรง หรือบางทีก็เป็นอกุศลจิต เช่น โมหะ ไปเลย
  • ธัมม ทีโป ครูบาอาจารย์สายวัดป่า จึงสอนให้ทำจิตให้มีกำลังก่อน แล้วให้ทำวิปัสสนาเมื่อจิตพร้อม แล้วในการดูจิต ท่านจะกล่าวเหมือนกันหมดว่า ให้ดูแค่ว่าจิตคิด รู้ว่าคิด ไม่จำเป็นต้องไปศึกษาต่อว่าคิดเรื่องอะไร เพราะทันทีที่เรารู้เรื่องที่คิด เราก็สูญเสียที่นั่งชั้นวิปัสสนาไปแล้ว
  • ธัมม ทีโป ที่นั่งชั้นวิปัสสนาคือ เห็นจิตที่คิดเกิดขึ้น และดับไป เมื่อสังขารดับไป จิตก็ว่างจากสังขาร จนกระทั่งเกิดความคิดใหม่ เหมือนฟองสบู่ ที่เกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับ แต่จิตมันอยู่เฉยๆ ผู้รู้ตั้งมั่นดู รู้ เฉยๆ แล้วก็จะเห็นความคิดที่มันไม่ใช่เรา มันมาเกิดมาดับต่อหน้าต่อตาเรา
  • ธัมม ทีโป ดูแล้วก็จะได้ประมาณว่า อ้าว ไอ้ห่า..กรูโดนหลอก สังขารมันเกิดแล้วก็ดับ ไปยึดมั่นให้ทุกข์เล่นไปงั้นเอง จริงๆ อยู่เฉยๆ ไม่ต้องอะไรมันก็ดับ เราทุกข์เพราะเราไปเชื่อว่ามันจริง มันเที่ยง เพราะเราไม่ชอบมัน เลยต้องดิ้นรนให้พ้นจากมันบ้าง หาอะไรมาแก้ไขให้หายบ้าง แต่จริงๆ แค่เราขยับให้พ้นจากอำนาจการยึดเหนี่ยวของมัน ก็หลุดแล้ว
  • ธัมม ทีโป ประเด็นก็คือ เนยดูจิตที่เหี่ยวแห้ง แล้วตีความว่านี่เป็นจิตอกุศล ต้องดูให้มันดับ แต่จริงๆ ที่เนยดูน่ะ มัน "ไม่ใช่จิต"
  • ธัมม ทีโป มันคือ "นิวรณ์"
  • ธัมม ทีโป จบข่าว
  • ธัมม ทีโป โดนหลอกให้ดูนิวรณ์ โอกาสรอดจากแม่นางทั้งห้า ยากโพดๆ 

    ขนาดป้าเอง กล้าพูดเลยว่า ถ้าตายคืนนี้ พรุ่งนี้ไม่เกิดเป็นคนอีกแล้ว

    แม้กระนั้นหากกำลังตกเมื่อใด ก็ยังแพ้แม่นางทั้งห้า ตัวใดตัวหนึ่ง แบบไม่ต้องผุดเกิดได้เหมือนกัน
  • ธัมม ทีโป จิตที่ไม่พ้นจากนิวรณ์ จะไปดูอะไรได้ล่ะจ๊ะ ในเมื่อนิวรณ์มาเพื่อขวางกั้นทั้งสติ สมาธิ และปัญญา ในทุกรูปแบบ
  • ธัมม ทีโป ดังนั้น ผู้ที่มีประสบการณ์มาก คือโดนหลอกมาเยอะแล้ว ก็ต้องชี้ให้เห็นว่า จิตตกเมื่อใด ให้ยกก่อน แน่นอก ต้องยกออกก่อน คือไม่ต้องไปพิจารณามันหรอก ยกตั้งก่อน ค่อยว่ากันใหม่ 555
  • Ruetairat Issara สาธุ กราบขอบคุณครูค่ะ กับขอบคุณเดอะเนยจ้ะ
  • ธัมม ทีโป หลวงพ่อเราอ่ะ มากราบท่านทีไร ท่านก็ยกให้ทุกที จนกว่ามันจะฉลาดยกเองเป็นน่ะ
  • ธัมม ทีโป เราไปลองทดสอบดูก็ได้ ปัญหาอะไรก็ตามที่เกิดขึ้นแล้วกระทบเรา แปลเป็นภาษาบาลีว่า "ผัสสะ"
  • ธัมม ทีโป เมื่อผัสสะเกิดขึ้น แล้วเรารู้ไม่ทัน ทำให้เกิดอุปทานปรุงแต่งว่าดีว่าชั่ว ก็จะเกิดเวทนาตามมา ถ้าถึงขึ้นที่ว่าเวทนา ก็คือ ปัญหานั้นทำให้เราเกิดความทุกข์ขึ้นมา จนกระทั่งทำให้จิตตก
  • ธัมม ทีโป ก. นั่งพิจารณามันไป จนกว่าจะวางได้
  • ธัมม ทีโป ข. ไม่ต้องไปพิจารณามันทันที แต่ไปยกจิตก่อน ทำไงก็ได้ให้จิตมันละความทุกข์นั้นๆ ไปก่อน (ชั่วคราวก็ยังดี) เมื่อจิตมันลืมปัญหานั้นไปแล้ว คือสบายใจแล้วว่างั้น ค่อยกลับมาพิจารณาใหม่
  • ธัมม ทีโป เอาแค่นี้ ไปลองทำดูจริงๆ แล้วไปวิจัยว่า อย่างไหนดีกว่ากัน ให้ผลลัพธ์ดีกว่ากัน หรือให้ความรู้ในการวิปัสสนาดีกว่ากัน
  • ธัมม ทีโป ถ้าเนยแน่จริง ไปลองทำการวิจัยดูเลยค่ะ ได้ผลจริงๆ จากสภาวะของเราจริงๆ แล้วค่อยมาคุยกัน (ไม่เอาฟังมาอ่านมาเขาว่ามา เอาจากการวิจัยเปรียบเทียบด้วยตัวของเราเองจริงๆ)
  • ธัมม ทีโป เราท้าให้พิสูจน์ ก็อยู่ที่ว่า จะกล้าพิสูจน์กันรึเป่า 555
  • Noey Pan 555 ได้ค่ะครู ขอบคุณค่ะ ตอนแรกก็รอถามอยู่ว่า ต้องได้ฌานสี่ก่อนป่าว ๕๕๕
  • Noey Pan เข้าใจแล้วค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะ m(_ _)m
  • ธัมม ทีโป ฌานสี่ ถ้าทำฌานได้ หรือไม่ต้องฌานสี่ก็ได้ ถ้าทำไม่ได้ ก็เจริญสติให้เทียบเท่าฌานสี่ คือให้จิตมันอยู่ในภาวะ "รู้ ตื่น เบิกบาน" แล้วถึงจะทำวิปัสสนา แล้วค่อย พูดได้เต็มปากว่า เราวิปัสสนาอยู่นะ
  • ธัมม ทีโป พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนว่า "รู้ ตื่น ห่อเหี่ยว" 55 ท่านระบุชัด ต้อง "รู้ -ตื่น-เบิกบาน" ตอนเช้าเจ้ก็รู้ตัวแระ แต่ยังไม่ตื่น ยังงัวเงียอยู่ รู้ว่าเช้าแระ ต้องลุกมาสวดมนต์ เจ้ลุกไม่ได้หรอก คือแม้จะรู้ว่าเช้าแล้ว ก็ลุกไม่ได้ เพราะว่ายังไม่ตื่น 5555 ถ้าตื่นขึ้นมาแล้ว แต่ไม่เบิกบาน ก็นอนต่อ 555 ไม่สามารถลากกายมาสวดมนต์ได้หรอก แต่ถ้าเช้านั้น ตื่นแล้วเบิกบานด้วย เป็นอันแน่ใจว่า สามารถเอาชนะความขี้เกียจได้แน่ๆ
  • ธัมม ทีโป ถ้าคนไม่ทำฌานสี่ หรือทำไม่ได้ทำไง ก็ทำยังไงก็ได้ ให้จิตมันมีกำลัง เป็นผู้รู้ แล้วก็ตื่นตัว แล้วก็เบิกบาน คือถ้าทำฌานสี่ได้ มันมั่นคงมาก แต่ถ้าทำไม่ได้ ก็เป็นขณิกสมาธิ หรืออุปจารสมาธิก็พอ แต่ต้อง "ทำใจ" ให้มัน "รู้-ตื่น-เบิกบาน" หรือ "จิตนุ่มนวลควรแก่งาน" ได้เสียก่อน แล้วจะเอาจิตชนิดนั้นมาทำงานอะไร มาส่องดูอะไร ก็ได้หมด
  • ธัมม ทีโป ถ้าจิตมันมีนิวรณ์อยู่ แล้วนั่งดูจิต ก็เท่ากับทำร้ายตัวเองแท้ๆ เลย ทำมากๆ จะหลงจนเป็นนิสัย ทีนี้แก้ยากเลย ต้องกลับมาแก้กรรม บวช 10 วัน ถึงหาย 555
  • ธัมม ทีโป ดังนั้นก็ย้อนไปตอบคำถามชัดๆ อีกทีว่า ถ้าจิตเป็นอกุศลอยู่ ควรพลิกจิตเลยมั้ย หรือต้องดูไปจนมันดับก่อน ถึงจะเรียกว่า"ดูจิตถูก"
  • ธัมม ทีโป ถ้าดูจิต แล้วรู้ว่าจิตมีนิวรณ์ ก็ต้องหากรรมฐาน มาแก้นิวรณ์ก่อน แก้นิวรณ์แล้ว ค่อยดูจิตต่อ
  • ธัมม ทีโป เหมือนกัน นั่งสมาธิ มันง่วงซึมอยู่ ควรจะนั่งต่อไปมั้ย ทำไมนั่งแล้วมันไม่ไปไหน หนูก็นั่งทุกวัน วันละชั่วโมง แบบนี้คือนั่งผิด เหมือนดูจิตผิดน่ะ ถ้าจะเรียกว่าผิด ก็เรียกได้
  • ธัมม ทีโป ถ้ามันง่วงซึมอยู่ต้องลุกไปเจริญสติให้หายซึมก่อน รู้ ตื่น แล้วค่อยมานั่งสมาธิต่อ บางทีนั่งครึ่งชั่วโมงก็เบิกบานแระ
  • ธัมม ทีโป ที่เขาให้ฝึกดูจิต ก็เพื่อจะดูให้รู้สภาวะจิต ในขณะนั้นๆ แล้วก็สามารถจะแก้ไขจิตที่เป็นอกุศล ให้อยู่ในแดนกุศลได้เสมอๆ การแก้ไขนั้น ไม่ใช่ไปแก้จิต อันนี้ผิด การแก้ไขหมายถึง ไปเจริญในธรรมที่ตรงกันข้าม เพื่อสร้างกุศลจิตให้เกิดขึ้นมาแทนจิตอกุศลนั้น การที่เราจะไปเจริญกุศลธรรมได้ ก็แปลว่าเราจะต้อง "ละ" ไอ้จิตอกุศลนั้นให้ได้ก่อน
  • ธัมม ทีโป หลวงพ่อก็สอนง่ายๆ เลย กลับบ้านแล้ว ทำความสะอาดกายด้วยการปัดกวาดเช็ดถู อาบน้ำ เสร็จก็มาอาบน้ำจิตด้วยการสวดมนต์ เสร็จแล้วจิตก็จะพร้อมที่จะทำสมถะ หรือวิปัสสนาอะไรก็ได้
  • ธัมม ทีโป พอเราทำเป็นจนชิน เราไม่เสียเวลาจิตตกเลย พอตกปั๊บไปสวดมนต์ทันที สวดแล้วก็หาย แฮปปี้เหมือนเดิม ก็แค่นั้นเอง ไอ้เรื่องรู้ธรรมไม่รู้ธรรม ไม่สำคัญ มันประมาณว่า "เธอไม่ต้องไปลองตกนรกก่อน เพื่อจะได้กลัวบาป" 

    ไม่มีบัญญัติไหนบอกว่า "ต้องลองตกนรกซ้ำๆ คนเราถึงจะได้ละวางความชั่วได้" 

    ถ้าต้องลงทุนขนาดนั้นก็ไม่คุ้มเลย 555

    แค่เราเจริญกุศลกรรมบถ เราก็ไม่ต้องตกนรกแล้ว แถมให้ผลทีดีงามตามมามากมาย
  • ธัมม ทีโป จิตที่เต็มไปด้วยความทุกข์ ไม่สามารถทำให้ตัวเองพ้นทุกข์ได้เลยค่ะ ไม่ว่าจะมีธรรมวิเศษแค่ไหน นี่จึงเป็นคำตอบว่าทำไมหลวงพ่อใหญ่ แก้ทุกข์เราก่อน แก้ทุกข์แล้ว เรามีความสุขขึ้นมา จึงค่อยสอนธรรม 

    ตัวจิตนั้นหากมีกำลังตั้งมั่นแล้ว ปัญญาจะเดินเอง คือเกิดปัญญาขึ้นมาพิจารณาธรรมเอง โดยไม่ต้องไปช่วยจิตเขาคิดเลยค่ะ
  • ธัมม ทีโป ลองดูได้ ถ้าทำกำลังให้เต็ม ทำสติให้สมบูรณ์ ให้จิตอยู่ในสภาวะ รู้ ตื่น เบิกบาน อยู่เสมอ ปัญหาที่ยากก็จะง่ายขึ้น อะไรที่ติดขัดคิดไม่ออกก็จะคิดออกซะงั้น แถมทางออกที่ ทำไงก็หาไม่ได้ตอนแรก จู่ๆ ก็จะมีคนมาช่วยชี้ให้ หรือช่วยพาออกได้ง่ายๆซะงั้น แล้วจะบอกว่า แหม..เสียเวลาคิดแทบตาย รู้งี้เอาเวลาไปทำกำลังดีกว่า 55
  • ธัมม ทีโป บางคนจิตเขารู้แล้ว เขาไม่เอาแล้วเวิ่น แต่ตัวนอกยังเวิ่นอยู่ เพราะเวิ่นเป็นนิสัย หรือเข้าใจผิดก็มี อันนี้ก็ช่วยไม่ได้ เป็นวิบาก แต่ถ้าเราตั้งมั่นทำไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็หมดวิบาก คือ จิตที่เขารู้ ตื่น เบิกบาน จะพาให้เราข้ามวิบาก คือนิสัยที่สะสมมาในชาตินี้น่ะ กำลังเขามากพอ เขาพาเราเลิกเวิ่นเอง
  • ธัมม ทีโป จากที่เป็นศิษย์หลวงพ่อใหญ่ ถ้าทำกำลังให้สม่ำเสมอต่อให้ไม่ค่อยได้พิจารณา วิปัสสนาอะไรมากมาย แลดูคล้ายคนโง่ๆ แต่ถ้าทำกำลังสม่ำเสมอ ทำจิตให้อยู่ในแดนกุศลได้อย่างต่อเนื่องมากๆ นะ จะได้วิปัสสนาญาณ ทุกอย่างไปเป็นลำดับเลย อันนี้เป็นความลับเฉพาะพุทธศาสตร์เท่านั้น ทำไมนั่งหลับตาเฉยๆ เจริญสติเฉยๆ ทำสมาธิเฉยๆ แล้วกลายเป็นคนฉลาด เป็นบัณฑิตขึ้นมาได้ มีเฉพาะในศาสนาพุทธเท่านั้นจ้ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น