วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2561

วิปลาส 3 ใน 4 เรื่อง (ภาค 2)

การกำหนด นี่ก็เช่น เหมือนเวลาจะเลื่อยไม้
ก็จะตีเส้นให้มันตรง
ทำเครื่องหมายว่าเนี่ย จะเลื่อยตรงนี้
กำหนดว่าอันนี้จะเป็นอันนี้

ฉะนั้นไม้ที่จะเอาไปทำนู่นทำนี่นี่
เขากำหนดขึ้นมา
ถามว่าไม้ใช่ฝาเรือนมั้ย? ก็ไม่เป็น
มันเป็นเพราะ "เขากำหนดขึ้น"

เหมือนดูพระพุทธรูป เป็นพระพุทธรูปมั้ย
มันเป็นเพราะเขากำหนดขึ้นใช่มั้ย
ทีนี้คนที่เขาเข้าใจกันก็เข้าใจกัน
ที่ไม่เข้าใจก็ไม่เข้าใจกัน 555

ทิฏฐินี่มันไม่ใช่เครื่องหมาย
แต่คือดันเชื่อว่า "เครื่องหมายมันจริง"
เขาเรียกเราว่าผู้หญิง
ก็ดันเชื่อว่าเป็นผู้หญิงจริงๆ

ถ้าไม่เชื่อว่าเป็นเครื่องหมาย
มันก็แค่กำหนดไว้สื่อสาร
มันก็ไม่เป็นปัญหากัน

การใส่เครื่องหมายมันไม่ผิด เอาไว้บริหาร
ที่ผิดคือ "เราไปเชื่อ"
เครื่องหมายมันก็กำหนดของมันเอาไว้

อันนี้พ่อเรา แม่เรา
อันนี้แก้ว อันนี้มาม่า
อันนี้อยู่แป๊บเดียว อันนี้อยู่นาน

เครื่องหมายก็มีกำหนดผิด และกำหนดถูก
  1. ไม่เที่ยงว่าเที่ยง (อนิจฺเจ นิจฺจํ)
  2. ทุกข์ว่าสุข (ทุกฺเข สุขํ) เอาอันนี้มาแล้วจะสบาย เป็นต้น
  3. ไม่มีตัวตนว่ามีตัวตน (อนตฺตนิ อตฺตา)
  4. ไม่งามว่างาม (อสุเภ สุภํ)

ตัววัตถุกับตัวมัน

วัตถุกามไม่ใช่กาม
วัตถุ หมายถึง ที่ตั้ง
วัตถุกาม หมายถึง ที่ตั้งของกาม

เวลาเรียนต้องเรียนดีๆ
สิ่งที่ต้องละ คือ "กาม" ไม่ใช่ "วัตถุ"

คือวัตถุมันอยู่ของมันอย่างนั้น ไม่เกี่ยว
กามมันหาเรื่องไปข้องแวะ

หรือบุญ กับบุญกิริยาวัตถุ
ก็คนละอย่างกัน
สิ่งที่ให้ทำให้มีคือ "บุญ"
ไม่ใช่ให้ "บุญกิริยาวัตถุ"

คือคนให้ทาน
มันเป็นกิริยาให้เกิด หรือไม่เกิดบุญก็ได้
ทาน ไม่ใช่ตัวบุญ
ให้เจริญ "บุญ" ไม่ใช่ "เจริญทาน"

คนฟังธรรม อาจจะได้บุญ หรือไม่ได้บุญก็ได้
การฟังธรรม ไม่ใช่ตัวบุญ
เราเจริญ "บุญ" ไม่ใช่เจริญ "สิกขาบท" มันผิดตัว

เรียนต้องดูดีๆ ว่าเป้าหมายเพื่อทำอะไร
ไม่งั้นมั่วไปหมด


เพียรแล้วแต่ไม่ได้ผล?

เพียรแล้ว...แต่ไม่ได้ผล
ท่านก็ไม่ได้บอกว่ามันจะต้องได้ผล...แต่บอกแต่ให้เพียร
ได้ผล/ไม่ได้ผลนี่ มันเกินท่านว่า

สิ่งที่ให้เจริญ คือ ความเพียร
ได้ผลไม่ได้ผล ก็ให้เจริญความเพียร

คือ เพียรแล้ว แต่กิเลสไม่หมด
มันหมดได้เพราะอริยมรรคตัด

แต่เพียรให้เจริญขึ้นไป
เลี้ยงความเพียรให้โตขึ้น จนเป็นอินทรีย์ เป็นพละ เป็นโพชฌงค์

จนมันไปทำงานกับคนอื่นเป็นสัมมาวายามะ
นั่นแหละจึงละกิเลส

แต่หน้าที่คือ เพียรไง...
มาบ่นตอนเจริญความเพียรว่า ได้ผล/ไม่ได้ผล
ก็เอาตัณหามานำหน้าเท่านั้นเอง

พวก "ความสุข" "ความสงบ" "ความปลอยวาง"
พวกนี้เป็นชื่อนิพพาน
หน้าที่ต่อนิพพานคือ ทำให้แจ้ง
ไม่ใช่ให้เจริญ พวกเราชอบมาเจริญความสุข...มันก็เป๋สิ

เปรียบเทียบกับนิพพาน หรือ ความสงบ ความปล่อยวางนี่เป็นการ "กินผลไม้"
พอมันสุกได้ที่ เราก็ได้ "กินผลมัน" (คือมันแจ้ง)
แต่เจริญความเพียรคือ "การปลูกต้นไม้"
เป็นการรดน้ำพรวนดิน ผลมันยังไม่ออก หน้าที่คือ "ทำต่อไป" ไง ^_^

ฝึกสติ เอาสติ
ฝึกความเพียร เอาความเพียร

รู้หน้าที่ต่อมัน นี่เรียกว่าฉลาด

ขันธ์ ธาตุ อายตนะ - ควรรู้
วิชชาและวิมุตติ - ควรทำให้แจ้ง
สมถะและวิปัสสนา สติปัฏฐาน สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ มรรค - ควรเจริญ
ฉลาดในเหตุ - ทำเหตุให้เยอะๆ
ฉลาดในผล - ให้รู้ว่ามันเป็นวิบาก

ควรเจริญ คือ ทำให้มันมี ให้มันเยอะ
ไม่ใช่เจริญความปล่อยวาง
อันนี้ทำกิจไม่ถูก

"อยากสงบ"
อยาก - ให้ละ
สงบ - ทำให้แจ้ง

ปุถุชนจะงงเรื่องนี้อยู่ ก็ทำกิจผิดพลาดไป

มีสติทุกเมื่อ

ความหมายของ "มีสติทุกเมื่อ" คือ "ไม่มีกิเลส"
เท่านี้แหละ

ไม่ต้องไปอธิบายเลยเถิดว่าพระอรหันต์มีสติขณะชวนจิต บลาๆ
อันนี้เกิน ความหมายมันมีแค่ "ไม่มีกิเลส" เท่านั้นเอง

พระอนาคามีก็เรียกว่าไม่ได้มีสติทุกเมื่อ
คือสติยังไม่บริบูรณ์
เพราะ "ยังมีกิเลส"

คือตอนมีกิเลสก็ไม่มีสติ
ตอนมีสติ ก็ไม่มีกิเลส

ฉะนั้นนักภาวนาจะไปบอกว่า
เราจะต้องมีสติตลอดเวลา !!!...ก็ระวังตัณหา คปด.

วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2561

ลักษณะของตัณหา...ลำดับละตัณหา 3

ตัณหามีลักษณะ ติดใจ พอใจ สบายใจ

ความเห็นอันนึง
ความติดใจอีกอันนึง
ความเห็นละก่อน
ความติดใจละทีหลัง

ข้อสังเกต
อันไหนเกิดบ่อย - จะละทีหลัง ไม่ต้องรีบละ แค่หยอดให้เห็นโทษไปเรื่อยๆ
อันไหนเกิดนานๆ ที - ละก่อนเลย
คือมันต้องละหมด ก็ใช่ แต่มันละได้ไปตามกำลัง
ไม่ใช่บู๊ล้างผลาญ ไม่ดูกำลัง จะละหมด
ทำใจตัวให้ห่อเหี่ยว...ไม่ใช่เรื่อง

วิภวตัณหา
พอใจความไม่มี พอใจในความสูญไป หมดไปของสิ่งนั้น ก็เช่น
ไอ้หมอนี่ ถ้าไม่โผล่มา เราจะพอใจ
ถ้าเราไม่เป็นโรค เราจะพอใจ
ถ้าไม่มีเสียงรบกวน เราจะพอใจ
ออกมาทำนองผลักไส นานๆ เกิดที

อันนี้เป็นตัณหาที่เกิดกับอุจเฉททิฏฐิ
จะละไปก่อน พระโสดาบันละวิภวตัณหาเด็ดขาด

ในตัณหา 3 ละวิภวตัณหาก่อน
นั่งสมาธิ มีเสียงก็ได้ไม่เป็นไร...
มีเสียงด่า มีก็ได้ไม่เป็นไร...

ยังติดกิเลสอะไรอยู่ก็ตรงไปตรงมา
ไม่ปกปิด ติดก็ว่าติด อย่างนางวิสาขายังติดหลานอยู่
พระพุทธเจ้าถามว่า ถ้าคนทั้งเมืองดีเหมือนหลานเลยเอามั้ย?
นางก็บอก "เอา"

พระโสดาบันจึงเป็น อุชุปฏิปันโน
ไม่หลอกตัวเองว่ายังมีอะไรอยู่
ยังทำไม่ได้ก็คือยังทำไม่ได้

ลองสังเกตดูในสูตรต่างๆ
พระโสดาบันละตัวนี้ได้แล้ว
เวลาพูดถึงธรรมขั้นสูงกว่านี้ก็จะไม่พูดถึงวิภวตัณหา

กามตัณหา
พระอนาคามีจึงละได้

ความติดใจลูกหลาน มันเอาใจเรา มันนิสัยดี เราก็ชอบมัน
ชอบก็ไม่เป็นไร
ละไม่ได้ก็ไม่เป็นไร
หยอดเข้าไป "มันเที่ยงมั้ย?"

แม้พระสกิทาคามี ความติดอกติดใจนานๆ เกิดขึ้นที
ก็ยังติดอยู่

ภวตัณหา
ลักษณะคือ "ถ้ามีอันนี้จะดี"
อันนี้อยู่กับเรานาน พระอรหันต์โน่น~~~ ถึงจะละได้

อันนี้พระโสดาบันละได้บางส่วน
เฉพาะส่วนที่เกิดกับสัสสตทิฏฐิ

อาการติดสมาธินี่พระอรหันต์จึงละได้
ปุถุชนจะกลัวติด เลยไม่ยอมทำสมาธิ...อันนี้เพี้ยน มันไม่ใช่ฐานะ
ตัณหา 3 นี่มันมีลำดับการละของมัน

อาการติดใจความสงบ
ติดใจความสบาย
ติดใจสมาธิ
อันนี้พระอรหันต์จึงละได้

---
พระพุทธเจ้าเวลาแสดงธรรมกับคนชั้นต้นๆ
จะใช้คำว่า "ละตัณหา และทิฏฐิ"
จะไม่ใช่คำว่า "ละตัณหา และอวิชชา" เพราะมันเกินกำลัง
ลองสังเกตคำว่า "ไม่อิงอาศัยในตัณหาและทิฏฐิ" 

ถ้าพูดกับพระอรหันต์ จะใช้คำว่า "ละอวิชชาและภวตัณหา"
อันนี้สอนพระอรหันต์

ธรรมตามสติปัญญา

หมวดที่ 1 อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา 
อารมณ์ของวิปัสสนา

ผู้ที่ยังไม่เห็นความจริงต้องมาดูอันนี้ก่อน "สามัญลักษณะ "
ดูเพื่อเป็นฐานให้เกิดการเห็นธรรม
เวลาเจริญวิปัสสนาจึงมาให้ดูอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ทั้งนี้ก็ต้องอาศัยจิตตั้งมั่นจึงจะเห็นได้

การที่จิตได้ญาณที่ยอมรับสามัญลักษณะ
เขาเรียกได้ญาณคล้อยกับสัจจะ ใจมันลง (สัจจานุโลมิกญาณ)
ถ้าคล้อยตามสัจจะได้นี่ก็คือ เป็นไปเพื่อเห็นธรรมะได้

ถ้ามันยังคิดว่ายังมีบางอันเที่ยงอยู่ ดวงตามันก็ไม่เกิด
ถ้ายังเห็นว่าบางสิ่งที่เป็นสังขาร ยังสุขอยู่  ยังน่าเอา ดวงตามันก็ไม่เกิด
ถ้ายังเห็นบางอันบังคับได้ ยังเห็นว่ามีบางอันจัดการได้ เป็นของเรา
เช่นนี้ ยังไม่ลงต่อสัจจะ

Q - ดิฉันยังเห็นว่ามันน่าเอา ทำไงจะละมันได้
A - เป็นไปไม่ได้ ถ้ายังเห็นว่าน่าเอา ก็ละไม่ได้ ต้องไปเห็นทุกข์เห็นโทษก่อน
Q - แล้วจะเห็นว่ามันไม่น่าเอาได้ยังไง
A - ก็ต้องไปเห็นก่อนว่ามันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ บังคับควบคุมอะไรไม่ได้

ถ้าอยากละก็อยากละ อยากเอาก็อยากเอา
รักก็รัก อยากหนีก็อยากหนี
พูดไปก็เท่านั้น

ไม่ต้องไปรีบทิ้งของที่รัก
ยังรัก = ยังทิ้งไม่ได้นั่นแหละ
ต้องมาเห็นทุกข์เห็นโทษก่อน

วิปัสสนาจึงเป็นอุบายอันนึงเพื่อให้ใจมันเห็นทุกข์เห็นโทษ
ต้องเห็นว่าไม่น่าเอา มันทุกข์ มันไม่ดีนั่นแหละจึงทิ้งได้

ปัญญาไปเห็นก็ต้องเห็นให้ชัดอย่างนี้
แต่ไม่ใช่เห็นตลอดเวลา นานๆ มันเห็นที
แต่ตอนมันเจริญนี่ให้เห็น "ชัด" ว่าเออ ทุกอันนี่มันทุกข์นะ

หมวดที่ 2 ธัมมัฏฐิตตา ธัมมนิยามตา อิทัปปัจยตาปฏิจจสมุปบาท
อารมณ์ของดวงตาเห็นธรรม

แสดงถึงตัวธรรมะ
กล่าวถึงการเห็นธรรม
นิยมใช้คำสุดท้าย แต่จริงๆ ชุดนี้มี 3 คำ

ธัมมัฏฐิตตา
มันตั้งอยู่เพราะเหตุปัจจัยนี้ๆๆๆ
เห็นเป็นตัวธรรม ไม่ได้เห็นเป็นหญิงชาย

มันไม่ได้มีจริงๆ จังๆ แต่มันมีเพราะมันมีเหตุนี้ๆๆ
พอหมดปัจจัยอย่างนี้ มันก็เป็นอย่างอื่น
ฉะนั้นจึงเข้าใจว่า อย่างนี้ไม่จริง อย่างอื่นก็ไม่จริง
อันนี้เรียกว่า "เห็นธรรม"

มันเป็นอย่างนี้เพราะมันเป็นอย่างนี้
ไม่ใช่ว่าเราอยากไม่อยาก
ไม่ใช่ว่าเราทำไม่ทำ

แต่ถ้ายังรู้สึกมีเราใส่เข้าไปได้นี่
ต้องไปเจริญหมวดแรกก่อน

ธัมมนิยามตา
เห็นกฎเกณฑ์ของธรรม

สิ่งต่างๆ มันก็เหมือนที่เราคิดบ้าง ไม่เหมือนที่เราคิดบ้าง
อันนี้ปุถุชนคิด

เออ เราคิดเหมือนกับที่มันเป็นบ้าง ไม่เหมือนกับที่มันเป็นบ้าง แต่มันก็เป็นของมัน
คนเห็นธรรมเขาคิด

คิดเหมือนหมด เห็นเหมือนหมด
คนถึงธรรม

พระโสดาบัน เห็นธรรม แต่ไม่ถึงธรรม
เพราะบางอันก็ไม่ตรงทีเดียว
คือทุกอย่างมันทุกข์หมด แต่พระโสดาบันก็ยังว่ามันสุขอยู่บางอัน
แต่เขาก็ไม่ว่ามันเป็นสุข แต่ความคิด ความเห็นของเขามันยังเห็นไปอย่างนั้น

(ความต่างกับธรรมชุดแรกคือ - ชุดแรกสิ่งนี้เป็นสิ่งนี้จริงๆ แต่ว่ามันไม่เที่ยง
ส่วนการ "เห็นธรรม" นั้น จะรู้สึก "ไม่จริง" รู้สึกไม่จริงขึ้นมาในใจ)

แต่เดิม รู้สึกอึดอัดชาวบ้าน - ปุถุชน
อึดอัดที่มันเป็นอย่างนู้น มันเป็นอย่างนี้ อึดอัดข้างนอก
ลองถามก็ได้
Q - ฉันพูดแบบนี้เธออึดอัดฉันมั้ย?

ต่อมาก็รู้สึกอึดอัดตัวเอง - กัลยาณปุถุชน
ทำมันมันโง่งี้ ทำไมมันไม่รู้เรื่อง
อึดอัดตัวเองที่ยังเลวอยู่
อึดอัดตัวเองที่ยังดีไม่พอ
เอาความคิด ความรู้สึกนั่นนี่มาเป็นตัวเอง - อันนี้เป็นความคิดของสักกายทิฏฐิ
คือยังคิดว่าเป็นตัวเอง (มั่วไปเรื่อย)

เมื่อเห็นธรรม ก็รู้สึกอึดอัดกิเลส - พระเสขะ
ทั้งๆ ที่รู้ยังเกิด เปลี่ยนที่อึดอัด ไม่ได้อึดอัดตัวเองแล้ว
อึดอัด ระอา ทำไมต้องมารู้สึกอย่างนี้

เมื่อถึงธรรม สบาย - พระอเสขะ
ควบคุมจิตได้หมด
เห็นของดี ว่าดีก็ได้ ว่าไม่ดีก็ได้
เห็นของไม่ดี ว่าไม่ดีก็ได้ ว่าดีก็ได้

เห็นธรรมนี่
บางอันก็ยังรักมันอยู่
ที่ไปรักมัน "ไม่ใช่เพราะมันน่ารัก" แต่ไป "สร้างความน่ารักให้มัน"

พระโสดาบันจึงฝึกตนเอง
เพื่อเอาไอ้การกระทำให้บางสิ่งน่ารักนี่แหละออก

ผู้ปฏิบัติธรรมขั้นสูงจึงเห็นว่ากิเลสนี่ "เผาจิต"
เกิดยึดเมื่อไรก็ทุกข์
อึดอัดใจที่ต้องไปรักมัน
มันก็อยู่ของมันดีๆ และ "ทั้งๆ ที่รู้ด้วย" แต่ก็ยังรักมัน

เมื่ออึดอัดกับกิเลสจึงเริ่มอยู่ด้วยกันไม่ได้
มันยังติดอยู่แสดงว่ามันเห็นไม่ชัด
ท่านก็ภาวนาให้มันเห็นชัดขึ้น

หมวดที่ 3 ตถตา อวิตถตา อนัญญถตา
อารมณ์เครื่องอยู่ของผู้ถึงธรรม

ถึงธรรมแล้ว
ธรรมวิหาร

ตถตา
มันก็ย่อมเป็นอย่างนั้นแหละ
ไม่มีความรู้สึกแปลกใจ ตื่นเต้น
ทั้งสิ่งที่เข้าถึง และทั้งสิ่งที่ผ่านมาก็เท่ากัน

ก็คนมีกิเลสเยอะมันก็ทุกข์เยอะ ก็เป็นอย่างนั้นแหละ
คนหมดกิเลสก็ไม่ทุกข์ ก็เป็นอย่างนั้นแหละ
ไม่ต่างกันในความรู้สึกของท่าน

อวิตถตา
ไม่ใช่ว่าไม่เป็นอย่างนั้น

3 หมวดนี้ ไม่ได้พูดถึงปัญญา 
แต่พูดถึงสิ่งที่ปัญญาไปเห็นเข้า



วันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2561

ทิฏฐิ VS มานะ

ทิฏฐิกับมานะ
กิเลสคนละตัว
อาการคล้ายๆ กัน
แต่ไม่เหมือนกัน และไม่เกิดพร้อมกัน

ในโลภมูลจิต 8 ดวง
มีทิฏฐิประกอบ 4
ไม่มีทิฏฐิประกอบอีก 4

ในที่ไม่มีทิฏฐิประกอบ 4 นี้
บางอันมีมานะประกอบ บางอันไม่มีมานะประกอบ
แต่อันไหนที่มีทิฏฐิ จะไม่มีมานะ
อันไหนมีมานะ ไม่มีทิฏฐิ
หลักคืออย่างนี้

เวลาของขึ้นนี่ บางทีด้วยทิฏฐิ บางทีด้วยมานะ
จริงๆ ทิฏฐินี่นานๆ เกิดที
ส่วนมากเป็นมานะ

คือกิเลสอะไรยิ่งเกิดบ่อยคือ ยิ่งละยากโดยธรรมชาติ
อยากรู้ว่าอะไรเกิดบ่อย
ไปดูอันไหนละยากสุด
เช่น ทุจริตนี่นานๆ เกิดที แต่ฟุ้งซ่านนี่ทั้งวัน
พูดโกหกนี่นานๆ ที แต่สัมผัปปลาปะนี่โคตรเยอะ

ทีนี้ก็มาดูมานะละทีหลัง
มานะเกิดบ่อยกว่าทิฏฐิ
อันนี้เป็นหลักการดู

การ "สำคัญตน" นี่เป็นมานะ
เราเป็นคนไทย
นี่แผ่นดินของเรา ใครห้ามเหยียบ
อันนี้มานะ ไม่ใช่ทิฏฐิ

พอสำคัญตนว่าเป็นอะไร
ก็จะเปรียบเทียบกับคนอื่น
อันนี้เป็นของเรานะ (เช่น ของศาสนาเรา ของประเทศเรา ของบริษัทเรา)
"จึงต้องรักษา" แล้วก็มีเรื่องกัน

เราเรียนมา
คุณพูดไม่เหมือนเรา
ทะเลาะกัน อันนี้เป็นมานะ

ส่วนทิฏฐินี่จะเห็นผิด
เห็นผิดว่าเป็นเรา เป็นของเรา
แต่ไม่ค่อยเกี่ยวกับไปสู้อะไรกับใคร

เช่น เทวดาไม่มี ทานไม่มีผล
พิธีกรรม โชคลางนั่นนี่
อัันนี้เป็นทิฏฐิ
คนที่รบกันเพียงเพราะเถียงกันว่าเทวดามีไม่มีนี่ ไม่เยอะนะ
นานๆ จะขึ้นมาสักที จะเถียงก็เถียงกันขำๆ เสียส่วนใหญ่

หรือสักกายทิฏฐิ 20
นานๆ จะขึ้นที เช่น ตอนส่องกระจก เห็นรูปเป็นตน
เวทนาเป็นตน จะเห็นก็ตอนเจ็บปวด ก็นานๆ ทีอีก
อันนี้มันไม่เถียงใครนะ

เยอะสุดๆ ไปเลยคือ อวิชชา
เพราะละหลังเขาเพื่อน

อภิสังขารกับการอธิบายปฏิจจฯ

ว่าด้วยคำ หมายถึง
เจตนามีกำลังที่สามารถนำไปก่อนามและรูปได้

เช่น พระโสดาบัน
จะเหลืออภิสังขารวิญญาณอีก 7

ไม่ใช่เจตนาทุกอันจะสามารถไปก่อนามรูปได้
แต่อภิสังขารสามารถก่อปฏิสนธิวิญญาณได้
คือเจตนานั้นต้องแรงพอสมควร

เวลาพูดถึงปฏิจจฯ แบบคร่อมชาติ
จึงพูดถึง "อภิสังขาร" คือ บุญ บาป อเนญชา
และวิญญาณจะสื่อถึง "ปฏิสนธิวิญญาณ"

แต่ถ้าอธิบายแบบไม่คร่อมชาติ
จะใช้สังขารอื่นๆ ที่ไม่ใช่อภิสังขาร เช่น กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร
อันนี้แนวทั่วไป ทั่วไปนี่แปลว่า จะอธิบายแนวคร่อม/ไม่คร่อมชาติไม่ได้
วิญญาณในที่นี้จะหมายถึงวิญญาณ 6 ไม่ใช่ปฏิสนธิวิญญาณ

วันพุธที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2561

โลกไม่สดใส

โลกไม่สดใสด้วยอะไร?
โลกไม่สดใสด้วยความตระหนี่ และความประมาท

ไม่รู้ทุกข์

ทุกเข อัญญานัง
ไม่รู้ทุกข์
(ไม่รู้ทุกข์โดยความเป็นทุกข์)

รู้ทุกข์ หมายถึง รู้ทุกข์โดยความเป็นทุกข์
รู้ความไม่เที่ยง โดยความเป็นของไม่เที่ยง
รู้รูป โดยความเป็นรูป

อะไรทำให้หัวขาด

อะไรคือหัว
อะไรทำให้หัวขาด

อวิชชาคือหัว
วิชชาทำให้หัวขาด


วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2561

ปสาทะ

ปสาทะ = ความผ่องใส พร้อมจะรับ

เหมือนดวงตา มีความพร้อมจะรับรูป

วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2561

เกิดอีก

ชื่อที่ว่าจะมาจะไม่มา
จะมาอีกกี่่ครั้ง (อนาคามี สกทาคามี สัตตักขัตตุปรมะ โกลังโกละ เอกพีชี)
จะกล่าวถึงสังโยชน์ 2 แบ่งเป็นเบื้องต่ำ (ผูกไว้กับกาม) เบื้องสูง (ไม่ผูกไว้กับกาม)

ความหมายคือ มาในกามภูมิ

อย่างอนาคามี แปลว่า ไม่มา
หมายถึง ไม่มากามภูมิอีก ส่วนจะเกิดอีกกี่ครั้งในรูปภพ,อรูปภพ ไม่ได้นับ

ถ้าอยากไปเร็ว ก็มากามภูมินี่แหละ บรรลุเร็วสุด