หมวดที่ 1 อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
อารมณ์ของวิปัสสนา
ผู้ที่ยังไม่เห็นความจริงต้องมาดูอันนี้ก่อน "สามัญลักษณะ "
ดูเพื่อเป็นฐานให้เกิดการเห็นธรรม
เวลาเจริญวิปัสสนาจึงมาให้ดูอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ทั้งนี้ก็ต้องอาศัยจิตตั้งมั่นจึงจะเห็นได้
การที่จิตได้ญาณที่ยอมรับสามัญลักษณะ
เขาเรียกได้ญาณคล้อยกับสัจจะ ใจมันลง (สัจจานุโลมิกญาณ)
ถ้าคล้อยตามสัจจะได้นี่ก็คือ เป็นไปเพื่อเห็นธรรมะได้
ถ้ามันยังคิดว่ายังมีบางอันเที่ยงอยู่ ดวงตามันก็ไม่เกิด
ถ้ายังเห็นว่าบางสิ่งที่เป็นสังขาร ยังสุขอยู่ ยังน่าเอา ดวงตามันก็ไม่เกิด
ถ้ายังเห็นบางอันบังคับได้ ยังเห็นว่ามีบางอันจัดการได้ เป็นของเรา
เช่นนี้ ยังไม่ลงต่อสัจจะ
Q - ดิฉันยังเห็นว่ามันน่าเอา ทำไงจะละมันได้
A - เป็นไปไม่ได้ ถ้ายังเห็นว่าน่าเอา ก็ละไม่ได้ ต้องไปเห็นทุกข์เห็นโทษก่อน
Q - แล้วจะเห็นว่ามันไม่น่าเอาได้ยังไง
A - ก็ต้องไปเห็นก่อนว่ามันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ บังคับควบคุมอะไรไม่ได้
ถ้าอยากละก็อยากละ อยากเอาก็อยากเอา
รักก็รัก อยากหนีก็อยากหนี
พูดไปก็เท่านั้น
ไม่ต้องไปรีบทิ้งของที่รัก
ยังรัก = ยังทิ้งไม่ได้นั่นแหละ
ต้องมาเห็นทุกข์เห็นโทษก่อน
วิปัสสนาจึงเป็นอุบายอันนึงเพื่อให้ใจมันเห็นทุกข์เห็นโทษ
ต้องเห็นว่าไม่น่าเอา มันทุกข์ มันไม่ดีนั่นแหละจึงทิ้งได้
ปัญญาไปเห็นก็ต้องเห็นให้ชัดอย่างนี้
แต่ไม่ใช่เห็นตลอดเวลา นานๆ มันเห็นที
แต่ตอนมันเจริญนี่ให้เห็น "ชัด" ว่าเออ ทุกอันนี่มันทุกข์นะ
หมวดที่ 2 ธัมมัฏฐิตตา ธัมมนิยามตา อิทัปปัจยตาปฏิจจสมุปบาท
อารมณ์ของดวงตาเห็นธรรม
แสดงถึงตัวธรรมะ
กล่าวถึงการเห็นธรรม
นิยมใช้คำสุดท้าย แต่จริงๆ ชุดนี้มี 3 คำ
ธัมมัฏฐิตตา
มันตั้งอยู่เพราะเหตุปัจจัยนี้ๆๆๆ
เห็นเป็นตัวธรรม ไม่ได้เห็นเป็นหญิงชาย
มันไม่ได้มีจริงๆ จังๆ แต่มันมีเพราะมันมีเหตุนี้ๆๆ
พอหมดปัจจัยอย่างนี้ มันก็เป็นอย่างอื่น
ฉะนั้นจึงเข้าใจว่า อย่างนี้ไม่จริง อย่างอื่นก็ไม่จริง
อันนี้เรียกว่า "เห็นธรรม"
มันเป็นอย่างนี้เพราะมันเป็นอย่างนี้
ไม่ใช่ว่าเราอยากไม่อยาก
ไม่ใช่ว่าเราทำไม่ทำ
แต่ถ้ายังรู้สึกมีเราใส่เข้าไปได้นี่
ต้องไปเจริญหมวดแรกก่อน
ธัมมนิยามตา
เห็นกฎเกณฑ์ของธรรม
สิ่งต่างๆ มันก็เหมือนที่เราคิดบ้าง ไม่เหมือนที่เราคิดบ้าง
อันนี้ปุถุชนคิด
เออ เราคิดเหมือนกับที่มันเป็นบ้าง ไม่เหมือนกับที่มันเป็นบ้าง แต่มันก็เป็นของมัน
คนเห็นธรรมเขาคิด
คิดเหมือนหมด เห็นเหมือนหมด
คนถึงธรรม
พระโสดาบัน เห็นธรรม แต่ไม่ถึงธรรม
เพราะบางอันก็ไม่ตรงทีเดียว
คือทุกอย่างมันทุกข์หมด แต่พระโสดาบันก็ยังว่ามันสุขอยู่บางอัน
แต่เขาก็ไม่ว่ามันเป็นสุข แต่ความคิด ความเห็นของเขามันยังเห็นไปอย่างนั้น
(ความต่างกับธรรมชุดแรกคือ - ชุดแรกสิ่งนี้เป็นสิ่งนี้จริงๆ แต่ว่ามันไม่เที่ยง
ส่วนการ "เห็นธรรม" นั้น จะรู้สึก "ไม่จริง" รู้สึกไม่จริงขึ้นมาในใจ)
แต่เดิม รู้สึกอึดอัดชาวบ้าน - ปุถุชน
อึดอัดที่มันเป็นอย่างนู้น มันเป็นอย่างนี้ อึดอัดข้างนอก
ลองถามก็ได้
Q - ฉันพูดแบบนี้เธออึดอัดฉันมั้ย?
ต่อมาก็รู้สึกอึดอัดตัวเอง - กัลยาณปุถุชน
ทำมันมันโง่งี้ ทำไมมันไม่รู้เรื่อง
อึดอัดตัวเองที่ยังเลวอยู่
อึดอัดตัวเองที่ยังดีไม่พอ
เอาความคิด ความรู้สึกนั่นนี่มาเป็นตัวเอง - อันนี้เป็นความคิดของสักกายทิฏฐิ
คือยังคิดว่าเป็นตัวเอง (มั่วไปเรื่อย)
เมื่อเห็นธรรม ก็รู้สึกอึดอัดกิเลส - พระเสขะ
ทั้งๆ ที่รู้ยังเกิด เปลี่ยนที่อึดอัด ไม่ได้อึดอัดตัวเองแล้ว
อึดอัด ระอา ทำไมต้องมารู้สึกอย่างนี้
เมื่อถึงธรรม สบาย - พระอเสขะ
ควบคุมจิตได้หมด
เห็นของดี ว่าดีก็ได้ ว่าไม่ดีก็ได้
เห็นของไม่ดี ว่าไม่ดีก็ได้ ว่าดีก็ได้
เห็นธรรมนี่
บางอันก็ยังรักมันอยู่
ที่ไปรักมัน "ไม่ใช่เพราะมันน่ารัก" แต่ไป "สร้างความน่ารักให้มัน"
พระโสดาบันจึงฝึกตนเอง
เพื่อเอาไอ้การกระทำให้บางสิ่งน่ารักนี่แหละออก
ผู้ปฏิบัติธรรมขั้นสูงจึงเห็นว่ากิเลสนี่ "เผาจิต"
เกิดยึดเมื่อไรก็ทุกข์
อึดอัดใจที่ต้องไปรักมัน
มันก็อยู่ของมันดีๆ และ "ทั้งๆ ที่รู้ด้วย" แต่ก็ยังรักมัน
เมื่ออึดอัดกับกิเลสจึงเริ่มอยู่ด้วยกันไม่ได้
มันยังติดอยู่แสดงว่ามันเห็นไม่ชัด
ท่านก็ภาวนาให้มันเห็นชัดขึ้น
หมวดที่ 3 ตถตา อวิตถตา อนัญญถตา
อารมณ์เครื่องอยู่ของผู้ถึงธรรม
ถึงธรรมแล้ว
ธรรมวิหาร
ตถตา
มันก็ย่อมเป็นอย่างนั้นแหละ
ไม่มีความรู้สึกแปลกใจ ตื่นเต้น
ทั้งสิ่งที่เข้าถึง และทั้งสิ่งที่ผ่านมาก็เท่ากัน
ก็คนมีกิเลสเยอะมันก็ทุกข์เยอะ ก็เป็นอย่างนั้นแหละ
คนหมดกิเลสก็ไม่ทุกข์ ก็เป็นอย่างนั้นแหละ
ไม่ต่างกันในความรู้สึกของท่าน
อวิตถตา
ไม่ใช่ว่าไม่เป็นอย่างนั้น
3 หมวดนี้ ไม่ได้พูดถึงปัญญา
แต่พูดถึงสิ่งที่ปัญญาไปเห็นเข้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น