วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2561

ลักษณะของตัณหา...ลำดับละตัณหา 3

ตัณหามีลักษณะ ติดใจ พอใจ สบายใจ

ความเห็นอันนึง
ความติดใจอีกอันนึง
ความเห็นละก่อน
ความติดใจละทีหลัง

ข้อสังเกต
อันไหนเกิดบ่อย - จะละทีหลัง ไม่ต้องรีบละ แค่หยอดให้เห็นโทษไปเรื่อยๆ
อันไหนเกิดนานๆ ที - ละก่อนเลย
คือมันต้องละหมด ก็ใช่ แต่มันละได้ไปตามกำลัง
ไม่ใช่บู๊ล้างผลาญ ไม่ดูกำลัง จะละหมด
ทำใจตัวให้ห่อเหี่ยว...ไม่ใช่เรื่อง

วิภวตัณหา
พอใจความไม่มี พอใจในความสูญไป หมดไปของสิ่งนั้น ก็เช่น
ไอ้หมอนี่ ถ้าไม่โผล่มา เราจะพอใจ
ถ้าเราไม่เป็นโรค เราจะพอใจ
ถ้าไม่มีเสียงรบกวน เราจะพอใจ
ออกมาทำนองผลักไส นานๆ เกิดที

อันนี้เป็นตัณหาที่เกิดกับอุจเฉททิฏฐิ
จะละไปก่อน พระโสดาบันละวิภวตัณหาเด็ดขาด

ในตัณหา 3 ละวิภวตัณหาก่อน
นั่งสมาธิ มีเสียงก็ได้ไม่เป็นไร...
มีเสียงด่า มีก็ได้ไม่เป็นไร...

ยังติดกิเลสอะไรอยู่ก็ตรงไปตรงมา
ไม่ปกปิด ติดก็ว่าติด อย่างนางวิสาขายังติดหลานอยู่
พระพุทธเจ้าถามว่า ถ้าคนทั้งเมืองดีเหมือนหลานเลยเอามั้ย?
นางก็บอก "เอา"

พระโสดาบันจึงเป็น อุชุปฏิปันโน
ไม่หลอกตัวเองว่ายังมีอะไรอยู่
ยังทำไม่ได้ก็คือยังทำไม่ได้

ลองสังเกตดูในสูตรต่างๆ
พระโสดาบันละตัวนี้ได้แล้ว
เวลาพูดถึงธรรมขั้นสูงกว่านี้ก็จะไม่พูดถึงวิภวตัณหา

กามตัณหา
พระอนาคามีจึงละได้

ความติดใจลูกหลาน มันเอาใจเรา มันนิสัยดี เราก็ชอบมัน
ชอบก็ไม่เป็นไร
ละไม่ได้ก็ไม่เป็นไร
หยอดเข้าไป "มันเที่ยงมั้ย?"

แม้พระสกิทาคามี ความติดอกติดใจนานๆ เกิดขึ้นที
ก็ยังติดอยู่

ภวตัณหา
ลักษณะคือ "ถ้ามีอันนี้จะดี"
อันนี้อยู่กับเรานาน พระอรหันต์โน่น~~~ ถึงจะละได้

อันนี้พระโสดาบันละได้บางส่วน
เฉพาะส่วนที่เกิดกับสัสสตทิฏฐิ

อาการติดสมาธินี่พระอรหันต์จึงละได้
ปุถุชนจะกลัวติด เลยไม่ยอมทำสมาธิ...อันนี้เพี้ยน มันไม่ใช่ฐานะ
ตัณหา 3 นี่มันมีลำดับการละของมัน

อาการติดใจความสงบ
ติดใจความสบาย
ติดใจสมาธิ
อันนี้พระอรหันต์จึงละได้

---
พระพุทธเจ้าเวลาแสดงธรรมกับคนชั้นต้นๆ
จะใช้คำว่า "ละตัณหา และทิฏฐิ"
จะไม่ใช่คำว่า "ละตัณหา และอวิชชา" เพราะมันเกินกำลัง
ลองสังเกตคำว่า "ไม่อิงอาศัยในตัณหาและทิฏฐิ" 

ถ้าพูดกับพระอรหันต์ จะใช้คำว่า "ละอวิชชาและภวตัณหา"
อันนี้สอนพระอรหันต์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น