วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

เข้าถึงฌานที่ 4 อันไม่ทุกข์และไม่สุข

เนว สาตํนาสาตํ
สาตํ = สำราญ
ภาวะที่สำราญทางใจก็ไม่ใช่
ภาวะที่ไม่สำราญทางใจก็ไม่ใช่

เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน (ทางใจ)

โสมนัส
ความสำราญ
ความสุข สบายทางใจ
ที่เกิดจากเจโตสัมผัส (กระทบสิ่งต่างๆ ทางใจ) แล้วความรู้สึกขึ้น

โทมนัสนี่จริงๆ ดับไปตั้งแต่โน่นนน...ฌาน 1 แล้ว

เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ (ทางกาย)

สุขนี้ หมายถึง สุขทางกาย
ต่อไปกายจะไม่รู้สึก ความรู้สึกทางกายจะหายไป

ยํ กายิกํ สาตํ ความสำราญทางกาย
กายิกํ สุขํ ความสุขทางกาย
กายสมฺผสฺสชํ สาตํ สุขํ เวทยิตํ ภาวะที่เสวยความสำราญที่เกิดจากกายสัมผัส
กาย สมฺผสฺสชา สาตา สุขา เวทนา. ความรู้สึกสำราญที่เกิดจากกายสัมผัส
อิทํ วุจฺจติ สุขํ.

ความรู้สึกทางกาย
เหล่านี้จะละไปในฌานที่ 4
พวกนั่งรู้สึกว่า ลมเย็นสบาย แล้วคิดว่าเข้าฌานที่ 4
จงรู้ว่า...ยังไม่ถึง ไม่ต้องสงสัย 5555

ทุกข์นี้ ก็หมายถึง ทุกข์ทางกาย

ยํ กายิกํ อสาตํ ความไม่สำราญทางกาย
กายิกํ ทุกฺขํ ความทุกข์ทางกาย
กายสมฺผสฺสชํ อสาตํ ทุกฺขํ เวทยิตํ ความเสวยอารมณ์ทุกข์ที่เกิดจากกายสัมผัส
กายสมฺผสฺสชา อสาตา ทุกฺขา เวทนา. ความรู้สึกไม่สำราญที่เกิดจากกายสัมผัส
อิทํ วุจฺจติ ทุกฺขํ. 

ถ้านั่งปวดหลังก็ไม่ต้องนึกหรอกว่าได้ฌานไหน

ความรู้สึกทางกายประสาทไม่ทำงาน
ความรู้สึกทางกายไม่เกิด
ผัสสะดับ อายตนะดับ ทางกาย

สุข

ความสำราญทางใจ
โสมนัส
เจโตสัมผัสสชา เวทนาอันเกิดจากความสัมผัสทางใจกับองค์ฌาน

สัญญาจะรู้จักความสุขอย่างแท้จริงก็งานนี้ (ในฌาน 3)
ปกติความสุขที่รู้จักมักไม่มาเดี่ยว จะมากับปีติ แถมอวิชชาราคะนั่นนี่
งานนี้จะรับรู้ความสุขแบบชัดเจน วิญญาณได้รู้จักและสัญญาได้เรียนรู้

ถ้าอยากเป็นผู้อยู่อย่างเป็นสุข (สุขวิหารี)
ต้องมีองค์ประกอบ อุเปกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ

ฌานแบบพุทธ

สงบแล้ว
ได้องค์ประกอบของฌานตามนี้ๆ แล้ว

มาเช็คว่า...
เห็นการทำงานของรูปนามชัดเจนมั้ย

ฌานแบบพุทธจะมีองค์ประกอบหลายอย่างคล้ายกับฌานฤาษี
แต่จะมีองค์ประกอบเหล่านี้เพิ่มขึ้นมา

มีปสาทะ
มีอุเปกขา
มีสติ
มีสัมปชัญญะ

สมาธิในพุทธคือ เตรียมไว้เพื่อความชัดเจนในการทำงาน
สิ่งที่ต้องมีคือสิ่งที่มีประโยชน์ในการ..ใช้งานต่อ

วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

เสวยสุขด้วย (นาม) กาย

สญฺญากฺขนฺโธ สงฺขารกฺขนฺโธ วิญฺญาณกฺขนฺโธ.

อุเบกขา

ภาวะความเป็นกลางของจิต
ก็ไม่ใช่จิต เป็นเจตสิก

ความเข้าไปดูแบบไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย
อุป+อิกข
อุป ใกล้ๆ
อิกฺข จ้องดู

องค์ฌานแบบพระสูตรและแบบอภิธรรม

องค์ประกอบฌานที่ 2 แบบพระสูตร
จะมีตัวสัมปสาท อยู่ด้วย
เรียกว่ามี 4 องค์ฌาน
อชฺฌตฺตํ สมฺปสาทนํ เจตโส เอโกทิภาวํ อวิตกฺกํ อวิจารํ สมาธิชํ ปีติ สุขํ ทุติยํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ,
(สุตฺตนฺตภาชนีย)

ต่างจากแบบอภิธรรม
ติวงฺคิกํ ฌานํ โหติ ปีติ สุขํ จิตฺตสฺส เอกคฺคตา.

นึกถึง pure VS applied science

ปีติสุข

ปีติ
เอิบอิ่ม เพียงพอ
เป็นตัวของตัวเอง
ไม่พึ่งพาใคร

สุข
โสมนัสเวทนา
สุขที่เกิดจากใจสัมผัส

ผ่องใสในภายใน

เพราะความสงบไปของวิตกและวิจาร
คือเจตสิกสองตัวสงบไป เงียบไป ดับไป สิ้นไป

ผ่องใสในภายใน
อชฺฌตฺตํ ภายใน อยู่ที่คนนั้น ความหมายก็คือ ปจฺจตฺตํ

สมฺปสาทนํ
คือศรัทธาเจตสิก
ต้องมีตัวนี้จึงจะเป็นฌานที่ถูกต้อง

เชื่อมั่น เชื่อถือ วางใจ ไว้ใจร้อยเปอร์เซนต์
ในความรู้ หรือปัญญาของพระพุทธเจ้า
ถ้าไม่มีตัวนี้ บางทีความรู้มันจะไปที่อื่น

ปสาท
ความผ่องใส ความใส ความพร้อม
ใจพร้อมจะเป็นเครื่องมือรับ

นึกถึงปสาทตา
มันพร้อมสำหรับรับแสง
ธาตุสี่มันมืด กรรมสร้างช่องแสงมาให้
ความสามารถในการรับแสง

ฌานสองจะมีความพร้อมจะรับเต็มที่
สมาธิเกิดแล้ว จากความเลื่อมใส ปีติ และสุข

วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

สงัดจากอกุศลธรรม

สงัดจากอกุศลธรรมท.
หมายถึง นิวรณ์ 5
ก็รวมสงัดจากกามเข้าไปด้วยแหละ
ตอนละนี่ก็จัดเป็นอุปจารสมาธิ
พอฌานก็คือ สงัด คือห่างกันเลย

สงัดจากกาม

คือสงัดจากกิเลสกาม ความคิดที่เป็นกาม ความคิดเรื่องกาม
จิตเป็นกุศลต่อเนื่องกัน
ไม่ติดข้องในโลภะ ตัณหา
เด๋วก็ที่นอน เด๋วก็ของกิน
ว่าจะไปทำนั่นทำนี่ ว่าจะไปดูนั่นดูนี่

ไม่ได้หมายถึง สงัดจาก รูป เสียง กลิ่น รส

วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนา

พอสมาธิแล้วสบาย
สบายก็มักจะขี้เกียจ
ขี้เกียจแล้วก็ประมาท
อ่อ นั่งไปเรื่อยๆ เดี๋ยวมันก็ "บรรลุเอง"

นั่งไปเรื่อยๆ เดี๋ยวมันก็ "บรรลุเอง"
มีที่ไหนเล่า...อันนี้มันรวมลงในความประมาทแล้ว
ต้องเอามาทำงาน

จึงต้อง "ยก" จิตขึ้นสู่วิปัสสนา
จริงๆ มันก็ไม่ได้ขี้เกียจหรอกนะ
มันแค่ "ขยันสบาย"

สมาธิควบคู่วิปัสสนา

สมาธินี่
ทำแล้วจิตโปร่งโล่งสบาย
ไปอยู่ที่ไหนมันก็อยู่ได้
จึงให้จิตได้พัก

วิปัสสนา
เบื่อหน่าย
อยู่ที่ไหนก็อยู่ไม่ได้
จึงต้องสลับกับสมาธิ เดี๋ยวจะเครียดไปถ้าไม่สมดุล

เพ่ง

สนใจ ใส่ใจจนชัดเจน
ผลเป็นการทำลายฝ่ายตรงข้าม
คือทำลายนิวรณ์

ถ้าเพ่งไปที่ตัวอารมณ์
ให้ตัวอารมณ์เด่นขึ้นมา
พออารมณ์ที่เพ่งหาย
อื่นๆ ก็ปรากฎขึ้นมา
ออกนอกห้องก็หาย
เป็นลักษณะเข้าๆ ออกๆ

ถ้าใส่ใจสนใจไปที่ลักษณะ
อารมณ์จะเป็นอะไรก็ได้
จะมีผลไปสู่ความเข้าใจทุกสิ่ง
พอออกนอกห้องความเข้าใจก็อันเดียวกัน
จะอดีต ปัจจุบัน อนาคต หยาบละเอียด

วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ต้มถั่วเขียว

มุคฺคสูปตาย
พูดทีเล่นทีจริงเหมือนต้มถั่วเขียว
มีทั้งเม็ดกลม เม็ดบาน

ต้มถั่วเขียวจัดเป็นอนาจาร
ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ วิปัสสนา มรรคผล นิพพาน

อาจาร และ อนาจาร

อาจาร ความประพฤติที่ดีงามเหมาะสม
อนาจาร ความประพฤติที่ไม่ดีงาม ไม่เหมาะสม

คำว่า ดีงาม คือเหมาะสมที่จะเจริญก้าวหน้าไปในสมาธิ ฌาน วิปัสสนา มรรคผล
ถ้าไม่ดีคือ มันไม่มีโอกาสเจริญไปในสมาธิ ฌาน วิปัสสนา มรรคผล

เหมาะสมคือ เหมาะสมในการจะทำให้เกิดคุณธรรมชั้นสูงต่อไป

อนาจาร คือแบบไหน
คือการล่วงละเมิดทางกาย วาจา พูดเพ้อเจ้อก็จัดเป็น อนาจาร 5555


วิหรติ

เห็นกายในกาย "อยู่"

วิหรติ มักแปลว่า "อยู่"

คำว่า "อยู่" คือ มันต้องเดินบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง กินบ้าง
บริหารให้ทุกข์มันคงอยู่ไป ให้ทุกข์มันคงอยู่ได้
มันจึงจะทำงานนี้ต่อไปได้ คือ ดูกายเป็นกาย
ต้องบริหารให้ทุกข์มันต่อเนื่อง เพื่อจะได้ดูกายเป็นกายได้นานๆ

ถ้ายืนอย่างเดียว นั่งอย่างเดียวมันไม่ทุกข์ คือมันไม่ทำให้ทุกข์สืบเนื่อง
มันต้องยืนบ้าง นั่งบ้าง ทำนี่นั่นบ้าง ความทุกข์มันจึงสืบเนื่อง

"อยู่" หมายถึง อยู่ได้
ใครอยู่ได้ ตอบทุกข์อยู่ได้
ตัวที่อยู่ก็ทุกข์ ตัวที่ตายก็ทุกข์

อธิบาย วิหรติด้วย
อิริยติ คือทำให้มันต่อเนื่อง ให้มันสืบเนื่อง
วตติ ดำเนินไป
ปาเลติ รักษาไป
ยเปติ เป็นไป
ยาเปติ ให้มันเป็นไป
จรติ ท่องเที่ยวไป

ถ้าทุกข์ไม่ต่อเนื่องนี่ปฏิบัติธรรมไม่ได้นะ
ต้องบริหารให้ชีวิตมันเป็นไปได้ คือให้ทุกข์มันต่อเนื่องไป สืบเนื่องไป
ถ้ายังเที่ยวไปตรงนู้นตรงนี้ได้ ก็ปฏิบัติธรรมได้ ถ้าเที่ยวไปไม่ได้ก็ปฏิบัติไม่ได้

โอปนยิโก VS โยนิโสมนสิการ


โยนิโสมนสิการ เป็นเรื่องธรรมดาพื้นฐาน
ยังเป็นมโนทวารวัชนะ เป็นจิตประเภทที่ดึงให้เกิดจิตกุศลขึ้น เกิดความดีงาม เกิดปัญญาขึ้น
เป็นการใส่ใจ สนใจ หรือเป็นความคิดก็ได้ แต่ในแง่มุมที่เหมาะสม
พิจารณาตรงตามเงื่อนไข ตรงตามหลักการ
เพื่อจะให้เกิดกุศล เกิดสัมมาทิฏฐิ เกิดมรรคผลต่อไปในอนาคต

ส่วนโอปนยิโกเป็นการกล่าวถึงคุณธรรมชั้นสูง คือโลกุตตรธรรม
เป็นสิ่งที่น้อมเข้ามาใส่ตน คือมรรคนี้เป็นสิ่งที่ควรน้อมให้เกิดให้มีขึ้น

ธรรมคุณ

สวากขาโต ภควตา ธมโม
กล่าวถึง 2 ส่วน คือทั้งปริยัติ คือพระไตรปิฎก ว่าเป็นคำที่ท่านตรัสไว้ดีแล้ว ถึงพร้อมด้วยอรรถพยัญชนะ
และมรรคผลนิพพาน คือโลกุตตรธรรม 9 ว่าท่านตรัสไว้ดีแล้ว
ตรัสมรรค เหมาะกับนิพพาน (ตรัสเหตุ เหมาะกับผล)

ท่อนอื่นๆ ถัดมา สันทิฏฐิโก อกาลิโกฯ
กล่าวถึงมรรค ผล นิพพาน ทั้งสิ้น

สันทิฏฐิโก อันผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดได้ด้วยตนเอง
ก็กล่าวถึงมรรค ที่ผู้ปฏิบัติเท่านั้นจึงจะรู้จัก จึงจะเห็นได้ด้วยตนเอง
ถ้าไม่ได้ปฏิบัติ ต่อให้พูดมรรค 8 ไปจนตาย ก็ไม่รู้จัก

อกาลิโก คือไม่มีระหว่างคั่นระหว่างเหตุกับผล
ถ้าเป็นเหตุกับผลในฝ่ายอื่นๆ เช่น
ทำกรรมฝ่ายกามาวจร บางทีต้องรอผลกันจนลืมเลย ชาติที่ร้อยหนึ่งโน่นผลค่อยมา 555
ถ้าทำกรรมฝ่ายรูปา อรูปาวจร รอตายก่อนถึงได้รับผล
คืออุตส่าห์เข้าฌานได้ แต่ต้องตายก่อนถึงเป็นพรหมได้ (ถ้าฌานไม่เสื่อมนะ)

แต่มรรคไม่เป็นอย่างนั้น
พอมรรคเกิดขึ้นผลต่อทันที
แม้กัปป์กำลังจะวอด แต่ถ้ามรรคเกิด กัปป์จะวอดต้องรอก่อน รอแป๊บ เพราะผลต้องเกิดก่อน ไม่มีคำว่าตายก่อนได้ผล
เป็นผลในชาตินั้น จากปุถุชน ข้ามเป็นอริยะ ผลเกิดต่อเนื่องกันไม่มีสิ่งใดคั่น
มรรคขั้นใดก็ได้ ฝ่ายมรรคจึงเรียกว่าเป็นฐิตกัปปี


โอปนยิโก จึงไม่เหมือนโยนิโสมนสิการ
โยนิโสมนสิการ เป็นเรื่องธรรมดาพื้นฐาน
เป็นจิตประเภทที่ดึงให้เกิดจิตกุศลขึ้น เกิดความดีงาม เกิดปัญญาขึ้น

ส่วนโอปนยิโกเป็นการกล่าวถึงคุณธรรมชั้นสูง คือโลกุตตรธรรม
เป็นสิ่งที่น้อมเข้ามาใส่ตน คือมรรคนี้เป็นสิ่งที่ควรน้อมให้เกิดให้มีขึ้น

วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ความดีต้องรักษา

ปล่อยจิตเสื่อมบ่อยๆ
จิตจะหมดกำลัง
รู้สึกเหมือนหมดอำนาจวาสนา
ท้อถอย ถอยไปเรื่อย จนไม่เอาในพระพุทธเจ้าองค์นี้
อันนี้อันตราย....
อันนี้เรียกถอยจนจะตกเหวอยู่แล้วยังไม่รู้

เกิดอาการแป้ก ไปไม่รอด รอพระศรีอาริย์
พอถึงพระศรีอาริย์ รอกัปป์หน้า

ฌานที่เป็นมรรค

อวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
สังขารที่เป็นไปในวัฏฏะก็มี
ปุญญา อปุญญา อเนญชา

ปุญญาที่เป็นสังขาร
ก็มีบุญที่เป็นกามวจร รูปาวจรที่เป็นฌานทั้ง 4 และรูปาวจรที่เป็นอาเนญช
แต่ที่กล่าวในฌานวิภังค์คือ จะมาทางมรรค
คนละส่วนกับวัฏฏสงสาร

ตัวแยกว่าอะไรเป็นมรรคไม่เป็นมรรค
อยู่ที่สัมมาทิฏฐิและสัมมาสังกัปปะ

สมถะวิปัสสนาในมรรค

รู้จักสมาธิว่าเป็นส่วนหนึ่งในมรรค
และต้องมีความต้องการจะออกจากวัฏฏสงสาร

สัมมาทิฏฐิ และสังกัปปะ นี้แยกเป็นวิปัสสนา
องค์ที่เหลือ จัดเป็นสมถะ
ศีลกับสมาธิ ก็จัดลงในองค์สมถะที่เหลือ

การงดเว้น

การจะงดเว้นเรื่องใด
มันก็ต้องเริ่มด้วยการเห็นโทษ
การเห็นโทษนี่แหละ เป็นสัมมาทิฏฐิ

เริ่มจากเรื่องพื้นฐานคือ ทุจริต
สิ่งที่เกิดจากกิเลสมีโทษทั้งสิ้น
วัฏฏสงสารมีโทษทั้งสิ้น
โทษที่มองไม่เห็นนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ

โทษเป็นเหตุ มีทุกข์เป็นผล

เห็นโทษแล้ว...คิดจะออก
ถ้ายังไม่คิดจะออก ยังไม่เป็นมรรค
ออกนานๆ จึงจะหายโหย

ศีลกับสัจจะ

ศีล จัดเป็นมรรคสัจ
แต่ถ้ารักษาศีลเพื่อไปสวรรค์
อันนี้เป็นสมุทยสัจ เป็นไปเพื่อเวียนว่ายตายเกิด

วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

อริยสัจอยู่ที่ไหน

อริิยสัจ
อยู่ในกายยาววาหนาคืบ

"มีใจครอง" และ "มีสัญญา"

หน้าที่ต่อขันธ์

รูปขันธ์
เวทนาขันธ์
วิญญาณขันธ์
เป็นสิ่งควรรู้

สังขารขันธ์
เป็นสิ่งควรละ และควรเจริญ

สัญญาขันธ์
เป็นสิ่งที่ต้องแก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง

คิดไม่ดีเป็นกรรม?

วิตกเฉยๆ ไม่เป็นกิเลส
ตอนอยู่วิเวกจะเห็นชัด
ตอนอยู่บ้านเห็นไม่ชัดเพราะเจตนามันบัง

สมมติเห็นคนคนหนึ่ง
นึกหมั่นไส้
อันนี้ไม่บาป เป็นวิตกเฉยๆ เป็นการทำงานธรรมชาติของขันธ์ห้า
ไม่ได้เป็นกรรม

หรือนั่งสมาธิแล้วความคิดดีโผล่ขึ้น
คิดว่าดี
อันนี้ก็ไม่ได้ดี เป็นแค่การทำงานขันธ์ห้า เป็นวิตก

แต่ปกติเราไม่ค่อยมีสติ
ความคิดเกิดขึ้นเยอะแยะไม่เห็น
พอเจตนาเกิดขึ้นไปทำโน่นทำนี่
ก็เอาเจตนารวบรัดเป็นความคิด

เจตนานี้ไม่ใช่วิตกแล้ว คือไม่ใช่การทำงานธรรมชาติของขันธ์ห้า
แต่เป็นกรรมใหม่ เป็นเหตุแล้ว ไม่ใช่เป็นผล

คนมักจะรวบรัดว่าคิดไม่ดีคือทำไม่ดี
จริงๆ วิตกเป็น อัพยากต

คือมันจะเป็นบาปก็ต่อเมื่อมีเจตนาเข้ามาเอี่ยว

วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

สมาทานกรรมฐาน

กรรมฐาน
กระบวนการในการฝึกหัดให้ธรรมเข้าไปในใจ

รับเอาแต่ที่เหมาะสม เอาพอสมควร
ไม่ใช่ทำจนเครียด
ไม่ใช่ว่าต้องสวดให้ครบ

ไม่มีคำว่า "ต้อง"
คือถ้า "จิตดี" โอเคแล้ว

สัพพัตกกรรมฐาน

  1. พุทธา ธัมมา สังฆานุสสติ
  2. เมตตา และคณะ
    เมตตาคือการวางจิต
    วางดีก็ดี วางไม่ดีก็พัง
    แค่วางจิตก็เป็นกรรมฐานแล้ว มันเข้าถึงจิต
  3. มรณสติ ช่วยให้ไม่ประมาท รู้อะไรสำคัญ รู้ค่าเวลา จิตไม่สะเปะสะปะ
  4. อสุภะ เอาไว้แก้พวกติดน่ารัก โดนทักตีนกาขึ้นแล้วตกใจ อันนี้ควรแก้
กรรมฐานเอาไว้แก้จิต เหมือนกินยา
มีปัญหาก็แก้ ไม่มีปัญหาก็ไม่ต้องแก้

สมาทานศีล

สมาทาน คือรับไว้ ถือไว้
รับมาเป็นข้อฝึก ข้อปฏิบัติ
ถือในใจไว้เสมอ

ไม่ต้องรับกับพระก็ได้
ใจถือเอามาเลยเป็นใช้ได้
ควรถือไว้เสมอ เป็นใบเบิกทางสู่สุขติโลกสวรรค์

พวกไม่ถือมีสองพวก

  1. ไม่มีแก่นสาร 
  2. บรรลุแล้ว จบกิจ
เมื่อมีศีล 5 เป็นพื้น อย่างอื่นถือเป็นบวกเพิ่ม
ไม่ต้องเครียด

เอาศีลมาไว้กับจิต
เอาของมีค่ามาไว้กับจิต
จิตก็มีค่า
จะได้เห็นคุณค่าของตน

พิธี บริกรรม

พิธีต่างๆ บาลีเรียกบริกรรม
วัตถุประสงค์ของการบริกรรมคือการเตรียมจิตให้พร้อมเฉยๆ

จะสวดหรือจะไม่สวด
ถ้าสวดแล้วกับไม่สวดมันเท่ากัน
ก็จะไม่สวดก็ได้

แต่ถ้าสวดแล้วดีกว่าไม่สวด
แบบนี้ก็สวดดีกว่า