วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ธรรมคุณ

สวากขาโต ภควตา ธมโม
กล่าวถึง 2 ส่วน คือทั้งปริยัติ คือพระไตรปิฎก ว่าเป็นคำที่ท่านตรัสไว้ดีแล้ว ถึงพร้อมด้วยอรรถพยัญชนะ
และมรรคผลนิพพาน คือโลกุตตรธรรม 9 ว่าท่านตรัสไว้ดีแล้ว
ตรัสมรรค เหมาะกับนิพพาน (ตรัสเหตุ เหมาะกับผล)

ท่อนอื่นๆ ถัดมา สันทิฏฐิโก อกาลิโกฯ
กล่าวถึงมรรค ผล นิพพาน ทั้งสิ้น

สันทิฏฐิโก อันผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดได้ด้วยตนเอง
ก็กล่าวถึงมรรค ที่ผู้ปฏิบัติเท่านั้นจึงจะรู้จัก จึงจะเห็นได้ด้วยตนเอง
ถ้าไม่ได้ปฏิบัติ ต่อให้พูดมรรค 8 ไปจนตาย ก็ไม่รู้จัก

อกาลิโก คือไม่มีระหว่างคั่นระหว่างเหตุกับผล
ถ้าเป็นเหตุกับผลในฝ่ายอื่นๆ เช่น
ทำกรรมฝ่ายกามาวจร บางทีต้องรอผลกันจนลืมเลย ชาติที่ร้อยหนึ่งโน่นผลค่อยมา 555
ถ้าทำกรรมฝ่ายรูปา อรูปาวจร รอตายก่อนถึงได้รับผล
คืออุตส่าห์เข้าฌานได้ แต่ต้องตายก่อนถึงเป็นพรหมได้ (ถ้าฌานไม่เสื่อมนะ)

แต่มรรคไม่เป็นอย่างนั้น
พอมรรคเกิดขึ้นผลต่อทันที
แม้กัปป์กำลังจะวอด แต่ถ้ามรรคเกิด กัปป์จะวอดต้องรอก่อน รอแป๊บ เพราะผลต้องเกิดก่อน ไม่มีคำว่าตายก่อนได้ผล
เป็นผลในชาตินั้น จากปุถุชน ข้ามเป็นอริยะ ผลเกิดต่อเนื่องกันไม่มีสิ่งใดคั่น
มรรคขั้นใดก็ได้ ฝ่ายมรรคจึงเรียกว่าเป็นฐิตกัปปี


โอปนยิโก จึงไม่เหมือนโยนิโสมนสิการ
โยนิโสมนสิการ เป็นเรื่องธรรมดาพื้นฐาน
เป็นจิตประเภทที่ดึงให้เกิดจิตกุศลขึ้น เกิดความดีงาม เกิดปัญญาขึ้น

ส่วนโอปนยิโกเป็นการกล่าวถึงคุณธรรมชั้นสูง คือโลกุตตรธรรม
เป็นสิ่งที่น้อมเข้ามาใส่ตน คือมรรคนี้เป็นสิ่งที่ควรน้อมให้เกิดให้มีขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น