วันพุธที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2566

表白台词

 若喜欢你

便要让你放弃你想做的事

那不叫真正的喜欢


灼华若你也喜欢我

就让我陪着你

你不嫁

我不娶

就这样走完一世

好吗?


让我陪着你

看你做你喜欢的事

不是所有的陪伴

都必须用夫妻的名义

灼华你觉得可好?


灼灼风流 23

วันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2566

กุศโลบายในศีลปานาติบาต

สมาธิที่จะเป็นไปเพื่อความหมดกิเลสนั้นต้องขึ้นต้นด้วยศีล
ตั้งใจมั่นในการปฏิบัติในศีล 5 ข้อ

หลักตัดสินว่าผิดถูก
มองในหลักศีล 5
การละกิเลสด้วยความตั้งใจ

กิเลสในจิตใจนี่ละไม่ได้ เด็ดขาด
แต่กิเลสที่จะล่วงเกินทางกายวาจานี่ เราสามารถละได้โดยเจตนา

การใช้กิเลสให้เกิดประโยชน์

กิเลสก็เหมือนไฟ โทษมหันต์ ถ้าใช้เป็นก็คุณอนันต์
เลี้ยงเอาไว้ให้กระตุ้นให้เกิดความกระตือรือร้นในการกระทำความดี
ความดีอะไรก็ได้ แม้แต่ความดีในการครองชีพในฐานคฤหัสถ์

เช่น อยากรวย
ก็เอาศีล 5 มาตีกรอบกิเลส
ใช้กิเลสให้ตรงกติกา ขยันแต่ไม่คดโกง
พระพุทธเจ้าไม่ได้ตำหนิว่าขี้โลภ

ปานาติบาต

ยังไม่ต้องทำความเข้าใจถึงว่าเป็นการห้ามฆ่าสัตว์ทุกประเภทเอาไว้ก่อน
ให้ทำความเข้าใจง่ายๆ ว่า
ท่านมุ่งที่จะห้ามมิให้มนุษย์ฆ่ากัน เบียดเบียนกัน ข่มเหง รังแกกัน
ทำความเข้าใจเพียงแค่นี้ก่อน

ทีนี้ก็พยายามให้งดเว้นตามกฏนั้นๆ อย่างจริงจัง
เมื่อมนุษย์เว้นจากการฆ่า ข่มเหง รังแกกันได้อย่างเด็ดขาด
โดยวิสัยสัญชาตญาณของมนุษย์ย่อมเป็นผู้มีจิตใจสูง
เมื่อเว้นจากความเบียดเบียนมนุษย์ได้โดยเด็ดขาด
อิทธิพลของความเมตตาก็ย่อมแผ่คลุมไปถึงสัตว์ได้
ในที่สุดสัตว์เดรัจฉานก็ฆ่าไม่ได้

แก้ความหนักใจ
รักษาโรคบางอย่างก็มีตนตัวเช่นโรคพยาธิ
จะกังวลว่าทำบาป

พระเป็นโรคพยาธิ ไปขอยาหมอ
ถ้าพระนั้นตั้งใจจะฉันยาเพื่อฆ่าพยาธิในลำไส้ ถ้าตั้งใจอย่างนี้ต้องอาบัติปาจิตตีย์เพราะฆ่า
ถ้าพระนั้นตั้งใจจะฉันยาเพื่อบำบัดโรคภัยไข้เจ็บ โดยไม่มุ่งถึงสิ่งมีชีวิตที่มีตนมีตัว ก็พ้นจากอาบัติ

เช่นเดียวกัน
แพทย์ฉีดยาเพื่อตั้งใจว่าจะฆ่าหิดฆ่าเหา ก็เป็นบาป
แพทย์ฉีดยาเพื่อตั้งใจว่าจะบำบัดบรรเทาให้ผู้ป่วย ก็ไม่เป็นบาป
พระพุทธเจ้าก็อนุญาตทายารักษาหิดเหา แต่ไม่ได้อนุญาตให้ฆ่า

ไปแนะนำให้เขาปลูกหมอนสาวไหม
ถ้าสั่งให้เขาต้มไหมลงในหม้อ ก็เป็นบาป
ถ้าสั่งให้เขาปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ถ้าเขาเห็นประโยชน์เขาก็ทำเอง ถ้าไม่ได้แนะนำถึงขั้นให้เขาเอาไหมต้มลงไปในหม้อ

ลัทธิการไม่กินเนื้อสัตว์ เป็นการส่งเสริปานาติบาต?

ผู้ที่กินเนื้อสัตว์แต่ไม่มีความสงสัยแคลงใจใดๆ
ถือว่าเป็นของที่มีอยู่ประจำโลกแล้ว พ่อแม่ปู่ยาตายายเคยพากินยังไง ก็กินไปอย่างนั้น
เพราะเราไมไ่ด้ไปจับสัตว์เหล่านั้นมาฆ่าด้วยมือตน ถ้าวางใจอย่างนี้ก็ไม่เป็นบาป

แต่ถ้าทั้งๆ ที่เราไม่ได้ลงมือฆ่าเอง
แต่เราไปนึกสงสัยว่าการกินเนื้อสัตว์นี่มันเป็นการส่งเสริมปานาติบาต
ถ้าไปข้องใจอยู่อย่างนี้แล้วไปกิน ก็เป็นบาป

การงดเว้นจากการกินเนื้อสัตว์เป็นเรื่องดี
ใครจะทำก็ทำได้ ไม่เสียหาย ไม่เป็นความผิด
แต่อย่าเอาข้อปฏิบัตินั้นไปเที่ยวข่มขู่คนอื่น

ถ้าเราเว้นจากการกินเนื้อสัตว์แล้วไปกล่าวคนอื่นว่า
เขาทั้งหลายที่ยังกินเนื้อสัตว์อยู่นั้นเป็นคนไม่ดี นี่เป็นคำหยาบ
ผรุสวาจาเป็นฉายาแห่งมุสาวาท

ถ้าตั้งใจทำความดีแล้วก็ตั้งใจความดีไป
อย่าเอาความดีไปเที่ยวข่มคนอื่น



วันพุธที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2566

18-20 ส.ค.2566 / 2023 อสัทธา อธิษฐาน มานะ รู้ที่ใจ ละที่ใจ

19/8

ชี้ทักตัวแช่ เห็นตัวแช่ แต่ลต.ว่ายังยุ่งกับสังขารเอาเราไปรู้

20/8

ตอนเช้าตื่นนอนเพิ่งเห็นว่ามันมีความตั้งรู้ตามเข้าไปสังเกตตัวแช่ เหมือนจะเข้าใจขึ้นมาอีกนิด

ตอนทำวัตรเช้า
สวดมนต์ไปมันพิจารณาเรื่องนี้ มันถึงรู้ว่าเออมันไปตั้งรู้เข้า
มันเข้าใจผิดว่า "รู้" เป็นหน้าที่ เลยเข้าไปกระทำ
คือมันไม่ได้ใส่ใจเลยนะว่าอารมณ์จะขึ้นจะลง แต่มันใส่ใจว่า "จะต้องรู้"
แล้วมันก็มีเสียงบอกสอนในใจว่า ถ้ายังแล่นเข้าไปรู้อย่างนี้ แล้วสังสารวัฏจะจบได้ยังไง
น้ำตาร่วงเลย เออ เราเข้าใจธรรมผิดนะ

ก่อนฟังธรรม ก็เลยไปกราบพระองค์ขาว
บอกขอให้ใจเป็นธรรม ขอให้ธรรมสู่ใจ ขอให้ฟังรู้เรื่อง
ตอนไปกราบก็สังเกตนะ แม่ง ไม่ยอมถอนเว้ย

ก็รู้เรื่องและเข้าใจจริง (ในศาลา)
พอออกมา เออ แช่อีกละ 5555
แช่ไปส่วนใหญ่ระหว่างอยู่ในรถ ยังกะโดนผีอำ

ตอนค่ำพิจารณาคำว่า ศรัทธา กลับมาถึงบ้านกำลังคิดถึงเรื่องนี้
เมื่อพักสายตาจึงแสดงสภาพโอบล้อม ปิดหูปิดตามืดเลย
สังเกตว่ามันศรัทธาพระพุทธ พระธรรม มากกว่าพระสงฆ์
และเป็นเรื่องความไม่วางใจ และไม่อยากผูกพันจึงออกมารูปนี้ แม้เมื่อฟังอยู่ก็หลบ

ส่วนเรื่องศรัทธา ก็สังเกตว่ามันศรัทธาพระพุทธ พระธรรม มากกว่าพระสงฆ์
มันเลยทำตามบ้างไม่ทำตามบ้าง คือเรียกว่าถ้าไม่รู้กลไกที่ท่านให้ไปทำอย่างชัดเจนก็จะไม่ค่อยกระตือรือร้นจะทำ

หนูลองสังเกตใจดู มันยังไม่ตรงไปที่การถอน แต่แค่รับรู้ว่าตอนนี้สิ่งนี้ขวางอยู่
มันขึ้นมาว่าประโยชน์ของสิ่งนี้คืออะไรนะจึงไม่ถอน

21/8

เช้านี้เห็นตัวอธิษฐาน แต่ใจไม่ไปในทางจะถอน เพราะไม่รู้กลไก และไม่รู้ว่าสิ่งที่จะถอนคืออะไร
 รู้เพียงว่ามีสิ่งหนึ่งตั้งอยู่ ดูมันมีเจตจำนงค์ที่จะทำความเข้าใจ(เอง?) 

เมื่อเช้าได้ฟังไฟล์นึง
แว้บนึงเข้าใจเรื่องใจรู้ที่ลต.พูดถึง แล้วลต.บอกคนส่งการบ้านวันนั้นว่า ให้หมั่นทบทวนใจรู้นี่
ใจมันก็บอกขึ้นมานะ เออ ชาติมันสิ้นเพราะอย่างนี้นะ
มันรู้แล้วลับดับไปเลย สิ้นไปเลย
พระอรหันต์ท่านจึงไม่สงสัยว่าทำไมไม่เกิด มันไม่มีอะไรให้ไปเกิดเลย
อ่อ นิพพานเป็นอย่างนี้ สิ้นภพชาติเป็นอย่างนี้

22/8

ในสมาธิตื่นนอน ความตั้งรู้นี้นำไปสู่ความเกิดไม่สิ้นสุด

24/8

ดูอาการก็ยังแช่อยู่ มีความดิ้นผลักไสแบบเนียนๆ
รู้ว่าติดตั้งรู้ ก็จะแกล้งไม่รู้ (นี่ก็ตอแหลไปอีกแบบ เห็นมาหลายวันละ)

อาการทั้งหมด แสดงว่ามีความไม่ยอมรับ ติดข้องต้องการแสดงตัวอยู่
โดยเป็นอุเบกขาเวทนาทั้งหมด
การภาวนาจากนี้ไป คงอาศัยสังเกตเวทนาได้ยาก
การสังเกต คงต้องต้องไปที่พฤติกรรมจิตเลย


วันอาทิตย์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2566

โทษของบทประพันธ์

วิโรโธตฺติ สุขา โลเก      สมคฺคา อุตฺติ ทุกฺกรา.
คำพูดขัดแย้ง ทำได้ง่าย คำพูดสมาน ทำได้ยาก ในโลก

ยํ กิญฺจิ สิถิลํ กมฺมํ      สํกิลิฏฺฐญฺจ ยํ วตํ
สํกสฺสรํ พฺรหฺมจริยํ     น ตํ โหติ มหปฺผลํ

การกระทำทุกอย่าง การกระทำเล่นๆ
ข้อวัตรที่มีความเศร้าหมอง
และพรหมจรรย์ที่มีความสงสัย
จะมีผลเพียงเล็กน้อย

โทษของบทประพันธ์ แบ่งเป็น โทษของบท, โทษของวากยะ, โทษของวากยัตถะ

โทษของบท มี 8

1. วิรุทธัตถันตรโทษ
ใช้บทที่มีเนื้อความขัดแย้งกับความต้องการของผู้เขียน ใช้ศัพท์ที่มีเนื้อความตรงข้ามกับจุดมุ่งหมาย (ใช้คำผิดเป้าหมาย)

2. อัธยัตถโทษ (อธิ + อัตถะ)
ใช้บทที่มีเนื้อความเกินพอดี ขยายเกินจริง ใช้ภาษาเกินความหมาย บทวิเสสนะไม่เหมาะกับวิเสสยะ
เช่น หิ่งห้อยตัวน้อยกระทำทิศทั้งปวงให้สว่างไสวแล้ว

3. กิลิฏฐโทษ
ใช้บทที่มีเนื้อความเศร้าหมอง คือพูดแล้วเข้าใจได้ยาก อึมครึม
ใช้ศัพท์ที่นักไวยากรณ์ตีความยาก
ใช้คำซ้ำเยอะเกินไป

4. วิโรธิโทษ
ใช้บทที่ผิดปกติ โดยสถานที่ กาลเวลา และศิลปะ เป็นต้น คือบอกข้อมูลผิด อ้างอิงข้อมูลไม่ถูก หรือผิดกาลเทศะ เช่น พระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา

5. เนยยโทษ
ขาดบทเหตุ คือพูดแต่ผล ไม่บอกเหตุ ทำให้เนื้อความคลุมเครือ จะต้องนำบทเหตุมาเติม จึงจะชัดเจน เช่น เห็นมั้ยๆ ในที่สุดมันก็โดนต่อยปาก

6. วิเสสนาเปกขโทษ
มองหาบทวิเสสนะไม่มี คนนี้เป็นใครไม่บอก เช่นบอกแต่ เก่งๆๆ เป็นมายังไงก็ไม่บอก

7. หีนัตถโทษ
บทเนื้อความแย่ๆ ใช้บทขยายไม่เหมาะ ทำให้ด้อยค่า เช่น เจ้าอาวาสนี่เป็นงานทุกอย่างแต่ไม่เสร็จสักเรื่อง
ทำวิเสสยะให้ต่ำเช่น พระอาทิตย์ขึ้นมาทำให้แสงหิ่งห้อยจางไป (คือพระอาทิตย์ยิ่งใหญ่กว่านั้นเยอะ)

8. อนัตถโทษ
ใช้เนื้อความไม่มีความหมายเยอะไป

โทษของวากยะ 9

1 เอกัตถโทษ
ใช้ความเนื้อความซ้ำกันเยอะไป เช่น เอาเงินของข้าพเจ้าไปซื้อของให้ข้าพเจ้าหน่อย

2. ภัคครีติโทษ
ผิดลำดับสรรพนาม

3. พยากิณณโทษ
อ่านแล้วเวียนหัว วกไปวนมา

4. คามมโทษ
ใช้ภาษาชาวบ้านเกินไป หยาบโลน อีนั่นอีนี่

5. ยติหีนโทษ
ผิดยติ (ตัดคำผิด) ผิดฉันทลักษณ์ เช่น นะโมตัด สะภะคะวะโต

6. กมัจจุตโทษ
กล่าวผิดลำดับ เช่น สมุปบาทปฏิจจ

7. อติวุตตโทษ
ใช้ความหมายคลาดเคลื่อนจากความจริงที่ชาวโลกเขารู้กัน เช่น เรียกยาว่าอาหาร เรียกอาหารว่ายา

8. อเปตัตถโทษ
ไม่รวมเนื้อความพิเศษไว้ด้วยกัน ทำให้ข้อความกระจาย อ่านแล้วไม่รู้เรื่องว่าวิเศษทางไหนกันแน่ ตกลงเก่งทางไหนเนี่ย

9. พันธผรุสโทษ
ใช้คำกระด้าง ใช้ธนิตอักษรมากไป ใช้แล้วภาษากระด้าง

โทษของวากยัตถะ (โทษของเนื้อความของประโยค)

1. อปักกมโทษ
จัดลำดับเนื้อความก่อนหลังผิด เช่น ท่านควรจะรักษาศีล ควรให้ทาน

2. โอจิตยหีนโทษ
ขาดความเหมาะ อวดมากเกินไป เช่น พระฉันนะอวดคุณวิเศษว่า พวกท่านไม่รู้อะไร ถ้าไม่มีข้าพเจ้านะ พระพุทธเจ้าไม่ได้ออกบวชหรอก

3. ภัคครีติโทษ
ผิดวิภัตติ ใช้วิภัตติอย่างหนึ่ง ไปมุ่งเอาอีกอย่างหนึ่ง เช่น จะเอาฉัฏฐีไปใช้เป็นกรรม แต่ไปอยู่กับธาตุที่มันใช้ไม่ได้ เช่น ในคำถวายข้าวพระพุทธ ใช้ผิดข้อนี้
...พุทธสฺส ปูเชมิ เขาบูชาซึ่งข้าว ด้วยพระพุทธเจ้า
(จริงๆ มันต้องเป็นฉัฏฐี ในอรรถกรณะ) อันนี้แปลแล้วเสียความ เรียกว่าผิดภัคครีติ
จะแปล บูชาแด่ ก็ไม่ได้ เพราะปูช ธาตุ ใช้กับ แด่ ไม่ได้ มันต้องใช้กับ ซึ่ง...ด้วย... (เช่นใน อิมินา สักกาเรน พุทธํ อภิปูชยามะ อันนี้ถูกต้องเป๊ะ ข้าพเจ้าของบูชาซึ่งพระพุทธเจ้า ด้วยเครื่องสักการะ อันนี้สามารถผันเป็นฉัฏฐีวิภัตติได้ เป็น อิมัสสะ สักการัสสะ ตํ ธมฺมํ อภิปูชยามิ เป็นต้น)
ไม่เหมือนคำว่านอบน้อม อันนั้นใช้ นอบน้อมแด่...ได้

4. สสังสยโทษ
โทษเพราะมีความสงสัย ใช้บทเข้าใจยาก เช่น ใช้ภาษากวีแล้วทำให้เข้าใจพุทธประสงค์ผิด

5. คามมโทษ
ใช้ภาษาหยาบเหมือนชาวบ้าน เช่น ขอนอบน้อมโยนีของพระนางสิริมหามายา (คือตั้งใจจะนอบน้อมสถานที่อุบัติของพระพุทธเจ้า ดันมาเลือกใช้คำนี้ ทำให้ตีไปหลายแง่ได้)

6. ทุฏฐาลังกติโทษ
ทำลายสัททาลังการะ และอัตถาลังการะ ภาษาก็เพี้ยน ตีความยิ่งเพี้ยน



วิญญาณฐิติ

 อานนท์ !

สัตว์ทั้งหลาย มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน มีอยู่ ; ได้แก่มนุษย์ทั้งหลาย, เทวดาบางพวก และวินิบาตบางพวก : นี้คือ วิญญาณฐิติ ประเภทที่หนึ่ง.

        ๒.อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกันมีอยู่ ; ได้แก่พวกเทพผู้นับเนื่องอยู่ในหมู่พรหมที่บังเกิดโดยปฐมภูมิสัญญาแห่งปฐมฌาน และสัตว์ทั้งหลายในอบายทั้งสี่สัญญาในอกุศลวิบาก : นี้คือ วิญญาณฐิติ ประเภทที่สอง.

        ๓.อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย มีกายอย่างเดียวกันกายผึ่งผายเหมือนกัน มีสัญญาต่างกันมีแต่วิจารบ้าง หรือไม่มีทั้งวิตกวิจารบ้าง มีอยู่ ; ได้แก่พวกเทพอาภัสสระ : นี้คือ วิญญาณฐิติ ประเภทที่สาม.

        ๔.อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย มีกายอย่างเดียวกันงดงามเหมือนกัน มีสัญญาอย่างเดียวกันสัญญาจตุตถฌานเหมือนกัน มีอยู่ ; ได้แก่ พวกเทพสุภกิณหะ : นี้คือ วิญญาณฐิติ ประเภทที่สี่. รวมถึงเทพเวหัผลาก็รวมอยู่ (บ้างไม่รวมสุทธาวาสเพราะถือว่าเป็นฝั่งวิวัฏฏะ)

        ๕. อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย, เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะความดับไปแห่งปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจนานัตตสัญญา จึงเข้าถึง อากาสานัญจายตนะ มีการทำในใจว่าอากาศไม่มีที่สุดดังนี้ มีอยู่ : นี้คือ วิญญาณฐิติ ประเภทที่ห้า.

        ๖.อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย, เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึง วิญญาณัญจายตนะ มีการทำในใจว่า วิญญาณไม่มีที่สุดดังนี้ มีอยู่ : นี้คือ วิญญาณฐิติ ประเภทที่หก.

        ๗.อานนท์ ! สัตว์ทั้งหลาย, เพราะก้าวล่วงเสียได้ซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึง อากิญจัญญายตนะ มีการทำในใจว่า อะไร ๆ ไม่มีดังนี้ มีอยู่ : นี้คือ วิญญาณฐิติ ประเภทที่เจ็ด.

 

ก็เนวสัญญานาสัญญายตนะ มีวิญญาณก็ไม่ใช่ ไม่มีวิญญาณก็ไม่ใช่ เพราะแม้วิญญาณละเอียดเหมือนความละเอียดของสัญญา เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่กล่าวในวิญญาณฐิติแล้วกล่าวไว้ในอายตนะ (สัตตาวาส 9)

วันเสาร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ศัพท์บาลี

อัจฉรา นิ้วมือ
อัฉริยะ คนที่เขาปรบมือให้

นัจจะ ฟ้อน (แต่ไม่รำ)
คีตะ (รำแต่ไม่ฟ้อน)

กล (เห็นส่วนหนึ่งไม่เห็นส่วนหนึ่ง)

ฝังตาฝังใจ (จิตใจจดจ่อ)
ไม่เอื้อเฟื้อ (ไม่ใส่ใจ)

ร้อยรจน์ (รจนา, แต่ง)

ไร้มลทิน (แจ่มแจ้ง, ความรู้ที่แจ่มแจ้ง, แจ่มใส)

บริหาร (แก้ไขโทษ)

มโนหรา (หร = จับ,นำไป. มโน = .ใจ) จับใจ, ลากใจไป

บัวมีไว้เพื่อประดับลำน้ำ
เมฆมีไว้เพื่อประดับท้องฟ้า
พระสุคตผู้ไปดีแล้วพระองค์ 
ทรงกระทำอยู่ซึ่งประโยชน์เกื้อกูล เพื่อประดับโลก

สมฺปาเทถ เธอจงยัง (กิจท.) ให้สำเร็จ
อปฺปมาเทน ด้วยความไม่ประมาท


ริมฝีปาก 4 ศัพท์
ทนฺตาวรณ คุ้มครองฟัน หมายถึง ริมฝีปาก
โอฏฺฐ ริมฝีปาก
อธร ให้อาหารหยุดอยุ่ชั่วครู่หนึ่ง หมายถึง ริมฝีปาก
ทสนจฺฉท ปกปิดฟัน หมายถึง ริมฝีปาก

วันศุกร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ประโยชน์ของคัมภีร์

ชนผู้ไม่รู้คัมภีร์ จะจำแนกคุณและโทษได้อย่างไร
ความสามารถในการจำแนกรูปต่างๆ จะมีแก่คนตาบอดได้อย่างไร


การจำแนกคุณและโทษมีได้ด้วยคัมภีร์
ความผลุนผลันอะไรยิ่งกว่าการกระทำโดยปราศจากคัมภีร์มีอยู่หรือ


วันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2566

诀别信

阿娩得君爱护 
ข้าพเจ้าได้รับความรักจากท่าน

相随相伴几载
ให้ติดตามอยู่หลายปี

永刻于心
ข้าพเจ้ายังจดจำความเมตตาของท่านอยู่เสมอ

知君胸怀广大
รู้ว่าท่านนั้นมีปณิธานอันยิ่งใหญ่

令阿娩敬仰 骄傲
ข้าพเจ้านั้นศรัทธาและชื่นชม

又叫阿娩惶恐
ขณะเดียวกันก็ประหวั่น

君爱江湖喧嚣
ท่านนั้นชื่นชอบช่วยเหลือสังคม

爱武林至高
เห็นประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง

阿娩只能紧紧跟随君身后
ข้าพเจ้าได้เพียงแต่วิ่งตามท่านไปไม่ห่าง

疲惫不堪
อ่อนระโหย

君终如日光之芒
ท่านนั้นเปรียบประดุจแสงอาทิตย์เรืองรอง

何其耀眼夺目
เจิดจ้าแจ่มจรัสปานนั้น


หาก

谁人又和一直仰视日光
ใครเล่าจะสามารถเฝ้ามองดวงอาทิตย์ได้ตลอดเวลา

阿娩心倦
จิตใจข้าพเจ้านั้นอ่อนล้าเหลือเกิน

敬君却无法再伴君同行
จึงไม่อาจติดตามเคียงข้างท่านต่อไปได้อีก

无法再爱君如故
ไม่สามารถศรัทธาท่านได้ดังเดิม

以此信与君诀别
จึงขอใช้จดหมายนี้กล่าวอำลา

永祝君
ขอให้ท่านนั้น

身长健
สุขภาพแข็งแรง

岁无忧
อายุยืนนาน

还却平生所愿
สมปรารถนาทุกประการ
ตลอดไปเทอญ

阿娩留
จากอาเหมี่ยน

วันศุกร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2566

สิ่งใดเกิด สิ่งนั้นแหละโลก

สิ่งใดเกิด สิ่งนั้นแหละโลก
หากไม่มีอะไรเกิดเลย โลกก็ไม่มี

โลกจึงมีความหมายว่าสิ่งที่เกิดดับ
ทุกอย่างแต่ละหนึ่งเป็นโลกทั้งนั้น
เพราะเกิดขึ้นแล้วดับไป

แต่เร็วมาก เยอะแยะพร้อมกันไปหมด
จึงกลายเป็นภูเขา เป็นแม่น้ำ เป็นท้องฟ้า

ถ้าไม่ใช่แต่ละหนึ่ง
จะไม่เห็นการดับ
จะไม่เห็นการเกิด
เพราะจะเห็นแต่สิ่งที่มี

ฉะนั้นแต่ละหนึ่งเนี่ย
หนึ่งนี้ดับ
อีกหนึ่งนึงเกิด
และหนึ่งนั้นก็ต้องดับ

ถ้าตอบคำถามแล้วยังไม่ได้รู้ว่าไม่มีเขา
ก็แค่ตอบไป ให้เขารู้สึกว่ารู้เรื่อง
แต่ความเข้าใจธรรมก็ไม่ได้มีขึ้นเลย

พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว
ทรงแสดงธรรมให้เขาฟัง ให้เขาเข้าใจ
นั่นคือประโยชน์อย่างยิ่ง

ดังนั้นจึงไม่ใช่ว่าเขาไม่เข้าใจ
แต่เขาอยากรู้ตรงนี้
เราก็บอกให้เขารู้
แล้วเขาก็ไม่เข้าใจ
ก็จำไปเฉยๆ
จำได้หมดมันมีกี่อย่าง เป็นยังไงๆๆ แต่ก็เป็นเรา
ไม่ได้เข้าใจธรรม

ตราบใดที่ไม่สามารถประจักษ์ความเป็นธรรมทีละหนึ่ง
ก็ไม่สามารถที่จะละอุปาทานได้
ไม่สามารถละได้ด้วยความเข้าใจจากการฟัง (ถึงแม้จะเข้าใจถูก)

เนื่องจากฟังแบบนี้ ก็ยังคงเป็นเราฟัง
แต่เริ่มเข้าใจนิดๆ หน่อยๆ

จะมีประโยชน์อะไรที่จะเกิดมาแล้วก็ดับไป
และไม่กลับมาอีกเลย

ถ้ายังหาไม่เจอ
แม้จะได้ยินว่า "ทุกอย่างเป็นธรรมะ"
แต่กลับตอบไม่ได้ว่า แล้วเดี๋ยวนี้อะไรเป็นธรรมะ

ความรวดเร็วของธรรม
ขณะที่เห็น ไม่รู้ด้วยซ้ำ ยังบอกไม่ได้ว่าเห็นอะไร
เพียงรู้ว่ามีสิ่งที่ปรากฏ
ถ้าไม่มีการยึดถือในสิ่งที่เกิดแล้วดับ

เห็นคือปรากฏ ไม่เกิดไม่ขาดกว่านั้น
ไม่ใช่ว่าเห็นอะไร (อันนี้เป็นสิ่งที่สองที่เกินจากเห็นแล้ว)
การรู้ตรงทีละหนึ่งอย่าง นี้คือปฏิปัตติ

แต่แม้รู้ตรงทีละหนึ่งอย่าง
ก็ยังไม่ทันประจักษ์แจ้ง
เพียงแต่เริ่มค่อยๆ คลายความไม่รู้
จนถึงปัญญาถึงระดับขั้นที่จะประจักษ์ความจริงตามลำดับ
ที่เรียกว่า วิปัสสนา
ไม่ใช่ครั้งเดียวก็หลุดพ้นเลย

ความเยอะของทีละหนึ่ง

ตอนนี้กี่สี?
ฉะนั้นกี่เห็น?
กว่าจะรู้ว่าเป็นคิ้ว กว่าจะรู้ว่าเป็นจมูก
กี่เห็น?
กี่คิด?

ความเป็นเรานั้นหนาแน่นมาก
และมักจะมองหาแต่ประโยชน์
ชาวโลกก็แสวงหาประโยชน์แม้แต่จากการเข้าใจธรรมะ

แต่ถ้าเป็นคนตรง
"เพื่อเข้าใจ" เท่านั้น
อะไรจะเกิดขึ้น ก็เป็นธรรมะ
นี่ถึงจะได้ประโยชน์

คนที่รุ้ใจของคนที่ต้องการประโยชน์
ก็เอาสิ่งที่เป็นประโยชน์นี้ไปให้เขา
แล้วแต่ว่าจะให้มากน้อยแค่ไหน
"ไปฟังธรรมะแล้วสบายใจ" มันจะเริ่มด้วยแบบนี้

เพราะฉะนั้น คนจึงไม่ได้เข้าใจถึงคุณค่า
คิดแต่ว่า "จะได้สบายใจ" 
เพราะเขายังไม่รู้ว่าธรรมคืออะไร
แต่ถ้ารู้แล้ว
จะเห็นถึงความลึก เหนียวแน่น เล่ห์กลสารพัดอย่าง

วันพฤหัสบดีที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2566

ตัวชี้วัดปัญญา

 สิ่งใดที่เกิดขึ้น เข้าใจหรือเปล่าว่าไม่ไม่ใช่เรา