วิโรโธตฺติ สุขา โลเก สมคฺคา อุตฺติ ทุกฺกรา.
คำพูดขัดแย้ง ทำได้ง่าย คำพูดสมาน ทำได้ยาก ในโลก
สํกสฺสรํ พฺรหฺมจริยํ น ตํ โหติ มหปฺผลํ
การกระทำทุกอย่าง การกระทำเล่นๆ
ข้อวัตรที่มีความเศร้าหมอง
และพรหมจรรย์ที่มีความสงสัย
จะมีผลเพียงเล็กน้อย
โทษของบทประพันธ์ แบ่งเป็น โทษของบท, โทษของวากยะ, โทษของวากยัตถะ
โทษของบท มี 8
1. วิรุทธัตถันตรโทษ
ใช้บทที่มีเนื้อความขัดแย้งกับความต้องการของผู้เขียน ใช้ศัพท์ที่มีเนื้อความตรงข้ามกับจุดมุ่งหมาย (ใช้คำผิดเป้าหมาย)
2. อัธยัตถโทษ (อธิ + อัตถะ)
ใช้บทที่มีเนื้อความเกินพอดี ขยายเกินจริง ใช้ภาษาเกินความหมาย บทวิเสสนะไม่เหมาะกับวิเสสยะ
เช่น หิ่งห้อยตัวน้อยกระทำทิศทั้งปวงให้สว่างไสวแล้ว
3. กิลิฏฐโทษ
ใช้บทที่มีเนื้อความเศร้าหมอง คือพูดแล้วเข้าใจได้ยาก อึมครึม
ใช้ศัพท์ที่นักไวยากรณ์ตีความยาก
ใช้คำซ้ำเยอะเกินไป
4. วิโรธิโทษ
ใช้บทที่ผิดปกติ โดยสถานที่ กาลเวลา และศิลปะ เป็นต้น คือบอกข้อมูลผิด อ้างอิงข้อมูลไม่ถูก หรือผิดกาลเทศะ เช่น พระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
5. เนยยโทษ
ขาดบทเหตุ คือพูดแต่ผล ไม่บอกเหตุ ทำให้เนื้อความคลุมเครือ จะต้องนำบทเหตุมาเติม จึงจะชัดเจน เช่น เห็นมั้ยๆ ในที่สุดมันก็โดนต่อยปาก
6. วิเสสนาเปกขโทษ
มองหาบทวิเสสนะไม่มี คนนี้เป็นใครไม่บอก เช่นบอกแต่ เก่งๆๆ เป็นมายังไงก็ไม่บอก
7. หีนัตถโทษ
บทเนื้อความแย่ๆ ใช้บทขยายไม่เหมาะ ทำให้ด้อยค่า เช่น เจ้าอาวาสนี่เป็นงานทุกอย่างแต่ไม่เสร็จสักเรื่อง
ทำวิเสสยะให้ต่ำเช่น พระอาทิตย์ขึ้นมาทำให้แสงหิ่งห้อยจางไป (คือพระอาทิตย์ยิ่งใหญ่กว่านั้นเยอะ)
8. อนัตถโทษ
ใช้เนื้อความไม่มีความหมายเยอะไป
โทษของวากยะ 9
1 เอกัตถโทษ
ใช้ความเนื้อความซ้ำกันเยอะไป เช่น เอาเงินของข้าพเจ้าไปซื้อของให้ข้าพเจ้าหน่อย
2. ภัคครีติโทษ
ผิดลำดับสรรพนาม
3. พยากิณณโทษ
อ่านแล้วเวียนหัว วกไปวนมา
4. คามมโทษ
ใช้ภาษาชาวบ้านเกินไป หยาบโลน อีนั่นอีนี่
5. ยติหีนโทษ
ผิดยติ (ตัดคำผิด) ผิดฉันทลักษณ์ เช่น นะโมตัด สะภะคะวะโต
6. กมัจจุตโทษ
กล่าวผิดลำดับ เช่น สมุปบาทปฏิจจ
7. อติวุตตโทษ
ใช้ความหมายคลาดเคลื่อนจากความจริงที่ชาวโลกเขารู้กัน เช่น เรียกยาว่าอาหาร เรียกอาหารว่ายา
8. อเปตัตถโทษ
ไม่รวมเนื้อความพิเศษไว้ด้วยกัน ทำให้ข้อความกระจาย อ่านแล้วไม่รู้เรื่องว่าวิเศษทางไหนกันแน่ ตกลงเก่งทางไหนเนี่ย
9. พันธผรุสโทษ
ใช้คำกระด้าง ใช้ธนิตอักษรมากไป ใช้แล้วภาษากระด้าง
โทษของวากยัตถะ (โทษของเนื้อความของประโยค)
1. อปักกมโทษ
จัดลำดับเนื้อความก่อนหลังผิด เช่น ท่านควรจะรักษาศีล ควรให้ทาน
2. โอจิตยหีนโทษ
ขาดความเหมาะ อวดมากเกินไป เช่น พระฉันนะอวดคุณวิเศษว่า พวกท่านไม่รู้อะไร ถ้าไม่มีข้าพเจ้านะ พระพุทธเจ้าไม่ได้ออกบวชหรอก
3. ภัคครีติโทษ
ผิดวิภัตติ ใช้วิภัตติอย่างหนึ่ง ไปมุ่งเอาอีกอย่างหนึ่ง เช่น จะเอาฉัฏฐีไปใช้เป็นกรรม แต่ไปอยู่กับธาตุที่มันใช้ไม่ได้ เช่น ในคำถวายข้าวพระพุทธ ใช้ผิดข้อนี้
...พุทธสฺส ปูเชมิ เขาบูชาซึ่งข้าว ด้วยพระพุทธเจ้า
(จริงๆ มันต้องเป็นฉัฏฐี ในอรรถกรณะ) อันนี้แปลแล้วเสียความ เรียกว่าผิดภัคครีติ
จะแปล บูชาแด่ ก็ไม่ได้ เพราะปูช ธาตุ ใช้กับ แด่ ไม่ได้ มันต้องใช้กับ ซึ่ง...ด้วย... (เช่นใน อิมินา สักกาเรน พุทธํ อภิปูชยามะ อันนี้ถูกต้องเป๊ะ ข้าพเจ้าของบูชาซึ่งพระพุทธเจ้า ด้วยเครื่องสักการะ อันนี้สามารถผันเป็นฉัฏฐีวิภัตติได้ เป็น อิมัสสะ สักการัสสะ ตํ ธมฺมํ อภิปูชยามิ เป็นต้น)
ไม่เหมือนคำว่านอบน้อม อันนั้นใช้ นอบน้อมแด่...ได้
4. สสังสยโทษ
โทษเพราะมีความสงสัย ใช้บทเข้าใจยาก เช่น ใช้ภาษากวีแล้วทำให้เข้าใจพุทธประสงค์ผิด
5. คามมโทษ
ใช้ภาษาหยาบเหมือนชาวบ้าน เช่น ขอนอบน้อมโยนีของพระนางสิริมหามายา (คือตั้งใจจะนอบน้อมสถานที่อุบัติของพระพุทธเจ้า ดันมาเลือกใช้คำนี้ ทำให้ตีไปหลายแง่ได้)
6. ทุฏฐาลังกติโทษ
ทำลายสัททาลังการะ และอัตถาลังการะ ภาษาก็เพี้ยน ตีความยิ่งเพี้ยน
โทษของบท มี 8
1. วิรุทธัตถันตรโทษ
ใช้บทที่มีเนื้อความขัดแย้งกับความต้องการของผู้เขียน ใช้ศัพท์ที่มีเนื้อความตรงข้ามกับจุดมุ่งหมาย (ใช้คำผิดเป้าหมาย)
2. อัธยัตถโทษ (อธิ + อัตถะ)
ใช้บทที่มีเนื้อความเกินพอดี ขยายเกินจริง ใช้ภาษาเกินความหมาย บทวิเสสนะไม่เหมาะกับวิเสสยะ
เช่น หิ่งห้อยตัวน้อยกระทำทิศทั้งปวงให้สว่างไสวแล้ว
3. กิลิฏฐโทษ
ใช้บทที่มีเนื้อความเศร้าหมอง คือพูดแล้วเข้าใจได้ยาก อึมครึม
ใช้ศัพท์ที่นักไวยากรณ์ตีความยาก
ใช้คำซ้ำเยอะเกินไป
4. วิโรธิโทษ
ใช้บทที่ผิดปกติ โดยสถานที่ กาลเวลา และศิลปะ เป็นต้น คือบอกข้อมูลผิด อ้างอิงข้อมูลไม่ถูก หรือผิดกาลเทศะ เช่น พระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
5. เนยยโทษ
ขาดบทเหตุ คือพูดแต่ผล ไม่บอกเหตุ ทำให้เนื้อความคลุมเครือ จะต้องนำบทเหตุมาเติม จึงจะชัดเจน เช่น เห็นมั้ยๆ ในที่สุดมันก็โดนต่อยปาก
6. วิเสสนาเปกขโทษ
มองหาบทวิเสสนะไม่มี คนนี้เป็นใครไม่บอก เช่นบอกแต่ เก่งๆๆ เป็นมายังไงก็ไม่บอก
7. หีนัตถโทษ
บทเนื้อความแย่ๆ ใช้บทขยายไม่เหมาะ ทำให้ด้อยค่า เช่น เจ้าอาวาสนี่เป็นงานทุกอย่างแต่ไม่เสร็จสักเรื่อง
ทำวิเสสยะให้ต่ำเช่น พระอาทิตย์ขึ้นมาทำให้แสงหิ่งห้อยจางไป (คือพระอาทิตย์ยิ่งใหญ่กว่านั้นเยอะ)
8. อนัตถโทษ
ใช้เนื้อความไม่มีความหมายเยอะไป
โทษของวากยะ 9
1 เอกัตถโทษ
ใช้ความเนื้อความซ้ำกันเยอะไป เช่น เอาเงินของข้าพเจ้าไปซื้อของให้ข้าพเจ้าหน่อย
2. ภัคครีติโทษ
ผิดลำดับสรรพนาม
3. พยากิณณโทษ
อ่านแล้วเวียนหัว วกไปวนมา
4. คามมโทษ
ใช้ภาษาชาวบ้านเกินไป หยาบโลน อีนั่นอีนี่
5. ยติหีนโทษ
ผิดยติ (ตัดคำผิด) ผิดฉันทลักษณ์ เช่น นะโมตัด สะภะคะวะโต
6. กมัจจุตโทษ
กล่าวผิดลำดับ เช่น สมุปบาทปฏิจจ
7. อติวุตตโทษ
ใช้ความหมายคลาดเคลื่อนจากความจริงที่ชาวโลกเขารู้กัน เช่น เรียกยาว่าอาหาร เรียกอาหารว่ายา
8. อเปตัตถโทษ
ไม่รวมเนื้อความพิเศษไว้ด้วยกัน ทำให้ข้อความกระจาย อ่านแล้วไม่รู้เรื่องว่าวิเศษทางไหนกันแน่ ตกลงเก่งทางไหนเนี่ย
9. พันธผรุสโทษ
ใช้คำกระด้าง ใช้ธนิตอักษรมากไป ใช้แล้วภาษากระด้าง
โทษของวากยัตถะ (โทษของเนื้อความของประโยค)
1. อปักกมโทษ
จัดลำดับเนื้อความก่อนหลังผิด เช่น ท่านควรจะรักษาศีล ควรให้ทาน
2. โอจิตยหีนโทษ
ขาดความเหมาะ อวดมากเกินไป เช่น พระฉันนะอวดคุณวิเศษว่า พวกท่านไม่รู้อะไร ถ้าไม่มีข้าพเจ้านะ พระพุทธเจ้าไม่ได้ออกบวชหรอก
3. ภัคครีติโทษ
ผิดวิภัตติ ใช้วิภัตติอย่างหนึ่ง ไปมุ่งเอาอีกอย่างหนึ่ง เช่น จะเอาฉัฏฐีไปใช้เป็นกรรม แต่ไปอยู่กับธาตุที่มันใช้ไม่ได้ เช่น ในคำถวายข้าวพระพุทธ ใช้ผิดข้อนี้
...พุทธสฺส ปูเชมิ เขาบูชาซึ่งข้าว ด้วยพระพุทธเจ้า
(จริงๆ มันต้องเป็นฉัฏฐี ในอรรถกรณะ) อันนี้แปลแล้วเสียความ เรียกว่าผิดภัคครีติ
จะแปล บูชาแด่ ก็ไม่ได้ เพราะปูช ธาตุ ใช้กับ แด่ ไม่ได้ มันต้องใช้กับ ซึ่ง...ด้วย... (เช่นใน อิมินา สักกาเรน พุทธํ อภิปูชยามะ อันนี้ถูกต้องเป๊ะ ข้าพเจ้าของบูชาซึ่งพระพุทธเจ้า ด้วยเครื่องสักการะ อันนี้สามารถผันเป็นฉัฏฐีวิภัตติได้ เป็น อิมัสสะ สักการัสสะ ตํ ธมฺมํ อภิปูชยามิ เป็นต้น)
ไม่เหมือนคำว่านอบน้อม อันนั้นใช้ นอบน้อมแด่...ได้
4. สสังสยโทษ
โทษเพราะมีความสงสัย ใช้บทเข้าใจยาก เช่น ใช้ภาษากวีแล้วทำให้เข้าใจพุทธประสงค์ผิด
5. คามมโทษ
ใช้ภาษาหยาบเหมือนชาวบ้าน เช่น ขอนอบน้อมโยนีของพระนางสิริมหามายา (คือตั้งใจจะนอบน้อมสถานที่อุบัติของพระพุทธเจ้า ดันมาเลือกใช้คำนี้ ทำให้ตีไปหลายแง่ได้)
6. ทุฏฐาลังกติโทษ
ทำลายสัททาลังการะ และอัตถาลังการะ ภาษาก็เพี้ยน ตีความยิ่งเพี้ยน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น