คำถามเกมส่องกระจก
- ส่องกระจกแล้วเห็นอะไร
(ตอบเอง) เห็นเบลอแล้วชัด - ขณะมองภาพ จิตอยู่ที่ไหน
ตอนหลับตามันอยู่ภายใน แล้วมันดันๆ พอลืมตาก็เห็นภาพตัวเอง แล้วมันก็กลับมารู้สึกที่เท้า - ถ้าจ้องภาพในกระจกที่จุดใดจุดหนึ่งบนใบหน้า รวบรวมความรู้สึกไปที่นั่น ดูว่าจิตยอมอยู่จุดเดียวได้มั้ย ขณะนั้นรู้สึกอะไรแฝงขึ้นมาบ้าง
(ตอบเอง) มองไปที่จมูก สักพักก็ไม่สนใจ สุดท้ายเพิก กลับมารู้สึกท้ายทอยชัดแทน - ขณะจ้อง ตั้งใจจ้องให้จิตอยอู่ที่ตัว โดยที่มองภาพนั้นชัดด้วย ทำได้หรือไม่
(ตอบเอง) ได้ทีละอย่าง อย่า่งใดอย่างหนนึ่ง - ถ้าลองมองแบบไม่โฟกัส จิตอยู่ที่ไหน
(ตอบเอง) อยู่ข้างนอกนั่นล่ะ เพราะตั้งใจมองไม่ชัด
- คนใส่แว่น สังเกตกรอบแว่นก็ได้ เมื่อใดกรอบแว่นหายไป เมื่อนั้นจิตส่งออกไปแล้ว เช่น เวลาขับรถ
- สังเกตที่ใจ เมื่อเอามีตีร่างกาย ความรับรู้จะชัดขึ้นมาแว้บ ถ้าสภาวะตี กับไม่ตียังมีความเปลี่ยนแปลง มันก็ยังไม่อยู่่กะเนื้อกะตัว
- เวลาฟังเทศน์ จะมี 2 สิ่งล่อให้จิตมีความสุข นั่นคือ เสียงและอารมณ์ เช่น ลมหายใจ ใจอยู่กับสิ่งที่มีความสุขถึงสองอย่างจึงเป็นสมาธิง่าย
- ลมทำหน้าที่ของมัน ไม่เกี่ยวกะเรา
- ร่างกายทำหน้าที่ของมัน ไม่เกี่ยวกะเรา
- เวลานั่ง สนใจความรู้สึกมากกว่าลม
- รู้อารมณ์ต่อเนื่อง แต่ก็เห็นความรู้สึกควบคู่ไป
- อาหารบนโต๊ะ 10 อย่าง ชอบกินอะไรล่ะ
- ความสงบนี่เกิดจากการรู้อารมณ์เดียว ไม่ได้เพ่งอารมณ์เดียว
- ลมหายใจนั้นจะพาความรู้สึกที่ชัดเข้าไปพร้อมกันด้วย สังเกต เมื่อลมเข้าจะรู้สึกชัดขึ้นมาแล้วความชัดนั้นก็หายไป
- เวลาหายใจ ให้ใส่ใจความรู้สึกด้วย ไม่งั้นโมหะกินหมด หลับ
- การแก้ความนิ่ง คือ ถ้ารู้สึกว่านิ่ง ให้เปลี่ยนไปรู้ความเคลื่อนไหว จะได้ไม่ไปเติมความนิ่ง
- ใจที่โปร่งๆ ฟินๆ แต่ไปอยู่ในนั้น ถ้าไม่รู้ตัวให้ลอง "ตี" ตัว ถ้าจิตเปลี่ยน แปลว่า เมื่อกี้ที่คิดว่าจิตดีน่ะ มันไม่เป็นกลาง
- ใจนี้ตั้งยังไงก็ให้ผลอย่างงั้น
ถ้าทำใจแข็งๆ ก่อน แล้วเข้าไปดู ผลที่ได้ย่อมเป็นความอึดอัด
ถ้าทำใจสบายๆ ก่อน แล้วไปดู ยังไงก็สบาย - อะไรดูไม่เห็นก็ไม่จำเป็นต้องไปขวนขวายให้มันเห็น ใครชี้อะไรเพียงแค่บอกว่า ณ ตอนนั้นมีสภาวะอย่างนั้นอยู่ แต่ถ้าดูไม่ออกก็ไม่ต้องไปใส่ใจ ดูในสิ่งที่ดูออก เพราะไม่ว่าสภาวะหยาบหรือละเอียด จะเห็น อะไรสุดท้ายสอนเรื่องเดียวกัน ดูให้เห็นมุมความไม่เที่ยง ดับไป ก็เท่านั้น
- เคยมีคนไปส่งการบ้านพี่ม. แล้วพี่ม.ก็ชี้ว่ามันเป็นงี้ๆ ตัวเองมองไม่เห็น เข้าใจว่าพี่ม.ให้ไปแก้ แล้วผ่านไปเป็นเดือน เครียดมาก ทนไม่ไหว เขียนมาถาม อ.ส อ.แกก็แก้ให้บอกว่าเข้าใจผิดแล้ว พี่ม.ไม่ได้บอกให้ไปแก้ เขาแค่บอกว่าตอนนั้นมันเป็นอย่างนี้อยู่แค่นั้น ถ้าไม่เห็นก็ไม่เป็นไร
- ตนจงเป็นพยานแก่ตน ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิ
- จิตรู้อะไรก็จำอันนั้น
- ท่านว่ามาสอนธรรมนี่เหนื่อยมากนะ เคยขอลพ.เลิกมา 3 ครั้งแล้ว ลพ.บอก ไม่ให้เลิก ถ้าเหนื่อยให้พักหนึ่งปี ไปๆ มาๆ ยังไม่ถึงปีก็มีคนโทรมาเรียกให้ไปช่วยสอนก็ใจอ่อนอีก ลพ.บอก เราเป็นเทียนต้องเผาตัวเองให้แสงสว่าง ดูสิแทนที่จะปลอบใจกันนะ ตัวอ.เองไม่ได้มีนิสัยมาทางช่วยเหลือผู้คน แต่ลพ.ไม่ใช่ ท่านตั้งใจมาสอน มาช่วยพระศาสนาในช่วงวิกฤต จะเห็นว่าท่านสอนเยอะมาก ขนาดหมอห้ามเทศน์ พอท่านมีช่องนิดนึงก็เทศน์ละ
- อานาปานสติ รู้กาย หรือรู้ลม
คำตอบ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อหายใจออกรู้ชัดว่าหายใจออก เมื่อหายใจเข้ารู้ชัดว่าหายใจเข้า เราจะรู้ได้ยัังไงว่าหายใจเข้าหรือออก มันคือรู้ความกระทบกาย ก็คือรู้กายนั่นแหละ ไม่ได้ดูที่ตัวลม
--
ภาคผนวกเกม
- เกมส์ถั่วรู้หลง คือ จะมีเมล็ดถั่วให้ถ้วยนึง แล้วก็ถ้วยเปล่าอีกใบนึง จับเวลา 3 นาที ระหว่างนี้ก็พุทโธไปเรื่อยๆ แล้วถ้าเกิดหลงไปจากวิหารธรรม 1 ครั้ง ก็ให้หยิบถั่วใส่ถ้วย 1 เม็ด พอครบ 3 นาที ก็ดูว่าหลงไปมากน้อยขนาดไหน แล้วใจเป็นยังไงระหว่างท่องพุทโธ อ.ให้ลองตั้งแต่ ลมหายใจ (ทั้งแบบ ปิดตา เปิดตา), พุทโธ (แบบปิดตา เปิดตา) ขยับร่างกาย, นับลูกประคำ, ไปจนถึงไร้กระบวนท่า นั่งชิวๆ รู้ว่าหลงทีก็หยิบถั่วที ผลส่วนตัว ได้หมดถ้าสดชื่น แอบรู้สึกว่า จิตหลงแบบนับไม่ถ้วนเลย แถมไปเร็วซะจนไร้ค่าเลยล่ะ
- เกมส์ร้อยลูกปัด ก็มีลูกปัดมาให้ร้อยอ่ะแหละ ให้สังเกตว่าตอนร้อยจิตไปอยู่ที่ไหน ไหลไปที่ลูกปัดเต็มที่เลยใช่รึป่าว ว่าแล้วก็ได้ลูกประคำกลับบ้านมาเล่น 1 เส้น
- อีกเกมส์นึง คล้ายๆ วิ่งเปรี้ยวที่เล่นตอนเด็กๆ แต่แทนที่จะส่งผ้า เปลี่ยนเป็นส่งเทียนแทน ให้ผู้เล่นคอยสังเกตดูว่า ใจตอนประคองเทียนเดินไม่ให้ดับน่ะ ใจส่งไปอยู่ที่ไหน พอเล่นคล่องแล้ว ไม่ดับแล้ว คราวนี้จะมี "มาร" คอยถือพัด มาจากไหนไม่รู้ มาพัดเทียนเราดับ ให้สังเกตว่าเกิดความขัดใจมั้ย ต่อมาอีก เมื่อมีมารก็อนุญาตให้คนช่วย "ป้องกันมาร" ก็ให้คนในทีมนั่นแหละช่วยกัน ตอนแรกก็ช่วยกันประคองเทียนไปกัน 2 คน ตอนหลังมารชักเยอะ เราก็เลย อริยมรรคสมังคีเลยละกัน ทั้งทีมออกมาเลย ล้อมวงคนถือเทียน ป้องกันมาร
- แล้วก็มีอีกเกมส์นึง นั่งล้อมเป็นวงกลม มีลูกปิงปองประมาณ 10 ลูก โยนกันไปมา ให้ดูใจว่าส่งออกไปยังไง ดูทันลูกปิงปองที่วิ่งไปวิ่งมามั้ย จากนั้นมีการเรียกคนที่ติดกรรมฐานแปลกๆ เช่น ฟังเสียงหัวใจ ไปนั่งกลางวง แล้วก็ให้ทุกคนเขวี้ยงลูกปิงปองข้ามไปข้ามมาเหมือนเดิม อ.ก็ถามว่า เป็นไง ยังได้ยินเสียงหัวใจอยู่รึป่าว คือ ท่านจะชี้ว่า กรรมฐานบางอย่างอาจใช้ไม่ได้ในบางสภาวะ เช่น ฉุกเฉินอารมณ์เร็วๆ แรงๆ มาดูกายจะชัดกว่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น