วันจันทร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560

หมายเหตุเรื่องเซน

Somrit Phetko วันที่ 25 เม.ย.60

****" ทำไงให้รู้ยืนยันใจ ว่ากายไม่ใช่ของเรา "****
หวัดดียามเที่ยง
ปกติธรรมชาติทุกวันนี้
ข้ามักจะเข้าสู่ความสงบด้วยความว่าง
โดยการนั่งสมาธิซะเป็นส่วนใหญ่
หากนึกตรึกตรองธรรมอะไร ก็จะใช้การเดินจงกรม
ข้าไม่ได้นั่งเพื่อต้องการอะไร
ข้านั่งเพื่อพักทุกสิ่งทุกอย่างลง ให้มันว่างๆ
เอาอานาปานมาเป็นวิหารธรรม คือเครื่องอยู่
แต่ธรรมชาติที่มีเครื่องอยู่ในความว่างเช่นนี้
มันเข้าใจธรรมชาติที่มีที่เป็นตามเหตุปัจจัยของมันดีอยู่แล้ว
ไม่ได้พิจารณาอะไรมากมาย จึงอยู่ด้วยความว่างเพื่อพักกายพักจิตเท่านั้น
หากเราไม่ปฏิบัติจนเห็นแจ้งยืนยันให้แก่ใจเราเองได้ ว่าธรรมชาติสรรพสิ่งทั่งหลาย แท้จริงเป็นเช่นไร
การอยู่ว่างๆ โดยไม่เอาอะไร ไม่ทำอะไร
ไม่วินิจฉัยอะไร
มันจะหยุดและดับปัญญาที่จะก่อเกิดแห่งเรือนกายใจเรานี้ ให้ตีบตันและหยุดอยู่กับที่
ชีวิตคือการค้นหาและเดินเพื่อเจริญสืบไปในวันที่เหลือที่มีอยู่
เรายังมีสังขารปรุงแต่งเป็นเครื่องรับรู้
ตราบใดที่ยังไม่สิ้นสังขาร
การปรุงแต่งมันก็ยังไม่สิ้นสุด มันปรุงของมันไปเรื่อย
แล้วจู่ๆ เรามาบอกว่า เราจะหยุดปรุงแต่ง
จะอยู่กับความว่าง
นี่เป็นความโง่งี่เง่า ที่เอาตัวตนเข้าไปเป็นเจ้าของเรือนกาย เวทนา จิตและธรรม
ถ้าเราเป็นเจ้าของกายจริง บังคับมันว่าเราว่างได้
เราก็ควรเอาแค๊ปหมูมาซักชิ้น
แล้วตั้งใจว่าจะกลืนมันลงไป
หากเรากลืนแค๊ปหมูชิ้นโตๆ ได้ดังใจ
ไม่มีสิ่งใดมาต้านทานหรือขวางกั้นทางเดินกลืนลงคอ
นั่นแหละๆๆ กายมันเป็นของเรา และเราก็ยืนยันได้
แต่ถ้ากลืนไม่ได้
ก็แสดงว่ากายมันเป็นของมันไม่ใช่ของเรา
ที่จะไปบังคับบัญชาอะไรมันได้
ถ้ามันมีแรงต้านไม่ให้กลืน
ก็ต้องหาว่าใคร เป็นตัวต้านไม่ให้มันกลืน
เพราะเรามันต้องการที่จะกลืน
การมีแรงต้านนั้น แสดงว่า มันไม่ใช่เรา
ที่มันมีแรงต้านไม่ให้กลืน
แสดงว่า มันมีโปแกรมสัญญาของมันเองอยู่แล้ว
ว่าอะไรที่ผิดไปจากสัญญาของมัน
มันก็ไม่ยอมไห้ผ่านเช่นกัน
จะมีมึงมีกูหรือไม่มีก็ตาม
ฉะนั้น...จงหัดฉลาดๆ กันซะบ้างไอ้น้องเอ๋ย..

พุทธศาสนา ชี้แนะลงไปในเรื่องจิต
จิตนี่ เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งในนิยามทั้งห้า
คือฟิสิกส์ ชีวะ กรรม จิต ธรรม
ทั้งห้าตัวนี้ เป็นธรรมชาติที่ยากจะเข้าไปเข้าใจได้โดยแจ้งและหมดจรด
ที่เข้าใจยาก เพราะธรรมชาติทั้งห้าตัวนี้
มันอาศัยเหตุปัจจัยเป็นองค์ประกอบเป็นชิ้นเดียวกัน ในทุกๆสรรพสิ่ง

เหมือนเราชิมอาหารที่ปรุงเสร็จแล้ว ว่าอร่อย
ในอร่อย มันประกอบด้วย
เปรี้ยว หวาน เผ็ด เค็ม มัน
หากเราอธิบายเรื่องเปรี้ยว มันก็ไม่ใช่อร่อย
หากเราจะอธิบายเรื่อง หวาน หรือ เผ็ด มันก็ไม่ใช่อร่อย
เพราะความอร่อย มันเกิดจากทั้งห้า มันปรุงเข้าหากันเป็นสิ่งเดียวคืออร่อย
คนที่เก่งแต่เรื่องเปรี้ยว เพราะเรียนรู้มาจากตำรา
มันก็ไม่ต่างจาก คนที่เก่งเรื่อง เผ็ด เค็ม มัน หวาน
พุทธปัจจุบัน เราเรียนรู้เรื่องจิตแบบ
เปรี้ยว หวาน เผ็ด เค็ม มัน
เก่งโดดไปเฉพาะเปรี้ยว เก่งหวาน เก่งเผ็ด ฯ
แล้วมาถกเถียงกัน ว่าสิ่งที่ตนเก่งนั้นมันถูก
และมันคือความอร่อย ในความหมายที่โบราณท่านค้นพบมา
อร่อยนี่คือจิต
เราเก่งกันโดยไม่รู้ว่า จิตนั้น ประกอบด้วย เปรี้ยว หวาน เผ็ด เค็ม มัน
ไม่ใช่ มัน เค็ม เผ็ด อะไรแต่ละอย่างนี่ มันคือจิต

มีพระส่งข้อความมาว่า
ท่านคัดลอกมาจาก หนังสือของพระพุทธทาส

" จิตเดิมแท้ ว่างเปล่าไร้การปรุงแต่ง เราจึงไม่ควรไปทำอะไร และปฏิบัติอะไร "
ประโยคนี้.. ท่านพุทธทาสท่านคัดลอกมาจากนิกายเซนน่ะ
ไม่ใช่นิยามที่ท่านเข้าใจและให้นิยามขึ้นมาเอง
เจตนาที่นำวิถีการชี้แนะแห่งเซนมาอนู่ในข้อเขียนนั้น
ก็เพื่อให้รุ่นหลังได้มองเห็นมุมมองอันหลากหลายของความแตกต่างในข้อวัตรแห่งวิถีคิด
จิตนั้น มันมีเหตุปัจจัย ถึงได้เรียกว่าจิต
จิตนั้นไม่เคยว่าง ไอ้ที่ว่างนั้น มันอาการแห่งจิตที่ปรุงแต่งเรียบร้อยแล้ว ออกมาเป็นเวทนา
มีเราเข้าไปเป็นเจ้าของ คือ เฉยๆ ไม่สะดุ้งสะเทือนต่อเจตนาทั้งหลาย ที่มันผัสสะ

เช่น เรามองไปรอบๆตัวเรา โดยไม่สะดุ้งสะเทือนต่อสิ่งใด
เราก็เลยดูเหมือนเราว่างเปล่าจากสรรพสิ่ง
เราเห็นอยู่ แต่ไม่ได้ให้ค่า
เรามองฟ้า มองต้นไม้ ภูเขา อย่างไม่ได้ให้ค่า

นั่นแหละ..เป็นอาการจิตที่มันปรุงแต่งเสร็จเรียบร้อยแล้ว
และมันบันทึกการปรุงแต่งเข้าไปอยู่ในนามขันธ์ คือสัญญาเรียบร้อย

มันจึงไม่สะดุ้งกับสิ่งเดิมๆที่อายตนะมันผัสสะ
และเราก็เข้าไปเป็นเจ้าของในอาการเหล่านี้ ว่าเราว่างเปล่า
นิกายเซนนั้น เขามีนิยามการมีสติระลึกถึงแต่การอยู่กับปัจจุบัน

แต่ปัจจุบันที่เขาเข้าใจนั้น เขาไม่รู้ว่ามันคืออดีตที่ผ่านไปแล้ว
เขารู้เท่าทันแล้วปล่อยวาง ไม่ยึดมั่นถือมั่น
นี่เป็นการเข้าใจในวิถีที่ไม่ตรงนัก
การเข้าถึงมรรคผลและแจ้งธรรมตามความเป็นจริงมันจึงไม่เกิด

พุทธศานานั้น คือแนวทางแห่งปัญญา
นิกายเซนนั้น เขามีสติอยู่กับปัจจุบัน
เขาไม่เอาพระธรรมวินัย ไม่เอาพระอภิธรรม เขาเอาแต่พระสูตร
เขาเชื่อว่า มันเสียเวลา สู้อยู่ปัจจุบันไม่ได้
ความรู้และตรรกะเช่นนี้ มันเป็นเปลือก
ที่เป็นเปลือกก็เพราะ เขายึดอยู่กับสิ่งที่มันไม่มี
ปัจจุบันในความหมายของเขานี่ไม่มี
ที่มีและสติตามรู้ในภาวะปัจจุบันที่เข้าใจนั้น มันคืออดีต

คำว่าปัจจุบันในความหมายแห่งผู้มีปัญญานนั้น
หมายถึง ปราชญ์ผู้ล่วงรู้และเข้าใจตรงตามความเป็นจริงว่า
อดีต มันล่วงไปแล้ว ไม่ควรเอาอากาศเหล่านั้น ที่เป็นพิษเป็นภัยต่ออารมณ์และการกระทำ
มาเป็นฟืนเป็นไฟเผาใจตนให้ทุรนทุราย เพราะมันผ่านไปแล้ว
อนาคตที่ยังมาไม่ถึง เราก็ควรนำสิ่วที่เป็นพิษเป็นภัยต่อใจตน
มาเป็นฟืนเป็นไฟเผาใจตนให้มันทุรนทุรายเช่นกันกับอดีต
อนาคตเราไปว่ากันในอนาคต เราเตรียมการวันนี้ให้ดี อนาคตก็ย่อมดี
มันเป็นหลักเหตุหลักผล
นี่..ผู้เข้าใจรู้ชัดและเห็นตรงเช่นนี้
จึงเรียกว่า เป็นผู้อยู่กับปัจจุบัน

พุทธศาสนานั้น
ชี้ไปที่สรรพสิ่งอาศัยเหตุปัจจัย
ไม่มีอะไร อยู่ๆจะผุดขึ้นมาได้เอง
คนที่เฝ้าบวงสรวงต่อเทพเจ้า เพื่ออ้อนวอนบนบาลศาลกล่าวในสิ่งที่ตนปรารถนา
นี่เป็นพวกไม่เข้าใจธรรมชาติทั้งห้า ที่มันอาศัยเหตุปัจจัยกัน
ปุถุชนบวงสรวง เพราะเหตุแห่งการขอ
ปราชญ์บวงสรวง เพราะว่าไปตามเหตุปัจจัย
นี่..ความหมายมันมีลึกกันไปคนละอย่างกัน แม้กระทำในสิ่งเดียวกัน

เรื่องจิตนั้นซับซ้อน
แต่ที่แน่ๆ จิตเดิมไม่เคยว่าง
มันปรุงแต่งของมันไปตามญานวิถี จนก่อตัวมาเป็นรูปเรา
แล้วเรา..เมื่อเป็นเรา เพราะเหตุแห่งการก่อ
ดันมาเป็นเจ้าของความว่าง เพราะเราไม่เอาอะไร ไม่คิดอะไร
ทำตัวว่างเปล่าจากสรรพสิ่งทั้งหลาย
นี่..พอตายห่าไป
จิตก็ต้องไปสร้างไปก่อขึ้นมาให้มันใหม่
เพราะไอ้ควายที่อุตสาห์ก่อเครื่องมือคือรูปไว้ให้
มันเสือกใช้ไม่เป็น
มันเสือกไม่เอาอะไร มันว่างจากความหมาย

มันไม่รู้ว่า
ก่อนที่จะมาก่อรูปเป็นมันที่ทำตัวว่างๆนั้น

เพราะเหตุแห่งการปรุงที่ไม่ว่างจากกรรมนั่นแหละเป็นวิบากแห่งการก่อให้เป็นรูป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น